ภาษาวิบัติหรือวิวัฒน์กันแน่
 
# 413 ภาษาวิบัติหรือวิวัฒน์กันแน่

    คำว่า วิบัติ ถ้าเป็นคำนาม หมายถึง พิบัติ, ความฉิบหาย, ความหายนะ, ความเป็นอัปมงคล, เช่น ทรัพย์สมบัติวิบัติ ตามความหมายในพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒ ได้ถูกนำมาเป็นคำขยายคำว่า ภาษาวิบัติ ที่นักวิชาการแสดงความเป็นห่วงในหลายเวทีว่าเยาวชน นักข่าว นักวิชาการ หรือชาวบ้านสร้างคำใหม่ พูดหรือเขียนภาษาไทยในเอกสารอย่างไม่ถูกต้อง จนมีการแก้ปัญหาด้วยการมีประกาศจากสำนักนายกรัฐมนตรี วันที่ 27 พฤษภาคม 2556 เรื่อง ระเบียบการใช้ตัวสะกด แล้วก็แจกจ่ายพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔ ในเวลาต่อมา แล้วอาจารย์ท่านหนึ่งได้แบ่งปันประสบการณ์ในทำนองว่าพบการพูดในหลายครั้งที่คนไทยพูดไทยคำอังกฤษคำแล้วขัดความรู้สึก เพราะใช้ผิดกาลเทศะ

    ปัญหาภาษาไทยที่ไม่เป็นภาษาไทยแบบดั่งเดิมมีหลายรูปแบบ ได้แก่ ใช้ไทยคำอังกฤษคำ สร้างคำใหม่ที่คนใช้อาจไม่รู้ความหมายที่แท้จริงเพราะใหม่มาก เขียนผิด พูดผิด ใช้คำย่อจนจับความได้ยาก เช่น วิทลัย หมาลัย จาน มอไซ เพลงไทยที่ร้องโดยคนไทยก็เป็นอีกแหล่งที่นำเสนอคำใหม่ในวงกว้างได้อย่างรวดเร็วจนกลายเป็นที่ยอมรับโดยปริยาย เช่น เพลงบอกตรงๆ รักจังเลย ของเชอรีน ที่มีคำว่า บ่องตง ฟินเลย จุงเบย เช็คอิน (Check in)

    เหตุการณ์ข้างต้น ถ้าเป็นการวิพากษ์เมื่อหลายปีก่อนว่าเป็นภาษาวิบัติก็น่าจะรับได้ แต่ปัจจุบันราชบัณฑิตยสถาน (royin.go.th) ได้รวบรวมคำใหม่ที่ใช้กันในหมู่วัยรุ่น แล้วก็เผยแพร่ ซึ่งแสดงถึงการยอมรับคำใหม่ที่วัยรุ่นพูดจนติดปาก และเป็นผู้เผยแพร่ต่อ เช่น ป๊อด ชิวชิว หลงจ้งเก๋าเจ้ง ติ๊ด ชิบ กร๊วก เป็นต้น บางคนก็เสนอว่าน่าจะเปลี่ยนจากภาษาวิบัติเป็นภาษาวิวัฒน์ เพราะเราเปลี่ยนแปลงภาษากันอยู่ตลอดเวลา และรับความแตกต่างของภาษาวิบัติกับคำใหม่ เพราะมีการเปลี่ยนแปลงและยอมรับที่พัฒนาไปตามยุคสมัย ท่ามกลางการวิวัฒน์ ก็จะมีคำใหม่ ที่อาจจัดอยู่ในกลุ่มภาษาวิบัติ เมื่อได้รับการยอมรับมากขึ้นก็จะถูกโยกย้ายเข้าสู่ภาษาใหม่ ก็คงเป็นหน้าที่ของคนไทยที่จะต้องเรียนรู้ และเลือกใช้อย่างถูกกาลเทศะต่อไป

    เหตุการณ์ข้างต้น ถ้าเป็นการวิพากษ์เมื่อหลายปีก่อนว่าเป็นภาษาวิบัติก็น่าจะรับได้ แต่ปัจจุบันราชบัณฑิตยสถาน (royin.go.th) ได้รวบรวมคำใหม่ที่ใช้กันในหมู่วัยรุ่น แล้วก็เผยแพร่ ซึ่งแสดงถึงการยอมรับคำใหม่ที่วัยรุ่นพูดจนติดปาก และเป็นผู้เผยแพร่ต่อ เช่น ป๊อด ชิวชิว หลงจ้งเก๋าเจ้ง ติ๊ด ชิบ กร๊วก เป็นต้น บางคนก็เสนอว่าน่าจะเปลี่ยนจากภาษาวิบัติเป็นภาษาวิวัฒน์ เพราะเราเปลี่ยนแปลงภาษากันอยู่ตลอดเวลา และรับความแตกต่างของภาษาวิบัติกับคำใหม่ เพราะมีการเปลี่ยนแปลงและยอมรับที่พัฒนาไปตามยุคสมัย ท่ามกลางการวิวัฒน์ ก็จะมีคำใหม่ ที่อาจจัดอยู่ในกลุ่มภาษาวิบัติ เมื่อได้รับการยอมรับมากขึ้นก็จะถูกโยกย้ายเข้าสู่ภาษาใหม่ ก็คงเป็นหน้าที่ของคนไทยที่จะต้องเรียนรู้ และเลือกใช้อย่างถูกกาลเทศะต่อไป

http://www.youtube.com/watch?v=h63gzvlyn44
http://th.uncyclopedia.info/wiki/%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%A9%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%9A%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%B4
บทความเมื่อเร็ว ๆ นี้
414. นักศึกษามหาวิทยาลัยมีพลังแฝง
413. ภาษาวิบัติหรือวิวัฒน์กันแน่
412. เก่าไปใหม่มากับการ์ดยี่สิบ
411. ยักษ์ก็ล้มได้และล้มดัง
ค้นในบทความ
กลับหน้าแรก
Thaiall.com