การวิจัยของครูแกนนำอีเลินนิ่ง
 
# 162 การวิจัยของครูแกนนำอีเลินนิ่ง
10 พฤศจิกายน - 16 พฤศจิกายน 2551

    จากรายงานการวิจัยเรื่อง "รูปแบบการพัฒนาศักยภาพของอาจารย์ด้านการจัดการเรียนการสอนโดยใช้ e-learning : กรณีศึกษาวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครลำปาง" ผู้วิจัยคือ อาจารย์ศรีสมพร ทรวงแก้ว ผู้อำนวยการวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครลำปาง และอาจารย์โสภณ จาเลิศ ครูแกนนำ E-Learning สถาบันพระบรมราชชนก การวิจัยครั้งนี้ใช้โปรแกรม Moodle 1.6.6 Plus เป็นเครื่องมือสำหรับจัดระบบการจัดการเรียนการสอน ร่วมกับแบบประเมินความสามารถในการจัดการเรียนของอาจารย์ทั้งก่อนและหลังการอบรมการใช้โปรแกรม ซึ่งผลการเปรียบเทียบความสามารถในการจัดการเรียนการสอนก่อนและหลังการอบรมโครงการพัฒนาระบบการเรียนการสอนผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ e-learning โดยหลังการอบรมสูงกว่าก่อนการอบรม และแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

    โปรแกรมมูดเดิ้ล (Moodle) คือ โปรแกรมฝั่งเครื่องบริการ (Server-Side Script) ทำหน้าที่ให้บริการระบบอีเลินนิ่ง ทำให้ผู้ดูแลระบบสามารถเปิดบริการแก่อาจารย์ และนักเรียน ในการมีกิจกรรมด้านการเรียนการสอน 2 ระบบ ได้แก่ ระบบซีเอ็มเอส หรือระบบจัดการเนื้อหา (CMS = Course Management System) คือ ระบบบริการให้ผู้สอนสามารถจัดการเนื้อหา เตรียมเอกสารหรือสื่อมัลติมีเดีย จัดทำแบบฝึกหัดตามแผนการจัดการเรียนรู้ได้ ส่วนระบบแอลเอ็มเอส หรือระบบจัดการเรียนรู้ (LMS = Learning Management System) คือ ระบบบริการให้นักเรียนเข้าเรียนรู้ตามลำดับ ตามช่วงเวลา ตามเงื่อนไขที่ผู้สอนได้จัดเตรียมอย่างเป็นระเบียบ หรือวัดผลการเรียนได้อัตโนมัติ ปัจจุบันมีโปรแกรมที่ทำหน้าที่เป็นเพียงระบบซีเอมเอส(ไม่มีระบบแอลเอ็มเอสในตัว) สามารถสร้างวัตถุเรียนรู้จากภายนอกแล้วนำเข้าไปใช้งานในระบบซีเอ็มเอสตัวอื่น เช่น สกอร์ม (SCORM = Sharable Content Object Reference Model) ที่สามารถนำไปติดตั้งเป็นส่วนหนึ่งในโปรแกรมมูเดิ้ล หรือโปรแกรมเลินสแควร์ (Learnsquare) ได้

    การสอนผ่านระบบอีเลินนิ่งเป็นเรื่องที่ใหม่ ไม่ง่ายในทางปฏิบัติ และมีเงื่อนไขมากมาย เพราะสิ่งที่จะนำเข้าระบบอีเลินนิ่งต้องสร้างขึ้นอย่างมีขั้นตอน ใช้เวลาศึกษา ใช้ทรัพยากร ลงแรง ทดสอบ และอาศัยการมีส่วนร่วม ในงานวิจัยชิ้นนี้กล่าวถึงปัจจัยความสำเร็จ 5 ประการที่มีส่วนช่วยในการพัฒนาศักยภาพอาจารย์ในการเรียนการสอนโดยใช้อีเลินนิ่ง (NASAM Model) คือ ความตั้งใจ ความพร้อม ความร่วมมือ เวลา และสิ่งแรงจูงใจ หากองค์กรใดจะนำระบบอีเลินนิ่งมาใช้ อย่างน้อยควรเข้าใจปัจจัยที่จะทำให้อาจารย์สามารถทำงานได้สำเร็จบรรลุตามวัตถุประสงค์ของการใช้งานระบบอีเลินนิ่ง
บทความเมื่อเร็ว ๆ นี้
163. เครื่องบันทึกเสียงในโทรศัพท์
162. การวิจัยของครูแกนนำอีเลินนิ่ง
161. เริ่มต้นและปลายทางของการเรียนเขียนโปรแกรม
160. แนวการสอนของครูที่เปลี่ยนไป
ค้นในบทความ
กลับหน้าแรก
Thaiall.com