สตาร์ทอัพไทยแลนด์
 
#564 สตาร์ทอัพไทยแลนด์

    มีเพื่อนในแวดวงธุรกิจ แชร์เรื่องราวเกี่ยวกับสตาร์ทอัพ (Startup) มาให้อ่าน ซึ่งประเทศไทยจัดงาน Startup Thailand 2016 ณ ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ระหว่าง 28 เมษายน - 1 พฤษภาคม 2559 เพื่อแสดงจุดยืนและความมุ่งมั่นของประเทศไทยในการก้าวสู่การเป็นประเทศเศรษฐกิจฐานนวัตกรรม ด้วยการส่งเสริม สนับสนุนและสร้างแรงบันดาลใจแก่ผู้ประกอบการธุรกิจสตาร์ทอัพรุ่นใหม่ และเปิดโอกาสให้นักธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ กลุ่มนักลงทุน และผู้ประกอบการรุ่นใหม่ที่ใช้นวัตกรรมขับเคลื่อนธุรกิจได้มาพบกัน คำว่า สตาร์ทอัพ มีความหมายเน้นไปที่การเติบโต (Growth) อาจสรุปได้ว่าธุรกิจสตาร์ทอัพ คือ ธุรกิจที่อาศัยนวัตกรรมเป็นฐาน และถูกออกแบบให้เติบโตอย่างรวดเร็ว ทั้งด้านทีมงาน การลงทุน การผลิต การตลาด กลุ่มลูกค้า และผลตอบแทน

    เปรียบเทียบกับประเภทธุรกิจที่ใกล้เคียงกัน คือ ธุรกิจเอสเอ็มอี (SME = Small Medium Enterprises) มีสิ่งที่แตกต่างกันคือการเติบโต ธุรกิจสตาร์ทอัพต้องเติมโตเร็ว แต่ธุรกิจเอสเอ็มอีจะเติบโตแบบค่อยเป็นค่อยไป เช่น ร้ายขายของชำ ร้านเสริมสวย จะมีแนวโน้มเติบโตช้ากว่า โดยธุรกิจสตาร์ทอัพอาจไม่เกี่ยวกับด้านเทคโนโลยี แต่สนใจเฉพาะโอกาสเติบโตอย่างรวดเร็วที่อาจโตไปถึงปีละ 1000% ธุรกิจออนไลน์มักเป็นธุรกิจสตาร์ทอัพ เพราะไม่ต้องคำนึงถึงข้อจำกัดเรื่องพื้นที่ จำนวนลูกค้า จำนวนสินค้า ตลาด หรือเวลา สตาร์ทอัพจะมีโอกาสรองรับคำสั่งซื้อจากลูกค้าได้มาก ผลิตสินค้าได้มาก ส่งของจำนวนมากได้ และขยายฐานได้อย่างรวดเร็ว

    สตาร์ทอัพสามารถขอรับการสนับสนุนจากกลุ่มนักลงทุนสตาร์ทอัพ เพราะนักพัฒนาอาจมีความคิดใหม่ที่เป็นไปได้ แต่ขาดเงินทุนในการพัฒนาก็สามารถเสนอขอรับทุนได้จากการระดมทุนจากมวลชน (Crowdfunding) เช่น KickStarter หรือแบบธุรกิจร่วมลงทุน (Venture Capital) เช่น กองทุน 500 Tuktuks หรือ Y combinator หรือ TechStars แต่ธุรกิจสตาร์ทอัพที่มีความเสี่ยงสูงจะไม่สามารถได้เงินกู้จากธนาคารตามขั้นตอนปกติอย่างแน่นอน เพราะสตาร์ทอัพส่วนใหญ่จะเริ่มจากการสร้างผู้ใช้ให้มากพอก่อนเริ่มต้นหารายได้ ตัวอย่างที่ประสบความสำเร็จในไทย เช่น Wongnai, Priceza, Ookbee, StockRadars, Builk, Kaidee, Eko, Jitta และ aCommerce แล้วมีคำแนะนำว่าการทำธุรกิจไม่จำเป็นต้องเริ่มจากสตาร์ทอัพเสมอไป หากธุรกิจมีความชัดเจนก็สามารถดำเนินธุรกิจในรูปแบบปกติได้เลย

    สตาร์ทอัพสามารถขอรับการสนับสนุนจากกลุ่มนักลงทุนสตาร์ทอัพ เพราะนักพัฒนาอาจมีความคิดใหม่ที่เป็นไปได้ แต่ขาดเงินทุนในการพัฒนาก็สามารถเสนอขอรับทุนได้จากการระดมทุนจากมวลชน (Crowdfunding) เช่น KickStarter หรือแบบธุรกิจร่วมลงทุน (Venture Capital) เช่น กองทุน 500 Tuktuks หรือ Y combinator หรือ TechStars แต่ธุรกิจสตาร์ทอัพที่มีความเสี่ยงสูงจะไม่สามารถได้เงินกู้จากธนาคารตามขั้นตอนปกติอย่างแน่นอน เพราะสตาร์ทอัพส่วนใหญ่จะเริ่มจากการสร้างผู้ใช้ให้มากพอก่อนเริ่มต้นหารายได้ ตัวอย่างที่ประสบความสำเร็จในไทย เช่น Wongnai, Priceza, Ookbee, StockRadars, Builk, Kaidee, Eko, Jitta และ aCommerce แล้วมีคำแนะนำว่าการทำธุรกิจไม่จำเป็นต้องเริ่มจากสตาร์ทอัพเสมอไป หากธุรกิจมีความชัดเจนก็สามารถดำเนินธุรกิจในรูปแบบปกติได้เลย

http://marketeer.co.th/2015/11/startup-5oo-tuktuks/
https://www.blognone.com/node/45235
http://pantip.com/topic/35098937
http://www.thailandexhibition.com/TradeShow-2016/8835
http://www.thailandstartup.org
https://www.facebook.com/media/set/?set=a.1133798910026043.1073742010.225300417542568
https://www.facebook.com/media/set/?set=a.1133798910026043.1073742010.225300417542568
บทความเมื่อเร็ว ๆ นี้
565. ปัญหาของโปเกมอนโก
564. สตาร์ทอัพไทยแลนด์
563. ประชุมอบรมแบบสัญชัยโมเดล
562. ระบบของใครครองโลกในปัจจุบัน
ค้นในบทความ
กลับหน้าแรก
Thaiall.com