ภาวะโลกร้อน (Global Warming)

ปรับปรุง : 2555-12-25 (ประชุมเดนมาร์ก)
ภาวะโลกร้อน (Global Warming) (whyworldhot.com)
เกิดจาก การเพิ่มขึ้นของก๊าซที่ปกคลุมชั้นบรรยากาศของโลก ทำให้อุณภูมิภายในโลกสูงขึ้น เป็นเหตุให้ฤดูกาลทั่วโลกเปลี่ยนไป และก๊าซที่เพิ่มขึ้นส่วนใหญ่เกิดจากการเผาผลาญเชื้อเพลิงฟอสซิล
ภาวะโลกร้อน หรือ ภาวะภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง (Climate Change) เป็นปัญหาใหญ่ของโลกในปัจจุบัน สังเกตุได้จากอุณหภูมิ ของโลกที่สูงขึ้น มีสาเหตุหลักของมาจากก๊าซเรือนกระจก
ปรากฏการณ์เรือนกระจก มีความสำคัญกับโลก เพราะก๊าซจำพวก คาร์บอนไดออกไซด์ หรือมีเทน จะกักเก็บความร้อนบางส่วนไว้ในในโลก ไม่ให้สะท้อนกลับสู่บรรยากาศทั้งหมด มิฉะนั้น โลกจะกลายเป็นแบบดวงจันทร์ ที่ตอนกลางคืนหนาวจัด ตอนกลางวันร้อนจัด เพราะไม่ม ีบรรยากาศกรองพลังงานจากดวงอาทิตย์ ลักษณะเช่นนี้คล้ายกับหลักการของเรือนกระจก จึงมักเรียกว่า ปรากฏการณ์เรือนกระจก (Greenhouse Effect)
การเพิ่มขึ้นของ ก๊าซเรือนกระจก ส่งผลให้ชั้นบรรยากาศมีความสามารถในการกักเก็บรังสีความร้อนได้มากขึ้น
ภาวะโลกร้อนเกิดจากอะไร ?
ก๊าซเรือนกระจก (Greenhouse Gas) เป็นก๊าซที่มีคุณสมบัติในการดูดซับคลื่นรังสีความร้อน หรือรังสีอินฟาเรดได้ดี ก๊าซเหล่านี้มีความจำเป็นต่อการรักษาอุณหภูมิในบรรยากาศของโลกให้คงที่ ซึ่งหากบรรยากาศโลกไม่มีก๊าซเรือนกระจกในชั้นบรรยากาศ ดังเช่นดาวเคราะห์ดวงอื่นๆ ในระบบสุริยะแล้ว จะทำให้อุณหภูมิในตอนกลางวันนั้นร้อนจัด และในตอนกลางคืนนั้นหนาวจัด เนื่องจากก๊าซเหล่านี้ดูดคลื่นรังสีความร้อนไว้ในเวลากลางวัน แล้วค่อยๆ แผ่รังสีความร้อนออกมาในเวลากลางคืน ทำให้อุณหภูมิในบรรยากาศโลกไม่เปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลัน
มีก๊าซจำนวนมากที่มีคุณสมบัติในการดูดซับคลื่นรังสีความร้อน และถูกจัดอยู่ในกลุ่มก๊าซเรือนกระจก ซึ่งมีทั้งก๊าซที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติและเกิดจากกิจกรรมของมนุษย์ ก๊าซเรือนกระจกที่สำคัญคือ ไอน้ำ ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ โอโซน มีเทนและไนตรัสออกไซด์ สารซีเอฟซี เป็นต้น แต่ ก๊าซเรือนกระจกที่ถูกควบคุมโดยพิธีสารเกียวโต มีเพียง 6 ชนิด โดยจะต้องเป็นก๊าซที่เกิดจากกิจกรรมของมนุษย์ (anthropogenic greenhouse gas emission) เท่านั้น ได้แก่ ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ก๊าซมีเทน (CH4) ก๊าซไนตรัสออกไซด์ (N20) ก๊าซไฮโดรฟลูออโรคาร์บอน (HFC) ก๊าซเพอร์ฟลูออโรคาร์บอน (PFC) และก๊าซซัลเฟอร์เฮกซะฟลูออไรด์ (SF6) ทั้งนี้ ยังมีก๊าซเรือนกระจกที่เกิดจากกิจกรรมของมนุษย์ที่สำคัญอีกชนิดหนึ่ง คือ สารซีเอฟซี (CFC หรือ Chlorofluorocarbon) ซึ่งใช้เป็นสารทำความเย็นและใช้ในการผลิตโฟม แต่ไม่ถูกกำหนดในพิธีสารเกียวโต เนื่องจากเป็นสารที่ถูกจำกัดการใช้ในพิธีสารมอนทรีออลแล้ว
แหล่งกำเนิดของก๊าซเรือนกระจก
+ การย่อยสลายของซากพืชซากสัตว์
+ จากโรงงานอุตสาหกรรม
+ เครื่องใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น ใช้เป็นสารหล่อเย็นในตู้เย็น เครื่องปรับอากาศ
+ ของใช้ประจำวัน เช่น ใช้เป็นสารขับดันในเครื่องกระป๋องที่เป็นสเปรย์
+ จากกทำนาข้าว หรือพืชที่ขังน้ำ และปศุสัตว์
+ การเผาไหม้ของซากพืชหรือสัตว์
+ การใช้งานโดยมีการเผาไหม้ของถ่านหิน น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ
+ การเผาไหม้ในหลายรูปแบบ เช่น การใช้น้ำมันเชื้อเพลิงในโรงงานอุตสาหกรรม ในรถยนต์
+ การเผาป่า เพื่อใช้พื้นที่อยู่อาศัย หรือทำการเกษตร หรือเผาหญ้าเผาฟางหลังการเก็บเกี่ยว
+ การทำปศุสัตว์ การเลี้ยงสัตว์ การทำฟาร์ม
ก๊าซเรือนกระจก
อายุในชั้นบรรยากาศ (ปี)
ศักยภาพในการทำให้เกิดภาวะโลกร้อน
(เท่าของคาร์บอนไดออกไซด์)
คาร์บอนไดออกไซด์ 200-450 1
มีเทน 9-15 23
ไนตรัสออกไซด์ 120 296
CFC-12 100 10,600
เตตระฟลูออโรมีเทน 50,000 5,700
ซัลเฟอร์เฮกซะฟลูออไรด์ 3,200 22,000

[eppo] หากใช้เชื้อเพลิงในอัตราเดียวกับปัจจุบัน และไม่มีการค้นพบเพิ่มเติม
เราจะมีถ่านหินใช้อีก 220 ปี มีก๊าซธรรมชาติใช้อีก 64 ปี และมีน้ำมันใช้อีก 42 ปี
เราเห็นรถยนตร์เริ่มใช้ก๊าซ แต่อีกไม่นานอาจได้เห็นรถยนต์ใช้ถ่านหิน
แต่อีก 200 ปีข้างหน้าจะใช้ชีวิตอย่างไรในโลกที่ไม่มีอุปกรณ์ไฟฟ้ามาอำนวยความสะดวก

แนะนำเว็บ (Web Guides)
+ wikipedia.org
+ whyworldhot.com
+ 10 อย่างง่ายๆ หยุด ภาวะโลกร้อน
+ The Global Warming Survival
+ Climate Change
+ Global Warming Revealed
+ โลกร้อนเกิดจากอะไร
+ ผลกระทบต่อประเทศไทย

Beyond Oil : เมื่อน้ำมันหมด
โดย พ.ญ.นภาพร ลิมป์ปิยากร
อธิบายเรื่องพลังงานได้ดีมากมาก

กลุ่มมนุษย์บนโลก ที่คิดแก้ปัญหาโลกร้อน
1. บางคนไม่ได้คิด เพราะไม่เคยรับรู้
2. บางคนรับรู้ แต่ไม่คิดอะไร
2. บางคนคิดแล้ว แต่คิดอะไรไม่ได้
3. บางคนคิดได้ แต่ไม่ได้ทำ
4. บางคนคิดได้ และทำอยู่
กำเนิดไฟฟ้า
ชาวกรีกโบราณ รู้จักกระแสไฟฟ้า นานมากว่าสองพันปีแล้ว เขาพบว่า ถ้าใช้ก้อนอำพันผูกกับผ้าบางชนิด เช่น ผ้าไหม ก้อนอำพันนั้นก็จะดูดฝุ่นผงเส้นฟาง หรือขนนกให้เกาะอยู่ได้ คำว่า กระแสไฟฟ้า มาจากคำในภาษากรีกว่า อิเล็กตรอน (electricity) แปลว่าอำพัน ในปี ค.ศ. 1752 (พ.ศ.2295) ชาวอเมริกัน
เบนจามิน แฟรงคลิน ได้พิสูจน์ให้เห็นว่ามีประจุไฟฟ้าอยู่ในก้อนเมฆ
กิจการเหมืองลิกไนต์ เริ่มเมื่อปี พ.ศ.2460 ในสมัยรัชกาลที่ 6 ด้วยกรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน ทรงมีพระประสงค์จะสงวนป่าไม้ จึงโปรดให้ทำการสำรวจหาเชื้อเพลิงอย่างอื่น เพื่อนำเอามาใช้แทนฟืนสำหรับหัวรถจักรไอน้ำของรถไฟ โดยว่าจ้างชาวต่างประเทศ ให้มาดำเนินการสำรวจในระยะแรก ต่อมาระหว่างปี 2464 - 2466 ได้ว่าจ้างผู้เชี่ยวชาญชาวต่างประเทศให้มาสำรวจอีก ปรากฏว่าพบถ่านลิกไนต์ ที่ "แม่เมาะ" จังหวัดลำปางและที่"คลองขนาน" จังหวัดกระบี่
น้ำมันปิโตรเลียม
สถานีบริการน้ำมันต่าง ๆ ที่พบเห็นในปัจจุบันนี้ มีกำเนิดมาไม่ต่ำกว่า 90 ปี แล้ว โดยมีกำเนิดหลังจากที่ได้มีผู้ประดิษฐ์รถยนต์คันแรกขึ้นมา เมื่อประมาณปี พ.ศ.2443
ชวนคิด
เปิดแอร์ในที่ทำงาน .. เสียค่าไฟฟ้าห้องละประมาณ 1,000 บาท ถ้าแอร์เก่า หรือระบบไม่ดีก็จะเพิ่มขึ้น
ผมว่าพูดเรื่องค่าใช้จ่าย เข้าใจง่ายกว่าชวนห่วงโลกร้อน (สารหล่อเย็นมีผลต่อภาวะเรือนกระจก)
ภาวะโลกร้อนเกิดจากอะไร ?
ในระยะที่ผ่านมาประชาคม สศช.คงได้ทราบข่าวผ่านทางสถานีโทรทัศน์หลายสถานีว่า น้ำแข็งบริเวณขั้วโลกเหนือกำลังละลาย บางประเทศในยุโรปมีอากาศร้อนจัด จนถึงขั้นทำให้คนเสียชีวิต หิมะที่เทือกเขาคิลิมันจาโรซึ่งถูกเรียกขานว่า “หลังคาแห่งกาฬทวีป” กำลังละลายและว่ากันว่าอาจจะหมดไปในปี 2020 ส่วนประเทศแถบเอเชีย เช่น บริเวณเกาะต่างๆ ของประเทศอินโดนีเซีย มีภาวะน้ำท่วมอย่างรุนแรง แม้ประเทศไทยเองก็ประสบกับภาวะภัยแล้ง และน้ำท่วม เช่นกัน
คุณรู้หรือไม่ว่า...กำลังเกิดอะไรขึ้นกับโลกของเรา...และเราจะป้องกันหรือรับมือได้อย่างไร
ปรากฏการณ์ความแปรปรวนอย่างนี้ ในทางวิทยาศาสตร์ระบุว่าสภาพเช่นนี้เป็น “ภาวะโลกร้อน” อันเป็นผลจากการปล่อยก๊าชคาร์บอนไดออกไซค์และก๊าชอื่นๆ ที่มีคุณสมบัติดักจับความร้อนออกไปยังบรรยากาศของโลก ก๊าชเหล่านี้จะรวมตัวกันจนกลายเป็นผ้าห่มหนาๆ ดักจับความร้อนของดวงอาทิตย์และทำให้โลกมีอุณหภูมิร้อนขึ้น ยิ่งก๊าชเหล่านี้เพิ่มมากขึ้นความร้อนก็จะเพิ่มขึ้นตามไปด้วย
ก๊าชเหล่านี้เกิดขึ้นจากการเผาผลาญพลังงานฟอสซิล ไม่ว่าจะเป็นน้ำมันหรือถ่านหิน โดยเมื่อเราใช้พลังงานต่างๆ เช่าน การขับเคลื่อนรถยนต์ เท่ากับเป็นการเพิ่มกระบวนการสร้างโลกร้อน นอกจากนี้ภาวะโลกร้อนยังเกิดจากการสูญเสียงป่าธรรมชาติ เพราะไม่มีต้นไม้ดูดชับคาร์บอนไดออกไซค์ ตลอดจนการทำเกาตรและปศุสัตว์ที่ก่อให้เกิดก๊าชมีเทนซึ่งเป็นก๊าชที่ทำให้โลกร้อนได้เช่นกัน
ภาวะโลกร้อนมีผลต่อการอยู่รอดของสิ่งมีชีวิต เนื่องจากอุณหภูมิสูงขึ้นทำให้ฤดูกาลต่างๆ เปลี่ยนแปลง สิ่งมีชีวิตที่ไม่สามารถปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมได้ ก็จะค่อยๆ ตายลง ส่วนผลต่อมนุษย์เมื่ออุณหภูมิสูงขึ้น อาจทำให้บางพื้นที่กลายเป็นทะเลทราย ประชาชนขาดแคลนอาหารและน้ำดื่มแต่บางพื้นที่ประสบปัญหาน้ำท่วมหนัก เนื่องจากฝนตกรุนแรงขึ้น น้ำแข็งขั้วโลกและบนยอดเขาสูงละลายทำให้ปริมาณน้ำทะเลเพิ่มสูงขึ้น พื้นที่ชายฝั่งทะเลได้รับผลกระทบ บางพื้นที่อาจจมหายไปอย่างถาวร
นักวิทยาศาสตร์กล่าวว่า โลกมีเวลาเพียงสิบปีเท่านั้นที่จะจัดการการความหายนะครั้งใหญ่ ที่อาจทำให้ระบบอากาศของโลกกลายเป็นเครื่องมือทำลายล้าง อาทิ สภาพอากาศอันรุนแรง น้ำท่วม ความแห้งแล้ง โรคระบาด และคลื่นความร้อนที่มีอำนาจทำลายล้างแรงกว่าที่เคยพบมา
ขณะที่ประเทศไทยมีปรากฏการณ์ด้านโลกร้อนเกิดขึ้นที่เห็นแล้ว โดยศูนย์เครือข่ายงานวิเคราะห์และฝึกอบรมการเปลี่ยนแปลงของโลกแห่งภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ ระบุว่า จากการสำรวจล่าสุดพบว่าระดับน้ำทะเลในอ่าวไทยเพิ่มขึ้น 1 – 2 มิลลิเมตรต่อปี ยังอยู่ในระดับปกติ แต่ในทะเลฝั่งอันดามันสูงขึ้น 8 –12 มิลลิเมตรต่อปี มีผลอย่างมากต่อการกัดเซาะชายฝั่ง เนื่องจากที่ผ่านมาปริมาณน้ำทะเลที่สูงเพียง 50 เซนติเมตร สามารถกัดเซาะชายฝั่งได้อย่างรุนแรง
เราสามารถช่วยลดภาวะโลกร้อนได้หลายวิธี เช่น ช่วยประหยัดพลังงานเชื้อเพลิง ช่วยกันปลูกต้นไม้ให้มากๆ ไม่สนับสนุนผลิตภัณฑ์ที่ส่งผลให้มีการตัดต้นไม้ทำลายป่า หรือยกเลิกการใช้สารเคมีอันตรายเช่น สาร CFCs ซึ่งมีในสเปรย์ชนิดต่างๆ สนับสนุนการใช้สินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และใช้วัสดุที่สามารถนำไปรีไซเคิลได้
แล้วคุณ .... เลือกที่จะป้องกันหรือรับมือกับภาวะโลกร้อนด้วยวิธีใดบ้างแล้วหรือยัง
ไอทีในชีวิตประจำวัน # 223 ผู้นำทั่วโลกประชุมลดโลกร้อนที่เดนมาร์ก (11 มกราคม – 17 มกราคม 2553)
+ http://www.thaiall.com/opinion/readonly.php?view=427
ผู้นำประเทศที่ตอบรับเข้าประชุมครั้งนี้มีจำนวน 65 ชาติจาก 191 ชาติ เพื่อเข้าร่วมประชุมหารือถึงข้อตกลง และมาตรการลดภาวะโลกร้อน ซึ่งเกิดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศรอบโลก จัดขึ้นที่ประเทศเดนมาร์ก ระหว่าง 7 – 18 ธันวาคม 2552 เพื่อหาข้อตกลงที่จะมาแทนพิธีสารเกียวโตที่จะหมดอายุลงในปีพ.ศ.2555 หลังปิดประชุม นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีของไทยให้สัมภาษณ์ผ่านระบบ Video Conference จากกรุงโคเปนเฮเกน ราชอาณาจักรเดนมาร์ก ว่าผลการประชุมยังหาข้อยุติไม่ได้ อาจต้องเลื่อนไปเป็นการประชุมครั้งต่อไปในปีพ.ศ.2553 ที่ประเทศเม็กซิโก เนื่องจากมีประเด็นเรื่องผลประโยชน์ที่ยังหาข้อยุติไม่ได้หลายเรื่องที่ประเทศพัฒนาแล้วต้องเข้าไปช่วยเหลือสนับสนุนประเทศที่กำลังพัฒนาโดยให้เงินและเทคโนโลยีในการแก้ปัญหาโลกร้อน
การประหยัดพลังงานและการใช้พลังงานทดแทนเป็นแนวโน้มที่ทุกประเทศต้องกำหนดเข้าไปในนโยบายหรือแผนพัฒนาชาติ แต่ก็ไม่ง่ายที่จะแปลงจากนโยบายไปสู่ระดับปฏิบัติการ เพราะการประหยัดพลังงานมีผลให้ความสะดวกสบายลดลงอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ส่วนการใช้พลังงานทดแทนอาจเริ่มต้นด้วยการลงทุนและคุณภาพของพลังงานที่อาจยังไม่เทียบเท่าพลังงานจากเชื้อเพลิงฟอสซิล แม้ปัจจุบันจะมีรถยนต์ใช้ไบโอแก๊ซ หรือน้ำมันที่สกัดจากพืช แต่เครื่องยนต์ก็ยังมีราคาสูง แหล่งจำหน่ายเชื้อเพลิงยังมีไม่หลากหลาย เคยมีเพื่อนบ่นให้ฟังว่าการขับรถไปในบางจังหวัดในช่วงเทศกาลอาจต้องวางแผนเรื่องน้ำมันให้ดี เพราะแหล่งจำหน่ายพลังงานอาจมีไม่พอ หรือมีนอกเส้นทางการท่องเที่ยวก็เป็นอีกปัจจัยเสี่ยงของนักท่องเที่ยวยุคพลังงานทดแทน
การเสียสละเป็นอีกประเด็นที่มักถูกหยิบยกขึ้นมาคู่กับคำว่าประหยัดพลังงาน แต่ถ้ามีความมุ่งมั่นแก้ปัญหาโลกร้อนที่ใช้การเสียสละเป็นฐานคิดแล้ว ก็จะไม่พบหน่วยงานบางแห่งใช้งบประมาณสูงจัดกิจกรรมใหญ่โตที่ใช้พลังงานมากเพื่อส่งเสริมการลดใช้พลังงานอย่างที่แม่ปูสอนลูกปู เพราะบ่อยครั้งที่เห็นกิจกรรมลดภาวะโลกร้อนที่ใช้พลังงานมหาศาล การยึดหลักของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเป็นทางออกของการลดภาวะโลกร้อนที่ดำเนินการอย่างสมเหตุสมผลอาจเสนอให้ลดการใช้แสงสีเสียง ลดการจุดพลุแสดงความยิ่งใหญ่ให้นานาสัตว์ตื่นตกใจ ลดการเปิดไฟฟ้าโต้รุ่ง ลดการเดินทางท่องเที่ยวระยะไกล ลดการใช้กระดาษ ลดการเผาพลาญ ลดการอุปโภคและบริโภคให้เป็นปกติวิสัย และปลูกฝังเยาวชนให้รู้จักคิดตั้งแต่เดี๋ยวนี้ เป็นแนวคิดของการชะลอการก้าวไปข้างหน้าอย่างมีสติแทนการก้าวกระโดดอย่างไม่มีทิศทางเช่นที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน
แผนปฏิบัติการ แก้ปัญหาโลกร้อน
    สิ่งที่ไม่ควรทำ
  1. เลิกใช้รถยนต์ แต่ใช้รถจักรยานแทน และเดินในที่สุด
  2. เลิกดูทีวี
  3. ย้ายลูกมาเข้าโรงเรียนใกล้บ้าน
  4. หยุดใช้ไฟฟ้า
  5. หยุดเผาไหม้
    สิ่งที่ควรทำ
  1. ปลูกผักกินเอง
  2. เลี้ยงปลาในบ้าน
  3. ก่อไฟเท่าที่จำเป็น
  4. ฝึกการดำรงชีวิตในป่า
  5. กินให้น้อยลง
ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
เป็นอีกแนวคิดที่ช่วยแก้ปัญหาโลกร้อนได้ .. แน่นอน
เศรษฐกิจพอเพียง คืออะไร sufficiencyeconomy.org
“เศรษฐกิจพอเพียง” (Sufficiency Economy) เป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำรัสชี้แนะแนวทางการดำเนินชีวิตแก่พสกนิกรชาวไทยมาโดยตลอดรวมถึงการพัฒนาและบริหารประเทศ ที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของ ทางสายกลาง คำนึงถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล การสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว ตลอดจนใช้ความรู้ ความรอบคอบ และคุณธรรม ประกอบการวางแผน การตัดสินใจ และการกระทำ
อย่างไรก็ตาม ประชาชนส่วนใหญ่ยังมีความเข้าใจที่หลากหลายและไม่ชัดเจน ถึงความหมายและหลักแนวคิดที่แท้จริงของปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ดังนั้น สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) จึงได้จัดทำหนังสือ “เศรษฐกิจพอเพียงคืออะไร” ขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ที่ต้องการจะอธิบายความหมายของหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง รวมทั้งกรอบแนวคิดของหลักปรัชญาฯ ที่มุ่งเน้นความมั่นคงและความยั่งยืนของการพัฒนา อันมีคุณลักษณะ ที่สำคัญ คือ สามารถประยุกต์ใช้ได้ในทุกระดับ ตลอดจนได้อธิบายคำนิยามของความพอเพียง ที่ประกอบด้วย ความพอประมาณ ความมีเหตุมีผล มีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว ภายใต้เงื่อนไขของการตัดสินใจและการดำเนินกิจกรรมที่ต้องอาศัยเงื่อนไขความรู้และเงื่อนไขคุณธรรม
นอกจากนี้ ภายในหนังสือเล่มนี้ยังได้กล่าวถึง ทฤษฎีใหม่ตามแนวพระราชดำริ ซึ่งเป็นแนวทางการพัฒนาภาคเกษตรอย่างเป็นขั้นเป็นตอน และเป็นตัวอย่างการใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียงในทางปฏิบัติที่เป็นรูปธรรม โดยแบ่งได้เป็นแบบพื้นฐานกับแบบก้าวหน้า ซึ่งมีอยู่ ๓ ขั้น และในตอนท้ายของหนังสือยังได้สรุปถึงการสร้างขบวนการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียงที่ สศช. ได้ริเริ่มดำเนินการเพื่อเป็นการเสริมสร้างให้ประเทศไทยสามารถพัฒนาไปได้อย่างมั่นคงภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์ และนำไปสู่ความอยู่เย็นเป็นสุขของประชาชนชาวไทย
Download หนังสือมี 4 บท คือ เศรษฐกิจพอเพียง | หลักแนวคิด | เศรษฐกิจพอเพียงกับทฤษฎีใหม่ตามแนวพระราชดำริ | การสร้างขบวนการขับเคลื่อน

“เศรษฐกิจพอเพียง” กับคำว่า “ประหยัด”
การอยู่อย่างประหยัดมิได้ทำให้คุณภาพชีวิตลดลง หรือสร้างความลำบากให้กับการใช้ชีวิตประจำวันของใคร
ตรงกันข้าม
ความประหยัดกลับเป็นรากฐานสำคัญอันจะผลักดันให้คนและประเทศ
มีทิศทางการพัฒนาไปอย่างมีประสิทธิภาพ
http://teenet.chiangmai.ac.th/emac/journal/2000/07/05.php โดย จรรยา เงินมูล

เ ศ ร ษ ฐ กิ จ พ อ เ พี ย ง
โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ทางออกของวิกฤติพลังงาน ?
กระแสการก่อสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์เพื่อแก้วิกฤติพลังงาน กำลังเป็นเรื่องที่มีคนพูดถึงกันหนาหูมากในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา จนเมื่อเร็วๆ นี้ 2 ผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ ตลอดจนกระทรวงพลังงาน ซึ่งมาร่วมรายการ “รู้ทัน...ประเทศไทย” ของ “เอเอสทีวี” ก็ออกมาย้ำชัดเจนว่าเป็นเรื่องที่มีความจำเป็น และมั่นใจได้ว่า โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ จะเป็นทางออกของวิกฤติพลังงาน ได้แบบอุ่นใจอย่างแน่นอน
ดร.กอปร กฤตยากีรณ ที่ปรึกษา รมว.วิทยาศาสตร์แล้เทคโนโลยี และประธานคณะกรรมการศึกษาความเหมาะสม เพื่อเตรียมความพร้อมการก่อสร้าง โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในประเทศไทย กล่าวถึงภาพลักษณ์ในเชิงอาวุธทำลายร้ายสูงของนิวเคลียร์ ซึ่งยังติดอยู่ในใจของคนไทยว่า แม้การทำระเบิดปรมาณู และการผลิตกระแสไฟฟ้าต่างใช้ธาตุกัมมันตภาพรังสีคือ “ยูเรเนียม” เป็นเชื้อเพลิงเช่นเดียวกันจริง ทว่าความจริงแล้วกลับมีความเข้มข้นของสารต่างกันมาก
“การใช้ในเชิงพลังงานไม่ได้นำธาตุยูเรเนียมมาวางใกล้ๆ กันมาก จนทำให้เกิดการระเบิดได้ แต่เพื่อให้เกิดการแตกตัวของอนุภาคยูเรเนียม และคายความร้อนออกมาต้มน้ำให้เดือด และได้ไอน้ำไปปั่นกระแสไฟฟ้า ตามหลักการของโรงไฟฟ้าทั่วๆ ไปเท่านั้น” ที่ปรึกษา รมว.วิทยาศาสตร์ฯ กล่าว
ดร.กอปร อ้างสถิติด้วยว่า ในต่างประเทศมีการใช้พลังงานนิวเคลียร์เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้ามากว่า 50 ปีแล้ว ซึ่งเทคโนโลยีมีวิวัฒนาการและระบบความปลอดภัยที่สูงขึ้นเรื่อยๆ จนเรียกว่ามีความปลอดภัยมากที่สุดก็ว่าได้ โดยพบอุบัติเหตุในโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ครั้งร้ายแรงจริงๆ เพียง 2 ครั้งเท่านั้นคือ ที่เชอร์โนบิลของสหภาพโซเวียต และเกาะทรีไมล์ไอส์แลนด์ของสหรัฐอเมริกา อันทำให้เกิดผู้เสียชีวิตเพียงหลักร้อยคนเท่านั้น
ทั้งนี้ เมื่อเทียบกับเทคโนโลยีอื่นๆ ที่ต่างก็มีความเสี่ยงด้วยกันทั้งสิ้นแล้ว อาทิ เครื่องบิน และรถยนต์ จะพบได้ว่า ต่างมีโอกาสทำให้เกิดอุบัติเหตุมากกว่า โอกาสเกิดอุบัติเหตุจาก โรงไฟฟ้านิวเคลียร์มาก
“เทคโนโลยีใหม่ๆ ตอนนี้มีการพูดกันแล้วว่า หากมีเหตุฉุกเฉินเกิดขึ้น แค่เพียงวิศวกรโยกสวิตซ์แค่ตัวเดียวก็เดินออกมาจากโรงงานได้เลย เพราะมันจะปิดเครื่องโดยอัตโนมัติ ไม่มีการหลอมละลายหรือการระเบิดตามมา” ดร.กอปร กล่าว และก็ยอมรับว่า มีขอบเขตของผลกระทบ จะครอบคุลมพื้นที่ เป็นบริเวณกว้างหากเกิดการรั่วไหลจริง
“หากมีการรั่วไหลขึ้นมาย่อมส่งผลถึงกันทั่วโลกไม่จำกัดแค่ที่ใดที่หนึ่ง พูดกันจริงๆ แล้วทุกประเทศถือเป็นหลังบ้านของกันและกันหมดในแง่ของพลังงานนิวเคลียร์ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าเป็นเหตุผลสนับสนุนให้ใช้” ดร.กอปร กล่าวซึ่งตีความได้ว่า ถึงแม้จะไม่เกิดการแพร่กระจายของกัมมันตภาพรังสีที่มีสาเหตุในประเทศไทยๆ ก็ไม่อาจหนีพ้นผลกระทบจากการรั่วไหลในที่อื่นๆ ได้เช่นกัน
สำหรับฝ่ายทำงานการเตรียมความพร้อมการก่อสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ซึ่งมี ดร.กอปร เป็นประธานคณะกรรมการนั้น ประกอบด้วยชุดทำงาน 6 ขณะคือ ด้านกฎหมาย ด้านโครงสร้างพื้นฐานอุตสาหกรรมและพาณิชย์ ด้านการถ่ายทอดและพัฒนาเทคโนโลยีและทรัพยากรมนุษย์ ด้านการคุ้มครองความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อม ด้านการสื่อสารและการยอมรับของสาธารณะ และสุดท้ายคือ ด้านการเตรียมการดำเนินโครงการโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ โดยแบ่งช่วงเวลาเป็น 7 ปีแรกจะเป็นการเตรียมความพร้อม และ 6 ปีหลังเริ่มการก่อสร้าง
“เรื่องของเทคโนโลยีและกำลังคน ไทยเรายังมีเวลาอีก 10 กว่าปีที่สามารถส่งคนไปศึกษาเตรียมความพร้อม ทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ (ไอเออีเอ) ก็จะเข้ามาช่วย ตลอดจนมีหลักสูตรการผลิตคนในมหาวิทยาลัยต่างๆ ซึ่งในระยะยาวเราจะต้องยืนบนขาตัวเองให้ได้” ดร.กอปร ย้ำ
ส่วนสถานการณ์พลังงานของไทยในปัจจุบัน นายชวลิต พิชาลัย รอง ผอ.สำนักนโยบายและพลังงาน (สนพ.) กระทรวงพลังงาน ให้รายละเอียดว่า มีการพึ่งพาเชื้อเพลิงก๊าซธรรมชาติมากที่สุดราว 70% รองลงมาคือถ่านหินลิกไนต์จากเหมืองแม่เมาะ จ.ลำปาง 13% พลังงานน้ำเช่นจากเขื่อนภูมิพลและเขื่อนสิริกิติ์ประมาณ 5% น้ำมันเตา 2 -3% ส่วนพลังงานทดแทนอื่นๆ เช่น ชีวมวล ลม ขยะ และพลังงานแสงอาทิตย์มีสัดส่วนเพียง 2%
ขณะเดียวกันประเทศไทยยังต้องนำเข้าพลังงานจากประเทศเพื่อนบ้านด้วย คือ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว 500 เมกกะวัตต์ โดยเร็วๆ นี้จะมีบันทึกข้อตกลงเพิ่มจาก 3,000 เมกะวัตต์เป็น 5,000 เมกะวัตต์ และกำลังทำบันทึกข้อตกลงซื้อพลังงานไฟฟ้าจากพม่าในระยะแรก 1,500 เมกกะวัตต์
นอกจากนี้ยังจะซื้อพลังงานไฟฟ้าจากมณฑลยูนนานของประเทศจีนอีก 3,000 เมกกะวัตต์ เพื่อสนองตอบความต้องการใช้ไฟฟ้าที่จะเพิ่มขึ้น 1,200 -1,500 เมกกะวัตต์ ซึ่งคิดตามอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ประมาณ 4 -5% ขณะที่พลังงานทางเลือกก็จะไม่สามารถขยายได้จนเพียงพอต่อความต้องการได้
ทั้งนี้ ในแผนพัฒนากำลังการผลิตไฟฟ้า (พีดีพี) ได้กำหนดให้มีส่วนแบ่งการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานนิวเคลียร์ขึ้น 2,000 เมกกะวัตต์ในปี 2563 และอีก 2,000 เมกกะวัตต์ในปีถัดไป รวมแล้วใน 13 - 14 ปีข้างหน้า ประเทศไทยอาจมีโรงไฟฟ้านิวเคลียร์กำลังการผลิต 1,000 เมกกะวัตต์จำนวน 4 โรงด้วยกัน
“ก๊าซธรรมชาติของไทยเราจะใช้ได้เต็มที่ไม่เกิน 30 ปี จึงมีการกำหนดพลังงานไฟฟ้านิวเคลียร์ไว้ในแผนด้วย พร้อมๆ กับพลังงานทดแทนอื่นๆ แต่แล้วก็ล้วนแต่มีต้นทุนการผลิตสูงเกินไป ยกตัวอย่างเช่นพลังงานแสงอาทิตย์ที่มีต้นทุนต่อหน่วยถึงประมาณ 15 บาท ขณะที่ไฟบ้านที่ใช้กันทุกวันนี้มีต้นทุน 2 บาท/หน่วย” รอง ผอ.สนพ.กล่าว
นายชวลิต บอกด้วยว่า หากคำนวณโดยรวมค่าก่อสร้างโรงงาน เชื้อเพลิง และการกำจัดกากเชื้อเพลิงแล้ว ไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์จะมีราคาต่ำที่สุดคือ 2.01 บาท/หน่วยเท่านั้น
ขณะที่ตัวเลือกอื่นๆ ในการผลิตไฟฟ้าเพิ่มของไทย นายชวลิต ชี้ว่า คือการนำเข้าก๊าซธรรมชาติเหลวจากต่างชาติ หรือการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินเพิ่ม ซึ่งจะมีเรื่องของค่าใช้จ่ายในการจัดการก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ติดตามมา และยังเป็นสาเหตุของภาวะโลกร้อน ซึ่งเวลานี้การผลิตไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าถ่านหินมีต้นทุน 2.08 บาท/หน่วย โดยยังไม่รวมค่าการจัดการคาร์บอน
“สิ่งที่ต้องเร่งทำในขณะนี้คือการให้ความรู้แก่ประชาชน โดยเฉพาะเยาวชนที่อาจต้องพบกับโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในอีก 13 ปีข้างหน้า โดยการบูรณาการความร่วมมือกันระหว่างกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ กระทรวงพลังงาน และการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ทั้งในรูปเอกสารและรายการให้ความรู้ประชาชน” นายชวลิต อธิบาย
อย่างไรก็ตาม ดร.เดชรัต สุขกำเนิด อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ผู้ร่วมรายการอีกรายหนึ่งซึ่งต่อสายสนทนาทางโทรศัพท์ ตั้งข้อสังเกตในมุมกลับบ้างว่า โรงไฟฟ้านิวเคลียร์อาจไม่ได้มีความคุ้มทุนและมีความปลอดภัยจริงดังอ้างก็ได้
ข้อสังเกตที่น่าสนใจเช่น โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ อาจนำมาซึ่งปัญหางบประมาณก่อสร้างบานปลาย จากอัตราดอกเบี้ยจำนวนมากดังที่เกิดขึ้นแล้วในต่างประเทศ แต่หากยืนยันทำจริง ก็ต้องเปิดกว้างให้ประชาชนได้รับรู้ และต้องทำให้ระบุตัวผู้รับผิดชอบได้ด้วย
นอกจากนั้นในช่วงปี 2543 เป็นต้นมาทั่วโลกต่างชะลอการก่อสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ไปมาก เหลือเพียงประมาณ 5 โรง/ปีเท่านั้น เนื่องจากความเกรงกลัวต่อการเกิดอุบัติเหตุเหมือนในอดีต และการเปิดเสรีด้านพลังงานในยุโรปตะวันตก ซึ่งพลังงานนิวเคลียร์มีต้นทุนสูงไม่สามารถแข่งขันได้ โดยจากปี 2543 เป็นต้นมา ทั่วโลกเกิดอุบัติเหตุโรงไฟฟ้านิวเคลียร์เฉลี่ยถึงปีละ 1 ครั้งเลยทีเดียว
“นอกจากนั้น เมื่อพูดเรื่องการกำจัดกาก ซึ่งรัฐบาลบอกว่าจะเก็บในเหมืองแร่โปแตสฯ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ก็ต้องมีการรับฟังเสียงประชาชนในพื้นที่ว่าจะเห็นด้วยไหม ซึ่งแม้แต่นายโมฮัมหมัด เอลบาราเด ผอ.ไอเออีเอ ยังยอมรับว่าพลังงานนิวเคลียร์ไม่ปลอดภัย 100% เพียงแต่มีความคุ้มค่าที่จะเสี่ยงใช้เท่านั้น” ดร.เดชรัต ย้ำ
ด้าน ดร.กอปร ปฏิเสธข้อสังเกตนี้ว่า ไม่คิดว่ารัฐบาลจะเลือกใช้พื้นที่เหมืองแร่โปแตสเซียมเป็นที่เก็บกากเชื้อเพลิงจริง ส่วนเรื่องการกำจัดกากเชื้อเพลิงก็ไม่ได้เป็นเรื่องที่ยุ่งยากหรือน่ากังวลอย่างที่คิดกันด้วย
“ญี่ปุ่นเป็นปะเทศที่มีโรงไฟฟ้านิวเคลียร์มาแล้ว 50 ปี แต่เพิ่งมีโรงเก็บกากเชื้อเพลิงเมื่อไม่กี่ปีมานี้ ซึ่งกากเชื้อเพลิงที่ใช้แล้วสามารถนำไปเก็บไว้ในบ่อพัก ซึ่งมีน้ำหล่ออยู่ข้างๆ เตาปฏิกรณ์ได้นาน 3 -10 ปีเพื่อให้รังสีอ่อนตัวลง จากนั้นจึงค่อยย้ายเก็บไปไว้ในบ่อพักภายในโรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์ ไม่ต้องมีบ่อพักที่อื่น ซึ่งเรามีเวลาเก็บได้ถึง 50 ปี” ประธานคณะกรรมการศึกษาความเหมาะสมเพื่อเตรียมความพร้อมโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ระบุ
สุดท้ายนี้ ดร.กอปร แจกแจงเพิ่มว่า ขณะนี้ทั่วโลกได้มีใช้งานโรงไฟฟ้านิวเคลียร์แล้วทั้งสิ้น 437 โรงใน 31 ประเทศ อยู่ระหว่างการก่อสร้าง 30 โรง อนุมัติแผนและงบประมาณแล้ว 74 โรง โดยใน 15 ปีข้างหน้าจะมีข้อเสนอก่อสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์เพิ่มอีกกว่า 200 แห่งทำให้มียอดรวมเป็นอีกเท่าตัวของปัจจุบัน เนื่องจากเหตุผล 3 ประการ คือ ราคาพลังงานปิโตรเลียมและก๊าซธรรมชาติที่สูงขึ้น 3 เท่า
ในเวลาเดียวกันยังมีการรณรงค์ลดภาวะเรือนกระจก ซึ่งมีความกังวลกันว่าในอีก 2 ปีข้างหน้า พิธีสารเกียวโตจะหมดอายุ ทำให้ต้องออกกฎใหม่ซึ่งอาจมีความเข้มงวดด้านการจัดการคาร์บอนมากขึ้น ตลอดจนเทคโนโลยีที่ปลอดภัยมากขึ้น อันจะช่วยลดรายจ่ายด้านระบบความปลอดภัยลงได้อีกส่วนหนึ่ง ทำให้ต้นทุนพลังงานนิวเคลียร์ไม่ได้ไม่มีความคุ้มทุนดังที่ ดร.เดชรัต อ้าง
“ข้อมูลของ ดร.เดชรัต อาจจะล่าช้าไปสัก 5 ปี จริงอยู่ที่เคยมีการชะลอตัวลงหลังการเกิดอุบัติเหตุที่ทรีไมล์ไอส์แลนด์ช่วงปี 2523 และเวลานั้นยังมีตัวเลือกด้านพลังงานอื่นๆ อยู่ด้วย แต่ในช่วง 3 -5 ปีมานี้ โรงไฟฟ้านิวเคลียร์เริ่มกลับมานิยมอีกครั้ง เพราะมีต้นทุนเทคโนโลยีถูกลงขณะที่ยังปลอดภัยมากขึ้น ซึ่งเรื่องนี้มีข้อมูลอ้างอิงเป็นประเทศๆ ได้เลย” ดร.กอปร กล่าวในที่สุด
มองการใช้พลังงานทดแทนในอียู แล้วย้อนดูเมืองไทย
ที่มา www.manager.co.th 14 ต.ค. 50
ปัจจุบันโลกมีอัตราการใช้พลังงานเชื้อเพลิงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง หลายๆ ประเทศทั่วโลกจึงแสวงหาแหล่งพลังงานทดแทนรูปแบบใหม่เพื่อเป็นหลักประกันความมั่นคงด้านพลังงานในระยะยาว ทั้งยังเป็นการลดปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ จากการใช้พลังงานที่ได้จากฟอสซิล เช่น น้ำมัน และ ถ่านหิน อันเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดภาวะโลกร้อน ในสหภาพยุโรป พลังงานทดแทน หมายถึง พลังงานที่ได้จากธรรมชาติ และสามารถนำมาใช้ได้อย่างไม่มีขีดจำกัด ในแง่ปริมาณ ยกเว้นพลังงานไฟฟ้านิวเคลียร์และพลังงานจากถ่านหิน
หลาย ๆ ประเทศในยุโรป มีความก้าวหน้าในการนำพลังงานทดแทนมาใช้พลังงานทดแทนที่สำคัญๆ ได้แก่ พลังงานลม พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานที่ได้จากคลื่นในทะเล พลังงานจากกระแสน้ำ และความร้อนจากใต้ผิวโลก รวมทั้งพลังงานจากกระบวนการทางชีวภาพ พลังงานลม เป็นพลังงานที่สะอาด ไม่ก่อมลภาวะและสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้อย่างไม่รู้จักหมดสิ้น เครื่องมือในการนำพลังงานลมมาใช้คือ กังหันลม ที่แปลงพลังงานจลน์จากการเคลื่อนที่ของลมให้เป็นพลังงานกลได้ จากนั้นนำพลังงานกลมาใช้ประโยชน์โดยตรง เช่น ใช้สีข้าว สูบน้ำหรือผลิตไฟฟ้า ในทวีปยุโรปขณะนี้ แต่ละประเทศกำลังให้ความสำคัญต่อพลังงานลมเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ โดยสังเกตได้จากสถิติการใช้พลังงานลมเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าซึ่งมีปริมาณการผลิตเทียบเท่ากับปริมาณการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานชีวมวล (biomass) โดยประเทศเยอรมนีเป็นผู้ผลิตไฟฟ้าจากพลังงานลมมากเป็นอันดับหนึ่ง รองลงมาคือ สเปน และ เดนมาร์ก
1. พลังงานแสงอาทิตย์ คือ การนำพลังงานแสงอาทิตย์มาใช้ผลิตพลังงานทดแทนมีอยู่ 3 รูปแบบ คือ 1) การแปลงพลังงานแสงแดดมาเป็นพลังงานไฟฟ้าโดยใช้แผงโซลาเซล (solar cell) 2) การใช้พลังงานแสงแดดในรูปพลังงานความร้อนโดยตรง เช่น เตาแสงอาทิตย์ เครื่องทำน้ำร้อนจากแสงอาทิตย์ 3) การแปลงพลังงานแสงและความร้อนจากดวงอาทิตย์โดยใช้จานสะท้อนแสง-รวมแสง แล้วแปลงเป็นพลังงานกล จากนั้นจึงแปลงเป็นพลังงานไฟฟ้าอีกที ในปี 2005 สหภาพยุโรปมีพื้นที่ติตตั้งอุปกรณ์ผลิตพลังงานแสงอาทิตย์รวมแล้ว 17,267,538 ตร.ม.ซึ่งสามารถผลิตพลังงานกระแสไฟฟ้าได้ 12,087.3 เมกะวัตต์ โดยประเทศเยอรมนีติดตั้งมากที่สุดคือ 7,109,000 ตร.ม. รองลงมาคือประเทศกรีซ 3,047,200 ตร.ม. และอันดับที่สามคือประเทศออสเตรีย 2,598,785 ตร.ม.
2. พลังงานความร้อนจากใต้พิภพ คือ พลังจากที่อยู่ลึกลงไปใต้โลกประมาณ 650-2700 กิโลเมตร มีหินหนืดร้อน (magma) อยู่ ซึ่งถ้าอยู่ใกล้แหล่งภูเขาไฟ หรือได้รับอิทธิพลเคลื่อนตัวของเปลือกโลก (tectonic) ความร้อนภายในโลกจะถูกนำพาและถ่ายเทขึ้นมาสู่ผิวโลกได้มากกว่าปกติ เกิดเป็นปรากฏการณ์ต่างๆ เช่น น้ำพุร้อน น้ำพุร้อนไกเซอร์ บ่อโคลนเดือด บ่อไอเดือด เป็นต้น
การนำพลังงานจากใต้พิภพมาใช้มีสองรูปแบบคือ 1) รูปแบบพลังงานไฟฟ้า 2) รูปแบบพลังงานความร้อน
สำหรับรูปแบบพลังงานไฟฟ้านั้นเกิดจากการนำน้ำซึ่งมีความร้อนสูงมากๆ จนกลายเป็นไอน้ำ ถ้าอุณหภูมิสูงกว่า 180 องศาเซลเซียส และความดันมากกว่า 10 บรรยากาศจะสามารถแยกไอน้ำร้อนมาหมุนกังหันผลิตไฟฟ้าได้ ประเทศอิตาลีเป็นผู้นำหลักในการใช้พลังงานชนิดนี้ในกลุ่มสหภาพยุโรป (810.5 เมกะวัตต์จาก 842.6 เมกะวัตต์ของยอดรวมทั้งหมดในสหภาพยุโรป) และอิตาลียังคงเป็นประเทศเดียวในกลุ่มสหภาพยุโรปที่ยังคงเพิ่มยอดการใช้พลังงานรูปแบบนี้อย่างต่อเนื่อง (เพิ่มขึ้น 20.5 เมกะวัตต์จากปี 2004) ในขณะที่โปรตุเกสกำลังพัฒนาติดตั้งระบบพลังงานชนิดนี้ ส่วนฝรั่งเศสก็กำลังสำรวจแหล่งพลังงาน รวมทั้ง เยอรมนีและออสเตรียด้วย
ส่วนรูปแบบพลังงานความร้อน สามารถสำรวจและนำมาใช้โดยตรงซึ่งพลังงานนี้จะมีอุณหภูมิอยู่ระหว่าง 30-150 องศาเซลเซียส เรียกพลังงานชนิดนี้ว่า พลังงานความร้อนขนาดกลางและขนาดต่ำ ฮังการีคือประเทศที่ใช้พลังงานรูปแบบนี้มากที่สุด (715 เมกะวัตต์ในปี 2005) โดยการนำไปใช้ในการให้พลังงานความร้อนอ่างอาบน้ำสาธารณะและสระว่ายน้ำตามมาด้วยการให้ความร้อนในเรือนเพาะปลูกและระบบการให้ความร้อน อิตาลีครองอันดับที่ 2 ( 486.6เมกะวัตต์ ) ฝรั่งเศสมาเป็นอับดับสาม (291.9 เมกะวัตต์) โดยเน้นไปในการพัฒนาระบบการให้ความร้อนในเขตเมืองปารีส และเขตเมืองบอร์โด
3. พลังงานน้ำ คือ การอาศัยหลักการของการเคลื่อนที่ของน้ำจากที่สูงสู่ที่ต่ำกว่ารูปแบบที่เราคุ้นเคยคือ การสร้างเขื่อนเก็บกักน้ำ เพื่อสะสมพลังงานศักย์ เมื่อเปิดประตูที่ปิดกั้นทางเดินของน้ำ พลังงานศักย์ที่สะสมอยู่ ก็จะเปลี่ยนเป็นพลังงานจลน์ สามารถนำไปฉุดกังหัน และต่อเชื่อมเข้ากับเครื่องกำเนิดไฟฟ้าเกิดเป็นกระแสไฟฟ้าขึ้น
ในปี 2005 อิตาลีเป็นผู้นำอันดับหนึ่งในการผลิตไฟฟ้าจากโรงงานไฟฟ้าพลังงานน้ำขนาดเล็กซึ่งผลิตได้ 2405.5 เมกะวัตต์ ตามมาด้วยฝรั่งเศส สเปน เยอรมนี ออสเตรีย และสวีเดนซึ่งผลิตได้ 2,060 เมกะวัตต์ 1,788 เมกะวัตต์ 1584 เมกะวัตต์ 1,062 เมกะวัตต์และ 905 เมกะวัตต์ตามลำดับ
พลังงานน้ำอีกรูปแบบหนึ่งคือ พลังงานจากมหาสมุทร (ocean energy) ได้แก่ พลังงานคลื่น เมื่อน้ำบนผิวมหาสมุทรถูกลมพัด จนเกิดการเคลื่อนไหวเป็นคลื่น จะเกิดพลังงานในลักษณะเดียวกับพลังงานลม แตกต่างกันตรงที่แทนที่จะเป็นอากาศก็เป็นน้ำในมหาสมุทรแทน
พลังงานความร้อนในมหาสมุทร เกิดจากบริเวณผิวน้ำของมหาสมุทรที่ได้รับความร้อนจากดวงอาทิตย์ ที่ประมาณยี่สิบกว่าองศาเซลเซียส ซึ่งจะร้อนกว่าน้ำส่วนที่ลึกลงไป (ที่น้ำลึกประมาณ 1 กิโลเมตร มีอุณหภูมิประมาณ 4 องศาเซลเซียส) ความแตกต่างของอุณหภูมิเช่นนี้ถือได้ว่าเป็นแหล่งพลังงานชนิดหนึ่งเช่นกัน
พลังงานน้ำขึ้นน้ำลง เกิดขึ้นเมื่อดวงอาทิตย์ โลก และดวงจันทร์โคจรมาอยู่ในแนวเดียวกัน แรงดึงดูดของดวงจันทร์ซึ่งอยู่ใกล้โลกมากกว่า จะดึงให้น้ำตามบริเวณเขตศูนย์สูตรในมหาสมุทรสูงขึ้น และเมื่อดวงจันทร์โคจรไปตั้งฉากกับดวงอาทิตย์ก็จะทำให้น้ำบริเวณเส้นศูนย์สูตรลดลง ความแตกต่างของน้ำทะเลระหว่างช่วงที่ขึ้นสูงและช่วงที่ต่ำถือได้ว่าเป็นพลังงานศักย์อันหนึ่งที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้
ในยุโรปมีการแข่งขันกันในด้านการผลิตโรงไฟฟ้าที่ใช้พลังงานจากมหาสมุทร เช่น มีการก่อตั้งบริษัท Voigh Siemens Hydro ซึ่งได้ร่วมมือกับบริษัท Wavegen จากประเทศอังกฤษเพื่อแข่งขันกับบริษัท Ocean Power Delivery จากประเทศอังกฤษเช่นเดียวกันซึ่งเป็นผู้ผลิตเครื่องแปลงพลังน้ำเป็นพลังงานไฟฟ้าที่ชื่อว่า PelamisWave Energy Conveters
4. พลังงานชีวมวล (Biomass) คือการนำเอาสารอินทรีย์ที่เป็นแหล่งกักเก็บพลังงานจากธรรมชาติ มาใช้ผลิตพลังงานในรูปของเชื้อเพลิงชีวภาพ (Biofuel) เชื้อเพลิงชีวภาพแบ่งได้เป็น 3 ประเภทคือ เชื้อเพลิงที่เป็นของแข็ง เช่น ไม้ ฟาง ของเสียจากสัตว์ พืชผัก ประเภทที่ 2 คือ ของเหลว เช่น เอทานอลซึ่งผลิตจากอ้อยหรือจากข้าวโพด เมทานอลซึ่งผลิตจากก๊าซธรรมชาติ น้ำมันพืช และ ประเภทที่ 3 คือ ก๊าซ เช่น ไบโอมีเทน ซึ่งเกิดจากการสลายตัวของของเสียหรือขยะมูลฝอย
สำหรับ ไบโอดีเซล (biodiesel) คือ เชื้อเพลิงดีเซลที่ผลิตจากแหล่งทรัพยากรหมุนเวียน เช่น น้ำมันพืช ไขมันสัตว์หรือสาหร่าย ไปโอดีเซลเป็นเชื้อเพลิงดีเซลทางเลือก นอกเหนือจากดีเซลที่ผลิตจากปิโตรเลียม โดยมีคุณสมบัติการเผาไหม้เหมือนกับดีเซลจากปิโตรเลียมมาก และสามารถใช้แทนกันได้ โดยมีคุณสมบัติที่สำคัญคือ สามารถย่อยสลายได้เองตามกระบวนการชีวภาพในธรรมชาติ และไม่เป็นพิษ
สหภาพยุโรปให้ความสำคัญในการผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพมาใช้เป็นพลังงานทดแทน โดยมีการผลิตไบโอดีเซลมากที่สุดคิดเป็น 81.5% ของพลังงานเชื้อเพลิงชีวภาพทั้งหมด หรือประมาณ 3.18 ล้านตัน ในปี 2005 โดยมีเยอรมนีเป็นผู้ผลิตมากที่สุด 52.4 % ของกำลังการผลิตรวมของยุโรป ส่วนประเทศอื่นที่ผลิตไบโอดีเซลมากรองลงมาได้แก่ ฝรั่งเศส โปแลนด์ และสาธารณรัฐเช็ก
ไบโอเอทานอล เป็นเชื้อเพลิงชีวภาพที่มีการผลิตมากเป็นอันดับสองในกลุ่มสหภาพยุโรป มีปริมาณการผลิตคิดเป็น 18.5% ของพลังงานเชื้อเพลิงชีวภาพทั้งหมด โดยมี สเปนเป็นผู้ผลิตรายใหญ่ที่สุด รองลงมาคือ เยอรมนี และ สวีเดน
5. พลังงานก๊าซชีวภาพ (Biogas) คือ ก๊าซที่เกิดขึ้นจากกระบวนการย่อยสลายสารอินทรีย์แบบไร้ออกซิเจน (anaerobic process) มีก๊าซมีเทนเป็นองค์ประกอบหลักอยู่ประมาณ 50-80% นอกนั้นเป็นก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ มีคุณสมบัติคล้ายกับแก๊สธรรมชาติ
สารอินทรีย์ที่นิยมนำมาผ่านกระบวนการทำให้เกิดให้ก๊าซชีวภาพคือ น้ำเสียจากโรงงานอุตสาหกรรม เช่น โรงงานแป้งมันสำปะหลัง โรงงานเบียร์ โรงงานผลไม้กระป๋อง รวมทั้งน้ำเสียจากฟาร์มเลี้ยงสัตว์
ในช่วงปี 2005 กลุ่มสหภาพยุโรปก็ได้ผลิตพลังงานชนิดนี้ถึง 4.7 ล้านตัน ซึ่งไม่รวมกับของเดิมที่มีอยู่แล้วประมาณ 20 เมกะตัน วัตถุดิบหลักสำคัญในการผลิตพลังงานชนิดนี้คือ ซากขยะ สิ่งปฏิกูลที่ผ่านการกรองจากโรงงาน และวัตถุดิบชนิดอื่นๆ เช่น ก๊าซชีวภาพจากการเกษตร โรงแยกก๊าซมีเทนจากขยะ และการย่อยรวมขยะ
กลุ่มผู้นำทางด้านผลผลิตพลังงานก๊าซชีวภาพในยุโรป ได้แก่ เยอรมนี รองลงมาคือ อิตาลี และสเปน
ตาราง การผลิตและซื้อพลังงานไฟฟ้า (http://www.egat.co.th/thai/report_43/statistics.html)

ผลิตจาก

ปีงบประมาณ 2543 

ปีงบประมาณ 2542

เพิ่มขึ้น (ลดลง)
ร้อยละ

ล้านกิโลวัตต์ชั่วโมง

ร้อยละ

ล้านกิโลวัตต์ชั่วโมง

ร้อยละ

    ก๊าซธรรมชาติ
    น้ำมันเตา
    ลิกไนต์
    พลังน้ำ
    น้ำมันดีเซล
    พลังงานทดแทน
    พลังงานไฟฟ้าที่ซื้อ

 35,790.01
11,467.00
15,450.41
5,296.03
157.17
1.82
28,618.28

 36.98
11.85
15.97
5.47
0.16
-
29.57

 32,749.17
15,945.38
15,587.78
3,433.46
726.66
1.74
21,969.80

 36.22
17.64
17.24
3.80
0.80
-
24.30

 9
(28)
(1)
54
(78)
5
30

รวมทั้งสิ้น

 96,780.72

 100.00

 90,413.99

 100.00

 7

พลังงานทดแทน 16 ประเภท
ได้แก่ ชีวมวลของแข็ง เชื้อเพลิงชีวภาพของเหลว ก๊าซชีวภาพ ถ่านหิน หินน้ำมัน ทรายน้ำมัน พลังงานนิวเคลียร์ ก๊าซธรรมชาติ ก๊าซมีเทนจากเหมืองถ่านหิน พลังงานไฮโดรเจน พลังงานน้ำ พลังงานลม พลังงานคลื่น พลังงานน้ำขึ้นน้ำลง พลังงานแสงอาทิตย์ และพลังงานความร้อนใต้พิภพ
ข่าว : หิมะวิบัติ!! เวียดนามวัวควายตายนับหมื่น
โดย ผู้จัดการออนไลน์ 15 กุมภาพันธ์ 2551 14:12 น.
http://www.manager.co.th/IndoChina/ViewNews.aspx?NewsID=9510000019267
ในวันนี้เขตเมืองซาปา (Sapa) กลายเป็น "สวิตเซอร์แลนด์" ไปแล้ว หิมะคลุมยอดเขา น้ำค้างแข็งเกาะไปทั่ว อุณภูมิลบ 5-10 องศาเซลเซียส ในบางพื้นที่ลดลงถึง -15 ในวันพฤหัสบดี (13 ก.พ.) ที่ผ่านมา
หิมะกับน้ำค้างแข็งที่ปกคลุมในเขตเขาภาคเหนือมานานแรมเดือน กำลังก่อความวิบัติแก่ราษฎรเวียดนามหลายล้านคน ขณะที่รายงานในเบื้องต้นจากท้องถิ่นต่างๆ พบปศุสัตว์ล้มตายไปแล้วนับหมื่นตัว จำนวนยังคงเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ นาข้าวได้รับความเสียหายอีกกว่า 400,000 ไร่
หิมะกับน้ำค้างแข็งได้ปกคลุมทั่วเทือกเขาหว่างเลียนเซิน (Hoang Lien Son) รวมทั้งในเขตเมืองซาปา (Sapa) ในวันนี้หิมะได้ทำให้เมืองปลายทางท่องเที่ยวยอดนิยมที่มีทัศนียภาพสวยงามกับสภาพโดยรอบ กลายเป็น "สวิตเซอร์แลนด์"
ที่นั่นอยู่ใน จ.ล่าวกาย (Lao Cai) ติดเขตแดนมณฑลหยุนหนัน (Yunnan) ของจีน ซึ่งอุณหภูมิโดยเฉลี่ยทั่วไปจะติดลบ 5-10 องศาเซลเซียส นับเป็นสภาพอากาศที่เลวร้ายที่สุดในรอบกว่า 40 ปี
ความหนยาวเย็นยังแผ่คลุมหายจังหวัด เกิดหิมะตกคลุมยอดเขาและน้ำค้างแข็งเกาะตามยอดในเขตหุบเขาในเขต จ.กาวบ่าง (Cao Bang) ติดชายแดนมณฑลหยุนหนันกับมณฑลกว่างซี (Guangxi) มีสัตว์เลี้ยงพวกวัวควายล้มตายไปแล้วกว่า 9,000 ตัว นาข้าวกับพืชเศรษฐกิจหลายชนิดเสียหายหนัก
ใน จ.ล่าวกายเพียงแห่งเดียวมีวัวควายล้มตายไปกว่า 1,000 ตัว ซึ่งกระทรวงเกษตรและพัฒนาชนบทกล่าวว่า เป็นภัยพิบัติครั้งใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยมีมา
มีรายงานเกี่ยวกับสัตว์เลี้ยงล้มตายอีกกว่า 2,000 ตัวใน จ.โห่วยาง (Hau Giang) ที่ระหว่างล่าวกายกับกาวบ่าง อีกเกือบ 1,500 ตัวใน จ.เซินลา (Son La) ทางภาคตะวันตกเฉียงเหนือติดชายแดนแขวงหัวพันของลาว อีกประมาณ 1,000 ตัว ใน จ.ลางเซิน (Lang Son) ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือติดมณฑลกว่างซี
นายกาวดึกฟ๊าต (Cao Duc Phat) รัฐมนตรีกระทรวงเกษตรและพัฒนาชนบทได้เปิดเผยเรื่องราวดังกล่าวเมื่อวันพฤหัสบดี (14 ก.พ.) ทั้งนี้เป็นรายงานของหนังสือพิมพ์เตี่ยนฟง (Tien Phong)
อากาศหนาวเย็นได้สร้างความเสียหายอย่างใหญ่หลวงแก่นาข้าวฤดูใบไม้ผลิในภาคเหนือของประเทศ กระทรวงเกษตรฯ ได้แจ้งให้ชาวนานเกษตรกรหยุดการออกไปเก็บเกี่ยวข้าวภายใต้อุณหภูมิข้างนอกที่ลดต่ำลงถึงลบ 15 (-15) องศาเซลเซียสในบางท้องที่
นายเหวียนจิหง็อก (Nguyen Tri Ngoc) แห่งกรมกสิกรรมกระทรวงเกษตรฯ กล่าวในรายงานชิ้นหนึ่งว่า อากาศหนาวเย็นได้สร้างความเสียหายแก่นาข้าวที่ต้นข้าวกำลังท้องแก่รวมประมาณ 53,000 เฮกตาร์ (331,200 ไร่) และ ข้าวที่กำลังออกรวงถูกทำลายไปเป็นเนื้อที่ประมาณ 5,000 เฮกตาร์ (ราว 31,000 ไร่เศษ)
ตามรายงานของวีเอ็นเอ (Vietnam News Agency) ซึ่งเป็นสำนักข่าวของทางการ ความเสียหายต่อนาข้าวครอบคลุมพื้นที่ 16 จังหวัดในภาคเหนือลงไปจนถึงเขตอู่ข้าวอู่น้ำที่ราบปากแม่น้ำแดง คือ จ.หายซเวือง (Hai Duong) ถายบิ่ง (Thai Binh) ฟุเถาะ (Phu Tho) ฮุงเอียน (Hung Yen) ห่านาม (Ha Nam) บั๊กซยาง (Bac Giang) จนถึงเขตนครหายฟ่อง (Hai Phong)
นายหง็อกได้กล่าวโทษความเสียหายครั้งนี้ว่าเกิดจากชาวนาเพิกเฉยต่อเสียงเตือนของทางการก่อนหน้านี้ให้ต้องรีบเก็บเกี่ยวข้าวที่แก่แล้ว พร้อมทั้งได้เตือน อีกครั้งให้ทุกครบครัวที่ประสบความเสียหายเตรียมปลูกพืชเศรษฐกิจหลายชนิดที่ใช้เวลาสั้นๆ ต่อไปเมื่ออากาศเลวร้ายทุเลาลง
ชาวนาในหลายจังหวัดกำลังเริ่มปลูกข้าวนาปรัง จำต้องใช้ผ้าพลาสติกคลุมต้นกล้าที่ยังอ่อนให้อบอุ่น ทั้งนี้เพื่อป้องกันมิให้เกิดน้ำค้างแข็งสร้างความเสียหาย
อย่างไรก็ตามหนังสือพิมพ์เตี่ยนฟงกล่าวว่า ความเสียหายไม่ได้จำกัดอยู่ในจังหวัดภาคเหนือ แต่กำลังแผ่ลามกว้างลงไปถึงภาคกลางตอนล่าง และ ตัวเลขที่รวบรวมจากทางการท้องถิ่นต่างๆ จนถึงวันที่ 13 ก.พ.ที่ผ่านมา ได้พบว่านาข้าวเสียหายไปแล้วถึง 71,000 เฮกตาร์ (443,700 ไร่เศษ)
ใน จ.แท็งฮว๊า (Thanh Hoa) ที่อยู่ใต้กรุงฮานอยลงไป นาข้าวได้รับความเสียหายมากที่สุดคือ 25,000 เฮกตาร์ และ จ.เหงะอาน (Nghe An) ที่อยู่ถัดลงไปเสียหายเป็นอันดับ 2 รวม 10,400 เฮกตาร์
ยังมีพืชเศรษฐกิจอื่นๆ ได้รับความเสียหายหรือถูกทำลายรวมเนื้อที่อีกนับหมื่นเฮกตาร์ ไม่ว่าจะเป็นถั่วลิสง ถั่งเหลือ จนถึงสวนผักของเกษตรกรครัวเรือนต่างๆ
จนถึงวันที่ 13 ก.พ.มีรายงานปศุสัตว์ล้มตายไปแล้วจำนวน 8,200 ตัว ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในจังหวัดตอนเหนือของประเทศ และ จำนวนยังคงเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เตี่ยนฟงกล่าว
อากาศเลวร้ายเริ่มมาตั้งแต่วันที่ 14 ม.ค. ก่อนหน้านั้นเคยเกิดอากาศหยาวเย็นจัดเป็นเวลา 26 วันในปี 2511 กับอีก 28 วันในปี 2532 วีเอ็นเอกล่าว.
Black Google Would Save 750 Megawatt-hours a Year
Reference: http://ecoiron.blogspot.com/2007/01/black-google-would-save-3000-megawatts.html
As noted, an all white web page uses about 74 watts to display, while an all black page uses only 59 watts. I thought I would do a little math and see what could be saved by moving a high volume site to the black format.
Take at look at Google, who gets about 200 million queries a day. Let's assume each query is displayed for about 10 seconds; that means Google is running for about 550,000 hours every day on some desktop. Assuming that users run Google in full screen mode, the shift to a black background [on a CRT monitor! mjo] will save a total of 15 (74-59) watts. That turns into a global savings of 8.3 Megawatt-hours per day, or about 3000 Megawatt-hours a year. Now take into account that about 25 percent of the monitors in the world are CRTs, and at 10 cents a kilowatt-hour, that's $75,000, a goodly amount of energy and dollars for changing a few color codes.

ถ่านหิน ?
เป็นแหล่งพลังงานที่สำคัญชนิดหนึ่งของโลก การพัฒนาอุตสาหกรรมในยุคแรกเริ่มเกิดขึ้นได้เพราะมนุษย์รู้จักการนำถ่านหินมาใช้ในการผลิตไอน้ำเพื่อขับเคลื่อนเครื่องจักรต่างๆ จนถึงปัจจุบันถ่านหินยังคงเป็นแหล่งพลังงานที่ได้รับความนิยมจากทั่วโลก หากแต่ขณะนี้เริ่มมีการพัฒนาเทคโนโลยีถ่านหินสะอาดขึ้นแล้ว ในหลายประเทศทั่วโลกเพื่อลดปริมาณการปลดปล่อยมลพิษจากกระบวนการเผาไหม้ ด้วยเหตุนี้ เพื่อเป็นการให้ความรู้แก่นักวิชาการ และผู้ประกอบธุรกิจพลังงานในประเทศไทย "บัณฑิตวิทยาลัยร่วมด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม" (JGSEE) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี จึงได้จัดการบรรยายพิเศษเรื่อง Sustainable Coal Utilization (การใช้ถ่านหินเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน) ขึ้น ณ โรงแรมเซนจูรี่ ปาร์ค เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา
รศ.ดร.บัณฑิต ฟุ้งธรรมสาร ผู้อำนวยการบัณฑิตวิทยาลัยร่วมด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม (JGSEE) เปิดเผยว่า ปัจจุบันทั่วโลกยังมีการใช้พลังงานจากถ่านหิน มากเป็นอันดับสองรองจากน้ำมัน โดยมีสัดส่วนการใช้อยู่ที่ 25% ของการใช้พลังงานทั้งหมด นอกจากนี้ ถ่านหินยังเป็นเชื้อเพลิงสำคัญที่ใช้ในการผลิตไฟฟ้า คือประมาณ 40% ของเชื้อเพลิงที่ใช้ผลิตไฟฟ้าทั้งหมด ซึ่งมากกว่าก๊าซธรรมชาติ และพลังงานนิวเคลียร์ ทั้งนี้เนื่องมาจากถ่านหินเป็นแหล่งพลังงานที่มีราคาถูกเมื่อเทียบกับน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ อีกทั้งยังมีปริมาณสำรองอยู่ค่อนข้างมากถ่านหิน จึงยังคงเป็นแหล่งพลังงานหลักที่มีความสำคัญในการผลิตไฟฟ้าของทั่วโลกต่อไป
"ในปีที่ผ่านมาทั่วโลกมีความต้องการใช้ถ่านหินเพิ่มขึ้น 7% หรือคิดเป็นปริมาณรวมทั่วโลกกว่า 6,300 ล้านตัน โดยส่วนใหญ่ถูกนำไปใช้เพื่อการผลิตไฟฟ้า และใช้ในโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ แต่ทว่าการใช้ถ่านหินในการเผาไหม้นั้นก่อให้เกิดมลพิษทางอากาศ โดยเฉพาะก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่เป็นตัวการสำคัญของการเกิดภาวะโลกร้อน ทั่วโลกจึงต้องหันมาหาวิธีการเพื่อลดการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และมลพิษต่างๆ ทั้งนี้วิธีที่กำลังมีการพัฒนาและนำไปใช้ในปัจจุบัน คือ เทคโนโลยีถ่านหินสะอาด (Clean Coal Technology) ซึ่งมีการพัฒนาทั้งในส่วนของการนำถ่านหินขึ้นมาใช้ และส่วนของเทคโนโลยีการใช้ถ่านหินเพื่อผลิตเป็นพลังงาน" รศ.ดร. บัณฑิต กล่าว
ดร.ไมค์ คลาร์ค วิศวกรเหมืองแร่ จากประเทศออสเตรเลีย กล่าวว่า ถ่านหินทั่วไปจะมี 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ black coal ถือเป็นถ่านหินคุณภาพดีที่ให้ความร้อนสูง ประมาณ 8 กิโลวัตต์ต่อ 1 กิโลกรัม ประกอบด้วยถ่านหินแอนทราไซต์ (Anthracite) ถ่านหินบิทูมินัส (Bituminous) และถ่านหินซับบิทูมินัส (Sub- Bituminous) ส่วนถ่านหินคุณภาพต่ำ หรือ brown coal ซึ่งที่รู้จักทั่วไปคือ ถ่านหินลิกไนต์ จะให้ความร้อนเพียง 4 กิโลวัตต์ต่อ 1 กิโลกรัม ทั้งนี้ถ่านหินจะมีปัญหาเรื่องความชื้นสูง และมีปริมาณเถ้าจำนวนมาก จึงจำเป็นต้องมีการปรับคุณสมบัติ เพิ่มประสิทธิภาพถ่านหินเพื่อให้มีการเผาไหม้ และให้พลังงานความร้อนได้ดีขึ้น รวมถึงลดการปลดปล่อยเขม่าและฝุ่นละอองจากการเผาไหม้ นอกจากนี้ ในหลายประเทศยังมีการวิจัยเพื่อพัฒนาเทคโนโลยีการเปลี่ยนถ่านหินให้เป็นพลังงานในรูปแบบอื่นๆ เช่น เปลี่ยนถ่านหินเป็นน้ำมัน และเปลี่ยนถ่านหินเป็นก๊าซธรรมชาติ เพื่อทดแทนเชื้อเพลิงที่มีความต้องการใช้สูงอย่างน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ
ด้าน ศาสตราจารย์ปราเบีย บาซู ผู้เชี่ยวชาญเทคโนโลยีถ่านหิน มหาวิทยาลัยดาล์เฮาซี่ ประเทศแคนาดา ได้กล่าวถึงความจำเป็นที่ทั่วโลกยังต้องใช้ถ่านหินต่อไป เนื่องจากเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้าทั่วโลกส่วนใหญ่เป็นเชื้อเพลิงถ่านหิน ซึ่งหากมีการยกเลิกการใช้ถ่านหินในทันทีจะไม่สามารถมีเชื้อเพลิงใดที่ใช้ทดแทนการผลิตไฟฟ้าได้เพียงพอต่อความต้องการของประชากรในประเทศ และหากทั่วโลกจะเลิกใช้ถ่านหินจริง จะต้องเริ่มจากการค่อยๆ ลดสัดส่วนเชื้อเพลิงถ่านหินลง และใช้เชื้อเพลิงอื่นเข้ามาแทนที่ ซึ่งต้องใช้ระยะเวลาอีกหลายสิบปี แต่อย่างไรก็ดี ขณะนี้มีการพัฒนาเทคโนโลยีถ่านหินสะอาดเกิดขึ้น ซึ่งการนำไปใช้ในโรงงานผลิตไฟฟ้าจะช่วยลดปริมาณการปลดปล่อยมลพิษได้
"เทคโนโลยีถ่านหินสะอาดที่พัฒนาขึ้นมีหลายประเภท เช่น Supercritical boiler power plant (เผาไหม้ด้วยอุณหภูมิและความดันสูง) Circulating fluidized bed fired boiler : CFB boiler (เผาไหม้ด้วยอุณหภูมิและความดันระดับปานกลาง เนื่องจากมีตัวกระจายความร้อน และสามารถดักจับมลพิษได้ภายในระบบ) และ Integrated gasification combine cycle (เปลี่ยนถ่านหินให้กลายเป็นก๊าซและเผาไหม้ในกังหันก๊าซเพื่อผลิตไฟฟ้า) ซึ่งทั้ง 3 เทคโนโลยีนี้เป็นเทคโนโลยีที่มี ประสิทธิภาพสูง โดยเพิ่มประสิทธิภาพการเผาไหม้จาก 33% เป็น 37-43% ทำให้ใช้เชื้อเพลิงในปริมาณที่น้อยลง คาร์บอนไดออกไซด์ที่ถูกปลดปล่อยจึงน้อยลงด้วย อีกทั้งเทคโนโลยีที่พัฒนาขึ้นมาใหม่จะมีตัวดักจับมลพิษ จำพวกซัลเฟอร์ไดออกไซด์ และฝุ่นละออง ทั้งในระบบและนอกระบบ จึงมั่นใจได้ว่ามลพิษที่ถูกปลดปล่อยออกจากโรงไฟฟ้าที่ใช้เทคโนโลยีถ่านหินสะอาดจะมีน้อยมาก"
อย่างไรก็ดี หลายประเทศทั่วโลกเริ่มมีการพัฒนาโรงไฟฟ้าที่ใช้เทคโนโลยีถ่านหินสะอาดแล้ว ทั้งในประเทศจีน และญี่ปุ่น รวมถึงหลายประเทศในทวีปยุโรป ซึ่งค่าใช้จ่ายในการปรับเปลี่ยนเทคโนโลยีดังกล่าว เมื่อคิดต่อหน่วยการผลิตแล้ว มีราคาถูกกว่าโรงไฟฟ้านิวเคลียร์มาก อีกทั้งยังใช้เวลาในการศึกษาข้อมูลและสร้างน้อยกว่าหลายปี ดังนั้นหากจำเป็นต้องนำถ่านหินมาใช้จึงควรหันมาให้ความสนใจ และทำความเข้าใจเรื่องการใช้เทคโนโลยีถ่านหินสะอาด เพื่อจะได้ไม่สร้างปัญหาด้านมลพิษเหมือนในอดีตอีกต่อไป หากมีการจัดการที่ถูกต้อง และใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม

กำเนิดปิโตรเลียม ?
นักโบราณคดีเชื่อว่าประมาณ 2,500 ปีก่อนคริสตกาล พวกชนเผ่าบาบิโลเนียน (Babylonian) เริ่มใช้น้ำมัน (ปิโตรเลียม) เป็นเชื้อเพลิงแทนไม้และเมื่อประมาณ 1,000 ปีก่อนคริสตกาล ชาวจีนเป็นชาติแรกที่ทำเหมืองถ่านหินและขุดเจาะบ่อก๊าซธรรมชาติลึกเป็นร้อยเมตรได้ก่อนใคร
น้ำมันประกอบด้วยสารประกอบไฮโดรคาร์บอนชนิดต่าง ๆ หลายชนิดมากมายจนมีคำพูดว่าไม่มีน้ำมันจากบ่อไหนเลยในโลกที่มีการผสมผสานส่วนประกอบได้คล้ายกัน แต่จะเห็นว่าส่วนประกอบกว้าง ๆ คล้ายกัน ซึ่งตรงกันข้ามกับก๊าซธรรมชาติที่ประกอบด้วยก๊าซที่สำคัญคือ มีเทน (Methane) เป็นหลักที่เหลือซึ่งมีปริมาณน้อยกว่าได้แก่ อีเทน (Ethane) โปรเพน (Propane) และบิวเทน (Buthane) ปิโตรเลียมจัดได้ว่าเป็นผลิตภัณฑ์ทางธรรมชาติที่ได้จากการสลายตัวของสิ่งมีชีวิตทั้งพืชและสัตว์รวมกัน ความเป็นมาของอุตสาหกรรมน้ำมัน ?
สถานีบริการน้ำมันต่าง ๆ ที่พบเห็นในปัจจุบันนี้ มีกำเนิดมาไม่ต่ำกว่า 90 ปี แล้ว โดยมีกำเนิดหลังจากที่ได้มีผู้ประดิษฐ์รถยนต์คันแรกขึ้นมา เมื่อประมาณปี 2443 โดยมีผู้ตั้งร้านค้าขายน้ำมันเพื่อเปิดบริการสำหรับเจ้าของรถ โดยกรรมวิธีแบบง่าย ๆ คือ เวลาเจ้าของรถจะมาเติมน้ำมันเชื้อเพลิงก็เทน้ำมันจากถังที่เก็บ ซึ่งมีขนาดเล็กไปสู่ถังน้ำมันของรถ และมีการพัฒนากรรมวิธีจำหน่ายน้ำมันตามเทคโนโลยีดังที่เราพบเห็นในปัจจุบัน ในบทนี่ผู้เขียนจะกล่าวถึงความเป็นมาของบริษัทผู้ค้าน้ำมันเชื้อเพลิงเฉพาะรายใหญ่ ๆ ได้แก่ บริษัทเชลล์แห่งประเทศไทย จำกัด บริษัทน้ำมันคาลเท็กซ์ (ไทย) จำกัด และบริษัทบางจากปิโตรเลียม จำกัด และลักษณะของการแข่งขัน ความต้องการ และการจัดหาของตลาดน้ำมันเชื้อเพลิง และช่องทางการจัดจำหน่ายของน้ำมันเชื้อเพลิง
ความเป็นมาของบริษัทเชลล์แห่งประเทศไทย จำกัด ก่อนปี พ.ศ. 2435 น้ำมันที่จำหน่ายในประเทศไทยส่วนใหญ่เป็นน้ำมันก๊าดที่มาจากรัสเซียเพียงแห่งเดียวจนกระทั่งปี 2435 ก็เริ่มมีการสั่งน้ำมันก๊าดจากเกาะสุมาตรามาจำหน่ายควบคู่ไปกับน้ำมันก๊าดจากรัสเซีย น้ำมันก๊าดจากรัสเซียนี้มีชื้อว่า “น้ำมันก๊าดตรามงกุฎ”

แนะนำเว็บ (Web Guides)
+ สถิติการใช้พลังงานไฟฟ้า ในประเทศไทย ปี 2543
+ tei.or.th/hotnews/071015-energy1-manager.htm
+ mfa.go.th : สถานการณ์พลังงานทดแทนภายในประเทศ
+ http://www.globalwarming.org
+ http://www.chevronthailand.com/energy_original.asp

แนะนำเว็บใหม่ : ผลการจัดอันดับ
รักลำปาง : thcity.com : korattown.com : topsiam.com : มหาวิทยาลัยโยนก
ศูนย์สอบ : รวมบทความ : ไอทีในชีวิตประจำวัน : ดาวน์โหลด : yourname@thaiall.com
ติดต่อ ทีมงาน ชาวลำปาง มีฝันเพื่อการศึกษา Tel.08-1992-7223