ไว้ทุกข์หนึ่งปีและการปรับเว็บไซต์
 
#574 ไว้ทุกข์หนึ่งปีและการปรับเว็บไซต์

    ตามประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี ในราชกิจจานุเบกษา พบว่าข้อ 2 ให้ข้าราชการ พนักงานรัฐวิสาหกิจ และเจ้าหน้าที่ของรัฐไว้ทุกข์มีกําหนด 1 ปี ตั้งแต่วันที่ 14 ตุลาคม 2559 เป็นต้นไป แล้วพบนิยามของคำว่า ไว้ทุกข์ (Mourning) ในพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 ว่าเป็นกริยา หมายถึง แต่งกาย หรือแสดงเครื่องหมายตามประเพณีนิยม ว่าตนมีทุกข์ เช่น ไว้ทุกข์ให้พ่อ การแสดงออกว่ามีทุกข์ผ่านเครื่องแต่งกายเน้นไปทางสีดำ ซึ่งส่งผลถึงกระแสปรับเว็บไซต์ และภาพโปรไฟล์ของผู้ใช้สื่อสังคมที่จะเน้นไปทางสีดำ แม้แต่ google.com ก็ยังปรับหน้าแรกให้เป็นสีดำ และมีริบบิ้นสีดำที่มีคำว่า "น้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณ ถวายความอาลัย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ"

    การปรับภาพโปรไฟล์ (Profile) เป็นสีขาวดำสามารถทำได้ง่ายด้วยบริการของ facebook เมื่อผู้ใช้ทำการอัพโหลดภาพ แล้วเลือกแก้ไข และเลือก Filters แบบ Snow มีผลให้ภาพเป็นสีขาวดำได้ ซึ่งความสามารถนี้ใช้ได้กับภาพอื่นในเฟสบุ๊คทั้งหมด เราจึงเห็นภาพที่เกี่ยวข้องกับการไว้ทุกข์เป็นสีขาวดำเกือบทั้งหมด นอกจากนี้การแสดงความอาลัยของหน่วยงานทั้งภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ และเอกชนระดับองค์กรผ่านสื่อเว็บไซต์ มิได้ปรากฏเฉพาะหน้าแรก ได้มีการปรับปรุงเว็บไซต์ให้เป็นสีขาวดำ ด้วยการปรับสีด้วยวิธีปกติ โดยเข้าไปปรับโค้ดทีละเว็บเพจ ทีละบรรทัด ทีละภาพ ซึ่งจะมีผลกับโปรแกรมแสดงผลทุกบราวเซอร์ (Browser) เนื่องจากแฟ้ม และโค้ดต้นทางเป็นสีขาวดำ ทำให้โปรแกรมปลายทางต้องแสดงผลเป็นขาวดำเช่นกัน

    อีกวิธีที่แชร์ (Share) กันมาก คือ การใช้คำสั่ง Filter กำหนดสีเทา ไปในแฟ้ม CSS (Cascading Style Sheet) มีตัวอย่างคำสั่งคือ * { filter:grayscale(100%); } ซึ่งจะส่งผลถึงคำสั่งทั้งหมดในเว็บเพจ แต่บางภาพที่เป็นคำสั่งพิเศษในบางระบบอาจไม่ได้รับผลกระทบ และบางบราวเซอร์อาจไม่เปลี่ยนแปลง เนื่องจากไม่รองรับคำสั่ง Filter หรือใช้คำสั่งที่ต่างออกไป บางระบบอาจต้องแก้ไขให้ถูกแฟ้ม เพราะระบบมีความซับซ้อนอาจเรียกแต่ละแฟ้มในแต่ละเวลา จึงต้องตรวจสอบว่ามีผลตรงกันในทุกบราวเซอร์ ดังนั้นการเปลี่ยนสีของเว็บเพจ หากเปลี่ยนแล้วต้องทดสอบ เพื่อให้แน่ใจว่าผู้ใช้จะเห็นผลตรงกับที่ได้แก้ไขไปแล้ว

    อีกวิธีที่แชร์ (Share) กันมาก คือ การใช้คำสั่ง Filter กำหนดสีเทา ไปในแฟ้ม CSS (Cascading Style Sheet) มีตัวอย่างคำสั่งคือ * { filter:grayscale(100%); } ซึ่งจะส่งผลถึงคำสั่งทั้งหมดในเว็บเพจ แต่บางภาพที่เป็นคำสั่งพิเศษในบางระบบอาจไม่ได้รับผลกระทบ และบางบราวเซอร์อาจไม่เปลี่ยนแปลง เนื่องจากไม่รองรับคำสั่ง Filter หรือใช้คำสั่งที่ต่างออกไป บางระบบอาจต้องแก้ไขให้ถูกแฟ้ม เพราะระบบมีความซับซ้อนอาจเรียกแต่ละแฟ้มในแต่ละเวลา จึงต้องตรวจสอบว่ามีผลตรงกันในทุกบราวเซอร์ ดังนั้นการเปลี่ยนสีของเว็บเพจ หากเปลี่ยนแล้วต้องทดสอบ เพื่อให้แน่ใจว่าผู้ใช้จะเห็นผลตรงกับที่ได้แก้ไขไปแล้ว
บทความเมื่อเร็ว ๆ นี้
575. การเก็บสื่อน้อมถวายความอาลัย
574. ไว้ทุกข์หนึ่งปีและการปรับเว็บไซต์
573. ที่มาของห้องเรียนในอนาคต
572. คาดหวังเพื่อนสนิทในสื่อสังคม
ค้นในบทความ
กลับหน้าแรก
Thaiall.com