อวสานไออีหก
 
# 253 อวสานไออีหก
9 - 15 สิงหาคม 2553

    หนึ่งเดือนมานี้เริ่มเห็นความเป็นไปได้ที่จะถึงกาลอวสานของโปรแกรมบราวเซอร์ยอดฮิตติดเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้วินโดว์เอ็กซ์พี (Windows XP) ด้วยเหตุผลสำคัญคือ เว็บไซต์เฟซบุ๊คพัฒนาระบบที่เพิ่มเติม ซึ่งมีผลให้ไม่สามารถใช้งานปกติเมื่อใช้โปรแกรมอินเทอร์เน็ตเอกซ์พลอเรอร์ รุ่น 6 (Internet Explorer) ลักษณะปัญหาที่ชัดเจนคือ หลังลงชื่อเข้าใช้งาน (Login) จะพบปัญหาการตอบสนองที่ผิดพลาด และไม่สามารถเข้าเว็บไซต์หน้าโปรไฟล์ (Profile) ของเราได้ ความพยายามเข้าไปใช้งานต่อ คือ การกดปุ่มคอนโทลเอฟห้า (Ctrl + F5) เพื่อเรียกใหม่ (Refresh) ก็จะกับหน้าโปรไฟล์ แต่การเข้าใช้งานหลาย ๆ ส่วนจะเกิดปัญหาซ้ำเช่นนั้นอย่างต่อเนื่อง

    ทางเลือกของการแก้ปัญหาทำได้โดยอัพเกรดโปรแกรมอินเทอร์เน็ตเอกซ์พลอเรอร์ จากรุ่น 6 เป็นรุ่น 7 รุ่น 8 หรือรุ่น 9 แต่ก็มีทางเลือกอื่น คือ การใช้โปรแกรมบราวเซอร์ของบริษัทอื่น เช่น โปรแกรมไฟร์ฟอกซ์ (Firefox) โปรแกรมซาฟารี (Safari) โปรแกรมโครม (Chrome) หรือโปรแกรมปลาวาฬ (Plawan) เป็นต้น มีผู้ใช้จำนวนไม่น้อยติดตั้งโปรแกรมของหลายบริษัท แต่ใช้งานจริงเพียง 1 โปรแกรมเท่านั้น เพราะโปรแกรมเหล่านี้มีหน้าที่เหมือนกันและใช้แทนกันได้ จึงไม่สมเหตุสมผลที่ผู้ใช้ทั่วไปจะสลับการใช้โปรแกรมเหล่านี้ในเครื่องคอมพิวเตอร์เพียงเครื่องเดียว ถ้าโปรแกรมที่ใช้งานอยู่ตอบความต้องการได้อย่างครบถ้วน

    การพัฒนาด้านซอฟท์แวร์เพื่อใช้บริการจากเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเกิดเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่อย่างต่อเนื่อง แม้ชั่วโมงนี้ก็ยังมีซอฟท์แวร์ใหม่ออกมาให้เลือกใช้โดยนักพัฒนาจากทุกมุมโลก มีทั้งที่ใช้ได้ฟรี ทดลองใช้ และเสียค่าใช้จ่าย ปัจจุบันเราสามารถใช้บริการจากอินเทอร์เน็ตด้วยโปรแกรมเว็บบราวเซอร์ ซึ่งสามารถใช้บริการได้อย่างหลากหลายเพิ่มขึ้น ปัจจุบันสามารถแชท (Chat) หรือเล่นเกมออนไลน์โดยตรงผ่านเว็บไซต์ facebook.com จนเป็นที่นิยมอย่างแพร่หลาย ส่วนโปรแกรมที่มีความสามารถเฉพาะ เช่น เอ็มเอสเอ็น หรือ แคมฟรอก อาจลดความนิยมลงอย่างที่เคยเกิดขึ้นกับโปรแกรมไพล์ (Pine) โปรแกรมเพิร์ท (Pirch) โปรแกรมไอซีคิว (ICQ) หรือโปรแกรมแวบบราวเซอร์ (WAP Browser) เป็นต้น ทั้งหมดนี้คือการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับซอฟท์แวร์กลุ่มหนึ่งที่เราท่านใช้งานกันอยู่
บทความเมื่อเร็ว ๆ นี้
254. การใช้ SNW หนุ่น
253. อวสานไออีหก
252. การฝึกตัดต่อวีดีโอตั้งแต่ชั้นประถม
251. สถิติการมีเครื่องคอมพิวเตอร์ของนักศึกษา
ค้นในบทความ
กลับหน้าแรก
Thaiall.com