วิจัยกินได้ รับใช้ชุมชน
 
# 343 วิจัยกินได้ รับใช้ชุมชน

    ได้เข้าร่วมการประชุมวิชาการระดับชาติเครือข่ายวิจัยสถาบันอุดมศึกษาทั่วประเทศ ประจำปี 2555 เมื่อวันที่ 16 พ.ค.2555 ในหัวข้อ "วิจัยกินได้ รับใช้ชุมชน" ซึ่งมีวิทยากรระดับสุดยอดของประเทศจำนวน 3 ท่าน ที่เป็นต้นแบบของผู้ที่เคยชินกับการตั้งคำถาม และหาคำตอบอย่างมีกระบวนการ มานำเสนอบทเรียนที่นำไปสู่การเป็นศูนย์การเรียนรู้ของชุมชน ในเรื่องของเทคโนโลยีการผลิตที่เป็นฐานรากของมนุษย์มีเรื่องราวให้เรียนรู้ พัฒนา และต่อยอดได้อีกมาก

    อ.เชาว์วัช หนูทอง จากลพบุรี มีคนเรียกท่านว่าวิศวกรชาวนา เป็นต้นแบบที่นำเสนอเทคโนโลยีการปลูกข้าวแบบโยนที่ช่วยลดปริมาณการใช้พันธ์ข้าว ลดเวลาการปลูกข้าวในนาปลูก ใช้แรงงานคนปลูกข้าวลดลงและเร็วขึ้น และมีผลิตภัณฑ์ที่ท่านพัฒนาขึ้นมากมาย อาทิ นวัตกรรมทางการเกษตร ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงที่เป็นเทคโนโลยีใหม่ที่อาจนำมาใช้แทนปุ๋ยเคมีได้ในอนาคต ท่านมีศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีการปลูกข้าวที่มีนักแสดง และหน่วยงานไปดูงานมากมาย มีคำคมที่ฝากไว้ อาทิ ปลูกสิ่งที่กินและกินสิ่งที่ปลูก ส่วน อ.ตะวัน ห่างสูงเนิน จากเรนโบว์ฟาร์ม พัฒนาพันธ์ข้าวใหม่ ชื่อข้าวหอมเวียงพิงค์ เพื่อการเกษตรอินทรีย์ ที่ล้มยาก มีลำต้นไม่สูง ท่านมีบทบทาเป็นตัวคูณในการพัฒนาเกษตรกรพันธ์ใหม่ในรูปของศูนย์ส่งเสริม และมีเกษตรกรเข้าร่วมกลุ่มหลายร้อยครอบครัว โดยเน้นการปลูกเชิงเกษตรอินทรีย์และจำหน่ายในท้องถิ่น มีคำคมฝากไว้ อาทิ Middle of the road และ Make it simple

    ดร.ชมชวน บุญระหงษ์ ได้ขมวดปัญหาการทำเกษตร หรือการใช้เทคโนโลยีไว้อย่างชัดเจนว่า ไม่ว่าจะใช้ปุ๋ยเคมี หรือปุ๋ยอินทรีย์ ถ้ายังเป็นการเกษตรเชิงเดี่ยวก็จะไม่สามารถดำรงอยู่ได้อย่างยั่งยืน จะต้องใช้มิติทางสังคม และความเป็นชุมชน โดยปลูกสิ่งที่กิน และกินสิ่งที่ปลูก แล้วเปลี่ยนบทบาทของกลุ่มให้เป็นผู้กำหนดราคาขาย โดยอาศัยกระบวนการกลุ่มในการวางแผนร่วมกัน ดำเนินการ วิเคราะห์ ร่วมกันประเมินความเสี่ยง แก้ปัญหา และเดินไปด้วยกัน ร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมแรง ร่วมใจ จึงจะทำให้การเกษตรของไทยในยุคที่กำลังก้าวเข้าสู่อาเซียนสามารถแข่งขันและไม่ถูกทิ้งห่างไปมากกว่าเดิม

    ดร.ชมชวน บุญระหงษ์ ได้ขมวดปัญหาการทำเกษตร หรือการใช้เทคโนโลยีไว้อย่างชัดเจนว่า ไม่ว่าจะใช้ปุ๋ยเคมี หรือปุ๋ยอินทรีย์ ถ้ายังเป็นการเกษตรเชิงเดี่ยวก็จะไม่สามารถดำรงอยู่ได้อย่างยั่งยืน จะต้องใช้มิติทางสังคม และความเป็นชุมชน โดยปลูกสิ่งที่กิน และกินสิ่งที่ปลูก แล้วเปลี่ยนบทบาทของกลุ่มให้เป็นผู้กำหนดราคาขาย โดยอาศัยกระบวนการกลุ่มในการวางแผนร่วมกัน ดำเนินการ วิเคราะห์ ร่วมกันประเมินความเสี่ยง แก้ปัญหา และเดินไปด้วยกัน ร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมแรง ร่วมใจ จึงจะทำให้การเกษตรของไทยในยุคที่กำลังก้าวเข้าสู่อาเซียนสามารถแข่งขันและไม่ถูกทิ้งห่างไปมากกว่าเดิม
บทความเมื่อเร็ว ๆ นี้
344. นักศึกษาป.โทใช้ yammer.com
343. วิจัยกินได้ รับใช้ชุมชน
342. เทคโนโลยีทางการศึกษากับการวิจัย
341. ชวนมองโอเอสของปี2556
ค้นในบทความ
กลับหน้าแรก
Thaiall.com