การรวมศูนย์กับกระจายศูนย์ในปัจจุบัน
 
# 358 การรวมศูนย์กับกระจายศูนย์ในปัจจุบัน

    คอมพิวเตอร์เครื่องแรกมีชื่อว่า ENIAC พัฒนาในปีค.ศ.1946 แล้วอีกหลายสิบปีต่อมา จึงเริ่มมีเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล ในช่วงแรกนั้นระบบคอมพิวเตอร์ถือกำเนิดขึ้นจากแนวคิดของการรวมศูนย์ เพราะง่ายต่อการควบคุม ดูแล และแก้ปัญหา เหตุที่ต้องรวมศูนย์เพราะอุปกรณ์ยังไม่มีมาตรฐาน ผลิตได้น้อย ราคาจึงสูง ยังใช้ไม่แพร่หลาย ผู้เกี่ยวข้องทั้งผู้บริการ ผู้เชี่ยวชาญ ผู้ดูแล และผู้ใช้ยังมีน้อย ทำให้การเชื่อมต่อเป็นเครือข่ายมีขั้นตอนที่ซับซ้อน นำมาใช้งานน้อย ดังนั้นการรวมศูนย์จึงกลายเป็นทางเลือกที่จะทำให้การเชื่อมโยงระบบทั้งหมดเกิดขึ้นได้ในทางปฏิบัติ และใช้ได้อย่างเป็นรูปธรรม

    เมื่อการพัฒนาด้านเทคโนโลยีดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง เกิดแนวคิดเรื่องการกระจายศูนย์ และถูกนำไปใช้ในองค์กรเอกชนเพิ่มขึ้น ประกอบกับสามารถลดขนาดเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดใหญ่ให้เล็กลง และราคาถูกลดลง จึงนำไปสู่การสร้างเครือข่ายในองค์กร เกิดการแบ่งปันเครื่องพิมพ์ และหน่วยเก็บข้อมูล ในปีค.ศ.1969 เริ่มโครงการเชื่อมระหว่างมหาวิทยาลัยจำนวน 4 แห่ง แล้วขยายสู่การเชื่อมกับภาคธุรกิจ จนขยายที่เชื่อมโยงทั้งโลกเข้าเป็นเครือข่ายเดียวกัน แล้วใช้ชื่อว่าเครือข่ายอินเทอร์เน็ต (Internet)

    เมื่อโลกได้กำหนดมาตรฐานเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์จนเป็นที่ยอมรับ ก็เริ่มคิดใหม่ว่าแนวคิดแบบกระจายอาจเหมาะกับองค์กรที่ต้องการความคล่องตัว แต่ปัญหาที่ตามมาคือการขาดประสิทธิภาพในการควบคุม และใช้ทรัพยากรอย่างไม่คุ้มค่า อาทิ องค์กรที่มีเครื่องคอมพิวเตอร์เชื่อมต่อกับเครื่องพิมพ์ ซึ่งทุกคนมีคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล หากจะจัดหาเครื่องพิมพ์พร้อมหมึกให้รองรับทุกคนได้ จะมีประเด็นเรื่องความคุ้มค่า หากเลือกการเช่าเครื่องพิมพ์แบบมัลติฟังก์ชันก็จะแบ่งปันและควบคุมให้การใช้งานมีประสิทธิภาพ ปัจจุบันพบคำว่า Convergent แปลว่า ซึ่งมาบรรจบกัน ถูกใช้ขยายคำนามหลายคำ เมื่อนำมาใช้ในภาคธุรกิจจะหมายถึงการมาบรรจบของหน่วยงานที่เคยกระจัดกระจาย สามารถพิจารณาว่าทรัพยากรใดใช้ร่วมกันได้ ทำให้เกิดการควบคุม ตัดลด และแบ่งปันทรัพยากรให้เกิดการใช้ร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ แล้วเหลือทรัพยากรส่วนเกินที่จะนำไปใช้ประโยชน์ได้อีก
บทความเมื่อเร็ว ๆ นี้
359. พออ่านน้อยยอดซื้อแท็บเล็ตก็น้อย
358. การรวมศูนย์กับกระจายศูนย์ในปัจจุบัน
357. อิทธิพลของการกดไลค์
356. จิตอาสา
ค้นในบทความ
กลับหน้าแรก
Thaiall.com