3.9G คืออะไร
 
# 317 3.9G คืออะไร

    ปัจจุบันโทรศัพท์เคลื่อนที่เป็นปัจจัยในการดำรงชีวิตของคนทำงานอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ บางคนต้องพก 2 เครื่อง เพื่อใช้ในการทำงาน และใช้ส่วนตัว ส่วนนักเรียน นักศึกษาเป็นกลุ่มผู้ซื้อที่ถูกยอมรับว่ามีกำลังซื้อสูงสุด เพราะเปลี่ยนมือถือตามแฟชั่น ผู้ผลิตออกรุ่นใหม่มาเป็นต้องเกาะกะแสไม่เคยพลาด ไม่เหมือนผู้ใหญ่ที่จะเปลี่ยนแต่ละทีคิดแล้วคิดอีก กำเนิดของโทรศัพท์เกิดในปีพ.ศ.2419 โดยนักประดิษฐ์ชื่ออเล็ก ซานเดอร์ เกรแฮม เบลล์ (Alexander Graham Bell) แล้วในปี พ.ศ. 2420 โทมัส อัลวา เอดิสัน (Thomas Alwa Edison) ก็นำมาพัฒนาต่อจนสามารถใช้งานได้จริง สำหรับประเทศไทยเริ่มใช้โทรศัพท์ในปีพ.ศ.2450 โดยกรมไปรษณีย์โทรเลขได้นำเครื่องโทรศัพท์ระบบไฟกลาง (CENTRAL BATTERY: CB) ติดตั้งเครื่องชุมสายระบบไฟกลางวัดเลียบ ซึ่งเป็นเครื่องชุมสายแห่งแรกในประเทศไทย

    แต่ละยุคมีเทคโนโลยีที่แตกต่างกัน ยุคแรก หรือ 1G ใช้ Cellular ที่ยังเป็น Analog มาเป็นยุค 2 G ใช้ GSM ที่เริ่มเป็น Digital แล้ว ยุค 2.5 ใช้ GPRS ยุค 2.75G ใช้ EDGE ยุค 3G ใช้ WCDMA ยุค 3.5G ใช้ HSDPA ยุค 3.9G ใช้ HSDPA+ โดยสรุปแล้ว 3.9G เร็วกว่า 3G กว่า 20 เท่า แล้ว 3G ก็เป็นเทคโนโลยีที่ล้าสมัยไปแล้ว ส่วน 4G ยังเป็นเทคโนโลยีที่ยังไม่เกิดขึ้นในโลก ดังนั้นเราไปได้ไกลสุดก็เพียง 3.9G

    ถ้าเราใช้ 3.9G ก็จะเป็นประเทศแรก ๆ ในอาเซียน และให้บริการระยะเดียวกับญี่ปุ่น ระบบนี้ใช้คลื่นความถี่ 2100 MHz เป็นคลื่นความถี่สากล โดยเราเป็นประเทศที่ 24 ของโลก และเป็นประเทศที่ 4 ของเอเชียที่ใช้คลื่นนี้ ถ้ามีโทรศัพท์ที่รองรับ 3.9G คือ รองรับ HSDPA+ ก็จะโทรศัพท์แบบเห็นกันได้ เล่นอินเตอร์เน็ตด้วยความเร็วถึง 42 Mbps แต่โทรศัพท์ที่รองรับเทคโนโลยีนี้ยังหาได้ยากในท้องตลาด และมีราคาสูง ซึ่งเชื่อได้ว่าอีกไม่นานเราก็จะได้ใช้ 3.9G กันทุกคน เพราะถ้าผู้ส่งต้องการเห็นภาพของเรา แต่โทรศัพท์ของเรายังเป็นจอสีเดียว คงสื่อสารกันไม่สนุก แล้วเวลานั้นก็คือเวลาที่ต้องเปลี่ยนโทรศัพท์อีกครั้ง
บทความเมื่อเร็ว ๆ นี้
318. ที่สุดกับ 3.9G โดยทีโอที
317. 3.9G คืออะไร
316. ต่ออินเทอร์เน็ตแผนสอง
315. ความเชื่อเรื่องวันสิ้นโลก
ค้นในบทความ
กลับหน้าแรก
Thaiall.com