วิสัยทัศน์รุก 3 ทิศทาง ของ สุทธิชัย หยุ่น

nation group team
nation group team
“สุทธิชัย หยุ่น” เขย่าเครือเนชั่น ดันผู้บริหารรุ่นใหม่ยกแผง ชูวิสัยทัศน์รุก 3 ทิศทาง
คอนเทนท์ แพลตฟอร์ม และก้าวสู่ระดับภูมิภาค
สัญญาณการเปลี่ยนผ่านเครือเนชั่นเข้าสู่ยุคใหม่ ภายใต้การนำของนายสุทธิชัย หยุ่น ประธานกรรมการบริษัท เริ่มขึ้นเกือบจะในทันทีที่เข้ารับบทบาทแม่ทัพ เมื่อเดือน มี.ค.ที่ผ่านมา พร้อมกับการปรับโครงสร้างการบริหารงาน ในแต่ละหน่วยธุรกิจ (Business Unit) ให้สอดรับกับนโยบาย และวิสัยทัศน์ใหม่ของเครือ โดยล่าสุด คณะกรรมการบริษัท มีมติแต่งตั้งนางสาวดวงกมล โชตะนา ขึ้นดำรงตำแหน่งกรรมการผู้อำนวยการบริษัท เนชั่น มัลติมีเดีย กรุ๊ป จำกัด  (มหาชน)
นายสุทธิชัย หยุ่น ประธานกรรมการบริษัท เนชั่น มัลติมีเดีย กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า การบริหารงานของเครือเนชั่นจากนี้ไป จะถูกขับเคลื่อนผ่านคณะกรรมการบริหาร โดยมีตนนั่งเป็นประธาน และมีนายเสริมสิน สมะลาภา ดำรงตำแหน่งรองประธานกรรมการ ซึ่งจะมีบทบาทวางกลยุทธ์ขยายการลงทุนเพื่อการเติบโตของเครือเนชั่น  พร้อมด้วยกรรมการบริหาร อีก 3 คน คือ นางสาวดวงกมล โชตะนา กรรมการผู้อำนวยการเนชั่นกรุ๊ป นายพนา จันทวิโรจน์ กรรมการผู้อำนวยการธุรกิจต่างประเทศ เนชั่นกรุ๊ป  และ นายอดิศักดิ์  ลิมปรุ่งพัฒนกิจ กรรมการผู้อำนวยการ บริษัท เนชั่น บรอดแคสติ้ง คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ NBC
สำหรับกลุ่มผู้บริหารรุ่นใหม่ ที่จะเป็นกำลังสำคัญ ขับเคลื่อน NMG สู่อนาคต บนวิสัยทัศน์ใหม่ นอกจากนายอดิศักดิ์  นางสาวดวงกมล และนายพนา ซึ่งนั่งอยู่ในคณะกรรมการบริหาร  ยังมีผู้บริหารรุ่นใหม่เข้าร่วมสมทบอีก 3 คน คือ นายศิวะพร ชมสุวรรณ กรรมการผู้อำนวยการ  บริษัท เนชั่น อินเตอร์เนชั่นแนล เอ็ดดูเทนเมนท์ จำกัด (มหาชน) หรือ NINE  ผศ.ดร.พงษ์อินทร์ รักอริยะธรรม อธิการบดี มหาวิทยาลัยเนชั่น และสุดท้าย นายต่อบุญ พ่วงมหา อดีตประธานเจ้าหน้าที่บริหาร  บริษัทสนุกดอทคอม ในตำแหน่งกรรมการผู้อำนวยการ ธุรกิจดิจิทัล
“เหล่านี้คือคลื่นลูกใหม่ของเครือเนชั่น เป็นเกลียวคลื่นที่จะพาเนชั่นก้าวเดินไปข้างหน้าอย่างมั่นคง จากนี้ไป เราพร้อมจะเปิดเกมรุกทุกๆ ด้าน พร้อมขยายการลงทุนเพื่อการเติบโตของธุรกิจ” นายสุทธิชัยกล่าว

สำหรับวิสัยทัศน์เครือเนชั่น ยุคแม่ทัพชื่อ “สุทธิชัย” กำหนดไว้ว่า บริษัทจะต้องเติบโตพร้อมกันบน 3 ทิศทาง ซึ่งจะเป็น 3 เสาหลักของเครือเนชั่น วิสัยทัศน์ ประการแรก เครือเนชั่นพร้อมขยายคอนเทนท์ หรือเนื้อหาอย่างไม่หยุดยั้ง เพื่อให้ครอบคลุมทุกกลุ่มผู้รับสื่อ ประการที่สอง เครือเนชั่นจะมุ่งแผ่ขยายด้านแพลตฟอร์ม โดยเปิดเกมรุกในธุรกิจดิจิทัล และบรอดแคสต์ เป้าหมาย คือ ส่งผ่านคอนเทนท์ที่ดีที่สุดออกไปในทุกรูปแบบ  และวิสัยทัศน์ประการที่  3 ยกระดับเครือเนชั่นสู่สถาบันสื่อระดับอาเซียน
“แม้ว่าเราจะมีคอนเทนท์ที่ครอบคลุมเกือบทุกเซ็กเมนท์อยู่แล้ว  แต่เรายังไม่หยุดยั้ง จากนี้ไป จะเห็นเครือเนชั่นก้าวสู่ธุรกิจการศึกษา และสื่อประเภทบันเทิงมากขึ้น ซึ่งถือเป็นมิติใหม่ ทางด้านคอนเทนท์ของเครือเนชั่น”
ส่วนการแตกแขนงธุรกิจด้านแพลตฟอร์ม เครือเนชั่น เตรียมขยายธุรกิจด้านดิจิทัล และบรอดแคสต์ อย่างจริงจัง โดยมีนายต่อบุญ พ่วงมหา อดีตซีอีโอสนุกดอทคอม เป็นกำลังสำคัญ ด้วยประสบการณ์ที่บ่มเพาะในธุรกิจดิจิทัลเกินทศวรรษ เชื่อมั่นได้ว่านายต่อบุญ จะนำเครือเนชั่น ก้าวสู่ยุคดิจิทัล และสร้างรายได้จากสื่อใหม่ได้ต่อเนื่อง
อีกหนึ่งวิสัยทัศน์ ภายใต้การคุมทิศทางของนายสุทธิชัย คือ การนำพาเครือเนชั่น ซึ่งยืนหยัดในอุตสาหกรรมสื่อเมืองไทยมากว่า 42 ปีขยายธุรกิจสู่ ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ผ่านเครือข่ายที่แข็งแกร่งของหนังสือพิมพ์ The Nation
“เรามั่นใจในเนื้อหาที่แข็งแกร่ง มีศักยภาพเท่าเทียมสื่อชั้นนำต่างประเทศ  ทั้งยังมีความสามารถในการขยายแพลตฟอร์ม ไม่ว่าจะเป็นสื่อใหม่ หรือสื่อดั้งเดิม ที่ครอบคลุมทุกกลุ่มผู้รับสื่อ นอกจากนี้ ยังมีเครือข่ายที่แข็งแรง วันนี้เราพร้อมแล้วที่จะก้าวไปปักธงในอาเซียน” นายสุทธิชัยกล่าว
เขากล่าวทิ้งท้ายไว้ว่า ทีมผู้บริหารรุ่นใหม่ซึ่งต่างช่ำชองในสายธุรกิจสื่อไม่ต่ำกว่า 20 ปี จะร่วมสร้างปรากฏการณ์ใหม่ให้กับเครือเนชั่น ซึ่งมั่นใจได้ว่า จะสามารถตอบโจทย์ให้กับ Stake Holder ของบริษัท ทั้งผู้ถือหุ้นใหญ่ ผู้ถือหุ้นรายย่อย พนักงาน รวมถึงคู่ค้าทางธุรกิจ ได้อย่างแน่นอน

ไลฟ์บล็อก – สตอรีไฟ (Live Blog – Storify)

แฟนของผม วาง หนังสือพิมพ์คมชัดลึก ฉบับวันที่ 12 มีนาคม 2555 แล้วก็ชำเรืองไปพบหัวข้อที่น่าสนใจ จึงหยิบขึ้นมาอ่าน เห็นคำว่า สตอรีไฟ และ บทบาทที่น่าสนใจของ นักนิเทศศาสตร์ หลายท่าน แล้วไปค้นข้อมูลจากเน็ต รวมถึงทดสอบใช้บริการของ http://storify.com/ajburin/storify ที่สามารถดึงเนื้อหาจาก social media มารวมกันใน post เดียวได้ง่าย แบบที่เรียกว่า right to left and up to down

คนข่าวยุคเฟซบุ๊ก-ทวิตเตอร์ (Facebook-Twitter) ต้องบูรณาการแบรนด์ตัวเองสู่ ไลฟ์บล็อก-สตอรีไฟ (Live Blog – Storify) … “สุทธิชัย หยุ่น” ประธานกรรมการ บริษัท เนชั่น มัลติมีเดีย กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) นำทีมคนข่าวเนชั่นเปิดโลกทัศน์แห่งการเรียนรู้และแบ่งปัน เชิญผู้เชี่ยวชาญด้านโซเชียลมีเดีย @imsakulsri หรือ “สกุลศรี ศรีสารคาม” อาจารย์ประจำภาควิชาวิทยุกระจายเสียงและโทรทัศน์ คณะนิเทศศาสตร์ ม.ธุรกิจบัณฑิตย์ มาอัพเดทเทรนด์โซเชียลมีเดีย 2012
โดยเฉพาะประเด็นเรื่องการใช้ “โซเชียลมีเดีย เพื่อการรายงานข่าว” (Social Media & Journalism) อ.สกุลศรี ชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของโซเชียลมีเดียนั้น จะช่วยเสริมความต้องการของผู้บริโภคจากสื่อกระแสหลัก เนื่องจากมีความเร็ว ความลึก สามารถมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น ช่วยรายงานข่าวหรือใช้ข้อมูล ตลอดจนช่วยเผยแพร่หรือบอกต่อข่าวนั้นได้
ขณะเดียวกัน คนข่าวก็ต้องสร้างเครือข่ายและเชื่อมโยงข่าวสารจากโซเชียลมีเดียมารวมไว้ เป็นแหล่งเดียว เพื่อเพิ่มความกว้างและลึกของประเด็นข่าวนั้นด้วยการใช้พื้นที่จากเว็บไซ ต์ข่าว แสดงผลจากการกระจายปัญหาไปยังฝูงชน เพื่อให้ร่วมค้นคำตอบ หรือวิธีแก้ปัญหา  อย่างกรณีน้ำท่วมซึ่งมีผู้เช็กอินเข้ามารายงานสถานการณ์พื้นที่น้ำท่วม กองบรรณาธิการต้องทำหน้าที่รวบรวมข้อมูลมานำเสนอผ่านเว็บไซต์ โดยเนื้อหาที่นำเสนอจะมีทั้งรูป คลิปวิดีโอ และเนื้อหา โดยให้เครดิตผู้ที่ส่งข้อมูลเข้ามาด้วย นอกจากนี้ คนข่าวก็ต้องเขียนบล็อกไลฟ์ เพื่อรายงานสดถ่ายทอดประเด็น ต่อยอดเนื้อหาข่าวนั้นๆ พร้อมด้วยคลิปและภาพ เพื่อดึงผู้คนในสังคมโซเชียลมีเดียเข้ามาเป็นแฟนคลับ แลกเปลี่ยนแสดงความคิดเห็น

“ยกตัวอย่าง งานศพของวิทนีย์ ฮุสตัน ก็นำไลฟ์บล็อกมาอัพเดทความเคลื่อนไหวทั้งภาพ ข้อความ และคลิป หรือ “Cholas Kristof” ผู้สื่อข่าวจากนิวยอร์กไทม์ เขียนเฟซบุ๊กรายงานสดสถานการณ์ความวุ่นวายทางการเมืองในกรุงไคโร ประเทศอียิปต์ เช่นเดียวกับ “Amanda michel” จากหนังสือพิมพ์เดอะการ์เดียน ใช้เฟซบุ๊กเป็นช่องทางสื่อสารตอบโต้ประเด็นข่าว โดยมี “สตอรีไฟ” รวบรวมข้อมูลจากโซเชียลมีเดียไว้ในที่เดียวกัน” อ.สกุลศรี กล่าว
ทั้งนี้ “สตอรีไฟ” คือ การเล่าเรื่องด้วยโซเชียลมีเดีย มีลักษณะคล้ายกับการเขียนบล็อก แต่ “สตอรี่ไฟ” สามารถดึงข้อมูลจากโซเชียลเน็ตเวิร์กต่างๆ อย่าง เฟซบุ๊ก, ทวิตเตอร์, อินสตาแกรม, คลิปวิดีโอจากยูทูบ ฯลฯ ซึ่งอยู่อย่างกระจัดกระจายมารวมไว้ในที่เดียวกัน ด้วยวิธีการง่ายๆ เพียงลากและวาง (drag and drop) เท่านั้น ตอนนี้ก็มีเว็บข่าวจำนวนมากใช้บริการสตอรีไฟอยู่ อาทิ กอว์เกอร์ (Gawker), วอลล์สตรีท เจอร์นัล (Wall Street Journal), การ์เดี้ยน (Guardian) เป็นต้น

ด้าน @jin_nationสมฤทัย ทรัพย์สมบูรณ์” บก.ข่าวการเมือง หนังสือพิมพ์เดอะเนชั่น ผู้ผ่านประสบการณ์การทำข่าวตั้งแต่ยุคส่งข่าวทางโทรศัพท์สาธารณะ มาจนถึงยุคทวีตส่งข่าว ยอมรับว่า สื่อต้องปรับตัวอยู่ตลอดเวลา ซึ่งใช้โซเชียลมีเดียมีประโยชน์มาก และกำลังสนใจไลฟ์บล็อก และสตอรีไฟ ซึ่งเป็นการรวบรวมและนำเสนอข่าวที่น่าสนใจมากช่องทางหนึ่ง
“สุทธิชัย” เสริมว่า สตอรีไฟเป็นช่องทางที่น่าสนใจ คนข่าวทีวีสามารถนำไปขึ้นหน้าจอทีวีได้เลย แล้วอธิบายสิ่งที่เกิดขึ้นผ่านสตอรีไฟ ใครเริ่มทำก่อนจะเท่มาก ทั้งนี้ โซเชียลมีเดียนอกจากจะมีประโยชน์ต่อคนทำข่าวแล้ว ยังใช้สร้างแบนด์ส่วนตัวได้ สมัยก่อนกระบวนการทำข่าว 80 เปอร์เซ็นต์จะเสียไปกับขั้นตอนการส่งข่าว แต่ปัจจุบันกระบวนการส่งข่าวเร็วขึ้นใช้เพียง 20 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น จึงมีเวลามากพอที่จะทำข่าวที่มีเนื้อหา กว้าง ลึก ผ่านโซเชียลมีเดียได้

“นักข่าวของเราปรับตัวใช้โซเชียลมีเดียมา 4-5 ปีแล้ว หากมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น พวกเราจะยืนอยู่แถวหน้า ก้าวนำคนอื่นอยู่ 2-3 ก้าว หากถึงวันที่โซเชียลมีเดียทำเงินได้ เราจะเป็นกลุ่มแรกที่อยู่รอด เพราะเราก้าวพ้นความกลัวมาแล้ว และผมยังเชื่อว่าสื่อสิ่งพิมพ์จะไม่ตาย สื่อทีวีก็ไม่ตาย เพราะมีโซเชียลมีเดียมาเสริมซึ่งกันและกัน” สุทธิชัย กล่าว

http://www.oknation.net/blog/Sp-Report/2012/03/12/entry-1

http://newsjunkies-suthichaiyoon.blogspot.com/2012/03/live-blogs-storify.html

http://www.wired.com/gadgetlab/2011/10/apple-iphone-5-live-blog/

live blogging
live blogging

http://www.thaiall.com/blogacla/admin/1314/

ผ่านเข้ารอบ THAILAND GOT TALENT SEASON 2 ปี 2012

ผ่านการคัดเลือก thailand got talent 2012
ผ่านการคัดเลือก thailand got talent 2012

จากการคัดเลือกผู้เข้าร่วมรายการ
THAILAND GOT TALENT SEASON 2 ปี 2012
เป็นออดิชั่นรอบแรก ณ กาดสวนแก้ว จังหวัดเชียงใหม่
เมื่อวันที่ 11-12 กุมภาพันธ์ 2555
แล้วออดิชั่นรอบต่อไป ที่โรงละครอักษรา กรุงเทพฯ
วันที่ 16-25 มีนาคม 2555 เวลา 10.00-19.00 น.

พบว่า นักศึกษา มหาวิทยาลัยเนชั่น (Nation University)
จำนวน 4 คน ผ่านรอบคัดเลือก ได้แก่

1. นายโชคชัย นันต๊ะภาพ ชั้นปีที่ 4
คณะสังคมศาสตร์และมนุษย์ศาสตร์ สาขาภาษาอังกฤษธุรกิจ
2. นายวิชัย อุดมเลิศ ชั้นปีที่ 1
คณะบริหารธุรกิจ สาขาการบัญชี
3. นายอเนก อัครนันท์ ชั้นปีที่ 2
คณะวิทยาศาสตร์สุขภาพและเทคโนโลยี สาขาสาธารณสุขศาสตร์
4. นายปิยะพงษ์ ปาสิงห์ ชั้นปีที่ 3
คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ สาขานิเทศศาสตร์

เชิญชม เชียร์ เป็นกำลังใจด้วยกันนะครับ

http://www.thailandsgottalent.tv/news/news-chiangmaipr-140212

กรรมการ และข่าวที่เชียงใหม่
กรรมการ และข่าวที่เชียงใหม่

รับ TablePC ของ samsung galaxy tab 10.1

ม.เนชั่น / มหาวิทยาลัยเนชั่น (Nation University)
ในเครือเนชั่นมัลติมีเดียกรุ๊ป (Nation Multimedia Group)

samsung at nationu
samsung at nationu

เปิดรับสมัครนักศึกษาใหม่ทั้งที่กรุงเทพฯ และลำปาง
ตั้งแต่บัดนี้ ผู้สมัครเรียนรับ Samsung Galaxy tab 10.1
เพื่อใช้ในการเรียน สำหรับปีการศึกษา 2555

มีหลักสูตรให้เลือกมากมาย
หลักสูตรนิเทศศาสตรบัณฑิต (สาขาวิชานิเทศศาสตร์)
หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต (สาขาวิชาบริหารธุรกิจ)
หลักสูตรบัญชีบัณฑิต (สาขาวิชาการบัญชี)
หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต (สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์)
หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์)
หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต (สาขาวิชาการท่องเที่ยว)
หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต (สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์)
หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (M.B.A.)
หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต (M.P.A.)
หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (M.Ed.)

มีข้อซักถาม
ติดต่อที่ลำปาง โทร 054-820099
ติดต่อที่กรุงเทพฯ โทร 02-3383950
สมัครเรียนที่ http://www.nation.ac.th

admission schedule มหาวิทยาลัยเนชั่น
admission schedule มหาวิทยาลัยเนชั่น

http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/business/marketing/20110221/378213/%E0%B9%80%E0%B8%99%E0%B8%8A%E0%B8%B1%E0%B9%88%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B8%E0%B9%8A%E0%B8%9B%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B8%A1%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%A2%E0%B9%80%E0%B8%99%E0%B8%8A%E0%B8%B1%E0%B9%88%E0%B8%99%E0%B8%A3%E0%B8%B8%E0%B8%81%E0%B8%95%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%94%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A8%E0%B8%B6%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%B2.html

ข่าวยุบรวมมหาวิทยาลัยก็เพื่อคุณภาพ .. อีกแล้ว

ploy 11
ploy 11

8 ธ.ค.54 ยุบรวมมหา’ลัยผุด ‘ม.กาฬสินธุ์’ แห่งแรกระบุ สกอ.ไม่มีอำนาจ-จัดตามคำขอท้องถิ่น
“พินิติ” ยัน สกอ.ไม่มีอำนาจสั่งยุบรวมมหา’ลัย แต่จะดำเนินการตามคำร้องขอจากจังหวัด หรือท้องถิ่นที่เสนอเข้ามาขอยุบหรือหลอมรวม โดยทุกแห่งต้องผ่านกระบวนการตามแนวทางที่ ครม.ให้ความเห็นชอบ ระบุนอกจาก 6 จว.ยังไม่มีที่ใดขอมาเพิ่มเติม และในจำนวนนี้คาดว่า มหา’ลัยกาฬสินธุ์ จ.กาฬสินธุ์ จะตั้งขึ้นก่อนเพราะตรงตามคอนเซ็ปต์
รศ.ดร.พินิติ รตะนานุกูล รองเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา (รองเลขาธิการ กกอ.) กล่าวว่า ตามที่ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเห็นชอบหลักการร่างข้อเสนอแนะเชิงนโยบายและแนวทางการจัดตั้ง มหาวิทยาลัยของรัฐโดยการยุบรวมสถาบันอุดมศึกษาตามที่กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) นั้นว่า วัตถุประสงค์ของการ เสนอเรื่องดังกล่าวเพื่อสร้างความเข้มแข็งในการจัดการ ศึกษาของประเทศให้มีคุณภาพตอบสนองความต้องการท้องถิ่นและสังคม ซึ่งไม่ได้หมายความว่าสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) จะไปมีอำนาจสั่งการยุบรวมมหาวิทยาลัยใดได้ เพียงแต่ที่ผ่านมา สกอ.ได้รับเรื่องร้องขอจากทางจังหวัดหรือท้องถิ่นเพื่อขอจัดตั้งมหาวิทยาลัย ใหม่ รวมถึงการขอยุบหรือหลอมรวมหน่วยงานสถานศึกษาเข้าด้วยกันซึ่งมีทั้งเสนอขอรวม มหาวิทยาลัยกับสถานศึกษาของอาชีวศึกษา หรือยุบรวมวิทยาเขตที่อ่อนแอเข้าด้วยกัน เป็นต้น
แต่เนื่องจากในหลักการไม่ต้องการให้มีการจัดตั้งมหาวิทยาลัยรัฐขึ้น ใหม่ เพราะจำนวนมหาวิทยาลัยที่มีอยู่ในปัจจุบันนั้นเพียงพอต่อการรองรับนักศึกษา ได้ อีกทั้งนโยบายของรัฐบาลสนับสนุนให้เพิ่มสัดส่วนผู้เรียนในสายอาชีวศึกษา เพิ่มขึ้น ที่สำคัญในอนาคตจำนวนประชากรจะมีจำนวนลดลง เพราะฉะนั้นจึงไม่จำเป็นต้องลงทุนเพื่อสร้างมหาวิทยาลัยใหม่ แต่ควรใช้วิธีการหลอมรวมหรือยุบรวมมากกว่า ดังนั้น คณะกรรมการการอุดมศึกษา (กกอ.) จึงได้ตั้งคณะทำงานศึกษาหลักเกณฑ์และกำหนดหลักเกณฑ์ซึ่งขณะนี้เมื่อหลัก เกณฑ์เรียบร้อยตามขั้นตอนจึงต้องเสนอให้ที่ประชุม ครม.มีมติรับรองเพื่อใช้เป็นแนวปฏิบัติต่อไป
รศ.ดร.พินิติกล่าวต่อว่า อย่างไรก็ตาม การจะพิจารณายุบรวมมหาวิทยาลัยใดนั้นจะต้องพิจารณาจากองค์ประกอบต่างๆ ทั้งการศึกษาความเป็นไปได้ในการหลอมรวม ยุบรวม ที่สำคัญต้องได้สถาบันนั้นต้องยินยอมที่จะรวมด้วยเพราะในบางครั้งผู้เสนอขอ รวมอาจจะไม่ใช้สถาบันการศึกษาเองแต่เป็นนักการเมือง ชุมชน เป็นต้น ขณะเดียวกันต้องมีการวางแผนบริหารจัดการทั้งระบบ มีการวางแผนเพื่อพัฒนากำลังในท้องถิ่นเพื่อไม่ให้เกิดการแรงงานย้ายถิ่น ที่สำคัญต้องมีการร่วมมือกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ชุมชน อุตสาหกรรมในชุมชนในการพัฒนามหาวิทยาลัยด้วยเพื่อให้มหาวิทยาลัยมีงบประมาณ ส่วนอื่น ๆ มาสนับสนุนนอกเหนือจากที่ได้รับจากรัฐ
“ขณะนี้มีเพียง 6 จังหวัด คือ ชุมพร สุราษฎร์ธานี ตาก กาฬสินธุ์ ระยอง และกระบี่ ที่เสนอเรื่องเพื่อขอยุบรวม ซึ่งทั้งหมดนี้ยังไม่ได้หมายความจะยุบรวมได้เลยในขณะนี้ยังต้องผ่านขั้นตอน ตามองค์ประกอบที่ระบุไว้ ซึ่งผมคิดว่าจังหวัดที่มีความเป็นไปได้ที่จะดำเนินการได้ก่อน คือ มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ จ.กาฬสินธุ์ เพราะเป็นการยุบรวมมหาวิทยาลัยราชภัฏกาฬสินธุ์ กับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตกาฬสินธุ์ ซึ่งเมื่อยุบรวมแล้วไม่เป็นการเพิ่มจำนวนมหาวิทยาลัย อีกทั้งได้มีการประชุมร่วมกันและได้รับการสนับสนุนจากนักการเมืองท้องถิ่น เป็นอย่างดี และคาดว่านางบุญรื่น ศรีธเรศ รัฐมนตรีช่วยว่าการ ศธ.จะเร่งเสนอร่าง พ.ร.บ.มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ เข้าสู่การพิจารณาโดยเร็ว”
http://www.manager.co.th/Qol/ViewNews.aspx?NewsID=9540000156376

6 ธ.ค.54 มติครม. เห็นชอบยุบรวมมหาวิทยาลัยรัฐ-เชื่ออีก 30 ปีคนเรียนน้อยลง
วันที่ 6 ธ.ค. ผู้สื่อข่าว “ข่าวสด” รายงานว่า นายอนุสรณ์ เอี่ยมสะอาด รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่า ครม.เห็นชอบหลักการข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย และแนวทางการจัดตั้งมหาวิทยาลัยของรัฐด้วยการยุบรวมสถาบันอุดมศึกษาตามแนว ทางกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) โดยคาดการณ์ว่าจากนี้ไป 30 ปี จำนวนผู้เข้าเรียนในมหาวิทยาลัยของรัฐจะลดน้อยลง ฉะนั้นหัวใจจึงไม่ได้อยู่ที่การเปิดสถาบันการศึกษาหรือจัดตั้งมหาวิทยาลัย แต่อยู่ที่ประสิทธิภาพของการเรียนการสอนมากกว่า ดังนั้นจึงเตรียมเสนอให้ยุบรวมสถาบันอุดมศึกษา และเนื่องจากศธ. โดยสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ได้รับมอบหมายให้พิจารณาข้อเสนอจัดตั้งมหาวิทยาลัยของรัฐโดยการหลอมรวม ทั้งจากจังหวัด และนักการเมือง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความเข้มแข็งในการศึกษาระดับอุดมศึกษาของประเทศ ให้มีคุณภาพมีประสิทธิภาพ ตอบสนองต่อความต้องการของท้องถิ่น และสังคมอย่างแท้จริง
นายอนุสรณ์ กล่าวต่อว่า หากจังหวัดหนึ่งมีสถาบันการศึกษาหลายแห่งกระจัดกระจายอยู่ ก็จะยุบรวมเป็นหนึ่งแห่ง เช่น
1.การจัดตั้งมหาวิทยาลัยที่จ.ชุมพร เสนอโดยจ.ชุมพร โดยยุบรวม ม.แม่โจ้ วิทยาเขตชุมพร กับสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) วิทยาเขตชุมพร เข้าด้วยกันเป็น 1 มหาวิทยาลัย
2.การจัดตั้งมหาวิทยาลัยภาคใต้ตอนบน ที่จ.สุราษฎร์ธานี เสนอโดย จ.สุราษฎร์ธานี เป็นการยุบรวมม.ราชภัฏ (มรภ.) สุราษฎร์ธานี กับม.สงขลานครินทร์ วิทยาเขตสุราษฎร์ธานี เมื่อยุบรวมแล้วไม่เพิ่มจำนวนมหาวิทยาลัย
3.การจัดตั้ง ม.สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช เสนอโดย จ.ตาก เป็นการยุบรวม ม.เทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) ล้านนา วิทยาเขตตาก กับมรภ.กำแพงเพชร ศูนย์อุดมศึกษาแม่สอด ซึ่งในปัจจุบันได้มีการขอเปลี่ยนเป็นการยกฐานะของมรภ.ล้านนา วิทยาเขตตาก ขึ้นเป็นมหาวิทยาลัย เมื่อจัดตั้งแล้วจะเกิดมหาวิทยาลัยเพิ่มขึ้น 1 แห่ง
รองโฆษกฯ กล่าวอีกว่า 4.การจัดตั้ง ม.กาฬสินธุ์ เสนอโดย จ.กาฬสินธุ์ เป็นการยุบรวม มรภ.กาฬสินธุ์ กับ มทร.อีสาน วิทยาเขตกาฬสินธุ์ เมื่อยุบรวมแล้วจะไม่เพิ่มจำนวนมหาวิทยาลัย 5.การจัดตั้ง ม.ระยอง เสนอโดยจ.ระยอง โดยยุบรวม ม.เทคนิคบ้านค่าย และวิทยาลัยเทคนิคมาบตาพุด เข้าด้วยกันเป็น 1 มหาวิทยาลัย ซึ่งปัจจุบันรูปแบบการจัดตั้งเปลี่ยนเป็นการจัดตั้งวิทยาเขตของมหาวิทยาลัย เทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (มจพ.) 6.การจัดตั้งมหาวิทยาลัยของฝั่งทะเลอันดามัน เสนอโดย จ.กระบี่ เป็นการหลอมรวม ม.เกษตรศาสตร์ (มก.) ศูนย์วิทยบริการกระบี่ กับสถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตกระบี่ และวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีกระบี่ ซึ่งปัจจุบันขอจัดตั้งมหาวิทยาลัยของฝั่งทะเลอันดามัน โดยไม่ใช้รูปแบบการหลอมรวม ยุบรวม อย่างไรก็ตาม การจัดตั้งจะทำให้เกิดมหาวิทยาลัยเพิ่มขึ้น 1 แห่ง
“วัตถุประสงค์ ที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือ เมื่อร่างนโยบายประกาศใช้ ศธ. จะได้ใช้เป็นแนวทางในการพิจารณาการขอจัดตั้งมหาวิทยาลัยของรัฐใหม่ต่อไป” นายอนุสรณ์ กล่าว
ต่อมาเวลา 18.30 น. นายพินิติ รตะนานุกูล รองเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา (กกอ.) ให้สัมภาษณ์ว่า แนวทางการยุบรวมดังกล่าว สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) ไม่ใช่ผู้สั่งยุบรวม แต่มหาวิทยาลัยเป็นผู้เสนอเอง โดยทำเรื่องมาที่สกอ. จากนั้นสกอ. จึงตั้งคณะทำงานขึ้นเพื่อทำหลักเกณฑ์การยุบรวมดังกล่าว ทั้งนี้เพราะหลักเกณฑ์การตั้งมหาวิทยาลัยใหม่ ได้เปิดให้มหาวิทยาลัยต่างๆ ที่มีวิทยาเขตอ่อนแอในจังหวัดนั้นๆ ได้รวมกันเป็น 1 มหาวิทยาลัย ฉะนั้นถ้าจะยุบรวมได้นั้น ต้องผ่านขั้นตอนต่างๆ อาทิ การศึกษาความเป็นไปได้ ความพร้อมของหลักสูตรที่จะไปเปิดใหม่ หรือหลักสูตรต้องสอดคล้องกับตลาดแรงงานในภูมิภาคท้องถิ่น เป็นต้น
“อย่างกรณีการยุบรวม ม.แม่โจ้ วิทยาเขตชุมพร กับสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) วิทยาเขตชุมพร เข้าด้วยกันเป็น 1 มหาวิทยาลัยก็เป็นข้อเสนอของมหาวิทยาลัยเอง ซึ่งสกอ. ต้องศึกษาก่อนว่าจะเกิดผลดีผลเสียอย่างไร และก็ทำประชาพิจารณ์ต่อด้วย ส่วนประเด็นยุบรวมเพราะมหาวิทยาลัยไปเปิดศูนย์นอกที่ตั้งโดยไม่มีคุณภาพถือ เป็นคนละเรื่องกัน เพราะศูนย์นอกที่ตั้งหากไม่มีคุณภาพก็ต้องปิดตัวไป หรือหากตรวจสอบว่าไม่มีคุณภาพก็สั่งยุบได้”  รองเลขาธิการ กกอ. กล่าว
http://www.pantip.com/cafe/library/topic/K11426487/K11426487.html
http://nationunews.blogspot.com/2011/12/blog-post.html

6 ธ.ค.54 ครม.ยุบรวม 6 มหา’ลัย 7 จว. อ้างอีก 30ปีคนวัยเรียนลด เข้าเรียนน้อยลง คาดเพิ่มคุณภาพ-สนองท้องถิ่น จี้ห้ามขอเปิดมหา’ลัยเพิ่มอีก
โดย เหมือนแพร ศรีสุวรรณ ศูนย์ข่าว TCIJ
ครม.สั่งยุบรวมมหาวิทยาลัยทั่วประเทศ นำร่อง 6 แห่ง ใน 7 จังหวัด ‘ชุมพร-สุราษฎร์ฯ-ตาก-ระยอง-กระบี่-กาฬสินธุ์’ อ้างอีก 30 ปีข้างหน้าจำนวนประชากรลดลง คาดคนเรียนมหาวิทยาลัยรัฐน้อยลง และเพิ่มความเข้มแข็งให้สถาบันอุดมศึกษา ให้มีคุณภาพ-ประสิทธิภาพมากขึ้น เพื่อตอบสนองความต้องการของท้องถิ่น
เวลา 13.30 น. วันที่ 6 ธ.ค. ที่ทำเนียบรัฐบาล นายอนุสรณ์ เอี่ยมสะอาด รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงผลการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.)ว่า ตามที่กระทรวงศึกษาธิการเสนอต่อที่ประชุมครม. เพื่อพิจารณาเห็นชอบร่างข้อเสนอเชิงนโยบายและแนวทางการจัดตั้งมหาวิทยาลัย ของรัฐ โดยการหลอมรวม ยุบรวม สถาบันอุดมศึกษา ซึ่งครม. มีมติเห็นชอบอนุมัติให้ดำเนินการ
นายอนุสรณ์กล่าวว่า ตามที่กระทรวงศึกษาธิการประชุมครั้งที่ 3 /2554มีการประเมินลักษณะประชากรไทยในอนาคต ตั้งแต่ พ.ศ.2548 อีก 30 ปีข้างหน้า พ.ศ.2578  พบว่า ประชากรไทยจะเพิ่มขึ้นอย่างช้าๆจนอิ่มตัวแล้วลดลง ทำให้ภาวะการเจริญพันธุ์ลดต่ำลง คนไทยมีชีวิตยืนยาวขึ้น ทำให้จำนวนผู้เข้าเรียนมหาวิทยาลัยของรัฐลดน้อยลง จึงมีการเตรียมการให้มีการหลวมรวม ยุบรวมสถาบันการศึกษา โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อสร้างความเข้มแข็งทางสถาบันอุดมศึกษาของประเทศให้มีคุณภาพ ประสิทธิภาพ  และตอบสนองความต้องการของท้องถิ่นอย่างแท้จริง
นายอนุสรณ์กล่าวต่อว่า ความหมายของการยุบรวม หลอมรวมสถาบันการศึกษาหมายความว่า ในพื้นที่หนึ่งๆ หรือจังหวัดหนึ่งๆ จะมีสถาบันการศึกษาหลายแห่งกระจัดกระจายกันอยู่ จึงยึดรวมเพียงหนึ่งแห่ง  ตัวอย่างการยึดรวม หรือหลอมรวมสถาบันการศึกษา เช่น การจัดตั้งมหาวิทยาลัยที่จ.ชุมพร เป็นการยึดรวมระหว่างมหาวิทยาลัยแม่โจ้ วิทยาเขตชุมพร รวมกับสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง วิทยาเขตชุมพร  เมื่อยุบรวมกันแล้วจะเกิดมหาวิทยาลัยเพิ่มขึ้น  1 แห่ง หรือการจัดตั้งมหาวิทยาลัยภาคใต้ตอนบน ที่จ.สุราษฎร์ธานี  เสนอโดยจังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นการยุบรวมระหว่าง มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี กับมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตสุราษฎร์ธานี
ทั้งนี้การยุบรวมหรือหลอมรวม  เพื่อเป็นการเพิ่มศักยภาพ  ประสิทธิภาพการเรียนการสอน ซึ่งนายกรัฐมนตรีได้ให้ข้อสังเกตว่า ในกรณีที่บางจังหวัดไม่ได้มีสถาบันการศึกษาหลายๆแห่ง แต่กลับยุบรวมกันหรือหลอมรวมกัน  คือ ไม่เคยมีมาก่อน แต่กลับจัดตั้งใหม่  ทางรัฐบาลจะตั้งข้อสังเกตเป็นพิเศษ
นายอนุสรณ์กล่าวว่า นอกจากนี้มหาวิทยาลัยชั้นนำที่เปิดเป็นวิทยาเขต ก็ต้องไปสอบถามว่าจะหลอมรวมด้วยหรือไม่  ถ้าทางจังหวัดเห็นด้วย ส.ส.หรือภาคีเครือข่ายภาคประชาชนเห็นด้วย ก็สามารถดำเนินการได้ แต่ต้องเป็นการยุบรวม  ความหมายคือ การยุบสองที่ให้เหลือที่เดียวให้เกิดความเข้มแข็ง แต่ไม่ได้หมายถึงการยุบตึกมารวมกัน อาจจะมีการจัดการเรียนการสอนที่ผนวกกัน ส่วนชื่อของมหาวิทยาลัยก็อาจให้ทั้งสองสถาบันไปตกลงกัน ซึ่งส่วนใหญ่ก็จะไม่มีใครยอมกัน ในกรณีนี้อาจจะตั้งชื่อขึ้นมาใหม่ก็ได้ แต่ต้องเป็นการยุบรวม ไม่ใช่การฉกฉวยจังหวะแอบมั่วไปเปิดสถานศึกษาใหม่
รายงานข่าวจากที่ประชุมครม.ระบุว่า นายชุมพล ศิลปะอาชา รองนายกรัฐมนตรีและรมว.การท่องเที่ยวและกีฬา  ให้ความเห็นด้วยต่อที่ประชุมครม.ว่าเห็นด้วยกับหลักการนี้  เพราะเนื่องจากปัจจุบันมีมหาวิทยาลัยห้องแถวเปิดขึ้นใหม่จำนวนมาก บางสถาบันการศึกษาเปิดขึ้นบริเวณใต้ทางด่วนก็มี และอีก 30 ปีข้างหน้ามหาวิทยาลัยก็จะไม่มีคุณภาพ ซึ่งอนาคตจะทำให้คนที่จบออกมาจากมหาวิทยาลัยเหล่านั้นไม่มีคุณภาพด้วยเช่น กัน  พร้อมกันนี้ขอเสนอต่อที่ประชุมระบุว่า “ครม.จะไม่พิจารณาอนุมัติการจัดตั้งมหาวิทยาลัยใหม่โดยเด็ดขาด”
ขณะที่ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี โต้แย้งว่า ไม่ควรจะใช้คำว่า  “โดยเด็ดขาด” เนื่องจากเป็นคำที่มีความหมายในทางลบ  ทั้งนี้นายอัชพร จารุจินดา เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ให้ความเห็นว่า การจะใช้คำว่า “โดยเด็ดขาด”ไม่ได้ เพราะจะขัดต่อรัฐธรรมนูญมาตรา 80  บัญญัติว่า “รัฐต้องดำเนินการตามแนวนโยบายด้านสังคม การสาธารณสุข การศึกษา และวัฒนธรรม…”  ทั้งนี้ให้เป็นไปตามพ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 มาตรา  21 ,มาตรา 34 วรรคสาม, มาตรา 35 วรรคหนึ่ง และมาตรา 36  ซึ่งข้อสรุปในประเด็นนี้ คือ ถ้าจะมีการจัดตั้งมหาวิทยาลัยขึ้นมาใหม่รัฐบาลจะพิจารณาโดยละเอียดเป็นกรณี พิเศษ
สำหรับมหาวิทยาลัย 6 แห่ง ใน 7 จังหวัดที่จะมีการยุบรวมกันคือ
1.การจัดตั้งมหาวิทยาลัยที่จ.ชุมพร  เป็นการยุบรวมมหาวิทยาลัยแม่โจ้ วิทยาเขตชุมพร กับ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง วิทยาเขตชุมพร เมื่อยุบรวมแล้วเกิดมหาวิทยาลัย 1 แห่ง
2.การจัดตั้งมหาวิทยาลัยภาคใต้ตอนบน จ.สุราษฎร์ธานี เสนอโดยจังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นการยุบรวมมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี กับมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตสุราษฎร์ธานี  เมื่อยุบรวมแล้วไม่เพิ่มจำนวนมหาวิทยาลัย
3.การจัดตั้งมหาวิทยาลัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช เสนอโดยจังหวัดตาก เป็นการยุบรวมมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา วิทยาเขตตาก กับมหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร ศูนย์อุดมศึกษาแม่สอด (ปัจจุบันยกฐานะเป็นมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา) เมื่อยุบรวมแล้วจะเกิดมหาวิทยาลัย 1 แห่ง
4.การจัดตั้งมหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ เสนอโดย จังหวัดกาฬสินธุ์ เป็นการยุบรวมระหว่างมหาวิทยาลัยราชภัฏกาฬสินธุ์ กับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตกาฬสินธุ์ เมื่อยุบรวมแล้วจะไม่เพิ่มจำนวนมหาวิทยาลัย
5.การจัดตั้งมหาวิทยาลัยระยอง เสนอโดยจังหวัดระยอง เป็นการยุบรวมมหาวิทยาลัยเทคนิคบ้านค่าย และวิทยาลัยเทคนิคมาบตาพุด เมื่อยุบรวมแล้วจะเกิดมหาวิทยาลัยอีก 1 แห่ง  ซึ่งปัจจุบันแปรรูปเป็นการจัดตั้งวิทยาเขตของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระ จอมเกล้าพระนครเหนือ
6.การจัดตั้งมหาวิทยาลัยของฝั่งทะเลอันดามัน เสนอโดยจังหวัดกระบี่ เป็นการหลอมรวมมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ศูนย์วิทยบริการกระบี่ กับสถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตกระบี่  และวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีกระบี่  (ปัจจุบันขอจัดตั้งเป็นมหาวิทยาลัยของฝั่งทะเลอันดามัน ไม่ใช่รูปแบบหลอมรวม ยุบรวม แต่เป็นการจัดตั้งทำให้เกิดมหาวิทยาลัยเพิ่มขึ้นอีก 1 แห่ง
สำหรับสาระสำคัญของร่างข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย และแนวทางการจัดตั้งมหาวิทยาลัยของรัฐโดยการหลอมรวม ยุบรวม สถาบันอุดมศึกษา คือ จากการรายงานของกระทรวงศึกษาธิการพบว่า การขยายตัวด้านจำนวนของสถาบันการอุดมศึกษาทำให้เกิดปัญหาการไร้ทิศทาง ความซ้ำซ้อน การขาดคุณภาพ การขาดประสิทธิภาพ และก่อให้เกิดการกระจายตัวของสถาบันอุดมศึกษา ซึ่งรวมถึงวิทยาเขตที่เป็นทางการของสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ สถาบันอุดมศึกษาของเอกชน และสถาบันอุดมศึกษาที่สังกัดกระทรวงอื่นๆ เช่น สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ (สังกัดกระทรวงวัฒนธรรม) สถาบันการพลศึกษา (สังกัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา  วิทยาลัยพยาบาลและวิทยาลัยการสาธารณสุข (สังกัดกระทรวงสาธารณสุข) วิทยาการทหาร (สังกัดกระทรวงกลาโหม) เป็นต้น ซึ่งมีจำนวนทั้งสิ้น 303 แห่ง อยู่ทั่วทุกภูมิภาคในประเทศ
ทั้งนี้คณะอนุกรรมการการจัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย และแนวทางการจัดตั้งมหาวิทยาลัยโดยการหลอมรวม ยุบรวมและยกเลิกสถาบันการอุดมศึกษา  ได้ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมสถานที่จัดตั้ง 4 แห่ง ประกอบด้วย 1.การจัดตั้งมหาวิทยาลัยฝั่งอันดามัน จ.กระบี่ 2.การจัดตั้งมหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ จ.กาฬสินธุ์ 3.การจัดตั้งมหาวิทยาลัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช จ.ตาก  และ 4.การจัดตั้งมหาวิทยาลัยระยอง จ.ระยอง  พร้อมทั้งศึกษาแนวโน้มที่เกี่ยวข้อง อาทิ แนวโน้มจำนวนประชากร จำนวนนักเรียนการศึกษาขั้นพื้นฐาน การศึกษานอกระบบ อาชีวศึกษา และอุดมศึกษา อีกทั้งข้อมูลด้านความต้องการแรงงาน
ซึ่งมีข้อสรุปว่า “โดยหลักการไม่ควรมีการจัดตั้ง มหาวิทยาลัยของรัฐใหม่ เนื่องจากสถาบันการอุดมศึกษาของรัฐ ที่มีอยู่สามารถรองรับนักศึกษาได้ในปัจจุบัน ประกอบกันแนวโน้มในอนาคตนักศึกษาจะลดลง แต่ควรใช้วิธีการหลอมรวม ยุบรวมสถาบันอุดมศึกษา และรัฐควรสนับสนุนการสร้างความเข้มแข็งให้กับมหาวิทยาลัยที่มีอยู่แล้วโดย เฉพาะมหาวิทยาลัยใหม่ และวิทยาเขตต่างๆเพื่อให้เป็นสถาบันที่มีคุณภาพ มีความคล่องตัวในการบริหารจัดการทั้งการบริหารทั่วไปและการบริหารวิชาการ”
ทั้งนี้จากการศึกษาของสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล พบว่า ประชากรไทยในอนาคตเพิ่มขึ้นอย่างช้าๆ จนอิ่มตัวแล้วลดลง ซึ่งเป็นผลเนื่องจากภาวะเจริญพันธุ์ที่ลดต่ำลงและคนไทยมีชีวิตยืนยาวขึ้น ลักษณะเช่นนี้ทำให้โครงสร้างอายุของประชากรเปลี่ยนแปลงไปอย่างเห็นได้ชัด เด็กที่อายุต่ำกว่า 15 ปีในช่วงปี พ.ศ.2548-2578ลดลงถึง 14 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 23 ของจำนวนประชากรทั้งหมด  เหลือ 9 ล้านคนเศษ คิดเป็นร้อยละ 14  ส่วนวัยแรงงาน อายุ 15-59 ปี จะมีจำนวนเพิ่มขึ้นจาก 41 ล้านคน เป็น 43 ล้านคน จากนั้นจะเหลือ 38 ล้านคนในปี 2578 ซึ่งประชากรวัยเด็ก(วัยเรียน) จะลดลงอย่างต่อเนื่อง (อายุ 6-21 ปี) ลดลงจาก 16 ล้านคนในปี 2548 เหลือเพียง 11 ล้านในปี 2578
อย่างไรก็ตามจากข้อมูลรายงานประจำปีของการศึกษาขั้นพื้นฐานตั้งแต่ระดับ ก่อนประถมศึกษา ประถมศึกษา มัธยมศึกษาตอนต้น และระดับมัธยมศึกษาตอนปลายในช่วงปี  2546-2552 ปริมาณนักเรียนลดลงอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี  2547 เป็นต้นมาซึ่งส่งผลต่อระดับการศึกษาระดับอุดมศึกษา ส่วนนักเรียนระดับอาชีวะศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการอาชีวศึกษา ระดับ ปวช.มีแนวโน้มลดลงตั้งแต่ปี 2551
หากพิจารณาข้อมูลในอดีตจะพบว่า รัฐบาลได้จัดตั้งสถาบันอุดมศึกษาโดยหลอมรวมสถาบันอุดมศึกษาในพื้นที่จังหวัด เดียวกัน 2 แห่ง คือ มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์  มาจากการหลอมรวมวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จ.นราธิวาสและวิทยาลัยการอาชีพตากใบ อีกแห่งคือ มหาวิทยาลัยนครพนม มาจากการหลอมรวมมหาวิทยาลัยราชภัฏนครพนม กับวิทยาเขตนครพนมของ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ซึ่งทั้ง 2 แห่งนี้แม้จะมีความก้าวหน้าแต่ก็ประสบปัญหาด้านการบริหารและงานด้านบุคลากร เนื่องจากเป็นสถาบันอุดมศึกษาที่อยู่ต่างสังกัดและต่างกระทรวงทำให้ไม่ สามารถเติบโตได้อย่างรวดเร็ว
http://www.tcijthai.com/investigative-story/1043

งานแสดงเต้นประกอบเพลง

การแสดงเต้นประกอบเพลงของนักศึกษามหาวิทยาลัยเนชั่น ทั้งเพลงไทย และเพลงสากล เป็นกลุ่มนักศึกษาที่ร่วมโครงการพัฒนานักศึกษา  ในงานเลี้ยง Blue Party แต่งตัวแฟนซีตามจินตนาการ ในโครงการ Summer Experience 2011 เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2554 ซึ่งเป็นงานสรุปโครงการได้อย่างน่าประทับใจ โดยมีอาจารย์เจ้าหน้าที่ร่วมเป็นเกียรติ และเป็นกำลังใจแก่นักศึกษาหนาตา

ถ่ายคลิ๊ปจากทีวี nationu fashion

15 พ.ค.54 ถ่ายคลิ๊ปจากทีวีรายการ colour & style ได้ 3 ช่วง คือ open, fashion show, interview โดยผมใช้กล้อง 2 ตัว คือ Sanyo กับ imobile คุณภาพต่างกัน เพราะช่วงที่ 3 (interview) ยาวมากกว่า 30 นาที ผลจากกล้อง Sanyo (mp4) ใช้พื้นที่ 700 MB แต่กล้องจาก imobile (3gp) ใช้ 100 MB ตอนนี้ upload สำเนาแรกเข้าเน็ตหมดแล้ว อยู่ใน fb และ youtube จากนี้จะเริ่มสำเนาในแหล่งอื่น ๆ ไปเรื่อย ๆ .. กว่าจะ upload ในแต่ละแหล่งสำเร็จใช้เวลากันหลายชั่วโมงเลยครับ

รายละเอียดของคลิ๊ป
Nation University in Colour n Style on 15 May 2011 (open) : อ.สุริยพันธุ์ ยอดดี (อ.โก) อ.บุญรักษา ปัญญา ยืน (อ.อ้อม) และอ.คงศักดิ์ ตุ้ยสืบ (อ.บอย) นำผลงานนักศึกษาไปนำเสนอด้วยการเดินแบบในรายการ Colour & Style ทาง Mango TV แล้วร่วมพูดคุยแลกเปลี่ยน แนะนำหลักสูตร และมหาวิทยาลัยเนชั่น กับพิธีกรชื่อดังคือ อ.โสภาส ณ ตะกั่วทุ่ง (อ.โจ๊ค) และ อ.ณรงค์ เลาหะชัยบุณย์ (อ.หมู)

[nationu open]
http://www.facebook.com/video/video.php?v=10150187889998895&oid=182617815122768
[nationu fashion]
http://www.facebook.com/video/video.php?v=10150187542438895&oid=182617815122768

[nationu interview]

คลิ๊ปของมืออาชีพ แนะนำ ม.เนชั่น

nation university clip
nation university clip

คลิ๊ปวีดีโอ 4 เรื่อง ของ คุณสุทธิชัย หยุ่น คุณอดิศักดิ์ ลิมปรุ่งพัฒนกิจ คุณกนก รัตน์วงศ์สกุล คุณธีระ ธัญไพบูลย์ ประชาสัมพันธ์การเรียนในหลักสูตร นิเทศศาสตร์ ณ มหาวิทยาลัยเนชั่น ศูนย์เนชั่นทาวเวอร์ สมัครเรียนที่กรุงเทพฯ ในปีการศึกษา 2554 รับ IPAD ประกอบการเรียน จำกัดเพียง 80 คน

[youtube clip by tuy1000]

http://www.facebook.com/video/video.php?v=10150180169073895&oid=182617815122768

http://www.facebook.com/pages/Nationu/182617815122768