thaiall logomy background ความเป็นมาครูคืนถิ่น
my town
ความเป็นมาครูคืนถิ่น

ความเป็นมาครูคืนถิ่น

ความเป็นมาครูคืนถิ่น 3 รุ่นแรก คือ รุ่นปี 2559 - 2561 ซึ่งปี 2561 เป็นนักศึกษาครูที่เรียน 5 ปีรุ่นสุดท้าย และเป็นรุ่นเดียวที่ประกาศรับจากนักเรียนชั้น ม.6 ที่เรียน 5 ปี โดย ครูคืนถิ่น คือ โครงการที่รับครูบรรจุในท้องถิ่นตัวเอง เพื่อป้องกันปัญหาการย้ายออกของครูต่างถิ่น
การศึกษา | นักศึกษา | Admission | GAT/PAT | ONET | 9 วิชาสามัญ | ครูคืนถิ่น | มหาวิทยาลัย |
ความเป็นมาครูคืนถิ่น 3 รุ่นแรก
ครูคืนถิ่น (Krulovehome) คือ โครงการที่รับครูบรรจุในท้องถิ่นตัวเอง เพื่อป้องกันปัญหาการย้ายออกของครูต่างถิ่น
จุดประสงค์หลัก เพื่อคัดเลือก คนดี คนเก่งเข้ามาในวิชาชีพครู เมื่อสำเร็จการศึกษาแล้ว สามารถบรรจุในภูมิลำเนาตนเอง เพื่อเป็นการพัฒนาชุมชนท้องถิ่น ลดปัญหาการโยกย้าย แก้ปัญหาการขาดแคลนครูในพื้นที่การศึกษา โครงการที่จะเน้นพื้นที่เป็นหลัก มุ่งให้สถาบันฝ่ายผลิตครูในพื้นที่ทำงานร่วมกันเป็นเครือข่าย ปรับบทบาทและวิธีการผลิตและพัฒนาครู เพื่อให้สอดรับกับการปฏิรูปการศึกษา ร่วมกันยกระดับคุณภาพการศึกษาในพื้นที่ แสวงหาความร่วมมือกับหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งในสถาบันฝ่ายผลิตครูด้วยกันเอง และหน่วยงานผู้ใช้ครูในท้องถิ่น เพื่อสร้างความเข้มแข็งในการผลิตและพัฒนาครู ร่วมรับผิดชอบต่อผลผลิตของตนเองอย่างต่อเนื่อง ตลอดจนมีการพัฒนาและติดตามเป็นพี่เลี้ยงให้กับครูเหล่านั้น
ประกาศการคัดเลือก 59 หน้า
dek-d.com
ครูคืนถิ่นเฮบรรจุ2.6พัน4ต.ค.ชี้ปี 2562 สะดุดเหตุต้องจัดระเบียบข้อมูลอัตราเกษียณอายุราชการใหม่
https://goo.gl/u8arNE

ข้อดีการเป็นครูคืนถิ่น
ข้อดีมีเหตุที่สละสิทธิ์ สมเหตุผลหรือไม่
1. จบแล้ว ได้งานราชการทันทีไม่อยากเป็นราชการ ไม่อยากเป็นครู
2. มีด่านภาษา 500 ที่ท้าทายไม่เคยรักภาษาอังกฤษ ไม่คิดจะพยายาม
3. มีด่านเกรด 3.0 ที่ท้าทายไม่คิดจะตั้งใจเรียนให้ได้ 3.0 ขึ้นไป
4. ได้เรียน และทำงานตามแผนไม่ชอบที่ ไม่ชอบหลักสูตร
5. รับราชการ 3 ปี ขอทุนต่อโทได้ไม่ชอบเรียนต่อ ไม่ชอบขอทุน
6. ทำงานใกล้บ้านไม่ชอบทำงานใกล้บ้าน
7. ได้พัฒนาตนเองช่วงปิดเทอมไม่ชอบหยุดงานนาน เหมือนอาชีพครู
ปล. ย่อมมีมุมมองอื่น ทั้งบวกและลบ ผมแค่แชร์มุมนี้
เห็นการโพสต์ ใน twitter.com ว่า บางคนจะสละสิทธิ์ครูคืนถิ่น หรือ บางคนเลือกไม่เป็นแนวทางเดียวกันกับคนในครอบครัว ก็มีเรื่องมาแชร์ เริ่มจากการเห็นยอดสมัครครูคืนถิ่น 15000 คน ที่ผู้ใหญ่ใน ศธ. บอกว่าสมัครน้อยไป เป้าครูคืนถิ่น ม.6 ปี 2561 คือ 4,195 อัตรา แต่ผ่านการคัดเลือก 2,297 คน ตามประกาศ 20 เม.ย.61 แสดงว่าคนที่ผ่านการคัดเลือกมีไม่มาก อาจเป็นเพราะ คะแนนไม่ถึง 50% หรือเกรดไม่ถึง 3.0 หรือบางพื้นที่ไม่มีผู้สมัคร บางอัตราจึงไม่มีผู้ผ่าน
เมื่อผ่านการคัดเลือกแล้ว กลับจะมาสละสิทธิ์ ก็น่าเสียดายยิ่ง จึงมีข้อดีมาชวนคิด 7 ข้อ หากได้พิจารณาแล้ว และยืนยันจะสละสิทธิ์ ก็เข้าใจได้ ว่า สิทธิ์ที่ใหม่ ดีกว่า สิทธิ์ที่สละ หรือ คุ้มค่าที่จะเสี่ยง
ค่านิยมต่ออาชีพครู เช่นในอดีต กำลังจะเปลี่ยนไป
5 ประเด็นชวนคิดเรื่อง "ค่านิยมต่ออาชีพครู ที่กำลังจะเปลี่ยนไป"
1. ค่านิยมต่อการมีอาชีพครู
ระบบการศึกษากำลังจะเปลี่ยนไป ด้วยนโยบายถ่ายเลือด ถ้าหากครูคือ "เม็ดเลือดแดง" ของระบบการศึกษา แม้ปัจจุบันยังมีเด็กรุ่นใหม่ติดภาพค่านิยมแบบเดิม ที่ภาครัฐเคยรับครูเพียงหลักสิบต่อปี แต่มีคนจบครู รอสอบเป็นครูหลักแสน ในอดีตภาครัฐมีนโยบายจะใช้เทคโนโลยีมาแทนครู แต่ด้วยนโยบายใหม่กำลังรับครูที่มีคุณภาพเพิ่มอย่างต่อเนื่อง ก็เหมือนนโยบายให้เลือดกับระบบการศึกษานั่นเอง
2. เริ่มเปลี่ยนแล้ว
นับตั้งแต่ปี 2561 อาศัยระบบ TCAS ใหม่ และเป็นปีเริ่มต้นของภาพครูยุคใหม่ ที่เริ่มมี #ครูคืนถิ่น ที่รับตั้งแต่ ม.6 ที่ต้องตัดสินใจเลือกเป็นครูตั้งแต่รอบ 2 (โควตา) ไม่ใช่รอบเก็บตก ไม่ใช่ทางเลือกสุดท้ายอีกต่อไป และเปิดโอกาสให้นักศึกษาครูปี 1 ถึง ปี 5 สอบเข้าไป ทำให้รู้ตัวว่าได้เป็นครูในระหว่างเรียน
3. พื้นที่ต้องการ
โดยกำหนดว่าต้องการวุฒิใด จำนวนกี่คน เป็นการรับตามความต้องการของโรงเรียนในพื้นที่ และมีสถาบันการศึกษาทำหน้าที่เป็นฝ่ายผลิตครู เกิดสมดุลระหว่าง demand กับ supply และ production
4. จบครูคืนถิ่นดีอย่างไร
ข้อดี ได้แก่ 1) ได้งานราชการหลังจบ 2) มั่นคง 3) ก้าวหน้า 4) เงินเดือนดี 5) มีบำนาญ 6) มีเกียรติ 7) มีปิดเทอม 8) ย้ายตามแฟนได้ และ 9) เป็นที่รักในท้องถิ่น ถ้าเกรดดี ภาษาได้ ขยันเรียนรู้ และรักเด็ก ซึ่งเกรดเป็นเครื่องพิสูจน์ว่าตั้งใจเรียนรู้ตามเกณฑ์ และภาษาอังกฤษก็มีเวลาหลายปีพัฒนาจนฟังได้อ่านออก
5. ย้อนมองภาพครูในอดีต 2550
สะท้อนใน oknation.net ที่เขียนบล็อก โดย ลุงไมยราพ ว่าครูมี 10 บทบาท ได้แก่ 1) สอน 2) สั่ง 3) สร้าง 4) ซ่อมเสริม 5) แส่ 6) สาย 7) เสีย 8) สู้ 9) เสี่ยง 10) เศร้า .. ถ้าสนใจรายละเอียดก็คลิกอ่านกันได้
รุ่น 1 - กำหนดการ ครูคืนถิ่น ปี 2559
ศธ. ให้ สทศ. ดำเนินการรับครูคืนถิ่นรุ่นแรก ปี 2559 มี 4,079 อัตรา เปิดโอกาสให้คนที่เรียนจบครูแล้ว และคนที่จบ ป.ตรีสาขาอื่นสมัครได้ด้วย
เปิดรับถึงวันที่ 18 ก.ค.59   ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์สอบวันที่ 15 ส.ค.59  สอบวันที่ 28 ส.ค.59 และ ประกาศผลสอบวันที่ 6 ต.ค.59
ทั้งนี้ผู้สมัครทุกคนสามารถระบุเลือกบรรจุเข้ารับราชการในตำแหน่งครูผู้ช่วยได้ 3 อันดับ โดยเลือกให้ตรงกับภูมิลำเนาของตนเอง ซึ่งเลือกประเภทสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา(สพท.) ใน 1) สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน(สพฐ.) รับได้จำนวน 3,845 คน 2) สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา(สอศ.) รับได้จำนวน 224 คน 3) สังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย(กศน.) รับได้จำนวน 10 คน รวมทั้งสิ้น 4,079 คน
สมัครผ่าน สทศ. http://www.niets.or.th/protbyohec
อ่านเพิ่มเติม https://www.dailynews.co.th

ให้ทาย ตอนจบ ReLife movie
พระ นาง เค้าไปทำอาชีพอะไร
รุ่น 2 - กำหนดการ ครูคืนถิ่น ปี 2560
สกอ. ดำเนินการรับครูคืนถิ่น รุ่น 2 ปี 2560
เพื่อ บรรจุ 2 ต.ค.60
เป็นไปตามมติ ครม. เห็นชอบโครงการผลิตครูฯ ตั้งแต่พ.ศ. 2559-2572
แล้วได้มีการคัดเลือกนิสิต/นักศึกษา คณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ ชั้นปี 5
ที่เรียนหลักสูตรครู 5 ปี สำเร็จการศึกษาปี 2559
ซึ่งมีเกรดเฉลี่ย 3.00 ขึ้นไป เพื่อเข้าร่วมโครงการผลิตครูฯ รุ่นที่ 2
ในปีพ.ศ. 2560 ได้สรุปตัวเลขและประกาศผู้ผ่านกการคัดเลือก
บรรจุเป็นข้าราชการและบุคลากรทางการศึกษา
ในตำแหน่ง ครูผู้ช่วย
ซึ่งผ่านการคัดเลือกและมารายงานตัว จำนวน 3,554 คน
จากอัตราว่างทั้งหมด จำนวน 5,100 อัตรา
อ่านเพิ่มเติม http://www.education4plus.com
เมื่อ 10 ก.ค.60 พบว่าเกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์สนั่นโลกโซเซียล มีความคิดเห็นหลากหลาย กรณีผู้ผ่านคัดเลือก #ครูคืนถิ่น ปี 2560 ที่เรียกร้องให้ปรับลดคะแนนสอบ เช่น TOEIC จาก 400 คะแนน เหลือ 250 คะแนน หรือใช้วิธีการอบรมแทน นั้น แล้วเลขาธิการกกอ. ได้ออกมายืนยัน ย้ำ TOEIC 400 คะแนน ในคลิ๊ปข่าว voice.tv ก็เล่าว่าระดับ 400 นี้ไม่ถือว่าสูง ต่อมาในปี 2561 หรือรุ่น 3 ได้ปรับเพิ่มคะแนน TOEIC สำหรับครูคืนถิ่น (ม.6) เป็น 500 คะแนนแล้ว
รุ่น 3 - กำหนดการ ครูคืนถิ่น กรณี ม.6 ปี 2561
สกอ. เปิดรับ 2 กรณี ปี 2561
กรณี ม.6 หรือเทียบเท่า เข้าโครงการครูคืนถิ่น บรรจุ 4,195 อัตรา เป็นรุ่น 3
รับสมัคร 21-29 มี.ค. 2561 ทาง http://muakru.thaijobjob.com
ประกาศผล 20 เมษายน 2561
ต้องมีผลการเรียนเฉลี่ยสะสมม.ปลาย 6 ภาคการศึกษา ไม่ต่ำกว่า 3.00  
มีผลคะแนนสอบภาษาอังกฤษ TOEIC 500
ต้องมีภูมิลำเนาตามสำเนาทะเบียบบ้านตรงกับพื้นที่จะบรรจุ
อ่านเพิ่มเติม https://www.dailynews.co.th

P'Dome รู้ลึก รู้จริง .. ได้รวบรวมข้อมูล
เล่าไว้ละเอียด เข้าใจง่าย หาอ่านเพิ่มเติมกัน
รุ่น 3 (ทั้ง 2 กรณี)- กำหนดการ ครูคืนถิ่น ปี 2561 สกอ. ทำโครงการครูคืนถิ่น หรือ โครงการผลิตครูเพื่อพัฒนาท้องถิ่นประจำปีการศึกษา 2561 รุ่นที่ 3
มี 2 กรณี
กรณีที่ 1 คัดเลือกผู้สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า ปีการศึกษา 2560
- เปิดรับ : 21 มี.ค.61 - 29 มี.ค.61
- ประกาศผล : 20 เม.ย.61
- รายงานตัว : 27-28 เม.ย.61
กรณีที่ 2 คัดเลือกนิสิตนักศึกษาครูชั้นปีที่ 1 - 5 ปีการศึกษา 2561
- เปิดรับ : 4 ธ.ค.60 - 12 ธ.ค.60
- ประกาศผลสอบข้อเขียน : 10 เม.ย.61
- ประกาศสถานที่สอบสัมภาษณ์ สกอ. : จะประกาศใน 2 พ.ค.61
อ่านเพิ่มเติม https://muakru.thaijobjob.com
รุ่น 3 (ปี 1 - 5) - เป้าหมายรับแต่ละชั้นปี ครูคืนถิ่น ปี 2561 เป้าหมายในการบรรจุโครงการผลิตครูเพื่อพัฒนาท้องถิ่น พ.ศ. 2561
กรณีที่ 2 เป็นดังนี้
1. นิสิตนักศึกษาครู ปี 5 ปีการศึกษา 2560 บรรจุปี 2561 รับจำนวน 5,337 อัตรา
สำนักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) 4,985 อัตรา
สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา(สอศ.) 292 อัตรา
กรุงเทพมหานคร(กทม.) 50 อัตรา
สำนักงานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.) 10 อัตรา
2. นิสิตนักศึกษาครู ปี 4 ปีการศึกษา 2560 บรรจุปี 2562 รับจำนวน 5,645 อัตรา
สพฐ. 5,253 อัตรา
สอศ. 337 อัตรา
กทม. 45 อัตรา
กศน. 10 อัตรา
3. นิสิตนักศึกษาครู ปี 3 ในปีการศึกษา 2560 บรรจุปี 2563 รับ 5,740 อัตรา
สพฐ. 5,311 อัตรา
สอศ.369 อัตรา
กทม. 50 อัตรา
กศน. 10 อัตรา
4. นิสิตนักศึกษาครูปี 2 ในปีการศึกษา 2560 บรรจุปี 2564 รับ 5,396 อัตรา
สพฐ. 5,041 อัตรา
สอศ. 295 อัตรา
กทม. 50 อัตรา
กศน. 10 อัตรา
5. นิสิตนักศึกษาครูปี 1 ในปีการศึกษา 2560 บรรจุปี 2565 รับ 4,849 อัตรา
สพฐ. 4,574 อัตรา
สอศ. 250 อัตรา
กทม. 15 อัตรา
กศน. 10 อัตรา
อ่านเพิ่มเติม https://www.thairath.co.th
รุ่น 3 (ม.6) - อัตราว่าง ผ่านเกณฑ์ และประกาศสิทธิ์บรรจุ ปี 2561
สาขา ยอด
อัตราว่าง
ยอด (อัตรา)
ผ่านเกณฑ์
ยอด (อัตรา)
ประกาศสิทธิ์บรรจุ
เกษตรกรรม 69ไม่ผ่านเกณฑ์0
เกษตรศาสตร์/เกษตรศึกษา 2ไม่ผ่านเกณฑ์0
เคมี 258522
เครื่องกล (ช่างยนต์) 2422
เครื่องมือกล (ช่างกลโรงงาน) 511
เทคโนโลยีสารสนเทศ 9ไม่ผ่านเกณฑ์0
เทคนิคโลหะ (ช่างเชื่อม) 2ไม่ผ่านเกณฑ์0
การศึกษานอกระบบ 1022
การศึกษาพิเศษ 384324
คณิตศาสตร์ 4801723464
คหกรรมศาสตร์ 79ไม่ผ่านเกณฑ์0
คอมพิวเตอร์ 994333
จิตวิทยาและการแนะแนว 327321
ชีววิทยา 3016728
ดนตรีไทย 1533
ดนตรีศึกษา 3885
ดนตรีสากล 1011
ทัศนศิลป์ 1032
ธุรกิจศึกษา/เลขานุการ 8ไม่ผ่านเกณฑ์0
นาฏศิลป์ 50119
ปฐมวัย 3894241
ประถมศึกษา 543327228
พลศึกษา 18816799
ฟิสิกส์ 259022
ภาษาไทย 644591414
ภาษาอังกฤษ 401881353
วิทยาศาสตร์ (ทั่วไป) 265526212
วิศวกรรมโยธา – ก่อสร้าง 10ไม่ผ่านเกณฑ์0
วิศวกรรมไฟฟ้า (ไฟฟ้ากำลัง) 2222
วิศวกรรมอุตสาหการ 1132
ศิลปกรรม/จิตรกรรม 111
ศิลปะ 865940
สถาปัตยกรรม 1ไม่ผ่านเกณฑ์0
สังคมศึกษา 423317248
สุขศึกษา 621312
อิเล็กทรอนิกส์ (ไฟฟ้าสื่อสาร) 8ไม่ผ่านเกณฑ์0
อุตสากรรมศิลป์ 4211
อ่านเพิ่มเติม https://www.dailynews.co.th
อ่านเพิ่มเติม https://www.dek-keng.com
รุ่น 3 (ม.6) - สาขา และ มหาวิทยาลัย ที่ร่วมเข้าร่วมโครงการ ปี 2561 1. สาขาการศึกษานอกระบบ
1. คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
2. สาขาการศึกษาพิเศษ
1. คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
2. คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
3. สาขาเกษตรกรรม
1. คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
2. คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
4. สาขาคณิตศาสตร์
1. คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
2. คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
3. คณะศึกษาศาสตร์และพัฒนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน
4. คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
5. คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง
6. คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี
7. คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี
8. คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
9. คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช
10. คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์
11. คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์
12. วิทยาลัยการศึกษา มหาวิทยาลัยพะเยา
13. คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตสงขลา
14. คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
15. คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
5. สาขาคหกรรมศาสตร์
1. คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน
2. คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
6. สาขาคอมพิวเตอร์
1. คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช
2. คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม
3. คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
4. คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
5. คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
7. สาขาเคมี
1. คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
8. สาขาเครื่องกล (ช่างยนต์)
1. คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
9. สาขาเครื่องมือกล (ช่างกลโรงงาน)
1. คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
10. สาขาจิตวิทยาและการแนะแนว
1. คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
2. คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง
11. สาขาชีววิทยา
1. คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
12. สาขาดนตรีไทย
1. คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
13. สาขาดนตรีศึกษา
1. คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎพิบูลสงคราม
2. คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎนครราชสีมา
14. สาขาดนตรีสากล
1. คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
15. สาขาทัศนศิลป์
1. คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
16. สาขาเทคนิคโลหะ (ช่างเชื่อม)
1. คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมลคลอีสาน วิทยาเขตขอนแก่น
17. สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ
1. คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
18. สาขาธุรกิจศึกษา/เลขานุการ
1. คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
19. สาขานาฏศิลป์
1. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี
2. คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
20. สาขาปฐมวัย
1. คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
2. คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์
3. คณะศึกษาศาตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
4. คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
5. คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
6. คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี
7. คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์
8. คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
9. คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง
10. คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตสงขลา
11. คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
12. คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
13. คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
21. สาขาประถมศึกษา
1. คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
2. คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
3. คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์
4. คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
5. คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร
6. คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
7. คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา
8. คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์
9. คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
10. คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม
11. คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ
12. คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
13. คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต
14. คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์
15. คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย
16. คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
17. วิทยาลัยการฝึกหัดครู มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร
22. สาขาพลศึกษา
1. คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช
2. คณะศึกษาศาสตร์และพัฒนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน
3. คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
4. คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
5. คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
6. คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี
7. คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
8. คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
23. สาขาฟิสิกส์
1. คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
24. สาขาภาษาไทย
1. คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช
2. คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
3. คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี
4. คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
5. คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
6. คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี
7. คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี
8. คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
9. คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
10. คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
11. คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
12. คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม
13. คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์
14. คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
15. คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์
16. คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตสงขลา
17. วิทยาลัยการศึกษา มหาวิทยาลัยพะเยา
18. คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
19. คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี
20. คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
21. คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
22. คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง
23. คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา
25. สาขาภาษาอังกฤษ
1. คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
2. คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
3. คณะศึกษาศาสตร์และพัฒนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน
4. คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์
5. คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
6. คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
7. คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี
8. คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์
9. คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
10. คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
11. คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช
12. คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตสงขลา
13. วิทยาลัยการศึกษา มหาวิทยลัยพะเยา
14. คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
15. คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
16. คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
17. คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
26. สาขาวิทยาศาสตร์ทั่วไป
1. คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
2. คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
3. คณะศึกษาศาสตร์และพัฒนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน
4. คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
5. คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
6. คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยลัยศรีนครินทรวิโรฒ
7. คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี
8. คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง
9. คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
10. คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช
27. สาขาวิศวกรรมไฟฟ้า (ไฟฟ้ากำลัง)
1. คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
28. สาขาวิศวกรรมโยธา-ก่อสร้าง
1. คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
29. สาขาวิศวกรรมอุตสาหการ
1. คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
30. สาขาศิลปะ
1. คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
2. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี
3. คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
4. คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
31. สาขาสถาปัตยกรรม
1. คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
32. สาขาสังคมศึกษา
1. คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
2. คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
3. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี
4. คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
5. คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
6. คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
7. คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี
8. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี
9. คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
10. คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์
11. คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
12. คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช
13. คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
14. คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
15. คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
16. คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
17. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง
18. คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
33. สาขาสุขศึกษา
1. คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน
2. คณะศึกษาศาสตร์และพัฒนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน
34. สาขาอิเล็กทรอนิกส์ (ไฟฟ้าสื่อสาร)
1 คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
35. สาขาอุตสาหกรรมศิลป์
1. คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม
2. คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง
อ่านเพิ่มเติม https://www.dek-d.com
บัญชีจัดสรรคืนอัตราข้าราชการครู ที่ว่างจากผลการเกษียณอายุราชการ เมื่อสิ้นปีงบประมาณ พ.ศ.2566 บัญชีจัดสรรคืนอัตราข้าราชการครู บัญชีจัดสรรคืนอัตราข้าราชการครู ที่ว่างจากผลการเกษียณอายุราชการ เมื่อสิ้นปีงบประมาณ พ.ศ.2566 โดยสิ่งที่ส่งมาด้วย รายการที่ 1 คือ บัญชีจัดสรรอัตราเกษียณฯ ในสถานศึกษา ซึ่งในเอกสารประกอบด้วยตารางข้อมูล ได้แก่ ชื่อ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา จำนวน 246 รายการ ประกอบด้วย 1) จำนวนผอ. 2) จำนวน รอง ผอ. 3) จำนวนครู 4) รวม (1+2+3) 5) ได้รับจัดสรรคืน (6+9) 6) ตำแหน่งผู้บริหาร (1+2) 7 ถึง 12) ตำแหน่งครูผู้สอน 13) จำนวนที่เกลี่ยให้สพท.อื่น ซึ่งตารางนี้มีรูปแบบเป็นแฟ้ม pdf และได้นำไปแปลงเป็น xlsx ผ่าน pdf2go . com เพื่อนำมาคำนวณได้ง่ายขึ้น หากท่านใดสนใจสิ่งที่แนบในรูปของ xlsx สามารถคลิก Download ได้
ตัวอย่างข้อมูลในตารางที่น่าสนใจ เช่น รายการที่ 228 สพม.ลำปางลำพูน มีผู้บริหารและครู ที่เกษียณในปีพ.ศ.2566 รวมจำนวน 77 คน และได้รับการจัดสรรคืน 47 คน โดยเกลี่ยให้สพท.อื่นจำนวน 30 คน โดยจำนวนที่จัดสรรคืนนั้นเป็นครูในโครงการผลิตครูพัฒนาท้องถิ่นจำนวน 25 คน
สิ่งที่ส่งมาด้วย
1. บัญชีจัดสรรอัตราเกษียณฯ ในสถานศึกษา จำนวน 1 ชุด (xlsx)
2. บัญชีจัดสรรอัตราเกษียณฯ ในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา จำนวน 1 ชุด
3. แนวปฏิบัติการจัดสรรอัตราเกษียณฯ ในสถานศึกษา จำนวน 1 ชุด
- (แนบท้ายแนวปฏิบัติ) ข้อมูลนศ.ทุนโครงการ สควค.
4. แนวปฏิบัติการจัดสรรอัตราเกษียณฯ ในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา จำนวน 1 ชุด
5 . แบบรายงานผลการจัดสรรอัตราเกษียณฯ ในสถานศึกษา จำนวน 1 ชุด
6. แบบรายงานผลการจัดสรรอัตราเกษียณฯ ในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา จำนวน 1 ชุด
ข่าว 9 ก.ย.66 ด่วน สพฐ. แจ้งการจัดสรรคืนอัตราเกษียณครูและบุคลากรทางการศึกษา เมื่อสิ้นปีงบประมาณ 2566
ลิงก์ : shorturl.asia/Arnzj
kruwandee.com/news-id52561.html
thaiall.com/blogacla/burin/6500/
ข่าว 24 ส.ค.66 สพฐ. สอศ. และ สกร. สงวนอัตราตำแหน่งครูผู้ช่วยที่ได้รับจัดสรรอัตราว่างจากผลการเกษียณอายุราชการฯ เมื่อสิ้นปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 จำนวน 3,938 อัตรา จำนวน 183 อัตรา และจำนวน 8 อัตรา ตามลำดับ
dailynews.co.th/news/2653600/
คำถามน่าสนใจสำหรับผู้สมัครเป็นครู

ปล. เตรียมสอบสำหรับผู้ผ่านข้อเขียน
ชั้นปี 1 - ปี 5 เปิดรับรอบปี 2560
ตัวอย่างคำถามสำหรับเตรียมสอบสัมภาษณ์ #ครูคืนถิ่น
1. ทำไมอยากเป็นครู
2. ครูที่ดีมีลักษณะอย่างไร
3. ปัญหาการศึกษาไทย มีประเด็นใดน่าสนใจ
4. ถ้าได้เป็นครู จะสอน อะไร ทำไม อย่างไร
5. จุดเด่นที่ทำให้ตนเองเหมาะสมที่จะเป็นครู
6. เล่าถึงวิธีการทำ portfolio ของตนเอง
7. เล่าถึงการพัฒนาภาษาอังกฤษของตนเอง
Thaiall.com