ซอฟท์แวร์กับฮาร์ดแวร์อาจไม่ไปด้วยกัน
 
#453 ซอฟท์แวร์กับฮาร์ดแวร์อาจไม่ไปด้วยกัน

    ในอดีตเครื่องคอมพิวเตอร์หนึ่งเครื่องสามารถทำงานได้ทีละงานในแต่ละช่วงเวลา ถ้าใช้เวิร์ดจุฬา (CU writer) ก็จะเล่นเกม prince of persia ไม่ได้ แต่ปัจจุบันเรามีระบบมัลติทาส์กกิ่ง (multitasking) ที่รองรับงานหลายงานให้ประมวลผลไปพร้อมกันได้ เช่น ฟังเพลง เล่นเกม แชทคุยกัน เว็บแคมกับเพื่อน หรือปริ้นงาน ไปพร้อมกันได้ แต่การพัฒนาด้านเทคโนโลยีไม่ได้มีเพียงบริษัทเดียว ไม่ได้มีเพียงเวอร์ชันเดียว ถ้าซื้อซอฟท์แวร์ หรืออุปกรณ์มาใช้ เมื่อเวลาผ่านไปบริษัทก็จะออกเวอร์ชั่นใหม่มาให้ใช้ แล้วต้องจ่ายเงินซื้อเพิ่ม

    เมื่อซื้อฮาร์ดแวร์ก็มักได้มาพร้อมซอฟท์แวร์ที่เรียกว่าไดร์เวอร์ (Driver) เมื่อนำฮาร์ดแวร์ไปติดตั้งเข้ากับเครื่องคอพพิวเตอร์ก็เป็นหน้าที่ของระบบปฏิบัติการในการเชื่อมโยงความสามารถของฮาร์ดแวร์มาให้ผู้ใช้ได้ใช้ ถ้าเป็นฮาร์ดแวร์รุ่นใหม่ที่ระบบปฏิบัติการไม่รู้จักมาก่อน ก็ต้องติดตั้งไดร์เวอร์เพิ่มเติม ตามข่าวว่า Microsoft ประกาศหยุดสนับสนุน Windows XP และ Office 2003 เมื่อ 8 เมษายน 2557 เป็นผลให้ฮาร์ดแวร์ใหม่จะไม่พัฒนาไดร์เวอร์สำหรับอุปกรณ์เหล่านั้น ดังนั้นท่านที่มี windows XP หากซื้ออุปกรณ์รุ่นใหม่มาต่อพ่วงเพิ่มเติม อาจใช้ไม่ได้กับระบบปฏิบัติการเก่าอีกต่อไป

    นอกจากฮาร์ดแวร์จะมีปัญหากับเวอร์ชันของซอฟท์แวร์แล้ว ระหว่างซอฟท์แวร์ด้วยกันก็ยังมีปัญหาการเข้ากันได้ เช่น การใช้ windows กับ linux ในเครื่องคอมพิวเตอร์เดียวกันแบบ multi-os แม้จะเป็นของบริษัทเดียวกันแต่ต่างรุ่นก็ยังเข้ากันได้ไม่สมบูรณ์ เพราะซอฟท์แวร์รุ่นแรกมักไม่รู้จักการทำงานของซอฟท์แวร์รุ่นใหม่ หากติดตั้งพร้อมกันก็ต้องระวังเรื่องลำดับการติดตั้งให้มาก หรือติดตั้งโปรแกรมเสริมเพื่อแก้ปัญหาการไม่เข้ากัน การเข้ากันของระบบปฏิบัติการจะพบว่า linux ยอมรับระบบปฏิบัติการอื่นโดยใช้ grub loader ที่ตรวจอัตโนมัติว่ามีระบบใดติดตั้งไว้แล้ว ส่วนระบบปฏิบัติการวินโดว์ก็ต้องติดตั้งโปรแกรมเสริม เช่น easybcd สำหรับการทำให้รู้จักระบบปฏิบัติการทั้งหมดในเครื่องคอมพิวเตอร์ แล้วนำมาทำรายการให้เลือกบูทขึ้นมาได้ตามต้องการ
บทความเมื่อเร็ว ๆ นี้
454. โฆษณาในเฟสบุ๊ค
453. ซอฟท์แวร์กับฮาร์ดแวร์อาจไม่ไปด้วยกัน
452. ช่องทีวีดาวเทียมหายหากไม่อัพเดท
451. อีเบย์ก็ยังโดนแฮ็ค
ค้นในบทความ
กลับหน้าแรก
Thaiall.com