ธุรกิจและการเป็นผู้ประกอบการ
ธุรกิจและการเป็นผู้ประกอบการ
บทนำ
เนื่องจากการเริ่มต้นธุรกิจ ย่อมตั้งต้นด้วยเงินทุนน้อย ๆ ก่อน ผู้ประกอบการจึงต้องรู้จักการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ และหลีกเลี่ยงกิจกรรมทางธุรกิจที่มีความเสี่ยงสูง หนทางหนึ่งที่จะลดผลกระทบของความเสี่ยงได้ ก็คือความรู้และข้อมูลที่เพียงพอ ตลอดจนการประยุกต์ความรู้และข้อมูลนั้นได้อย่างเหมาะสมกับเหตุการณ์ที่กำลังเกิดขึ้น
ดังนั้น ไม่ว่าผู้อ่านจะเป็นนักเรียนนักศึกษา หรือผู้ที่กำลังคิดจะประกอบธุรกิจ ควรฝึกนิสัยรักการอ่าน นิสัยรักการค้นคว้า และนิสัยชอบตั้งคำถาม เพื่อหาคำตอบ จะช่วยให้เราเข้าใจสถานการณ์ของเราดีขึ้น มองเห็นทางออกของปัญหาหลาย ๆ ทาง และช่วยให้การตัดสินใจมีความผิดพลาดน้อยที่สุด
ธุรกิจและการเป็นผู้ประกอบการ : รู้จริงทำจริง
2001-0007 ธุรกิจและการเป็นผู้ประกอบการ : รู้จริงทำจริง
เขียนโดย วินัยชาญ สรรพโรจน์พัฒนา
ลิขสิทธิ์ของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
ISBN 9789744120663 (ปกอ่อน) 200 หน้า
พิมพ์ครั้งแรก มี.ค.2550 ราคา 150 บาท
หน่วยที่ 1 ธุรกิจ สังคม และการเป็นผู้ประกอบการ
- สิ่งที่ควรเข้าใจเกี่ยวกับธุรกิจ
- ฉันเป็นผู้ประกอบการได้ไหม
หน่วยที่ 2 จะเริ่มต้นประกอบธุรกิจ...ทำอะไรบ้าง
- เงินทุน...เตรียมอย่างไร
- บริหารธุรกิจอย่างไรให้มั่นคง
- ทำธุรกิจอย่างไรไม่ให้กฎหมาย
หน่วยที่ 3 แผนธุรกิจ
- การจัดทำแผนธุรกิจ
- การดำเนินธุรกิจให้ประสบความสำเร็จ
หน่วยที่ 4 ความอยู่รอดของธุรกิจในการแข่งขัน
- แข่งขันกับใครบ้าง
- แข่งขันกับตนเอง
- หน้าที่ของผู้ประกอบการที่ดี
"ธุรกิจจะอยู่รอดและเติบโตอย่างมั่นคง
ด้วยรู้จักประมาณตน มีเหตุผล
ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต
มีความเพียรพยายามใช้สติปัญญา
และความรู้อย่างเหมาะสม
มีระบบภูมิคุ้มกันเพื่อให้เกิดสมดุล
และสามารถรองรับกการเปลี่ยนแปลง
จากปัจจัยแวดล้อมทั้งภายในและภายนอก"
สติ (Consciousness) หมายถึง ความรู้สึกตัว ความรู้สึกผิดชอบ ความระลึกได้ ปัญญา (Wit) หมายถึง ความรอบรู้ ความรู้ทั่ว ความฉลาดเกิดแต่เรียนและคิด ดังนั้น สติปัญญา (Intelligence) หมายถึง รู้สึกตัวรอบรู้ทั่ว ปัญญารอบคอบ ปัญญารู้คิด

+ business_entrepreneur.doc
+ sites.google.com
+ scribd.com
+ mebmarket.com
+ se-ed.com
องค์ประกอบของธุรกิจที่สำคัญ 1. การค้าขาย (Commerce)
2. ผลกำไร (Profitability)
3. เงินทุน (Capital)
4. ความเสี่ยงทางธุรกิจ (Business Risk)
5. การบริหารจัดการ (Management)
ประเภทของการประกอบธุรกิจ 1. ธุรกิจการผลิตสินค้า (manufacturing Industry)
2. ธุรกิจการให้บริการ (Service Industry)
3. ธุรกิจการจัดจำหน่าย (Distribution Industry)
ปัจจัยการผลิต 1. แรงงาน (Labor หรือ Man)
2. เงิน (Money)
3. ทรัพยากรทางกายภาพ (Physical Resource หรือ Material)
4. การเป็นผู้ประกอบการ (Entrepreneurship)
5. ทรัพยากรสารสนเทศ (Information Resource)
สิ่งแวดล้อมทางธุรกิจ
1. สิ่งแวดล้อมทางเศรษฐกิจและสังคม (Economic and Social Environment หรือ PEST+G)
(1) ปัจจัยด้านการเมืองการปกครอง (Political Factors)
(2) ปัจจัยด้านสภาวะเศรษฐกิจ (Economic Factors)
(3) ปัจจัยด้านสังคม (Social Factors)
(4) ปัจจัยด้านเทคโนโลยี (Technological Factors)
(5) ปัจจัยด้านกระแสโลกาภิวัตน์ (Forces from Globalization)
2. สิ่งแวดล้อมทางอุตสาหกรรม (Industrial Environment)
ปัจจัยทั้ง 5 ของพอร์เตอร์ (Porter's 5 Forces)
(1) อำนาจต่อรองของลูกค้า (Buyer Power)
(2) อำนาจต่อรองของผู้ขายวัตถุดิบ (Supplier Power)
(3) อุปสรรคจากสินค้าทดแทน (Threat of Substitutes)
(4) ศักยภาพของคู่แข่งขัน (Existing Rivalry = การแข่งขัน)
(5) ศักยภาพของผู้เข้ามารายใหม่ (Potential Entrants)

บางคนพูดถึง ประเทศที่ได้ GSP #
บางคนพูดถึง 60 - ผลิตไม่พอส่งโรงงาน
บางคนพูดถึง 59 - กำไรงาม เก็บได้ทั้งปี
อุปนิสัยผู้ประกอบการ
1. แสวงหาโอกาสใหม่อยู่เสมอ
2. ไม่เคยละทิ้งโอกาสที่ค้นพบ
3. เลือกโอกาสที่คุ้มค่าที่สุด
4. ลงมือทำอย่างชาญฉลาด
5. รวมพลังสร้างความร่วมมือ
นักธุรกิจ ย่อมมีความต้องการ
ที่จะมีชีวิตยาวนานขึ้น
จึงไม่ทิ้งโอกาส

น.พ.บุญชัย อิศราพิสิษฐ์
โรงพยาบาลราชธานี และเวลเนสซิตี้ กรุ๊ป
กินอย่างไรให้ไกลโรค [24 ก.พ 61]
ท่านบอกว่า เปลี่ยนวิธีกิน พิชิตโรคร้าย ความดัน เบาหวาน มะเร็ง คอเรสเตอรอล ฯลฯ ไม่ต้องรักษาด้วยยา
ผู้ประกอบการที่ล้มเหลว 1. บุคลิกอ่อนแอ
2. โดดเดี่ยวคนเดียว
3. ความคิดไม่ชัด
4. ไม่มีแผน
5. ไม่เตรียมเงินทุน
6. เงินขาดมือ
7. ทำการตลาดไม่เป็น
8. ประเมินผลไม่ได้
9. เลือกใช้คนผิด
10. ประมาทการแข่งขัน
ผู้ประกอบการที่ประสบความสำเร็จ 1. อยากสำเร็จ
2. เชื่อมั่นในตนเอง
3. มีความคิดแจ่มแจ้ง
4. ทำแผนธุรกิจ
5. เคร่งครัดเรื่องเงิน
6. กำหนดเป้าหมายการตลาด
7. เร็วกว่าคู่แข่งหนึ่งก้าวเสมอ
8. มีทีมสนับสนุนการบริหาร
9. สร้างเครือข่ายความร่วมมือ
10. วางโครงสร้างชัดเจน
โอกาสทางธุรกิจ 1. มีคุณค่าต่อลูกค้า
2. ให้ผลกำไรที่ยอมรับได้
3. ได้ใช้ศักยภาพที่มีอยู่แล้ว
4. ระวังกระแสชั่วคราว
5. สายป่านยาว
โครงสร้างแผนธุรกิจ แผนธุรกิจ (Business Plan) คือ เอกสารที่ผู้ประกอบการสรุปเป้าหมายทางธุรกิจ เลือกแนวการบริหารจัดการปัจจัยการผลิต และกำหนดแนวการปฏิบัติงานของกิจการ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายนั้น
1. บทสรุปสำหรับผู้บริหาร (Executive Summary)
2. เป้าหมายและโครงสร้างของธุรกิจ (Business Goals and Structure)
3. แนวการบริหารจัดการ (Business Management and Operations)
4 การควบคุม และแผนปฏิบัติงาน (Management Control and Actionplan)
5. รายละเอียดสนับสนุน (Details of Supporting Information)
Thaiall.com