http://goo.gl/forms/8KseukwBQW

แบบสอบถามเพื่อการวิจัย เรื่อง ความสุขในการทำประกันคุณภาพของอาจารย์สถาบันอุดมศึกษาเอกชน

คำชี้แจง

1. แบบสอบถามฉบับนี้จัดทำขึ้นเพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบและศึกษาวิธีการสร้างความสุขในการทำประกันคุณภาพ ของอาจารย์สถาบันอุดมศึกษาเอกชนในประเทศไทย โดยข้อมูลที่ได้รับจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งสำหรับสถาบันอุดมศึกษาในการวางแผนเพื่อส่งเสริมให้อาจารย์สถาบันอุดมศึกษาเอกชนทำประกันคุณภาพอย่างมีความสุข

2. ความสุขในการทำประกันคุณภาพ หมายถึง ความรู้สึกเชิงบวกของอาจารย์ในการเตรียมข้อมูลผลการดำเนินงาน และการเห็นคุณค่าหรือประโยชน์ที่อาจารย์และสถาบันอุดมศึกษาเอกชนจะได้รับจากการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานด้านต่างๆ ตามตัวบ่งชี้ที่ใช้ในการประเมินคุณภาพภายในและภายนอก ตลอดจนองค์ประกอบภายในและภายนอกสถาบันที่ช่วยส่งเสริมหรือสนับสนุนให้อาจารย์ปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิผลและมีประสิทธิภาพ

3. แบบสอบถามมี 4 ตอน ได้แก่
ตอนที่ 1 สถานภาพทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม [จำนวน 5 ข้อ]
ตอนที่ 2 ความสุขในการทำประกันคุณภาพ [จำนวน 135 ข้อ]
ตอนที่ 3 วิธีการสร้างความสุขในการทำประกันคุณภาพ [จำนวน 1 ข้อ]
ตอนที่ 4 ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะ [จำนวน 1 ข้อ]

หัวหน้าโครงการวิจัย
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. สุบิน ยุระรัช
ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมและพัฒนางานวิจัย มหาวิทยาลัยศรีปทุม
2410/2 ถ.พหลโยธิน แขวงเสนานิคม เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900
โทรศัพท์: 02-579-1111 ต่อ 1155/โทรสาร 2187 มือถือ 085-075-2007, อีเมล์ subin.yu@spu.ac.th

    This is a required question
    This is a required question
    This is a required question
    This is a required question
    This is a required question
    This is a required question
    1. ส่งเสริมให้มีการผลิตผลงานทางวิชาการที่มีประโยชน์
    2. ช่วยสนับสนุนให้พัฒนาตนเองทางด้านวิชาการ
    3. ได้รับคำแนะนำที่เป็นประโยชน์ในการพัฒนางานในมิติต่างๆ 
    4. ได้รับการติดตามและประเมินผลเป็นระยะ
    5. มีส่วนร่วมรับผิดชอบตั้งแต่ต้นจนจบกระบวนการ
    6. ประกันคุณภาพช่วยให้เห็นถึงมาตรฐานกลางและมาตรฐานส่วนท้องถิ่น
    7. อัตลักษณ์และเอกลักษณ์เหมาะสมกับผลผลิตทางวิชาการ
    8. สนับสนุนให้การทำผลงานทางวิชาการมีความเหมาะสม
    9. ผลการดำเนินงานนำไปสู่การพิจารณาความดีความชอบ
    10. ทำให้บัณฑิตมีคุณภาพ
    11. แสดงให้เห็นระดับความสามารถในการแข่งขันทางการศึกษา
    12. งานได้รับการพัฒนาตามเป้าหมายที่ตั้งไว้
    13. ได้รับความร่วมมือกับผู้ร่วมงานทุกคน
    14. ทุกคนได้ทำตามหน้าที่และความรับผิดชอบ
    15. ผู้บริหารให้การสนับสนุนอย่างเต็มที่
    16. ทีมงานประกันคุณภาพมีความเป็นกัลยาณมิตร
    17. มีการสร้างวัฒนธรรมคุณภาพโดยทำจนเป็นนิสัย
    18. ช่วยให้สถาบันบริหารงานได้ตรงตามบริบทของตนเอง
    19. ทำให้การประกันคุณภาพภายในและภายนอกเป็นเรื่องเดียวกัน
    20. มีกระบวนการประกันคุณภาพชัดเจน
    21. กระบวนการประกันคุณภาพมีความยืดหยุ่น
    22. ผู้ประเมินเข้าใจและมีความรู้ในหน่วยงานที่จะไปประเมิน
    23. ผู้ประเมินมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีกับหน่วยงานที่ไปประเมิน
    24. ช่วยให้เกิดการสร้างความเข้าใจระหว่างกันในสถาบัน
    25. ผู้ประเมินให้ข้อเสนอแนะในเชิงพัฒนา
    26. ผู้ประเมินมีกัลยาณมิตรในการประเมิน
    27. ภูมิใจที่เห็นงานมีคุณภาพ
    28. การประกันคุณภาพก่อให้เกิดความคิดใหม่ๆ
    29. ทีมงานประกันคุณภาพได้รับการยอมรับ
    30. เครื่องมือที่ใช้ในการประกันคุณภาพมีประสิทธิภาพ
    31. ทำงานได้สอดคล้องกับปรัชญา ปณิธาน วิสัยทัศน์ และแผน
    32. ก่อให้เกิดแนวปฏิบัติการทำงานที่ได้มาตรฐาน
    33. มีเอกสารและแบบฟอร์มสนับสนุนที่เหมาะสม
    34. สร้างความผูกพันกับสถาบัน
    35. สร้างค่านิยมประกันคุณภาพในสถาบัน
    36. ความทุ่มเทและความพยายามที่จะทำประโยชน์ให้สถาบัน
    37. เกิดความคิดสร้างสรรค์ที่จะนำเสนอแนวทางใหม่ๆ ในการทำงาน
    38. มีความก้าวหน้าในอาชีพสายวิชาการ
    39. ได้รับการยอมรับจากเพื่อนร่วมงานและสถาบัน
    40. การยกย่องจากผู้บริหารสถาบันและเพื่อนร่วมงาน
    41. มีการสร้างบรรยากาศและสิ่งแวดล้อมที่ดีในการทำงาน
    42. ความสบายใจในการทำงาน
    43. มีอาสาสมัครเพิ่มมากขึ้นในการทำงานด้านต่างๆ
    44. ได้รับการส่งเสริมให้ทำงานตามความถนัดของตนเองได้อย่างเต็มที่ 
    45. ปัญหาเชิงนโยบายและในการบริหารสถาบันได้รับการแก้ไข
    46. มีการจัดระเบียบอาคารสถานที่และสภาพแวดล้อม
    47. ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเกิดความศรัทธาในสถาบัน
    48. การเห็นคุณค่าและประโยชน์ที่แท้จริงจากการทำงาน
    49. มีระบบประกันคุณภาพที่ส่งเสริมให้ทุกคนทำงานร่วมกัน
    50. เข้าใจและสามารถเขียนรายงานการประเมินคุณภาพได้เอง
    51. ได้ทราบผลการดำเนินงานตามตัวบ่งชี้ที่นำไปสู่การกำหนดแนวทางพัฒนา
    52. คณะหรือมหาวิทยาลัย ผ่านการประเมินในระดับที่น่าพอใจ
    53. มีจำนวนบุคลากรฝ่ายสนับสนุนเพียงพอกับภาระงาน
    54. บุคลากรฝ่ายสนับสนุนมีความรู้และทักษะในการทำประกันคุณภาพ
    55. ข้อมูลผลการดำเนินงานและหลักฐานครบถ้วนสมบูรณ์ตามตัวบ่งชี้
    56. ผลการดำเนินงานสะท้อนคุณภาพที่เป็นจริงของสถาบัน
    57. มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างผู้ประเมินและผู้รับการประเมิน
    58. ผู้ประเมินให้คำแนะนำอย่างจริงใจและมีความบริสุทธิ์ใจ 
    59. ผู้บริหารสถาบันมีทัศนคติที่ดีต่อการประกันคุณภาพ
    60. บุคลากรของสถาบันมีทัศนคติที่ดีต่อการประกันคุณภาพ
    61. ทำให้บุคลากรในหน่วยงานและสถาบันมีสัมพันธภาพที่ดีต่อกัน
    62. พึงพอใจในการทำงานประกันคุณภาพ
    63. ผลการดำเนินงานบรรลุเป้าหมายตามตัวบ่งชี้
    64. มีการทำงานเป็นระบบมากขึ้น
    65. การสืบค้นข้อมูลผลการดำเนินงานต่างๆ ทำได้ง่าย
    66. เอื้อให้บุคลากรเกิดความมุ่งมั่นในการทำงานอย่างต่อเนื่อง
    67. ความรู้สึกเป็นเจ้าของสถาบัน
    68. ผลการประเมินได้รับการยอมรับ
    69. ได้รับการสนับสนุนจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง
    70. ทำให้สามารถออกแบบอนาคตตนเองได้อย่างดีในเส้นทางวิชาชีพอาจารย์
    71. การไม่โดนบังคับให้ทำประกันคุณภาพ
    72. การทำประกันคุณภาพเกิดมาจากแรงจูงใจที่อยากจะทำเอง
    73. เข้าใจในหลักการของ PDCA และสามารถนำมาใช้ในการปฏิบัติงานได้
    74. การรับรู้ว่าได้ทำเพื่อประโยชน์ส่วนรวม
    75. มีเครือข่ายการประกันคุณภาพระหว่างสถาบันอุดมศึกษาเอกชน
    76. มีการแบ่งภาระงานในการทำประกันคุณภาพที่ชัดเจนโดยไม่ให้กระทบกับภาระงานปกติในสถาบัน
    77. ไม่มีความวิตกกังวลในการทำงาน
    78. ไม่มีความเครียดในการทำประกันคุณภาพ
    79. มีการเก็บรวบรวมข้อมูลตามตัวบ่งชี้เป็นระยะๆ เพื่อเตรียมความพร้อม
    80. มีคำสั่งแต่งตั้งที่ชัดเจนโดยระบุชื่อผู้กำกับดูแลตัวบ่งชี้และผู้จัดเก็บข้อมูล
    81. ระบบการบริหารงานผูกติดกับระบบการประกันคุณภาพ
    82. มีระบบสารสนเทศด้านการประกันคุณภาพที่มีประสิทธิภาพ
    83. เข้าใจประโยชน์ของการประกันคุณภาพ
    84. เชื่อว่าการประกันคุณภาพนำไปสู่การปรับปรุงและพัฒนาระบบการเรียนการสอนในระยะยาว
    85. มีจำนวนตัวบ่งชี้ที่เหมาะสมตามสมควร
    86. การประกันคุณภาพไม่ก่อให้เกิดการใช้ทรัพยากรอย่างสิ้นเปลือง
    87. ไม่มีการสร้างเอกสารหรือหลักฐานใหม่เพื่อรองรับการประเมิน
    88. ไม่เน้นการทำเอกสารจำนวนมาก แต่ให้ความสำคัญกับการรายงานผลการดำเนินงานตามสภาพจริง
    89. ตัวบ่งชี้การประเมินคุณภาพสอดคล้องกับตำแหน่งหน้าที่
    90. ทุกคนเข้าใจว่าเป็นความรับผิดชอบต่อหน้าที่และต่อสถาบัน
    91. เอกสารและหลักฐานตามตัวบ่งชี้ถูกจัดเก็บอย่างเป็นระบบ
    92. แผนพัฒนาคุณภาพมีความชัดเจนในเชิงกระบวนการ วิธีการปฏิบัติ และผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นในเรื่องต่างๆ จากการปรับปรุงคุณภาพ
    93. องค์กรที่ทำหน้าที่ประเมินคุณภาพมีความเป็นกัลยาณมิตร
    94. ผู้บริหารสถาบันนำข้อมูลผลการประเมินคุณภาพไปใช้ประโยชน์
    95. ผู้บริหารมีความรู้ความเข้าใจในระบบคุณภาพ
    96. มีงบประมาณเพียงพอสำหรับการประกันคุณภาพ
    97. อาจารย์ บุคลากร และนักศึกษา ช่วยเหลือกันในการพัฒนาคุณภาพ
    98. การประกันคุณภาพเป็นส่วนหนึ่งของงานประจำ
    99. ผู้บริหารชี้แจง บอกประโยชน์ และบอกวิธีการดำเนินงานให้สำเร็จ
    100. ผู้บริหารรับฟังเหตุผลของอาจารย์
    101. นำผลการประเมินไปปรับปรุงแก้ไขการเรียนการสอนอย่างจริงจัง
    102. ให้คำชมเชยหรือรางวัลกับผู้ที่ปฏิบัติงานด้านการประกันคุณภาพ
    103. มีเสรีภาพในการจัดระบบการเรียนการสอนตามวิธีการที่กำหนด
    104. นักศึกษาใช้กระบวนการประกันคุณภาพเพื่อการเรียนรู้ประสบการณ์
    105. ผู้บริหารกำกับดูแล ติดตาม และแก้ไขปัญหาให้ดำเนินการประกันคุณภาพต่อไปได้
    106. บุคลากรในสถาบันร่วมมือกันทำงานเป็นทีม
    107. มีอิสระในการทำงาน ตัดสินใจได้เอง
    108. มีขั้นตอนการควบคุมคุณภาพที่กำหนดได้เอง
    109. มีส่วนร่วมในการกำหนดเป้าหมาย แผน และการดำเนินการ
    110. มีจิตสำนึกถึงคุณภาพที่พึงมี
    111. เข้าใจในบทบาทหน้าที่ของตนเองในการทำประกันคุณภาพ
    112. เข้าใจเกณฑ์ประเมินคุณภาพ
    113. ผู้บริหารระดับสูงเห็นคุณค่าของอาจารย์
    114. ผู้บริหารระดับสูงให้รางวัลและยกย่องอาจารย์หรือหน่วยงานที่มีผลการดำเนินงานดีต่อประชาคมในสถาบันการศึกษานั้นๆ
    115. มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างหน่วยงานในสถาบัน
    116. ผู้บริหารสามารถบูรณการหลายเรื่องให้เป็นเรื่องเดียวกัน
    117. บุคลากรพอใจในการพัฒนาคุณภาพงาน โดยไม่มีการเพิ่มปริมาณงาน
    118. อาจารย์มองโลกในแง่บวก
    119. มีความพึงพอใจในผลงานที่ทำ เช่น บัณฑิตมีคุณภาพ ผลการวิจัย การบริการวิชาการแก่สังคมที่มีมาตรฐานและได้รับการยอมรับ เป็นต้น
    120. การทำงานก่อให้เกิดความภาคภูมิใจในงานที่ทำมากกว่าคะแนนที่ได้รับ
    121. มีวิสัยทัศน์ในการพัฒนางาน
    122. ทำด้วยใจเพื่อให้สถาบันก้าวหน้าและประสบความสำเร็จ
    123. การมีวัฒนธรรมคุณภาพในสถาบัน
    124. ความเอาใจใส่ในการทำประกันคุณภาพ
    125. การยอมรับในประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นจากการทำประกันคุณภาพ
    126. มีความศรัทธาในงานที่ทำ
    127. การจัดลำดับความสำคัญและความยากง่ายของงานที่ทำ
    128. ความภาคภูมิใจที่เห็นนักศึกษาประสบความสำเร็จ
    129. เครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูลได้รับความเห็นชอบจากทุกคนในสถาบัน
    130. มีคู่มือและวิธีการปฏิบัติที่ชัดเจนในการทำประกันคุณภาพ
    131. มีแผนงานที่ชัดเจน ทำตามแผน และประเมินผลการดำเนินงานตามแผนเพื่อการปรับปรุงคุณภาพอย่างต่อเนื่อง
    132. ผู้ประเมินสามารถให้ข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์อย่างแท้จริง
    133. ผู้บริหารสามารถสร้างแรงจูงใจให้กับผู้ใต้บังคับบัญชาได้
    134. ส่งเสริมและผลักดันให้มีคนเก่งจำนวนมากๆ ในสถาบัน
    135. ต้องการรักษาคุณภาพของสถาบันที่ตนเองพึ่งพาอาศัยและเป็นที่เลี้ยงชีพ
    Please enter one response per row
    This is a required question
    This is a required question