ข่าวใน moe สมัคร มทร.ธัญบุรี 1.6 หมื่นคน รับแค่ 2.7 พัน

seven career in asean
seven career in asean
ข่าวนี้ทำให้นึกถึง 7 อาชีพอาเซียน
มติชน ฉบับวันที่ 13 มี.ค. 2556 (กรอบบ่าย)
นายนำยุทธ สงค์ธนาพิทักษ์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) ธัญบุรี
เปิดเผยว่า ปีการศึกษา 2556 มทร.ธัญบุรี ได้เปิดรับสมัครนักศึกษาใหม่ ประเภทสอบตรง
พบว่า มีผู้สมัครและชำระเงินแล้วทั้งสิ้น 16,472 คน เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วเกือบ 1,000 คน
ขณะที่ยอดรับตรงที่สามารถรับได้อยู่ที่ 2,730 คน
1. คณะวิศวกรรมศาสตร์ สมัคร 1,954 คน รับ 455 คน
2. คณะบริหารธุรกิจ สมัคร 4,592 คน รับ 530 คน
3. คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ สมัคร 1,260 คน รับ 106 คน
4. คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมสมัคร 962 คน รับ 210 คน
5. คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน สมัคร 2,007 คน รับ 275 คน
6. คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สมัคร 661 คน รับ 172 คน
7. คณะศิลปกรรมศาสตร์ สมัคร 1,139 คน รับ 340 คน
8. คณะศิลปศาสตร์ สมัคร 1,888 คน รับ 30 คน
9. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สมัคร 779 คน รับ 78 คน
10. คณะเทคโนโลยีการเกษตร สมัคร 946 คน รับ 215 คน
11. วิทยาลัยการแพทย์แผนไทย สมัคร 239 คน รับ 45 คน
อธิการบดี มทร.ธัญบุรี กล่าวต่อว่า สำหรับสาขาที่มีผู้สนใจสมัครมากที่สุด
โดยมี สัดส่วนจำนวนรับต่อจำนวนผู้สมัครสูงสุด คือ
1. สาขาถ่ายภาพและภาพยนตร์ 1 ต่อ 47
2. สาขาเทคโนโลยีมัลติมีเดีย 1 ต่อ 28
3. สาขาเทคโนโลยีโทรทัศน์และวิทยุกระจายเสียง 1 ต่อ 25
4. สาขาการจัดการทั่วไป 1 ต่อ 25
5. สาขาการศึกษาปฐมวัย 1 ต่อ 21
6. สาขาอาหารและโภชนาการ 1 ต่อ 17
โดยมีกำหนดการสอบ ในวันที่ 16 มีนาคม คือ คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม คณะเทคโนโลยีการเกษตร คณะวิศวกรรมศาสตร์ วิทยาลัยการแพทย์แผนไทย คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน
ส่วนวันที่ 17 มีนาคม 2556 คณะ ที่สอบ คือ คณะบริหารธุรกิจ คณะเทคโนโลยี คหกรรมศาสตร์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม
เฉพาะหลักสูตรศึกษาศาสตร์บัณฑิต สอบที่ มทร.ธัญบุรี จ.ปทุมธานี
สอบสัมภาษณ์ใน วันที่ 27 มีนาคม 2556 ณ คณะที่สมัครสอบ
ประกาศผลสอบวันที่ 30 มีนาคม 2556
ภาพเปรียบเทียบการขาดแคลนของคนไทยในเวที AEC
thai need english and science skills
thai need english and science skills
webometrics january 2013
webometrics january 2013

ลงชื่อเข้างานที่เปลี่ยนไป (itinlife306)

finger scan
finger scan

ทุกองค์กรต้องมีการบันทึกประวัติการเข้าทำงาน ขาด ลา และสายของบุคลากร โดยมีรายละเอียดว่าแต่ละวันเข้า-ออกงานเวลาเท่าใด ซึ่งงานทรัพยากรบุคคลต้องทำรายงานสรุปทุกสิ้นเดือนเสนอผู้บริหารที่เป็นผู้กำหนดนโยบายว่าจะดำเนินการอย่างไรกับผู้ที่ไม่รับผิดชอบต่อภาระงานที่ได้รับ มีหลายองค์กรวัดประสิทธิผลของการทำงานจากผลงาน มากกว่าเวลาเข้าทำงานที่แตกต่างกันไปตามประเภทภารกิจ  โดยทั่วไปผู้บริหารระดับหน่วยมีหน้าที่กำกับติดตามการทำงานของผู้ปฏิบัติงานโดยตรงให้มีผลงานตามที่สัญญาไว้ แต่ถ้าผลงานโดยรวมของหน่วยไม่เป็นไปตามเป้าหมายก็จะต้องมีการวิเคราะห์หาสาเหตุที่แท้จริงว่าเกิดจากการขาดความรับผิดชอบ ระยะเวลาทำงานไม่เป็นไปตามที่ตกลง หรือมีสาเหตุอื่นใด เพราะถ้าบุคลากรส่วนหนึ่งสามวันดี สี่วันไข้ ใช้เวลางานทำธุรกิจส่วนตัว เข้างานสาย ทานข้าวนาน หรือออกงานก่อนเวลาก็คงทำให้ผลงานของหน่วยไม่เป็นไปอย่างที่ควรจะเป็น

การลงเวลาเข้าทำงานในอดีตใช้การลงชื่อในเอกสาร เมื่อคนแรกลงเวลาเข้าทำงานแล้ว คนต่อไปก็จะลงเวลาในบรรทัดถัดไป เมื่อถึงเวลาก็จะเก็บเอกสารส่งงานทรัพยากรบุคคล ซึ่งเป็นระบบที่ไม่ใช้เทคโนโลยี โดยมีกลไกการควบคุมด้วยจิตสำนึก และคุณธรรมที่อยู่ในตัวของผู้ปฏิบัติงาน บางหน่วยงานมีวัฒนธรรมที่ไม่ซื่อสัตย์ คือ ลงชื่อไม่เป็นตามเวลาจริง เช่น มาทำงานสายทั้งหน่วยงาน แต่ผลการลงชื่อปรากฎว่าไม่มีใครมาสายแม้แต่คนเดียวตลอดทั้งปี ซึ่งมีเหตุผลสำคัญมาจากการไม่ใส่ใจกำกับดูแลของผู้บังคับบัญชาอย่างจริงจัง ปัญหานี้แก้ไขโดยการใช้บัตรตอกเวลาทำงาน (Time Card)  แต่เวลาต่อมาก็มีบางคนให้เพื่อนที่มาก่อนช่วยตอกบัตรแทน ปัญหาเหล่านี้มีเหตุจากการขาดความซื่อสัตย์ที่เป็นคุณสมบัติเบื้องต้นของการทำงานร่วมกันในองค์กร

ปัจจุบันภาคเอกชนนิยมหันไปใช้เครื่องสแกนลายนิ้วมือ (Finger Scan) เพราะบันทึกข้อมูลได้ตามเวลาจริง และไม่มีใครถอดนิ้วมือให้กันได้ ในองค์กรขนาดใหญ่ที่มีบุคลากรหลายพันคนก็จะมีเครื่องสแกนลายนิ้วมือที่เชื่อมโยงกันเป็นเครือข่ายไปยังศูนย์ข้อมูล แต่ละเครื่องสามารถถ่ายโอนข้อมูลไปรวมกันแล้วประมวลผลจนได้สารสนเทศที่เสนอต่อผู้บริหารในแต่ละระดับใช้ประกอบการพิจารณาดำเนินการกับผู้ที่ไม่ตรงต่อเวลา หรือขาดงาน การใช้เทคโนโลยีทำให้สามารถสรุปรายงานได้รวดเร็ว ลดความผิดพลาด และลดภาระงานของบุคลากรได้มาก ส่วนการลางาน หรือการปฏิบัติงานนอกสถานที่ก็จะมีบัญชีข้อมูลที่จะนำมาประมวลผลร่วมกับข้อมูลจากเครื่องสแกนลายนิ้วมือ ซึ่งข้อมูลอาจสรุปเป็นรายเดือน หรือรายปีแล้วส่งให้กับบุคลากรได้รับทราบ และบุคลากรสามารถร้องขอทราบข้อมูลเพื่อใช้วางแผนในการหยุดงาน ลากิจ ลาป่วย หรือลาพักผ่อนต่อไป