thaiall logomy background

ระบบคอมพิวเตอร์ และระบบเครือข่าย

my town
หน้าหลัก 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13
หน่วยที่ 1. ระบบคอมพิวเตอร์ และระบบเครือข่าย จุดประสงค์การเรียนรู้
1. สามารถบอกรายละเอียดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ได้
2. สามารถอธิบายลักษณะเครือข่ายแบบต่าง ๆ ได้
3. สามารถอธิบายการส่งข้อมูลระหว่างคอมพิวเตอร์ได้
สาระการเรียนรู้
1.1 ประเภทของเครื่องคอมพิวเตอร์
1.2 ส่วนประกอบของเครื่องคอมพิวเตอร์
1.3 ประโยชน์ของเครือข่าย
1.4 โครงสร้างของเครือข่าย (Topology)
1.5 ประเภทของระบบเครือข่าย
1.6 อีเธอร์เน็ต (Ethernet)
1.7 Hub หรือ Switch
1.8 OSI model
แบบฝึกหัดท้ายบท
1. สอบถาม หรือขอใบเสนอราคาคอมพิวเตอร์จากร้าน
2. หาภาพการเชื่อมต่อเครือข่ายขององค์กร จาก internet
3. หาข้อมูลเรื่อง hub หรือ switch ในด้านต่าง ๆ
หน่วยที่ 1. ระบบคอมพิวเตอร์ และระบบเครือข่าย 1.1 ประเภทของเครื่องคอมพิวเตอร์
1.1.1 Super computer เช่น Cray1, Star100 หรือ ETA10 เป็นต้น
1.1.2 Mainframe computer เช่น IBM 3090, VF, Maspar MP-2 หรือ VAX เป็นต้น
1.1.3 Mini computer เช่น IBM AS/400, VAX 6000 หรือ DEC 8000 เป็นต้น
1.1.4 Micro computer
1.2 ส่วนประกอบของเครื่องคอมพิวเตอร์
Computer specification
1MAINBOARD (V + S + L)..
2หน่วยประมวลผล (CPU)Pentium 4 2.8 GHz
3หน่วยความจำหลัก (RAM)128MB
4HDD40GB
5VGAGeforce 2 64 MB
6SOUNDBuild in
7LANBuild in
8USBversion 2.0 จำนวน 4 Port
9MODEM56Kbps V92
10TOWER CASEPOWER SUPPLY 350W & 2 FAN
11CD-ROM52X
12KEYBOARD104 Keys
13MOUSEOptical mouse
14SPEAKER280 W
15MONITOR17"
16FDD1.44 MB
17PRINTERLexmark z605(สมัยนี้ราคา 2000 ก็มีขาย)
1.3 ประโยชน์ของเครือข่าย 1.3 ประโยชน์ของเครือข่าย
1.3.1 Communication
1.3.2 Device or storage sharing เช่น file, printer หรือ CD-ROM เป็นต้น
1.3.3 Modem or Internet sharing
1.3.4 Multi-player games
1.4 โครงสร้างของเครือข่าย (Topology)
1.4.1 Star network
1.4.2 Bus network
1.4.3 Ring network
1.4.4 Hybrid network
1.5 ประเภทของระบบเครือข่าย
1.5.1 LAN (Local area network)
1.5.2 MAN (Metropolitan area network) หนังสือบางเล่มไม่กล่าวถึง MAN
1.5.3 WAN (Wide area network)
การเชื่อมต่อ internet จากที่บ้าน ไป ISP มี 5 วิธี
1. Dial-up
56 Kbps ผ่านสายโทรศัพท์ธรรมดา และใช้ Modem ในการเชื่อมต่อ
วิธีนี้เป็นวิธีที่นิยมมากที่สุดในไทย เพราะใช้งานง่าย เพียงแต่ซื้อคอมพิวเตอร์ที่มี modem เมื่อนำคอมพิวเตอร์ไปวางที่บ้าน ก็หาสายโทรศัพท์ เสียบเข้าช่อง modem ก็สามารถใช้คอมพิวเตอร์เชื่อมต่อ internet ได้แล้ว ถ้าไม่มีเงินซื้อ package ของ ISP ก็สามารถใช้ free internet ของ TOT ได้ โดยเสียค่าโทรศัพท์ครั้งละ 3 บาท ใช้ได้นาน 2 ชั่วโมงต่อครั้ง เมื่อหลุดก็ต่อใหม่ แต่หลาย ๆ คน บอกว่าติดยาก และช้า ซึ่งผมให้ข้อมูลเลยว่า แล้วแต่บ้าน และผู้ให้บริการโทรศัพท์ของท่าน เพราะของผมเร็วระดับหนึ่ง และติดทุกครั้งเมื่อ connect โดยหมุนไปที่เบอร์ 1222
Username : U89$0y)9@totonline.net
Password : j4**9c+p

2. ISDN (Integrated Services Digital Network)
128 Kbps ผ่านสายโทรศัพท์ดิจิทัล ISDN และใช้ ISDN Modem ในการเชื่อมต่อ
ให้บริการโดยบริษัทผู้ให้บริการโทรศัพท์ เช่น TOT TT&T หรือ TA ถ้าแถวบ้านท่านไม่มีบริการ ISDN ก็หมดสิทธิ์ใช้บริการนี้ เพราะผู้ให้บริการต้องต่อสายโทรศัพท์แบบพิเศษนี้เข้าบ้านท่าน แต่จะใช้สายโทรศัพท์แบบเก่าไม่ได้ สำหรับความเร็วของ ISDN จะได้ค่อนข้างแน่นอน ที่ 128 Kbps และไม่ได้รับผลกระทบจากสัญญาณรบกวนภายนอกมากนัก เพราะระบบ ISDN มีส่วนประกอบ 3 สาย หรือ 3 Channels คือ B-Channels 2 สาย และ D-Channels 1 สาย สำหรับ B-Channels มีความเร็วสายละ 64 Kbps เมื่อนำมารวมกันก็จะได้ 128 Kbps แต่ D-Channels มีความเร็ว 16 Kbps ซึ่งไม่ใช้รับส่งข้อมูล
3. DSL (Digital Subscriber Line)
สูงกว่าแบบ ISDN แต่ระบุไม่ได้ และใช้ Modem ในการเชื่อมต่อ
ความเร็วของ DSL ขึ้นกับผู้ให้บริการโทรศัพท์ และข้อตกลงที่จะเลือกใช้การเชื่อมต่อ DSL แบบใด การเชื่อมต่อ DSL จะให้บริการผ่านสายโทรศัพท์ธรรมดา เช่นในลำปางจะมี TT&T เป็นผู้ให้บริการ DSL เพราะผมเห็นร้าน net หลายแห่งใช้ และมีความเร็วที่สูงมาก โดยต่อสายจาก DSL modem เข้ากับ Hub ก็จะทำให้เครื่องในเครือข่ายต่อ internet ได้อย่างรวดเร็ว
เทคโนโลยี DSL มีหลายเทคโนโลยี
ADSL (Asymmetric Digital Subscriber Line)
HDSL (High-bit-rate Digital Subscriber Line)
RADSL (Rate Adaptive Asymmetric Digital Subscriber Line)
SDSL (Symmetric Digital Subscriber Line)
VDSL (Very high-bit-rate Digital Subscriber Line)
4. Cable
ต้อง share ร่วมกับคนอื่น ความเร็วจึงไม่แน่นอน ผ่านสาย CABLE TV (ในอเมริกาเป็นเรื่องปกติ)
เชื่อมต่อแบบนี้จะใช้ Coaxial cable ซึ่งเป็นสาย CABLE TV ซึ่งให้บริการทั้งโทรศัพท์ และชมทีวีร่วมกัน หากต้องการใช้อินเทอร์เน็ต ก็เพียงแต่หา Cable modem มาเชื่อมต่อเพิ่ม และเสียบสายเข้ากับ LAN card ในเครื่องของเรา
5. Satellite
ความเร็วขึ้นกับแบบของจานดาวเทียม ผ่านจานดาวเทียม
ปัจจุบัน CS internet คือผู้ให้บริการการเชื่อมต่อแบบจานดาวเทียม ซึ่งมีหลาย ๆ แบบ ตั้งแต่ใช้จานดาวเทียมร่วมกับ modem โดยใช้จานเป็นฝ่ายรับ และ modem เป็นฝ่ายส่งข้อมูล หรือใช้จานดาวเทียมทำหน้าที่ทั้งรับ และส่งข้อมูล สำหรับระบบดาวเทียมในปัจจุบันจะเรียกว่า DBS (Direct Broadcast Satellites) การเชื่อมต่อแบบนี้นิยมมากในพื้นที่ ๆ สายโทรศัพท์เข้าไปไม่ถึง เช่น หมู่บ้านบนภูเขา หรือ อบต. ในพื้นที่ห่างไกลเป็นต้น

1.6 อีเธอร์เน็ต (Ethernet)
Ethernet คือชื่อวิธีการสื่อสาร หรือ ระเบียบวิธีการ(Protocal) ของระบบ LAN ชนิดหนึ่งที่พัฒนาโดย Xerox corporation, Digital equipment corporation(DEC) และ Intel ตั้งแต่ปี ค.ศ.1976 เป็นไปตามมาตรฐาน IEEE 802.3 ในช่วงแรก Ethernet มีความเร็วเพียง 10 Mbps แต่ปัจจุบันพัฒนาเป็น Fast ethernet(100 Mbps) และ Gigabit ethernet(1000 Mbps)
ethernet ใช้เทคนิครับส่งข้อมูล CSMA/CD (Carrier sense multiple access/collision detection) หมายถึง การรับส่งข้อมูลที่ทำได้ครั้งละ 1 คน แต่จะมีการตรวจสอบ หากมีใครใช้สายก็จะไม่ส่ง และถ้าชนก็จะสุ่ม เพื่อไม่ให้เกิดปัญหา
Carrier sense หมายถึง การมี sense ในการถือครอง มีคนใช้อยู่ก็จะไม่แย่ง
Multiple access หมายถึง อุปกรณ์ต่าง ๆ ใช้สื่อชุดเดียวกันในการรับส่งข้อมูล
Collision detection หมายถึง เมื่อส่งพร้อม ๆ กันอาจชน จึงมีการตรวจสอบ ไม่ให้ชน
1.7 Hub หรือ Switch
Hub หรือ Switch ต่างเป็นอุปกรณ์ศูนย์กลาง สำหรับเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ หลายเครื่องเข้าด้วยกันด้วยอุปกรณ์ 3 อย่าง คือ สาย UTP(Unshieled Twisted Pair แบบ Category 5(CAT5)) หัว RJ45 สำหรับเข้าหัวท้ายของสาย และ Network adapter card
Hub เป็นอุปกรณ์ในสมัยแรก ที่ทำงานแบบ broadcast เมื่อเครื่องหนึ่งต้องการส่งสัญญาณไปอีกเครื่องหนึ่ง ตัว hub จะทำหน้าที่ส่งออกไปให้กับทุกเครื่อง ถ้าเครื่องเป็นผู้รับ ก็จะรับข้อมูลไป ถ้าไม่ใช้ก็จะไม่รับ ดังนั้นเมื่อซื้อ hub ขนาด 10 port ที่มีความเร็ว 10 Mbps(Mega Bit Per Second) ความเร็วที่ได้ก็ต้องหาร 10 เหลือเพียง 1 Mbps เมื่อใช้งานจริง หากมีผู้ใช้คนหนึ่งใช้โปรแกรม sniffer คอยดักจับ package ที่ส่งจาก hub ก็จะทราบข้อมูลต่าง ๆ ที่อยู่ในเครือข่ายนั้นทั้งหมด เช่น เนื้อความในจดหมาย เลขบัตรเครดิต username หรือ password ของผู้ใช้คนอื่น ๆ เป็นต้น สำหรับ Hub บางรุ่นจะมีช่อง Uplink สำหรับเชื่อมต่อ Hub อีกตัวหนึ่ง เพื่อขยายช่องสัญญาณ โดยใช้สาย Cross link ในการเชื่อม hub ผ่าน Uplink port โดยปกติ Hub แบบเดิมจะเป็นการเชื่อมเครือข่ายแบบ Ethernet 10BaseT หรือมีความเร็วที่ 10 Mbps นั่นเอง
Switch เป็นอุปกรณ์ที่พัฒนาขึ้น โดยเลือกส่งข้อมูลถึงผู้รับเท่าที่จำเป็นเท่านั้น ทำให้เครือข่ายที่ใช้ switch มีความเร็วสูงกว่าเครือข่ายที่ใช้ hub และมีความปลอดภัยสูงกว่า มีการพัฒนา switch ให้ทำงานใน Layer 3 ของ OSI ได้ ซึ่งมีความสามารถเป็น IP switching ทีเดียว
1.8 OSI model
ข้อมูลจาก http://www.thaiinternetwork.com/chapter/ieee_osi.htm
ปี ค.ศ.1977 องค์กร ISO(International Organization for Standard) ได้ตั้งคณะกรรมการ เพื่อพัฒนามาตรฐานของสถาปัตยกรรมเครือข่าย และในปี ค.ศ.1983 องค์กร ISO ก็ได้ประกาศรูปแบบสถาปัตยกรรม OSI model(Open system interconnection model) เพื่อเป็นมาตรฐานในการเชื่อมต่อระหว่างคอมพิวเตอร์ โดยแบ่งการเชื่อมต่อเป็น 7 Layer
แลนตามข้อกำหนดของ IEEE
เครือข่ายเฉพาะที่หรือแลนมีลักษณะโดยทั่วไป คือ มีอัตราการส่งข้อมูลสูงและมักมีรัศมีเครือข่ายครอบคลุมระยะทางประมาณ 5 กิโลเมตร ในหัวข้อนี้จะกล่าวถึงแลนตามมาตรฐานที่กำหนดโดย IEEE (Institute of Electrical and Electronics Engineers)
IEEE กำหนดเครือข่ายเฉพาะที่โดยใช้ตัวเลข 802 ตามด้วยตัวเลขย่อยเป็นรหัสประจำแต่ละมาตรฐาน รูปที่ข้างล่างนี้ เป็นแบบจำลองบางส่วนของมาตรฐานซึ่งเป็นที่รู้จักแพร่หลายได้แก่
• IEEE 802.3 หรืออีเทอร์เนต ใช้โปรโตคอลซีเอสเอ็มเอ/ซีดีในโทโปโลยีแบบบัส
• IEEE 802.4 หรือโทเคนบัส ใช้โปรโตคอลส่งผ่านโทเคนในโทโปโลยีแบบบัส
• IEEE 802.5 หรือโทเคนริง ใช้โปรโตคอลส่งผ่านโทเคนในโทโปโลยีวงแหวน
IEEE 802.3
IEEE 802.3 หรือ อีเทอร์เน็ต (Ethernet) เป็นเครือข่ายที่มีความเร็วสูงการส่งข้อมูล 10 เมกะบิตต่อวินาที สถานีในเครือข่ายอาจมีโทโปโลยีแบบัสหรือแบบดาว IEEE ได้กำหนดมาตรฐานอีเทอร์เน็ตซึ่งทำงานที่ความเร็ว 10 เมกะบิตต่อวินาทีไว้หลายประเภทตามชนิดสายสัญญาณเช่น
• 10Base5 อีเทอร์เน็ตโทโปโลยีแบบบัสซึ่งใช้สายโคแอกเชียลแบบหนา (Thick Ethernet) ความยาวของสายในเซกเมนต์หนึ่ง ๆ ไม่เกิน 500 เมตร
• 10Base2 อีเทอร์เน็ตโทโปโลยีแบบบัสซึ่งใช้สายโคแอ๊กเชียลแบบบาง (Thin Ethernet) ความยาวของสายในเซกเมนต์หนึ่ง ๆ ไม่เกิน 185 เมตร
• 10BaseT อีเทอร์เน็ตโทโปโลยีแบบดาวซึ่งใช้ฮับเป็นศูนย์กลาง สถานีและฮับเชื่อมด้วยสายยูทีพี (Unshield Twisted Pair) ด้วยความยาวไม่เกิน 100 เมตร
รูปที่ข้างล่าง แสดงถึงลักษณะเครือข่ายอีเทอร์เน็ตแยกตามประเภทของสายสัญญาณ รหัสขึ้นต้นด้วย 10 หมายถึงความเร็วสายสัญญาณ 10 เมกะบิตต่อวินาที คำว่า “Base” หมายถึงสัญญาณชนิด “Base” รหัสถัดมาหากเป็นตัวเลขหมายถึงความยาวสายต่อเซกเมนต์ในหน่วยหนึ่งร้อยเมตร (5=500, 2 แทนค่า 185) หากเป็นอักษรจะหมายถึงชนิดของสาย เช่น T คือ Twisted pair หรือ F คือ Fiber optics
ส่วนมาตรฐานอีเทอร์เน็ตความเร็ว 100 เมกกะบิตต่อวินาทีที่นิยมใช้ในปัจจุบันได้แก่ 100BaseTX และ 100BaseFX สำหรับอีเทอร์เน็ตความเร็วสูงแบบกิกะบิตอีเทอร์เน็ตเริ่มแพร่หลายมากขึ้น ตัวอย่างของมาตรฐานกิกะบิตอีเทอร์เน็ตในปัจจุบันได้แก่ 100BaseT, 100BaseLX และ 100BaseSX เป็นต้น

อีเทอร์เน็ตใช้โปรโตคอล ซีเอสเอ็มเอ/ซีดี (CSMA/CD : Carrier Sense Multiple Access with Collision Detection) เป็นตัวกำหนดขั้นตอนให้สถานีเข้าครอบครองสายสัญญาณ ในขณะเวลาหนึ่งจะมีเพียงสถานีเดียวที่เข้าครองสายสัญญาณเพื่อส่งข้อมูล
สถานีที่ต้องการส่งข้อมูลต้องการตรวจสอบสายสัญญาณว่ามีสถานีอื่นใช้สายอยู่หรือไม่ ถ้าสายสัญญาณว่างก็ส่งข้อมูลได้ทันที หากไม่ว่างก็ต้องคอยจนกว่าสายสัญญาณว่างจึงจะส่งข้อมูลได้ ขณะที่สถานีหนึ่ง ๆ กำลังส่งข้อมูลก็ต้องตรวจสอบสายสัญญาณไปพร้อมกันด้วยเพื่อตรวจว่าในจังหวะเวลาที่ใกล้เคียงกันนั้นมีสถานีอื่นซึ่งพบสายสัญญาณว่างและส่งข้อมูลมาหรือไม่ หากเกิดกรณีเช่นนี้ขึ้นแล้ว ข้อมูลจากทั้งสองสถานีจะผสมกันหรือเรียกว่า การชนกัน (Collision) และนำไปใช้ไม่ได้ สถานีจะต้องหยุดส่งและสุ่มหาเวลาเพื่อเข้าใช้สายสัญญาณใหม่
ในเครือข่ายอีเทอร์เน็ตที่มีสถานีจำนวนมากมักพบว่าการทานจะล่าช้าเพราะแต่ละสถานีพยายามยึดช่องสัญญาณเพื่อส่งข้อมูลและเกิดการชนกันเกือบตลอดเวลา โดยไม่สามารถกำหนดว่าสถานีใดจะได้ใช้สายสัญญาณเมื่อเวลาใด อีเทอร์เน็ตจึงไม่มีเหมาะกับการใช้งานในระบบจริง
IEEE 802.4
IEEE 802.4 หรือ โทเคนบัส (Token Bus) มีโทโปโลยีแบบบัสเช่นเดียวกับ IEEE 802.3 แต่มีข้อกำหนดการเข้าใช้สายสื่อสายโดยใช้โทเค็นพิเศษซึ่งทำหน้าที่เป็นเฟรมสัญญาณกำหนดจังหวะให้สถานีเข้าใช้สายสื่อสาร โทเค็นจะถูกนำส่งจากสถานหนึ่งไปยังสถานีหนึ่งและวนกลับที่เดิมเป็นวงรอบ สถานีที่ได้รับโทเค็นจะมีสิทธิ์ใช้สายสื่อสารเพื่อส่งข้อมูลได้
สายสื่อสารในโทเค็นบัสมักใช้สายโคแอ็กเชียล และมีอัตราเร็วหลายระดับคือ 1, 5 หรือ 10 เมกะบิตต่อวินาที การใช้โทเคนช่วยให้สถานีไม่ต้องแย่งยึดช่องสัญญาณเหมือนใน IEEE 802.3 หากแต่ความซับซ้อนของโปโตคอลทำให้ IEEE 802.4 ไม่เป็นที่นิยมใช้
IEEE 802.5
IEEE 802.5 หรือ โทเคนริง (Token Ring) หรือมักเรียกว่าไอบีเอ็มโทเคนริงจัดเป็นเครือข่ายที่ใช้โทโปโลยีแบบวงแหวนด้วยสายคู่ตีเกลียวหรือเส้นใยนำแสง อัตราการส่งข้อมูลของโทเค็นริงที่ใช้โดยทั่วไปคือ 4 และ 6 เมกะบิตต่อวินาที
รูปที่ข้างล่าง แสดงการทำงานของโทเค็นริง โดยมีเฟรมพิเศษเรียกว่า โทเค็นว่าง (free token) วิ่งวนอยู่ สถานีที่ต้องการส่งข้อมูลจะรอให้โทเค็นว่างเดินทางมาถึงแล้วรับโทเค็นว่างมาเปลี่ยนเป็น เฟรมข้อมูล (data frame) โดยใส่แฟล็กแสดงเฟรมข้อมูลและบรรจุแอดเดรสของสถานีต้นทางและปลายทางตลอดจนข้อมูลอื่นๆจากนั้นสถานีจึงปล่อยเฟรมนี้ออกไป
เมื่อสถานีปลายทางได้รับเฟรมจะสำเนาข้อมูลไว้และปล่อยเฟรมให้วนกลับมายังสถานีส่ง สถานีส่งจะตรวจสอบเฟรมและปล่อยโทเค็นว่างคืนสู่เครือข่ายให้สถานีอื่นมีโอกาสส่งข้อมูลต่อไป กลไกลแบบส่งผ่านโทเค็นจัดอยู่ในประเภทประเมินเวลาได้ กล่าวคือ สามารถคำนวณเวลาสูงสุดที่สถานีมีสิทธิ์จับโทเค็นเพื่อส่งข้อมูลได้ โทเค็นริงจึงเหมาะกับระบบที่ต้องการความแน่นอนทางเวลาหรืองานแบบเวลาจริง

(Open System Interconnection) An ISO standard for worldwide communications that defines a framework for implementing protocols in seven layers. Control is passed from one layer to the next, starting at the application layer in one station, proceeding to the bottom layer, over the channel to the next station and back up the hierarchy.
At one time, most vendors agreed to support OSI in one form or another, but OSI was too loosely defined and proprietary standards were too entrenched. Except for the OSI-compliant X.400 and X.500 e-mail and directory standards, which are widely used, what was once thought to become the universal communications standard now serves as the teaching model for all other protocols.
Most of the functionality in the OSI model exists in all communications systems, although two or three OSI layers may be incorporated into one. For details of the OSI model, see OSI model. For comparisons between the OSI model and other protocol stacks,
1.8.1 Physical layer
Physical Layer เป็นชั้นล่างสุดที่ว่าด้วยการติดต่อกับฮาร์ดแวร์ การกำหนดคุณทางกายภาพของสื่อประเภทต่าง ๆ ที่ใช้การรับส่งข้อมูล เช่น ใช้สายสัญญาณแบบไหน มีความเร็วในการรับส่งข้อมูลเท่าไร เป็นต้น ข้อมูลที่รับส่งในชั้นนี้จะเป็นข้อมูลในระดับฮาร์ดแวร์ ซึ่งจะเห็นเป็นทีละบิตเรียงต่อกันไปในลักษณะของ ‘0’ หรือ ‘1’
Defines the electrical, mechanical, and procedural specifications for activating, maintaining and deactivating the physical link between client and server.
1.8.2 Data link layer
Data Link Layer เป็นชั้นที่ว่าด้วยการรวบกลุ่มเข้าด้วยกันเป็นชุดที่เรียกว่า “เฟรม” (Frame) เพื่อเตรียมส่งออกทางเครือข่ายโดยผ่ายทาง Physical Layer นอกจากนี้ยังทำหน้าที่ตรวจสอบและแก้ไขข้อผิดพลาดของข้อมูลที่มาจากระดับของ Physical Layer
Provides reliable transit of data across a physical link.
1.8.3 Network layer
Network Layer เป็นชั้นที่ว่าด้วยการแยกแยะความแตกต่างของคอมพิวเตอร์แต่ละตัวในเครือข่ายโดยอาศัยโดยอาศัยหมายเลขประจำเครื่องหรือ Address และยังกำหนดเส้นทางในการวิ่งของข้อมูลในเครือข่ายจากต้นทางถึงปลายทาง ข้อมูลในชั้นนี้จะเรียกว่า “แพ็กเก็ต” (Packet)
Ensures that the data transport is routed through optimal paths through a series of interconnected subnetworks.
1.8.4 Transport layer
Transport Layer เป็นชั้นที่ว่าด้วยการแบ่งข้อมูลที่ได้รับมาจาก Session Layer ที่โดยมากจะมีขนาดใหญ่ให้กลายเป็นแพ็กเก็ตที่มีขนาดคงที่ก่อนจะส่งต่อให้ Network Layer ส่วนในแง่ของการรับข้อมูล Transport Layer จะทำการต่อคืนแพ็กเก็ตต่าง ๆ ที่ได้รับให้อยู่ในรูปแบบของข้อมูลดั้งเดิม นอกจากนี้ยังมีการจัดการเกี่ยวกับแพ็กเก็ตอื่น ๆ อีก เช่น การตรวจสอบและแก้ไขข้อผิดพลาด การจัดลำดับและการควบคุมความเร็วในการรับส่ง
Implements the data transport ensuring that the data is transported reliably.
1.8.5 Session layer
Session Layer เป็นชั้นที่ว่าด้วยวิธีการจับคู่หรือเชื่อมโยงแอพพลิเคชั่นที่อยู่ต่างเครื่องกัน เพื่อให้สามารถแยกแยะได้ว่าข้อมูลที่ได้รับมาควรจะเป็นของแอพพลิเคชั่นคู่ไหนได้ ทำให้เราสามารถเรียกใช้โปรแกรมสำหรับการสื่อสารพร้อมกันหลายตัวได้ เช่น เราสามารถเปิดโปรแกรมบราวเซอร์ พร้อมกับอ่านอีเมล์ได้พร้อม ๆ กัน
Establishes, manages, and terminates network sessions between the client and server. This is a virtual pipe that carries data requests and responses. The session layer manages whether the data traffic can go in both directions at the same time (referred to as asynchronous), or in only one direction at a time (referred to as synchronous).
1.8.6 Presentation layer
Presentation Layer เป็นชั้นที่ว่าด้วยการจัดรูปแบบข้อมูลที่รับมาจาก Session layer ให้อยู่ในรูปแบบที่แอพพลิเคชั่นแต่ละตัวสามารถเข้าใจได้
Ensures that information sent by the application layer of one system is readable by the application layer of another system. This includes keeping track of syntax and semantics of the data transferred between the client and server. If necessary, the presentation layer translates between multiple data representation formats by using a common data format.
1.8.7 Application or client layer
Application Layer เป็นชั้นที่ว่าด้วยการติดต่อกับแอพพลิเคชั่นหรือโปรแกรมต่าง ๆ เช่น บราวเซอร์ อีเมล์ FTP และ Telnet เป็นต้น
The OSI layer closest to the user, and as such is dependent on the functionality requested by the user. For example, in a database environment, a Forms application may attempt to initiate communication in order to access data from a server.
แหล่งข้อมูลจาก
- http://www.csee.umbc.edu/help/oracle8/network.815/a67440/ch2.htm
- http://bw-www.ie.u-ryukyu.ac.jp/~kono/cisco/2002/network-basic/lecture.html
- http://www.techweb.com/encyclopedia/defineterm?term=OSI
- http://www.thaiinternetwork.com/chapter/ieee_osi.htm
Thaiall.com