สะท้อนภาพจังหวัดผ่านคำขวัญ
 
# 394 สะท้อนภาพจังหวัดผ่านคำขวัญ

    มีโอกาสได้อ่านอะไรในเฟซบุ๊คมากมาย แล้ววันหนึ่งก็มีเพื่อนในเฟสให้คำขวัญ(ขี้เหล้า)เมืองลำปาง พบในแฟนเพจฮาคนเมือง เป็นการเขียนเชิงล้อเลียนเสมือนบ่นให้ฟังด้วยภาษาล้านนา อ่านแล้วก็เชื่อว่าคนต่างถิ่นไม่เข้าใจแน่ เพราะเป็นภาษาถิ่น และสถานที่ในท้องถิ่น มีนิยามศัพท์ดังนี้ เยี่ยวเหี้ยคือถ่ายเบาไม่เป็นที่ คืนฮุ่งคือตลอดทั้งคืน เตวคือเดิน คนขี้ฮ่อนคือคนที่รู้สึกร้อนง่าย ร้านอาหารกลางคืนได้แก่ มดแดง มดยิ้ม ปลาทูแช็ค กิ๊บบอน ลาบศรีชุม ตลาดได้แก่ตลาดอัศวิน กาดกองต้า คลองถม กาดมืด ห้างเซ็นทรัลพลาซ่า แล้วก็พูดถึงหลักกิโลขนาดใหญ่ และฟาร์มแกะฮักยู

    หน้าที่ของคำขวัญจังหวัดก็จะสะท้อนความภูมิใจ ความโดดเด่น เอกลักษณ์ และอัตลักษณ์ของจังหวัด ให้ทราบว่าจังหวัดมีอะไรดี ลำปางมีคำว่าขวัญว่า ถ่านหินลือชา รถม้าลือลั่น เครื่องปั้นลือนาม งามพระธาตุลือไกล ฝึกช้างใช้ลือโลก ซึ่งให้ข้อมูลว่าเป็นแหล่งที่มีถ่านหินสำหรับใช้ผลิตกระแสไฟฟ้าที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ มีรถม้าเพื่อการเดินทางและปัจจุบันหันมาเน้นเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว มีดินขาวเป็นวัตถุดิบในจังหวัดจึงมีโรงงานเซรามิกจำนวนมากผลิตได้สวยงามและราคากันเอง มีวัดเก่าแก่และมีวัดสถาปัตยกรรมพม่าจำนวนมากที่สุดในไทย มีศูนย์อนุรักษ์ช้างไทยที่จัดช้างแสดงให้นักท่องเที่ยวชม

    เมื่อเวลาเปลี่ยนไปเอกลักษณ์ และอัตลักษณ์ของแต่ละจังหวัดก็มักจะเปลี่ยนตาม เช่น ส้มโอหวานของนครปฐม และทุเรียนของนนทบุรีก็เคยผ่านวิกฤตน้ำท่วมปี 2554 ทำให้สวนส้มโอเสียหายกว่าร้อยละ 70 สวนทุเรียนเสียหายกว่าร้อยละ 98 หรือฝึกช้างใช้ของลำปางก็หยุดฝึกช้างเป็นผลจากรัฐบาลประกาศเลิกสัมปทานทำไม้ปี 2532 หรือ โอ่งมังกรของราชบุรีก็ได้รับความนิยมลดลง หรืองาช้างและหน่อไม้ไร่ของอุทัยธานีก็หายไปจากคำขวัญใหม่แล้ว หรือดอกไม้งามสามฤดูก็ไม่มีในคำขวัญของเลยแล้ว โลกเรามีการเปลี่ยนแปลงในทุกเรื่อง การปรับตัวปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมย่อมทำให้เกิดความได้เปรียบในการแข่งขัน แต่การเปลี่ยนแปลงก็ไม่ใช่เรื่องง่ายดังเช่นคำขวัญจังหวัด

    เมื่อเวลาเปลี่ยนไปเอกลักษณ์ และอัตลักษณ์ของแต่ละจังหวัดก็มักจะเปลี่ยนตาม เช่น ส้มโอหวานของนครปฐม และทุเรียนของนนทบุรีก็เคยผ่านวิกฤตน้ำท่วมปี 2554 ทำให้สวนส้มโอเสียหายกว่าร้อยละ 70 สวนทุเรียนเสียหายกว่าร้อยละ 98 หรือฝึกช้างใช้ของลำปางก็หยุดฝึกช้างเป็นผลจากรัฐบาลประกาศเลิกสัมปทานทำไม้ปี 2532 หรือ โอ่งมังกรของราชบุรีก็ได้รับความนิยมลดลง หรืองาช้างและหน่อไม้ไร่ของอุทัยธานีก็หายไปจากคำขวัญใหม่แล้ว หรือดอกไม้งามสามฤดูก็ไม่มีในคำขวัญของเลยแล้ว โลกเรามีการเปลี่ยนแปลงในทุกเรื่อง การปรับตัวปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมย่อมทำให้เกิดความได้เปรียบในการแข่งขัน แต่การเปลี่ยนแปลงก็ไม่ใช่เรื่องง่ายดังเช่นคำขวัญจังหวัด

http://www.oknation.net/blog/countrygirl/2012/04/23/entry-1
http://www.snc.lib.su.ac.th/snclibblog/?p=10967
http://www.oknation.net/blog/print.php?id=138590
http://www.dek-d.com/board/view.php?id=1973817
http://www.facebook.com/photo.php?fbid=564467650251266&set=a.373573639340669.89979.373126439385389
บทความเมื่อเร็ว ๆ นี้
395. สร้างทางตัน หรือทางออก
394. สะท้อนภาพจังหวัดผ่านคำขวัญ
393. เฟสบุ๊คไม่ใช่ที่ส่วนตัวอีกต่อไป
392. แรงขับการแบ่งปันในเครือข่ายสังคม
ค้นในบทความ
กลับหน้าแรก
Thaiall.com