บางครั้งงานไอทีจ้างให้ก็ไม่ทำ
 
#510 บางครั้งงานไอทีจ้างให้ก็ไม่ทำ

    โดยปกติ ผู้ว่าจ้าง กับผู้ถูกจ้าง เมื่อตกลงกันได้ก็จะเกิดการจ้างงานขึ้น แต่ในส่วนราชการ หรือองค์การบางแห่งที่ได้รับงบประมาณ หรือเงินบริจาค หรือเจ้านายสั่งงานมา เพื่อให้มีงานด้านไอทีเกิดขึ้น อาจทำให้รู้สึกว่าเป็นภาระใหม่ เช่น การมีเว็บไซต์ของหน่วยงาน เพราะงบประมาณที่มานั้น มาพร้อมกับการประเมินความสำเร็จว่าที่ให้เงินไปนั้นใช้ทำอะไร และได้อะไร ดังนั้นเงินอาจไม่ใช่คำตอบสุดท้ายของทุกงาน ทุกองค์กรมักมีงานประจำที่รับผิดชอบ เมื่อมีงบประมาณเพิ่มเข้ามาจะมีงานที่ต้องรับผิดชอบเพิ่ม ต้องทำให้เกิดกิจกรรมเพิ่ม บ่อยครั้งเมื่อต้องทำงานที่ไม่ชอบ ไม่ถนัด ไม่ใช่เรื่องที่เดิมที่เคยรู้ก็จะมีผลต่อการรับรู้ ความเอาใจใส่ที่ลดลงไป

    เคยมีเพื่อนกับลูกศิษย์ตกลงจ้างงานด้านไอที กลายเป็นที่ปรึกษาของทั้งสองฝ่าย ฝ่ายผู้จ้างก็มีงบประมาณที่ตั้งไว้ในใจแล้ว ส่วนฝ่ายถูกจ้างเมื่อเห็นรายละเอียดของงานก็ต้องมาทำใบเสนอราคา เกิดการเจรจาต่อรองขึ้น แต่ตกลงกันไม่ได้ เพราะฝ่ายผู้จ้างตั้งไว้ต่ำ ฝ่ายผู้ถูกจ้างตั้งไว้สูง มีคำถามว่างานที่ว่าจ้างนั้นควรตั้งงบประมาณเท่าไร คงต้องตอบว่างานด้านไอทีเป็นนั้น ค่าจ้างขึ้นอยู่กับความพึงพอใจเหมือนจ้างดารามาร้องเพลงที่บ้าน ถ้าจ้างนักร้องดังเกาหลีมาร้องเพลงที่บ้าน ผมคิดว่าจ่ายสักห้าหกร้อยก็น่าจะพอ เพราะที่บ้านเปิดยูทูปได้ แต่น้องนักร้องอาจบอกว่าแสนห้าขาดตัว ร้องเพลงหนึ่งชั่วโมง แล้วแถมเพลงให้อีกหนึ่งเพลง นี่ก็เป็นกรณีตัวอย่างของผู้ว่าจ้างกับผู้ถูกจ้าง

    การจ้างงานด้านไอทีไม่เหมือนจ้างนักร้องที่พิจารณาที่ความพึงพอใจเป็นสำคัญ แต่ต้องพิจารณาผู้ถูกจ้างว่ามีประสบการณ์กับเรื่องที่ว่าจ้างมากน้อยเพียงใด ถ้าเป็นงานซอฟต์แวร์ และเคยพัฒนาระบบแบบที่กำลังถูกว่าจ้างมาหลายครั้ง ค่าจ้างโปรแกรมเมอร์อิสระก็น่าจะอยู่ที่ประมาณร้อยละ 40 ของราคาเต็มที่เคยรับจ้างในครั้งแรก เช่น จ้างทำเว็บไซต์ แล้วติดตั้งระบบจูมล่า (Joomla) ถ้าครั้งแรกคิดหมื่นบาท ครั้งต่อไปก็คิดสี่พันก็น่าจะพอเพียง โดยไม่รวมค่าโดเมนหรือค่าโฮสติ้ง แต่ถ้างานที่ถูกว่าจ้างมีการกำหนดความต้องการเป็นการเฉพาะ อาจต้องดูแลปรับปรุงแก้ไขกันต่อไป ค่าจ้างพัฒนาก็อาจต้องสูงขึ้นกว่างานที่พบเห็นทั่วไป ด้วยต้องใช้เวลาในการพัฒนา ปรับปรุงแก้ไข และบำรุงรักษากันต่อไป อีกวิธีคือการสอบถามผู้ถูกจ้างมากกว่าหนึ่งรายให้เสนอราคามาเปรียบเทียบ ก็จะรู้ว่าราคาที่เหมาะสมเป็นเท่าใด โดยเปรียบเทียบจากปัจจัยรอบด้านทั้งประสบการณ์ที่ผ่านมา และรายละเอียดการใช้งบประมาณ เป็นต้น

    การจ้างงานด้านไอทีไม่เหมือนจ้างนักร้องที่พิจารณาที่ความพึงพอใจเป็นสำคัญ แต่ต้องพิจารณาผู้ถูกจ้างว่ามีประสบการณ์กับเรื่องที่ว่าจ้างมากน้อยเพียงใด ถ้าเป็นงานซอฟต์แวร์ และเคยพัฒนาระบบแบบที่กำลังถูกว่าจ้างมาหลายครั้ง ค่าจ้างโปรแกรมเมอร์อิสระก็น่าจะอยู่ที่ประมาณร้อยละ 40 ของราคาเต็มที่เคยรับจ้างในครั้งแรก เช่น จ้างทำเว็บไซต์ แล้วติดตั้งระบบจูมล่า (Joomla) ถ้าครั้งแรกคิดหมื่นบาท ครั้งต่อไปก็คิดสี่พันก็น่าจะพอเพียง โดยไม่รวมค่าโดเมนหรือค่าโฮสติ้ง แต่ถ้างานที่ถูกว่าจ้างมีการกำหนดความต้องการเป็นการเฉพาะ อาจต้องดูแลปรับปรุงแก้ไขกันต่อไป ค่าจ้างพัฒนาก็อาจต้องสูงขึ้นกว่างานที่พบเห็นทั่วไป ด้วยต้องใช้เวลาในการพัฒนา ปรับปรุงแก้ไข และบำรุงรักษากันต่อไป อีกวิธีคือการสอบถามผู้ถูกจ้างมากกว่าหนึ่งรายให้เสนอราคามาเปรียบเทียบ ก็จะรู้ว่าราคาที่เหมาะสมเป็นเท่าใด โดยเปรียบเทียบจากปัจจัยรอบด้านทั้งประสบการณ์ที่ผ่านมา และรายละเอียดการใช้งบประมาณ เป็นต้น
บทความเมื่อเร็ว ๆ นี้
511. ตั้งจอทัชสกีนไว้ให้ข้อมูลหน้าร้าน
510. บางครั้งงานไอทีจ้างให้ก็ไม่ทำ
509. อุปกรณ์เล็กลงบริษัทก็ต้องปิดลง
508. หุ่นยนต์คิดแบบในหนังคงยังไม่มี
ค้นในบทความ
กลับหน้าแรก
Thaiall.com