ระบบห้องสมุดที่บ้าน
 
# 365 ระบบห้องสมุดที่บ้าน

    ปัจจุบันเทคโนโลยีพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว สื่ออิเล็กทรอนิกส์หาได้ง่าย ดาวน์โหลดเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์ได้อย่างรวดเร็ว เมื่อรวมกับหนังสือในบ้านของทุกคนในครอบครัวก็เรียกได้ว่าเกินที่เก็บ ทั้งบนหิ้งหนังสือ ในเครื่องคอมพิวเตอร์ หรือในความทรงจำ ในอดีตการมีห้องสมุดที่บ้านเป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้เพราะร้านหนังสือมีน้อย หนังสือมีไม่หลากหลาย และราคาแพง แต่นโยบายสนับสนุนให้คนไทยอ่านมากขึ้น ทำให้มีหนังสือวางจำหน่ายในร้านหนังสือทุกประเภท และร้านหนังสือเปิดอยู่ทุกมุมเมือง หลายบ้านจึงมีห้องสมุดที่บ้าน (Home Library)

    การมีหนังสือจำนวนมากในบ้านทำให้การค้นคืนทำได้ยาก แต่ด้วยเทคโนโลยีที่พัฒนาอย่างรวดเร็วทำให้เราสามารถเช่าเครื่องบริการ (Web server) พร้อมโดเมนเนม (Domain name) ไว้จดบันทึก เผยแพร่เรื่องราวรอบตัว (Blog) หรือทำธุรกิจขนาดเล็กได้แล้ว โดยมีค่าใช้จ่ายรวมประมาณ 1,500 บาทต่อปีกับค่าเช่าพื้นที่และจดโดนเมนเนม ประกอบกับมีสคลิ๊ปแบบโอเพนท์ซอร์ท (Open Source) ให้นำมาติดตั้งและปรับแต่งได้ตามความต้องการ โดยไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่ม ซึ่งหนึ่งในสคลิ๊ป (Script) ที่น่าสนใจคือ ระบบจัดการห้องสมุดเสนายันที่พัฒนาโดยชาวอินโดนีเซีย ซึ่งมีคนไทยร่วมพัฒนา แล้วใช้งานกันอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน

    SLiMS (Senayan Library Management System) รุ่น 5 มีการปรับปรุงล่าสุดวันที่ 12 กันยายน 2555 สามารถนำมาติดตั้งในเครื่องบริการที่รองรับ MySQL และ PHP อาจใช้เป็นเพียงห้องสมุดบ้านที่รองรับการสืบค้นของสมาชิก และจัดเก็บให้เป็นระเบียบ โดยระบบแบ่งผู้เกี่ยวข้องเป็น 3 ระดับคือ ผู้ใช้ทั่วไป สมาชิกห้องสมุด และเจ้าหน้าที่ หากต้องการพิมพ์บาร์โค้ด (Barcode) สำหรับติดปกหนังสือแต่ละเล่มก็สามารถทำได้ รองรับการแนบแฟ้มมากกว่าหนึ่งแฟ้ม เพิ่มภาพปกหนังสือ ส่งแฟ้มออก (Export) หรือนำเข้า (Import) แฟ้มได้หลายรูปแบบ รองรับการอัพโหลดอีบุ๊ค หากมีเพื่อนต้องการสืบค้น หรือยืมหนังสือก็เพียงแต่แจ้งที่อยู่เว็บเท่านั้น นี่คือการพัฒนาแหล่งจัดเก็บสื่อการเรียนรู้ในพอศอนี้ แล้วปัญหาอ่านน้อยของคนไทยก็จะหมดไป หากทุกบ้านมีระบบห้องสมุดสื่อที่ง่ายต่อการสืบค้นและเข้าถึง
บทความเมื่อเร็ว ๆ นี้
366. โหนกระแส 3G สร้างนิยามใหม่
365. ระบบห้องสมุดที่บ้าน
364. 11ฮกเกอร์หมวกขาว11ฮกกูเกิ้ล
363. ครบหนึ่งปีการจากไปของสตีฟ จ็อบส์
ค้นในบทความ
กลับหน้าแรก
Thaiall.com