งานแสดงเปิดตัว กีฬา อพร. ปีการศึกษา 2555

งานแสดงเปิดตัว กีฬา อพร. ปีการศึกษา 2555

ณ ห้องประชุมใหญ่ อาคารคณะบริหารธุรกิจ ชุมพล พรประภา มหาวิทยาลัยเนชั่น มีงานเปิดตัว กีฬา อพร.สัมพันธ์ เป็นการรวมพลังของสถาบันการศึกษาในจังหวัดลำปาง ทั้งสิ้น 11 สถาบันการศึกษาเข้าร่วมการแข่งขันกีฬา คือ มหาวิทยาลัยราชภัฎลำปาง, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา วิทยาเขตลำปาง, วิทยาลัยอินเตอร์เทคลำปาง, วิทยาลัยสารพัดช่างลำปาง, วิทยาลัยการอาชีพเกาะคา, วิทยาลัยอาชีวศึกษาลำปาง, วิทยาลัยการอาชีพเถิน, วิทยาลัยเทคโนโลยีและการจัดการ กฟผ.แม่เมาะ, โรงเรียนลำปางพาณิชการและเทคโนโลยี, สถาบันการพลศึกษาลำปาง และมหาวิทยาลัยเนชั่น ลำปาง เป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันในวันที่ 19 มกราคม 2556

อาจารย์มหาวิทยาลัย .. ลูกเมียน้อยในกระทรวงศึกษาธิการ

อาจารย์มหาวิทยาลัย กับครูประถม
อาจารย์มหาวิทยาลัย กับครูประถม

มติชนรายวัน 4 ธ.ค.55
โดย สุรศักดิ์ อมรรัตนศักดิ์

http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1354609254&grpid&catid=02&subcatid=0207

เกือบทุกครั้งที่มีการปรับคณะรัฐมนตรี ไม่ว่าจะเป็นยุคใดสมัยใด รัฐมนตรีที่เป็นเป้าหมายจะต้องถูกปรับ คือ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ

นับแต่เปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ.2475 มาจนถึงปัจจุบัน ประเทศไทยมี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ มาแล้ว 52 คน ในขณะที่มีนายกรัฐมนตรี 28 คน

ผู้บริหารประเทศ มักจะพูดเสมอว่า กระทรวงศึกษาธิการเป็นกระทรวงที่มีความสำคัญ แต่ในความเป็นจริงมักไม่ค่อยให้ความสำคัญกับกระทรวงนี้เท่าที่ควร ส่วนใหญ่จะให้ความสำคัญกับ กระทรวงมหาดไทย คมนาคม เกษตรและสหกรณ์ และพาณิชย์ มากกว่า

ในอดีตกระทรวงศึกษาธิการถูกมองว่าเป็นกระทรวงเกรดซี แต่ปัจจุบันปรับขึ้นมาเป็นกระทรวงเกรดบี เหตุที่ปรับก็เพราะกระทรวงนี้มีบุคลากรและงบประมาณมาก เป็นฐานเสียงสำคัญของนักการเมือง

การปรับคณะรัฐมนตรีของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ที่ผ่านมาก็เช่นกัน กระทรวงที่หนีไม่พ้นที่จะต้องถูกปรับก็คือกระทรวงศึกษาธิการอีกเช่นเคย

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการคนปัจจุบันชื่อพงศ์เทพ เทพกาญจนา อดีตเคยเป็นผู้พิพากษามาก่อน ส่วนรัฐมนตรีช่วยว่าการชื่อเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช ซึ่งเคยเป็นเบอร์หนึ่งของกระทรวงมหาดไทย

รัฐมนตรีทั้งสองท่านไม่เคยเป็นครูหรือทำงานด้านการศึกษามาก่อน แต่นั่นไม่ใช่เรื่องสำคัญ เรื่องสำคัญก็คือท่านทั้งสองตั้งใจจะมาอยู่กระทรวงนี้จริงแค่ไหน ท่านมุ่งมั่นที่จะพัฒนาและแก้ปัญหาการศึกษาของชาติจริงจังมากน้อยเพียงใด หรือมาเพื่อเป็นที่พักพิงชั่วคราวเพื่อรอข้ามไปอยู่กระทรวงอื่น

สิ่งหนึ่งที่อยากจะขอฝากรัฐมนตรีว่าการ (คุณพงศ์เทพ) ก็คือขอให้ช่วยดูแลอาจารย์มหาวิทยาลัยบ้าง อย่าให้อาจารย์มหาวิทยาลัยรู้สึกน้อยเนื้อต่ำใจจนลาออกไปขายเต้าฮวยกันหมด

ท่านรัฐมนตรีทราบหรือไม่ว่า ปัจจุบันอาจารย์มหาวิทยาลัยได้เงินเดือนน้อยกว่าครูประถม พูดไปก็แทบไม่มีใครเชื่อ แต่ความจริงเรื่องนี้ได้เกิดขึ้นแล้วในประเทศไทย ครูประถมได้เงินเดือนมากกว่าอาจารย์มหาวิทยาลัย 8% ตั้งแต่วันที่ 31 ธันวาคม 2553 มาถึงวันนี้ก็กว่า 2 ปีแล้ว

คณะกรรมการการอุดมศึกษา (กกอ.) ซึ่งดูแลอาจารย์มหาวิทยาลัยยังสบายดีอยู่หรือ ท่านปล่อยให้เรื่องอย่างนี้เกิดขึ้นมานานกว่า 2 ปีได้อย่างไร ท่านไม่คิดจะดำเนินการแก้ไขอะไรเพื่อพิทักษ์สิทธิของอาจารย์มหาวิทยาลัยบ้างเลยหรือ

อีกเรื่องหนึ่งที่ครูประถม/มัธยมสังกัด สพฐ.ก้าวล้ำอาจารย์มหาวิทยาลัยไปอีกก้าวหนึ่ง ก็คือเมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2555 ครม.มีมติเห็นชอบร่างกฎ กคศ.ว่าด้วยการให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาได้รับเงินเดือนสูงกว่าหรือขั้นต่ำกว่า หรือสูงกว่าขั้นสูงของอันดับ (ฉบับที่) พ.ศ…………ขณะนี้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาได้พิจารณาร่างกฎ กคศ. ฉบับดังกล่าวเสร็จแล้ว รอ ศธ.แจ้งยืนยัน และจะได้นำเรื่องนี้แจ้งให้ ครม.รับทราบเพื่อรอประกาศในราชกิจจานุเบกษา

สาระสำคัญของร่างกฎ กคศ.ดังกล่าวก็คือ ข้าราชการครูที่ได้รับเงินเดือนอันดับ คศ.2 ในขั้นสูงสุด สามารถเลื่อนอันดับเงินเดือนไปที่ คศ.3 ได้เลย จากเดิมการจะเลื่อนอันดับเงินเดือนแต่ละ คศ.ได้จะต้องผ่านการเลื่อนและประเมินวิทยฐานะตามที่กำหนดไว้เท่านั้น

เช่นเดียวกันผู้ที่ได้รับเงินเดือนขั้นสูงสุดของ คศ.3 จะเลื่อนไปรับเงินเดือนในอันดับ คศ.4 และผู้ที่ได้รับเงินเดือนขั้นสูงสุดของ คศ.4 ก็จะได้เลื่อนไปรับเงินเดือนในอันดับ คศ.5 ซึ่งเป็นการเลื่อนโดยอัตโนมัติไม่ต้องทำผลงานใด ๆ ทั้งนี้ ให้มีผลย้อนหลังไปตั้งแต่ 1 เมษายน 2554

สิ่งนี้ต้องขอชื่นชม กคศ. (คณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา) ด้วยความจริงใจ เพราะเป็นการดูแลสิทธิประโยชน์ให้กับครูสังกัด สพฐ. ทำให้ครูมีขวัญกำลังใจในการทำงาน ซึ่งจะเป็นแรงจูงใจให้คนเก่งหันมาเป็นครูมากขึ้น

ข้าราชการพลเรือนก็มี ก.พ. (คณะกรรมการข้าราชการพลเรือน) คอยดูแลและพิทักษ์สิทธิของข้าราชการ เมื่อต้นปี 2555 ที่ผ่านมา ก.พ.ได้ปรับเงินเดือนข้าราชการทั้งระบบไปประมาณ 8% แต่อาจารย์มหาวิทยาลัยก็ไม่ได้รับอานิสงส์นี้แต่อย่างไร เพราะอาจารย์มหาวิทยาลัยไม่ใช่ข้าราชการพลเรือน

อาจารย์มหาวิทยาลัยเป็นข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา ซึ่งสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) โดยมี กกอ.(คณะกรรมการการอุดมศึกษา) เป็นผู้ดูแลสิทธิประโยชน์ของอาจารย์มหาวิทยาลัย

แต่ที่ผ่านมา กกอ. แทบจะไม่เคยทำหน้าที่ในการพิทักษ์สิทธิของอาจารย์มหาวิทยาลัยเลยแม้แต่น้อย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเงินเดือนที่ยังน้อยกว่าครูประถมถึง 8% หรือเรื่องเงินเดือนของครูสังกัด สพฐ.ที่สามารถไหลข้ามแท่งได้

นั่นคือหากอาจารย์มหาวิทยาลัยมีเงินเดือนตัน (ขั้นสูงสุด) อยู่ในแท่งเงินเดือนใดก็ยังไม่สามารถไหลข้ามแท่งได้ เช่น เงินเดือนตันในแท่งผู้ช่วยศาสตราจารย์จะไม่สามารถเลื่อนไหลไปรับเงินเดือนในแท่งรองศาสตราจารย์ได้

ท่านคิดว่าอย่างนี้มันยุติธรรมสำหรับอาจารย์มหาวิทยาลัยหรือ กกอ. เคยคิดจะทำอะไรเพื่ออาจารย์มหาวิทยาลัยบ้างไหม ถ้ายังคิดไม่ออกไม่รู้ว่าจะทำอย่างไร อยากแนะนำให้ไปลอกของ กคศ. และไม่ควรออกมาแก้ตัวว่ากำลังดำเนินการอยู่ เพราะเรื่องเงินเดือนอาจารย์มหาวิทยาลัยน้อยกว่าครูประถม 8% ก็ยังไม่เห็นได้ดำเนินการอะไรเลย

จริง ๆ แล้วสถาบันอุดมศึกษาควรจะเป็นผู้นำในเรื่องนี้เสียด้วยซ้ำ แต่กลับกลายเป็นว่าสถาบันอุดมศึกษาจะต้องคอยวิ่งไล่ตามก้นครูประถมอยู่ร่ำไป

เรื่องน่าเศร้าที่ไม่อยากพูดอีกเรื่องหนึ่งก็คือเรื่องโบนัสสำหรับข้าราชการ จริงๆ แล้วไม่อยากให้เรียกว่าเงินโบนัส แต่อยากให้เรียกว่าเงินสงเคราะห์ผู้ยากไร้มากกว่า

ท่านทราบไหมว่า อาจารย์มหาวิทยาลัยระดับรองศาสตราจารย์ (ซี 9 เดิม) ซึ่งมีตำแหน่งเทียบเท่ารองอธิบดี ได้รับเงินโบนัสปีละประมาณ 3,000- บาท (สามพันบาทถ้วน) เฉลี่ยแล้วปีหนึ่งได้รับโบนัสไม่ถึง 2 วัน ในขณะที่ครูประถมสังกัดเทศบาล หรือ อบต.บางแห่งได้รับโบนัสกันปีละ 2 เดือน ส่วนพนักงานรัฐวิสาหกิจและบริษัทหลายแห่งรับโบนัสกันปีละ 2 เดือน 3 เดือนบ้าง บางแห่งสูงถึง 9 เดือนก็มี แต่อาจารย์มหาวิทยาลัยได้รับโบนัสเพียง 2 วัน แล้วอย่างนี้ยังจะให้เรียกว่าโบนัสอีกหรือ

หรือจะให้อาจารย์มหาวิทยาลัยย้ายไปสังกัด กคศ. เพื่อว่าต่อไปอาจารย์มหาวิทยาลัยจะได้มีชีวิตที่ดีขึ้นและมีความก้าวหน้าทัดเทียมกับครูประถมกันเสียที

มีเรื่องน่าสนใจอื่น ๆ อาทิ

อันดับการศึกษาของไทยในเวทีโลกยังไม่สุดท้ายซะทีเดียว .. 37 จาก 40

English Proficiency Index เมื่อปี 2554 พบว่าประเทศไทยอยู่อันดับที่ 42 จากทั้งหมด 44 ประเทศ และปี 2555 พบว่าประเทศไทยอยู่อันดับที่ 53 จากทั้งหมด 54 ประเทศ

ผลการจัดอันดับในสื่อ (itinlife 367)

รวมแหล่งเพลง เหนือฟ้าคือฟ้า

เหนือฟ้าคือฟ้า
เหนือฟ้าคือฟ้า

รวมแหล่งเพลง “เหนือฟ้าคือฟ้า
เพลงประจำมหาวิทยาลัยเนชั่น มิถุนายน 2555

เพลง “เหนือฟ้าคือฟ้า
เพลงประจำสถาบัน มหาวิทยาลัยเนชั่น
คำร้อง ทำนอง อ.สุพจ สุขกลัด

ฟ้าสดใส  โลกสวยงาม
ฝันยังทอประกายฉายส่อง
ด้วยพลังเปี่ยมหวังเรืองรอง
เราถักทอสัมพันธ์ร่วมใจ

แม้เขตฟ้า จะสูงชัน
เราผู้กล้าฝ่าฟันไม่หวั่นไหว
ที่เหนือฟ้าเราคือฟ้า มีสัญญายิ่งใหญ่
คือร้อยดวงใจแล้วไปด้วยกัน

ด้วยศรัทธา สร้างปัญญาก้าวไกล มหาวิทยาลัยเนชั่น
กายต่างกายแต่ดวงใจเดียวกัน รักในการสร้างสรรค์สุดใจ

ฟ้ากว้างไกลสุดสายตา  โอบล้อมให้เราชาวฟ้ามั่นใจ
ก้าวสู่ฝัน สู่คืนวัน ชีวิตอันสดใส
มหาวิทยาลัยเนชั่น

http://www.youtube.com/watch?v=np-XRxCvQJI

http://soundcloud.com/thaiall/9gakdv08gfbk

http://soundcloud.com/thaiall/midi

http://www.4shared.com/mp3/ofX_Yjj0/ntu_song_2555_midi.html

http://www.4shared.com/mp3/dZHqjy9z/ntu_song_2555.html

http://thaiabc.com/lampangnet/admin/435/

คอร์ปอเรท ยูนิเวอร์ซิตี้ ทางออกการศึกษาไทย

ก่อศักดิ์ ไชยรัศมีศักดิ์
ก่อศักดิ์ ไชยรัศมีศักดิ์

โดย กมลทิพย์ ใบเงิน

คนคุณภาพ” กำลังกลายเป็น “วิกฤติ” ในภาคการผลิตแทบทุกองค์กร รวมถึงภาคราชการ แน่นอนกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) หนีไม่พ้นข้อครหาเหล่านี้ ในฐานะเป็นหน่วยงานของรัฐรับผิดชอบการจัดการศึกษาภาพใหญ่ของประเทศถึงร้อยละ 90 นับเป็น “ตัวป้อนคน” เข้าสู่ภาคแรงงานทั้งรัฐและเอกชนมากที่สุด แต่ “ก่อศักดิ์ ไชยรัศมีศักดิ์” ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (ซีอีโอ) บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) นักคิด นักเขียน นักบริหารมือทองระดับมันสมองของไทย ชี้ทางออกของการศึกษาไทยที่ผ่านการพิสูจน์มาแล้ว
เผอิญเราเป็นเซเว่น-อีเลฟเว่น ที่สัมผัสกับคนเยอะมาก ในหนึ่งวันเรามีลูกค้าเข้าร้านเซเว่น-อีเลฟเว่น 8 ล้านคน ตกเดือนละ 20 ล้านคน บางคนไม่ซ้ำหน้า เราเลยสัมผัสกับคนเยอะของสังคมไทย ผมค่อนข้างจะใกล้ชิดกับการมองภาพรวมของสังคมไทย มองสังคมและมองประเทศไทย ในอีก 10-20 ปีข้างหน้าว่าจะเป็นอย่างไร ผมห่วงสังคม ห่วงประเทศ ห่วงคุณภาพของเด็กไทย เราก็ห่วงของเราไปอย่างนี้มาตลอดคงไม่ได้แล้ว ต้องลงมือทำอะไรสักอย่าง เพื่อให้สังคมไทยดีขึ้นในรุ่นลูกรุ่นหลานก่อศักดิ์ กล่าวด้วยรอยยิ้ม
ในโลกอนาคตอีก 10-20 ปีข้างหน้า พลังหนุ่มสาวจะกลายเป็นเจ้าของประเทศไทย แต่ถามว่าวันนี้ “ผู้ใหญ่” ในบ้านเมืองเราได้เตรียมคนหนุ่มสาวให้พร้อมเพื่อจะมารับ “ไม้ผลัด” ในการดูแลบ้านเมืองจากรุ่นพ่อแม่กันหรือยัง
ด้วยสภาพความเป็นจริงการจัดการศึกษาในปัจจุบัน ไม่สามารถฝากอนาคตประเทศเอาไว้ได้ ด้วยระบบการจัดการศึกษาตั้งแต่ระดับอนุบาล ระดับประถมศึกษา ระดับมัธยมศึกษา และระดับอุดมศึกษา เต็มไปด้วยปัญหาด้าน “คุณภาพการศึกษา” ที่ด้อยลงทุกวัน ไม่ว่าจะวัดคุณภาพในรูปแบบใดก็ตาม ทั้งที่ในสถาบันการศึกษามีจำนวน “ศาสตราจารย์” และ “ดอกเตอร์”  มากกว่าในอดีต
“ปัจจุบันภาคธุรกิจบ่นคุณภาพปริญญาตรีไม่น่าพอใจ  ส่วนสถาบันอุดมศึกษาก็แก้ตัวว่าเมื่อรับขยะเข้ามาเรียน จบออกไปก็ยังเป็นขยะ ตรงนี้เป็นปัญหา แต่จะให้เรามาแก้การจัดการศึกษาตลอด 16 ปีนั้นคงไม่ไหว เอาแค่ 4 ปีที่ทุกวันนี้ ภาพรวมเด็กจบ ม.ปลายก็มาเดินเล่นในรั้วมหาวิทยาลัย เดินจากตึกโน้นไปตึกนี้ เพื่อเรียนสะสมหน่วยกิต ขณะเดียวกันก็ทำกิจกรรมแบบเด็กๆ ไปด้วย
ดังนั้นเวลา 4 ปีในสถาบันอุดมศึกษา เด็กของเราไม่ได้ถูกฝึกให้เรียนจบแล้วเพื่อมาทำงานได้  มีแต่เรียนๆ เล่นๆ จ่ายเงินครบก็จบแล้ว แต่จบมาแล้วตกงาน แม้จะมีสหกิจศึกษาซึ่งเป็นเรื่องที่ดี แต่เด็กได้ฝึกปฏิบัติแค่เทอมเดียวย่อมไม่เพียงพอ ต่อการเข้าสู่โลกของการทำงานจริงเมื่อสำเร็จการศึกษา”
ก่อศักดิ์” ฟันธงว่าการจัดการศึกษาที่สูญเปล่าแบบนี้ ย่อมไม่เกิดผลดีต่อเด็ก พ่อแม่ ผู้ปกครอง และประเทศชาติอย่างแน่นอนในอนาคต ด้วยเหตุนี้จึงเป็นที่มาของการ “อาสา” รับใช้บ้านเมืองด้วยการจัดตั้ง “สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ (Panyapiwat Institute of Management) หรือ PIM เป็นสถาบันอุดมศึกษาที่ได้รับการสนับสนุนทุนในการจัดตั้งจาก “บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน)” นับเป็นสถาบันอุดมศึกษาแรกๆ ในประเทศไทยที่เป็น Corporate University หรือสถาบันการศึกษาที่เชื่อมโยงกับธุรกิจ
“วันนี้เราได้เปิดหลายสาขาวิชาแล้ว ที่ไม่ได้มุ่งเน้นการสร้างคนเพื่อเรา เช่น คณะวิศวกรรมศาสตร์ ที่ไม่จำเป็นต้องทำงานที่เราอย่างเดียว ไปทำที่ไหนก็ได้ สาขาการจัดการอาคารและทรัพยากรกายภาพ (Building and Facilities Management) จบแล้วก็สามารถไปทำงานในวงการอสังหาริมทรัพย์ ดูแลอาคารสูง และต้องไปฝึกงานกับสถานประกอบการจริง และถูกจองตัวตั้งแต่ยังเรียนไม่จบอยู่ อย่างนี้ก็ไม่ได้ผลิตเพื่อเรา และที่เพิ่งเปิดตัวไปคือ Luxury Product Management ซึ่งจริงๆ เราไม่ได้มีสินค้าลักชัวรี่เลย คนที่จบมาเราก็ให้วงการลักชัวรี่ไป สาขาภาษาจีนธุรกิจก็ได้ไปฝึกงานกับองค์กรจีน เช่น ทีซีแอล, คิงเพาเวอร์, พารากอน ซึ่งสามารถได้เรียนและฝึกภาษากับเจ้าของภาษาหลายสำเนียง ไม่ได้เรียนรู้จากซาวนด์แล็บเพียงอย่างเดียว ที่น่ายินดีปีนี้เด็กมาสมัครเข้าเรียนจำนวนถึง 2,300 คน แต่เรารับได้เพียง 1,900 คน”
ก้าวย่างที่สำคัญของสถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ “ก่อศักดิ์”  กล่าวว่า พีไอเอ็มมีโครงการจัดตั้ง “คณะนวัตกรรมการจัดการเกษตร” (Innovative Agricultural Management) เป็นความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (มก.) จะมีพิธีลงนามความร่วมมือในวันพฤหัสบดีที่ 11 ตุลาคม 2555 โดยจะร่วมมือกันพัฒนาวิชาชีพที่เกี่ยวกับการเกษตรทั้งหมด ที่มีความสำคัญและจำเป็นต่อพี่น้องเกษตรกรไทยโดยเฉพาะชาวนา
“อาจจะเกิดการรวมพื้นที่ทำนาข้าวจากคนในชุมชน ชุมชนละ 20 ไร่ รวมเป็น 2,000 ไร่ นำระบบการบริหารจัดการ เทคนิคพิเศษต่างๆ มาประยุกต์ใช้เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด ขณะเดียวกันก็ลดจำนวนชาวนาลงเพื่อยกระดับให้มาทำอาชีพอย่างอื่น อย่างจีนพลเมืองที่ทำนามีร้อยละ 60 ขณะที่สหรัฐอเมริกามีร้อยละ 6 ของประชากรในประเทศ แต่ปัจจุบันชาวนาสหรัฐอเมริกาลดเหลือเพียงร้อยละ 1 แต่สามารถทำนาเลี้ยงคนทั้งประเทศได้”
โครงการจัดตั้ง “คณะนวัตกรรมการจัดการเกษตร” เริ่มจากการที่พีไอเอ็มส่งนักศึกษาไปเรียนร่วมกับนิสิตมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ในบางรายวิชา  ที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์มีความเชี่ยวชาญสูง รวมถึงการใช้ห้องปฏิบัติการด้วย ส่วนวิชาที่เกี่ยวกับศาสตร์การบริหารจัดการ ทางพีไอเอ็มจะเป็นผู้สอนเอง ในอนาคตมีโครงการขยายกรอบความร่วมมือไปถึงขั้นการร่างหลักสูตรใหม่ร่วมกัน รวมถึงการให้ปริญญาร่วม 2 สถาบัน (Double Degree) คุณลักษณะของบัณฑิตที่จบจากพีไอเอ็มจะเป็นคน “เรียนเป็น คิดเป็น ทำงานเป็น เข้าใจวัฒนธรรม รักความถูกต้อง”
“ผมเชื่อมั่นว่าการจัดการศึกษาแบบ คอร์ปอเรท ยูนิเวอร์ซิตี้ (Corporate University) จะเป็นทางออกของการศึกษาไทย และผมอยากเชิญชวนให้ภาคธุรกิจเครือข่ายใหญ่ของไทย 30-40 บริษัทมาช่วยกันเปิดมหาวิทยาลัยเฉพาะทาง เรียนจริงปฏิบัติจริง จบแล้วมีสัดส่วนของการได้ทำงานจริง เพราะการให้ทุนการศึกษาจำนวน 1 หมื่นทุน แม้ช่วยการศึกษาชาติได้ก็จริง แต่ไม่ใช่การช่วยจัดการศึกษาชาติได้แบบยั่งยืนครับ”
“ก่อศักดิ์” กล่าวอีกว่า อุปสรรคสำคัญอีกอย่างหนึ่งของคนไทยในการจัดการศึกษา มาจากค่านิยมของพ่อแม่ ผู้ปกครองที่คลั่งใบปริญญา ไม่คำนึงถึงการเรียนจบแล้วทำงานได้จริง แตกต่างจากประเทศเยอรมนีที่ถือการทำงาน หรือความสำเร็จในการทำงานเป็นหลัก ใบปริญญาเป็นรอง คอร์ปอเรท ยูนิเวอร์ซิตี้ คือทางออกของการศึกษาไทยอย่างที่ซีพีทำอยู่แล้ว เราอยากให้เครืออื่นทำตาม แม้ปัจจุบันมีสหกิจศึกษาซึ่งเป็นความคิดที่ดี แต่ยังไม่เพียงพอต่อการฝึกงานเพียงแค่เทอมเดียว

http://www.komchadluek.net/detail/20120926/140877/ชูคอร์ปอเรทยูนิเวอร์ซิตี้.html
โดย…กมลทิพย์  ใบเงิน

เพลง ม.ให้อะไร

เพลง  ม.ให้อะไร
ศิลปิน  พงษ์สิทธิ์ คำภีร์

เขาหวังเขารอด้วยความแกร่ง
รอนแรมจากครอบครัวมา
หวังปริญญามหาวิทยาลัย
อุดมการณ์อุดมความแกร่ง
โรคแล้งน้ำใจจะแก้ไข
ให้ความเป็นธรรม
ทุกชนทุกชั้นทั่วไป
ไต่เต้ารับราชการยศต่ำ
คุณธรรมยังนำความอยากในใจ
เพื่อนฝูงอย่างไร
กินได้รวยไปไม่สนใจ
จิตใจของคนต่ำสูงไม่เทียมเท่ากัน
เขายังหวังซักวัน
ว่าเพื่อนเขาจะกลับใจ
อยู่ไปอยู่มาถึงจึงรู้ว่า
โลกนี้คนดีมันน้อยเกินไป
แค่คนไม่ชั่ว
ไม่ต้องดีไม่รู้อยู่ไหน

เขาจึงมองย้อนไปถึงชีวิตในมหา’ลัย
แล้วตั้งคำถามมหา’ลัยให้อะไรเรา
ไม่ได้สอนให้เรียน
แข่งขันอย่างคลั่งบ้า
ไม่ได้สอนคิดบ้าว่าเป็นคนเหนือคน
จบเห็นแก่ตน
แต่งงานสืบพันธุ์แล้วตาย
มหา’ลัยสอนไว้ให้เรา
เป็นข้าประชาชน
ไม่ได้สอนให้เรียน
แข่งขันอย่างคลั่งบ้า
ไม่ได้สอนคิดบ้าว่าเป็นคนเหนือคน
จบเห็นแก่ตน
แต่งงานสืบพันธุ์แล้วตาย
ไม่ได้สอนให้โกงให้กลอกกลิ้ง
ไม่ได้สอนว่าเป็นเทวดา
ไม่ได้สอนให้จบออกมา
เหยียดหยามประชาชน
ไม่ได้ให้ปัญญาเอาไว้คดโกงสังคม
มหา’ลัยสอนไว้ให้เรา
เป็นข้าประชาชน
(ไม่ได้สอนว่าเป็นเทวดา)
(ไม่ได้สอนให้จบออกมา)
(เหยียดหยามประชาชน)
(ไม่ได้สอนว่าเป็นเทวดา)
(จบเห็นแก่ตน)
(แต่งงานสืบพันธุ์แล้วตาย)
(ไม่ได้ให้ปัญญาไว้โกงสังคม)
(มหา’ลัยสอนไว้ให้เรา)
(เป็นข้าประชาชน)

ม.ให้อะไร? – พงษ์สิทธ์ คำภีร์ คอร์ดกีต้าร์ Guitar Chord

อ.แม็ค แนะนำเพลงนี้ให้ผมฟังครับ สงสัยอยากให้ผมรู้คิง

สารจากประธานกรรมการ บริษัทเนชั่น มัลติมีเดีย กรุ๊ป จำกัด

nmg : Nation Multimedia Group
nmg : Nation Multimedia Group

http://www.nationgroup.com/about_3.php

ข้อมูลจากเว็บไซต์ของ nationgroup ณ วันที่ 1 กรกฎาคม 2555

สารจากประธานกรรมการ

ปี 2554 ประเทศไทยประสบเหตุการณ์ที่น่าตื่นเต้น ทั้งความปิติยินดีในวโรกาสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระชนมายุครบ 84 พรรษา และการสูญเสียจากมหาอุทกภัยดังที่เราทราบดี การทำหน้าที่ของสื่อต่างๆ ของเครือเนชั่นในปี 2554 นอกจากจะยังมั่นคง เที่ยงตรงต่อหน้าที่ ซึ่งเป็นจุดยืนที่เรายึดมาโดยตลอด โดยเฉพาะในช่วงมหาอุทกภัยครั้งประวัติศาสตร์ในรอบ 50 ปี เครือเนชั่นได้ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางรับน้ำใจจากคนไทยทั่วทุกสาขาอาชีพ ส่งมอบต่อผู้ที่ตกทุกข์ลำบากจากวิบัติภัยครั้งนี้อย่างเข้มแข็ง ผ่านสื่อต่างๆ ที่เรามีครบวงจร

เครือเนชั่นในฐานะสื่อคุณภาพ ไม่หยุดนิ่งที่จะสร้างนวัตกรรมและ ความแปลกใหม่ให้กับวงการสื่อ พร้อมมุ่งพัฒนาเนื้อหาที่มีคุณค่า เพื่อตอบสนองต่อผู้รับสื่อทุกท่าน

ปี 2555 จึงเป็นอีกหนึ่งปีที่ผู้อ่าน และผู้สนับสนุนเครือเนชั่นจะได้ร่วมประสบการณ์ใหม่ไปกับสื่อใหม่ๆ ด้วยเราตระหนักว่า เมื่อโลกหมุนเร็วขึ้น วิถีชีวิต หรือ ไลฟ์สไตล์ของคนไทยได้เปลี่ยนแปลงด้วยอัตราเร่ง สื่อหลักอย่างเครือเนชั่นจึงไม่พลาดโอกาสที่จะร่วมเป็นส่วนหนึ่งของการเปลี่ยนแปลง ไม่ว่ารูปแบบการรับสื่อจะแปรเปลี่ยนไปอย่างหลากหลายอย่างไร

ทิศทางธุรกิจในปี 2555 ของเครือเนชั่น นอกจากจะมุ่งเพิ่มคุณภาพของสื่อสิ่งพิมพ์ อย่างไม่หยุดยั้ง เรายังคงเดินหน้านำเนื้อหาที่มีคุณค่า จากผลผลิตของทีมข่าวที่มีคุณภาพของเรา นำเสนอออกไปในทุกๆแพลทฟอร์ม ที่ทำให้ผู้รับสารเข้าถึงได้ทุกที่ ทุกเวลา

ความนิยมในสื่อใหม่ (New Media) และสื่อสังคมออนไลน์ (Social Media) เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วทั่วโลก ไม่เว้นแม้แต่ประเทศไทยที่อัตราการเข้าถึงเพิ่มขึ้นไม่หยุดยั้ง เครือเนชั่นไม่ได้มองข้ามปรากฎการณ์นี้ เราพร้อมเต็มที่ที่จะเคลื่อนตัวเข้าสู่สื่อใหม่ เพื่อเป็นช่องทางนำเนื้อหาที่มีคุณภาพของเราส่งต่อไปยังผู้รับสื่อให้มากที่สุด

เราเชื่อมั่นว่าการมุ่งขยายสู่แพลทฟอร์มใหม่ๆ ของการนำเสนอ ข่าวสาร-ข้อมูล-ความรู้-ความบันเทิง หรือคอนเทนท์ทั้งมวลของเครือเนชั่น ในรูปแบบ New Media และ Social Media จะเป็นทั้งส่วนสนับสนุน และเพิ่มสีสัน ให้กับสื่อสิ่งพิมพ์ที่แข็งแกร่งของเครือเนชั่น

ในปี 2555 เราเชื่อมั่นว่า สื่อสิ่งพิมพ์จะเติบโตต่อเนื่องไปอีก โดยสื่อใหม่จะเป็นสื่อเสริมที่เราให้ความสำคัญไม่ยิ่งหย่อน สอดรับกับกระแสความนิยมของคนไทยต่อสื่อใหม่ที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง

จุดเปลี่ยนอุตสาหกรรมโทรทัศน์ โอกาสของเครือเนชั่น

ปี 2554 สื่อโทรทัศน์มีส่วนแบ่งจากรายได้โฆษณาหกสิบกว่าเปอร์เซ็นต์จากยอดงบประมาณโฆษณาของสื่อทุกๆ สื่อ ที่มียอดเงินประมาณหนึ่งแสนล้านบาท สื่อโทรทัศน์ในประเทศไทยกำลังอยู่ในช่วงการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญ เราได้เห็นโทรทัศน์ดาวเทียมเกิดขึ้นใหม่มากกว่า 200 ช่อง

ผู้ชมทีวีดาวเทียมและเคเบิ้ลมีอัตราเติบโตก้าวกระโดด การแข่งขันของสื่อโทรทัศน์จะเข้มข้นอย่างน่าติดตาม ผู้ที่ได้เปรียบคือผู้ที่มี “เนื้อหา” (Content) เพราะไม่ว่าจะเป็นสื่อดั้งเดิมหรือสื่อใหม่ เนื้อหาสาระเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุด

เครือเนชั่นซึ่งมี Content มากองค์กรหนึ่งของประเทศ จะมีบทบาทที่โดดเด่นมากขึ้น ในอุตสาหกรรมสื่อโทรทัศน์ ในปี 2555 เราพร้อมที่จะผลิต Content ป้อนสู่ Free TV, Satellite TV, IPTV หรือ TV ทุกๆ รูปแบบ

เครือเนชั่นไม่จำเป็นจะต้องตีกรอบตัวเองอยู่ภายใต้การทำธุรกิจสื่อเท่านั้น โอกาสที่เราจะลงทุนขยายธุรกิจอื่นๆ ที่มีอนาคตเราจะไม่ปฏิเสธ โดยเฉพาะธุรกิจด้าน Digital ทั้งในรูปแบบ E-Commerce, M-Commerce, S-Commerce, Education, Games และ Entertainment ซึ่งเป็นเวทีที่เปิดกว้าง รอผู้ที่มีความพร้อมเข้าร่วมแข่งขัน

วันนี้เครือเนชั่นมีความพร้อมเต็มที่ ในการเสริมสร้างต่อยอดและขยายธุรกิจด้านสื่อ ไม่ว่าจะเป็นสื่อสิ่งพิมพ์ สื่อโทรทัศน์ สื่อใหม่ การศึกษา และโอกาสการลงทุนในธุรกิจอื่นๆ ที่มีอนาคตรออยู่

เมื่อต้นปี 2554 เครือเนชั่นได้เริ่มเข้ารับผิดชอบบริหารมหาวิทยาลัยโยนกที่จัดหวัดลำปาง โดยในปีการศึกษา 2554 มหาวิทยาลัยเนชั่น ได้เปิดการเรียนการสอน สาขานิเทศศาสตร์ ณ ศูนย์ศึกษากรุงเทพฯ และเมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2554 ที่ผ่านมา มหาวิทยาลัย ได้รับการอนุมัติให้เปลี่ยนชื่อเป็น “มหาวิทยาลัยเนชั่น (Nation University)” อย่างเป็นทางการแล้ว

สำหรับปีการศึกษา 2555 มหาวิทยาลัยเนชั่น จะเปิดศูนย์ศึกษาที่กรุงเทพฯ เต็มรูปแบบ โดยใช้อาคารด้านหน้าของเครือเนชั่นทั้งอาคาร นอกจากเพิ่มความคึกคักทางด้านนิเทศศาสตร์แล้ว เราพร้อมเปิดเพิ่มคณะบริหารธุรกิจ ด้วยการสนับสนุนของทีมงานหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ ซึ่งมีเครือข่ายครอบคลุมทุกวงการ และจะมีบทบาทสำคัญที่จะช่วยให้การสอนด้านธุรกิจของเรามีคุณภาพ ตามนโยบายที่เรามุ่งเน้นคือ “เรียนกับมืออาชีพ” เน้นการปฏิบัติหรือลงมือทำด้วยตนเองในระหว่างเรียนไม่ว่าที่กรุงเทพฯ หรือลำปาง

เครือเนชั่นฯ มีความพร้อมสูงสุดที่จะเดินหน้าทำสื่อเพื่อตอบสนองความต้องการของสังคมไทยทุกๆด้าน อย่างมีจุดยืนมีมาตรฐานเหมือนกว่า 40 ปีที่ผ่านมา ด้วยความพร้อมเพรียงของผู้บริหารรุ่นใหม่ ที่เราได้ส่งเสริมสนับสนุน และฝึกฝน จนมีความพร้อม และมั่นใจว่าผู้บริหารเหล่านี้จะยิ่งเพิ่มขีดความสามารถของเครือเนชั่นฯ ให้เดินหน้าต่อไป เพื่อบรรลุเป้าหมายที่เราวางไว้อย่างมั่นคง และเข้มแข็งยิ่งขึ้นสืบต่อไป

สุดท้ายนี้ในนามของคณะกรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานในเครือเนชั่นฯ ขอถือโอกาสนี้ กล่าวคำขอบคุณทุกๆ ท่านที่ให้กำลังใจ ให้การสนับสนุนเครือเนชั่น อย่างอบอุ่น มั่นคง และ สม่ำเสมอ เราให้คำมั่นว่าเราจะมุ่งมั่น ทุ่มเท ทำงานต่อไปอย่าง มั่นคง และ เที่ยงตรงต่อการทำหน้าที่สื่อคุณภาพ ด้วยความมุ่งมั่นภายใต้อุดมการณ์ คาดว่าปี 2555 เป็นปีที่เราจะประสบความสำเร็จอย่างงดงามอีกปีหนึ่ง

nmg board
nmg board

บริษัทเนชั่น มัลติมีเดีย กรุ๊ป จำกัด (มหาชน)
1858/118-119, 121-122, 124-130 อาคารเนชั่นทาวเวอร์ ชั้น 27-32 ถนนบางนา-ตราด, แขวงบางนา, เขตบางนา, กรุงเทพฯ 10260
โทร: 0 2338-3333 ต่อ 3289 (เวลาทำงานจันทร์-ศุกร์ 8.30-17.30) โทรสาร: 0 2338-3936

บริษัท เนชั่น มัลติมีเดีย กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) (Nation Multimedia Group Public Company Limited) เป็นบริษัทสื่อสารมวลชนครบวงจร ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของไทย ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2514 โดยเริ่มจากการออกหนังสือพิมพ์ The Voice of the Nation หนังสือพิมพ์รายวันภาษาอังกฤษในไทยฉบับแรก ที่มีชาวไทยเป็นเจ้าของ โดยมีบุคคลสำคัญประกอบด้วย หม่อมราชวงศ์สุนิดา กิติยากร, สุทธิชัย หยุ่น, ธรรมนูญ มหาเปารยะ, เชวง จริยะพิสุทธิ์, ธนาชัย ธีรพัฒนวงศ์, และ ธนะชัย สันติชัยกูล

สิ่งพิมพ์และสื่อในเครือ
– เดอะ เนชั่น
– กรุงเทพธุรกิจ
– คมชัดลึก
– เนชั่น จูเนียร์
– เนชั่น สุดสัปดาห์
– เนชั่น แชนแนล
– แมงโก้ทีวี
– ระวังภัย 24 ชั่วโมง
– อาเซียนทีวี
– วิทยุเนชั่น
– โอเคเนชั่น
– เนชั่นบุ๊คส์

บริษัทในเครือ
– บมจ.เนชั่น บรอดแคสติ้งคอร์ปอเรชั่น
– บมจ.เนชั่น อินเตอร์เนชั่นแนล เอ็ดดูเทนเมนท์
– บจก.เนชั่น เอ็กมอนท์
– บจก.เนชั่น เอ็ดดูเทนเมนท์
– บจก.เอ็นคูปอง
– บจก.เนชั่น นิวส์ เน็ตเวิร์ค
– บจก.กรุงเทพ ธุรกิจ มีเดีย
– บจก.คมชัดลึก มีเดีย
– บจก.ดับบลิวพีเอส
– บจก.เอ็นเอ็มแอล
– บจก.เนชั่น ยู

http://www.nbc.co.th/aboutnbc-history.html

สินเชื่อเพื่อศึกษาต่อปริญญาโท ที่มหาวิทยาลัยเนชั่น

สินเชื่อเพื่อศึกษาต่อปริญญาโท ที่มหาวิทยาลัยเนชั่น
สินเชื่อเพื่อศึกษาต่อปริญญาโท ที่มหาวิทยาลัยเนชั่น

ข่าวการศึกษา จากเพื่อนร่วมงาน .. น่าสนใจครับ
นักศึกษาที่สนใจศึกษาต่อหลักสูตรปริญญาโท ณ มหาวิทยาลัยเนชั่น  1) หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (M.B.A.) 2) หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (M.Ed.) 3) หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต (M.P.A.) สามารถติดต่อธนาคารธนชาต ขอสินเชื่อเพื่อศึกษาต่อปริญญาโท ได้แล้ว ซึ่งมีสินเชื่อเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายสำหรับการศึกษาของตนเองในระดับปริญญาโท
รายละเอียด
* วงเงินสินเชื่อ : 100% ของค่าเล่าเรียนตามหลักสูตร ขั้นต่ำ 100,000 บาท สูงสุดไม่เกิน 1,000,000 บาท
* ระยะเวลาการผ่อนชำระ : สูงสุดไม่เกิน 8 ปี
* การค้ำประกัน : บุคคล หรือเงินฝากประจำ หรืออสังหาริมทรัพย์ค้ำประกัน
* การชำระคืน : ชำระคืนค่างวดทันที แบบลดต้นลดดอก
* วิธีการชำระคืน : หักบัญชีอัตโนมัติธนาคารธนชาต
* วิธีการเบิกเงินกู้ :
o ทยอยเบิกเงินกู้เป็นงวด ตามเอกสารการลงทะเบียนในแต่ละภาคการศึกษา โดยจ่ายเช็คในนามสถาบันการศึกษา
o กรณีผู้กู้ลงทะเบียนไว้ก่อนที่จะได้รับอนุมัติสินเชื่อ ให้จ่ายเงินกู้ตามใบเสร็จรับเงินที่สถาบันการศึกษาออกให้โดยนับย้อนหลังได้ 1 ภาคการศึกษาเท่านั้น
* ธนาคารขอสงวนสิทธิ์ในการระงับการเบิกเงินกู้งวดต่อไป ถ้าผู้กู้ค้างชำระติดต่อกันตั้งแต่ 2 งวดขึ้นไป

รายละเอียดเพิ่มเติม
http://www.thanachartbank.co.th/tbankcmsfrontend/personalTHDetail.aspx?PTypeID=9&ProID=19&PName=personal

ดาวน์โหลดใบสมัครได้ที่
http://www.thanachartbank.co.th/tbankcmsfrontend/downloadgroupth.aspx?downloadid=2

http://www.scribd.com/doc/92660837/TBank-Loan-Form

การเลือกเรียนมหาวิทยาลัย

คุณชายชาตรี ผู้ชำนาญและรับผิดชอบ ในการกระตุ้นการตัดสินใจของนักเรียนให้เลือกเรียนมหาวิทยาลัย เล่าให้ฟังถึงเทคนิค และกระบวนการที่จะนำไปสู่การปิดการขายของนักเรียนกลุ่มเป้าหมาย เพราะการตลาดมี 2 แบบ คือ below the line และ above the line ตามที่ท่านประธานเครือสื่อยักใหญ่ ได้บรรยายให้เห็นความสำคัญของ below the line ไว้อย่างชัดเจน ซึ่งข้อมูลทางวิชาการส่วนใหญ่ให้ความสำคัญกับ above the line เพียงด้านเดียว เพราะเป็นด้านสว่างที่มองเห็นได้ แต่กลยุทธ์ของมหาวิทยาลัยทุกแห่งที่มีกลไกปิดการขายจะไม่เป็นที่เปิดเผย เพราะเป็นเทคนิควิธีที่จะทำให้ตนประสบความสำเร็จ ไม่ต้องการให้รายใดนำไปใช้เป็นเครื่องมือโดยเฉพาะคู่แข่ง และบางเทคนิคอาจไม่ถูกต้องตามจริยธรรมมากนัก อาทิ ให้โควตารับนักเรียนทั้งชั้น เป็นต้น ซึ่งกลยุทธ์นี้คงหาอ่านที่ไหนได้ยาก

ร่วมแรงร่วมใจ ให้เห็นว่าสามัคคี คือ พลัง
ร่วมแรงร่วมใจ ให้เห็นว่าสามัคคี คือ พลัง

แบบสอบถามงานวิจัยเรื่อง ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกเรียนในมหาวิทยาลัยของนักเรียนในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย

1 ด้านภูมิหลัง
1.1 ที่ตั้งของมหาวิทยาลัยมีผลต่อการเลือกมหาวิทยาลัยของท่านในระดับใด
1.2 ระยะทางจากบ้านถึงมหาวิทยาลัยมีผลต่อการเลือกมหาวิทยาลัยของท่านในระดับใด
1.3 รายได้ของผู้ปกครองมีผลต่อการเลือกมหาวิทยาลัยของท่านในระดับใด

2 ด้านความสามารถส่วนบุคคล
2.1 เกรดเฉลี่ยของท่าน มีผลต่อการเลือกมหาวิทยาลัยของท่านในระดับใด
2.2 ความรู้พื้นฐานที่มีของท่าน มีผลต่อการเลือกมหาวิทยาลัยของท่านในระดับใด                     2.3 ความถนัดทางวิชาชีพและวิชาการของท่าน เช่น สถาปัตยกรรม วิศวกรรม วิชาชีพครู มีผลต่อการเลือกมหาวิทยาลัยของท่านในระดับใด

3 ด้านความคาดหวังของนักเรียน ที่มีต่อมหาวิทยาลัย
3.1 ความต้องการของตลาดแรงงานมีผลต่อการเลือกมหาวิทยาลัยของท่านในระดับใด
3.2 ความภูมิใจของผู้ปกครองมีผลต่อการเลือกมหาวิทยาลัยของท่านในระดับใด

4 ด้านอิทธิพลภายนอกที่เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจ
4.1 การที่ท่านมีรุ่นพี่ / คนรู้จักเรียนอยู่ ในมหาวิทยาลัยนั้นมีผลต่อการเลือกมหาวิทยาลัยของท่านในระดับใด
4.2 การที่เพื่อนแนะนำ มีผลต่อการเลือกมหาวิทยาลัยของท่านในระดับใด
4.3 การที่อาจารย์แนะนำให้เรียน มีผลต่อการเลือกมหาวิทยาลัยของท่านในระดับใด
4.4 บุคคลที่ท่านประทับใจ(Idol) เป็นศิษย์เก่าสถาบันนี้ มีผลต่อการเลือกมหาวิทยาลัยของท่านในระดับใด
4.5 การที่ผู้ปกครองอยากให้เรียน เช่น อยากให้เป็นหมอ เป็นครู หรือเรียนบริหารเพื่อมาช่วยงานที่บ้าน เป็นต้น มีผลต่อการเลือกมหาวิทยาลัยของท่านในระดับใด
4.6 การหาข้อมูลเกี่ยวกับคณะ สถาบัน หรือวิชาที่เปิดสอนจากอินเตอร์เนต มีผลต่อการเลือกมหาวิทยาลัยของท่านในระดับใด
4.7 การหาข้อมูลเกี่ยวกับคณะ สถาบัน หรือวิชาที่เปิดสอนจากหนังสือคู่มือการศึกษาต่อ ,หนังสือพิมพ์,วารสาร มีผลต่อการเลือกมหาวิทยาลัยของท่านในระดับใด
4.8 ข้อมูลเกี่ยวกับคณะ สถาบัน หรือวิชาที่เปิดสอน ที่ได้รับจากใบปลิว , แผ่นพับ, โปสเตอร์ ,บอร์ดประชาสัมพันธ์ มีผลต่อการเลือกมหาวิทยาลัยของท่านในระดับใด
4.9 ข้อมูลของสถาบันการศึกษาที่ท่านได้จากการเข้าร่วมงานแนะแนวการศึกษาต่อ มีผลต่อการเลือกมหาวิทยาลัยของท่านในระดับใด

5 ระบบการสอบคัดเลือก
5.1 รูปแบบการรับนักศึกษา เช่น รับนักศึกษาจากคะแนนแอดมิสชั่น สอบตรง หรือเลือกรับเข้าจากทั้งสองทาง มีผลต่อการเลือกมหาวิทยาลัยของท่านในระดับใด
5.2 วิชาที่ใช้สอบ เช่น ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ ฟิสิกส์ หรือวิชาความถนัด มีผลต่อการเลือกมหาวิทยาลัยของท่านในระดับใด
5.3 อัตราการแข่งขันในการสอบเข้าคณะนั้นๆ มีผลต่อการเลือกมหาวิทยาลัยของท่านในระดับใด

6 คุณภาพมหาวิทยาลัย
6.1 ชื่อเสียงของมหาวิทยาลัย มีผลต่อการเลือกมหาวิทยาลัยของท่านในระดับใด
6.2 ชื่อเสียงของคณาจารย์ มีผลต่อการเลือกมหาวิทยาลัยของท่านในระดับใด
6.3 ชื่อเสียงของนักศึกษาปัจจุบัน หรือศิษย์เก่า มีผลต่อการเลือกมหาวิทยาลัยของท่านในระดับใด

7 ด้านสภาพแวดล้อมของมหาวิทยาลัย
7.1 ขนาดพื้นที่ ความใหญ่โตและความทันสมัยของอาคารเรียน มีผลต่อการเลือกมหาวิทยาลัยของท่านในระดับใด
7.2 ความสวยงามและความร่มรื่นภายในมหาวิทยาลัย มีผลต่อการเลือกมหาวิทยาลัยของท่านในระดับใด
7.3 ความพร้อมและความทันสมัยของอุปกรณ์สำหรับการเรียนการสอน มีผลต่อการเลือกมหาวิทยาลัยของท่านในระดับใด
7.4 มีสิ่งอำนวยความสะดวกด้านต่างๆ เช่น หอพัก สนามกีฬา สถานพยาบาล มีผลต่อการเลือกมหาวิทยาลัยของท่านในระดับใด

8 ค่าเล่าเรียนและแหล่งเงินทุน
8.1 ค่าเล่าเรียนในการสึกษาต่อ มีผลต่อการเลือกมหาวิทยาลัยของท่านในระดับใด
8.2 ทุนการศึกษา มีผลต่อการเลือกมหาวิทยาลัยของท่านในระดับใด
http://www3.eduzones.com/questionnaire/

หลักการ/ทฤษฎี คำแนะนำในการเลือกเรียนมหาวิทยาลัย
http://blog.eduzones.com/noknik15clab/33088

วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์
ปีที่ 5 ฉบับที่ 2 พฤษภาคม – สิงหาคม 2554
ปัจจัยในการเลือกเข้าศึกษาในโรงเรียนอาชีวศึกษาเอกชนในจังหวัดปราจีนบุรี FACTORS RELATED THE ADOPTION TO STUDY IN PRIVATE VOCATIONAL SCHOOL IN PRACHIN BURI PROVINCE
กฤษณ์ บุตรเนียน จุไร โชคประสิทธิ์ และอรสา จรูญธรรม Kit Butnian, Julai Chokprasit, and Orasa Charoontham
1. ผลการวิเคราะห์ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับผู้เรียนในการเลือกเข้าศึกษาในโรงเรียนอาชีวศึกษา เอกชน ในจังหวัดปราจีนบุรี โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาตามรายด้าน พบว่า ด้านอิทธิพล จากโรงเรียน/ครูแนะแนว มีค่าเฉลี่ยสูงสุด อยู่ในระดับมาก และด้านอิทธิพลจากกลุ่มเพื่อนมีค่าเฉลี่ยต่ำสุด อยู่ในระดับมาก
2. ผลการวิเคราะห์ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับสถานศึกษาในการเลือกเข้าศึกษาในโรงเรียนอาชีวศึกษาเอกชน ในจังหวัดปราจีนบุรี โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาตามรายด้าน พบว่า ด้านภาพลักษณ์ของโรงเรียน มีค่าเฉลี่ยสูงสุด อยู่ในระดับมาก และด้านค่าเล่าเรียน มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดอยู่ในระดับมาก
http://grad.vru.ac.th/pdf-journal/JourTs52/09-Kris.pdf

วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกเรียนในมหาวิทยาลัย
องค์กร International Graduate Insight Group (i-graduate) องค์กรวิจัยอิสระที่สนับสนุนผลการวิจัยและให้คำปรึกษาแก่สถาบันอุดมศึกษา กว่า 140 สถาบันทั่วโลก โดยร่วมมือกับมหาวิทยาลัยอันดับต้น ๆ ในสหราชอาณาจักร ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ เนเธอร์แลนด์ เบลเยียม ไอร์แลนด์ อเมริกาเหนือ และแอฟริกาใต้ ได้เผยสำรวจล่าสุดแก่นิตยสารไทมส์ไฮเออร์ (Times Higher Education Supplement: THES) เมื่อปลายมกราคม 2008 ในประเด็นที่ว่า ปัจจัยใดที่มีอิทธิพลต่อการเลือกศึกษาต่อมหาวิทยาลัยในต่างประเทศของนัก ศึกษาต่างชาติมากที่สุด โดยสำรวจความคิดเห็นจากนักศึกษา 11,000 คน ใน 143 ประเทศทั่วโลก
ผลสำรวจชี้ให้เห็นว่า ความคาดหวังของนักศึกษาต่างชาติต่อมหาวิทยาลัยในสหราชอาณาจักรกำลังการ ท้าทายสหรัฐฯ อย่างมาก และสหรัฐฯ กำลังเสียส่วนแบ่งทางการตลาดให้กับประเทศต่าง ๆ ที่ในปัจจุบัน ได้หันมาเพิ่มศักยภาพการศึกษาระดับอุดมศึกษาภายในประเทศ อาทิ สิงคโปร์ มาเลเซีย จีน เป็นต้น ซึ่งเป็นการเสียส่วนแบ่งในอัตราที่เร็วกว่าสหราชอาณาจักร แต่คงง่ายเกินไปที่จะสรุปว่า ในตลาดการศึกษาระดับอุดมศึกษา สหรัฐฯ กำลังกลายเป็นผู้เล่นรอง ผลสำรวจยังถือว่าเป็นเพียงสัญญาณเตือนเบื้องต้นของสหรัฐฯ เท่านั้น เพราะผลสำรวจ พบว่า นักศึกษากว่า 2 ใน 3 เลือกเรียนเพราะสถาบันการศึกษามากกว่าประเทศ โดยปัจจัยด้านชื่อเสียงและการดำเนินการทางการตลาดของแต่ละสถาบัน เป็นปัจจัยที่มีความสำคัญอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ซึ่งสหรัฐฯ ยังได้รับการยอมรับด้านชื่อเสียงของมหาวิทยาลัยมากกว่าสหราชอาณาจักร คืออยู่ที่ร้อยละ 99 สหราชอาณาจักรอยู่ที่ร้อยละ 97 แคนนาดา เยอรมนี และฝรั่งเศส อยู่ที่ร้อยละ 97
http://www.oknation.net/blog/kriengsak/2008/03/13/entry-1

ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเข้าศึกาาระดับปริญญาตรีในมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตตรัง
http://doc2.clib.psu.ac.th/home/porntip.t/public14/research3/abs/311701.pdf

ปัจจัยในการเลือก
# ความชอบและความถนัด ของตัวเรา
# ชื่อเสียงของมหาวิทยาลัย
# ชื่อเสียงของคณาจารย์ผู้สอน
# หลักสูตรที่เราเรียน
# ความเป็นที่ยอมรับในวงการ ต่อหลักสูตรและมหาวิทยาลัยที่เราเรียน
# ขนาดของมหาวิทยาลัยและห้องเรียน
# เพื่อน
# คุณภาพชีวิตในมหาวิทยาลัย
# ความคาดหวังว่าพอจบจากมหาวิทยาลัยแล้ว เราจะได้อะไร
# ที่ตั้งของมหาวิทยาลัย และบริเวณแถวนั้น
# บางคนอาจจะรวมไปถึง อยากไปอยู่ต่างจังหวัด หรืออยากเข้ามากรุงเทพก็ได้
# ค่าเล่าเรียน
http://www.gotoknow.org/blogs/posts/152480

แทนคำขอบคุณ

“แทนคำขอบคุณ”

ต้องขอบคุณท่านผู้บริหารหลายสิบบริษัท
ที่มาร่วมในโครงการสหกิจศึกษากับมหาวิทยาลัยเนชั่น
ที่จะเปิดโอกาสอันมโหฬารให้กับนักศึกษา
และต้องการที่จะทำกิจกรรมสหกิจศึกษา
กับบริษัทดัง ๆ ระดับต้น ๆ ของประเทศ
วันนี้ผมมีข้อเสนอพิเศษสำหรับบริษัท
ที่มาร่วมโครงการสหกิจศึกษากับมหาวิทยาลัยเนชั่น
นั่นก็คือว่า ไม่ว่าจะเป็นลูกหลานท่าน พนักงานท่าน ผู้ที่สนใจทั้งหลาย
ที่ท่านเห็นว่าจะได้ประโยชน์ จากการมาเรียนที่มหาวิทยาลัยเนชั่น
ไม่ว่าจะเป็นหลักสูตรบริหารธุรกิจ บัญชี นิเทศศาสตร์
เทคโนโลยีสารสนเทศ ท่องเที่ยว หรือหลักสูตรสาธารณสุขศาสตร์
มาที่มหาวิทยาลัยเนชั่นครับ
และเนื่องจากท่านมาร่วมกิจกรรมกับเรา ได้ประโยชน์อย่างยิ่ง
ผมขอเสนอลดค่าเล่าเรียน 20% ให้กับทุกท่าน
ที่ผ่านการแนะนำของท่านผู้บริหาร
บริษัทต่าง ๆ เหล่านี้ครับ
มาสมัครเรียนกับ มหาวิทยาลัยเนชั่น ที่กรุงเทพก็ได้ ที่ลำปางก็ได้
สมัครที่ไหน เรียนที่ไหน ได้ทั้งนั้นครับ
หวังว่านี่จะเป็นข้อเสนอที่กระตุ้นให้ท่านสามารถที่จะ
ไปบอกกล่าวกับพนักงาน ญาติพี่น้อง ลูกหลาน
มาเรียนมหาวิทยาลัยเนชั่น ที่สอนโดยมืออาชีพ จบอย่างมืออาชีพครับ
ขอบคุณมากครับ

มหาวิทยาลัยเนชั่นร่วมกับ 36 บริษัท ส่งนศ.ฝึกงาน ตั้งแต่ชั้นปีที่หนึ่ง

MOU for practicum at Nation University
MOU for practicum at Nation University
มหาวิทยาลัยเนชั่น ลงนาม 36 บริษัทเอกชน จัดสหกิจศึกษา ส่งนศ.ไปฝึกงานตั้งแต่ปี 1 – 4 พร้อมดึงผู้เชี่ยวชาญร่วมสอน ส่งวิทยากรมืออาชีพ ม.เนชั่น จัดอบรมถึงที่ หวังแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกัน ผลิตบุคลากรคุณภาพสู่ตลาดงาน
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 30 เม.ย. 55  ที่ห้องประชุมใหญ่ชั้น 27 อาคารเนชั่นทาวเวอร์ บางนา กม.4.5 มหาวิทยาลัยเนชั่น จับมือ บริษัทเอกชนไทย 36 แห่ง ลงนามความร่วมมือสหกิจศึกษา ในโครงการ “ความร่วมมือการบูรณาการการเรียนรู้ ฝึกปฏิบัติงานและสหกิจระหว่างมหาวิทยาลัยกับสถานประกอบการ” โดยมีนายสุทธิชัย  หยุ่น  ประธานกรรมการ บริษัท เนชั่น มัลติมีเดีย กรุ๊ป นางสาวดวงกมล  โชตะนา กรรมการผู้อำนวยการ บริษัท เนชั่น มัลติมีเดีย กรุ๊ป  นายอดิศักดิ์ ลิมปรุ่งพัฒนกิจ กรรมการผู้อำนวยการ บริษัท เนชั่น บรอดแคสติ้ง คอร์ปอเรชั่น ผศ.ดร.พงษ์อินทร์   รักอริยะธรรม อธิการบดีมหาวิทยาลัยเนชั่น ดำเนินรายการโดย นายอุดม ไพรเกษตร รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยเนชั่น ร่วมแถลงข่าวกับตัวแทนสถานประกอบการกว่า 30 แห่งในโครงการ
นายสุทธิชัย เปิดเผยว่า โครงการดังกล่าวจัดขึ้นเพื่อเป็นการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างสถานศึกษากับภาคเอกชนที่มีความเชี่ยวชาญสาขาเฉพาะด้าน ตรงวัตุประสงค์ในการผลิตนักศึกษาที่มีคุณภาพส่งออกสู่ตลาดงาน โดยภาพที่จะเกิดขึ้นจะเปลี่ยนแปลงเป็นมติใหม่ของการฝึกปฏิบัติงาน จากเดิมมหาวิทยาลัยจะส่งนักศึกษาไปฝึกปฏิบัติงานประมาณ 3-4 เดือนในช่วงที่ศึกษาอยู่ชั้นปี 3 หรือปี 4 แต่มหาวิทยาลัยจะทำรูปแบบใหม่ โดยการส่งนักศึกษาไปฝึกปฏิบัติงานตั้งแต่เรียนอยู่ชั้นปี 1 ในช่วงปิดภาคเรียนจนกระทั้งถึงชั้นปี 4 เพราะเชื่อว่าการได้ลงมือปฏิบัติจริงในระยะเวลาที่นานพอสมควรจะช่วยเพิ่มคุณภาพตัวนักศึกษาเอง นอกจากนี้ ยังถือเป็นการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ระหว่างบริษัทสหกิจ และมีความใกล้ชิดอีกด้วย
“ผมมองว่าการที่ส่งเด็กไปฝึกงาน 3-4 เดือนช่วงก่อนจบไม่สามารถทำให้เด็กเก่งหรือได้คุณภาพตามที่บริษัทต้องการ ดังนั้นเชื่อว่าการทำโครงการนี้ขึ้นจะช่วยให้พัฒนาศักยภาพเด็กอย่างเต็มที่ แทนที่จะไปฝึกแค่ 3-4 เดือน ม.เนชั่นให้ไปตั้งแต่ปี 1 เลย อย่างน้อยเด็กต้องได้เรียนรู้ประสบการณ์จากที่ฝึกงานมากมาย ถามว่าฝึกเสร็จแล้วบริษัทจะรับเข้าทำงานหรือไม่ เป็นอีกเรื่องนึง แต่การจะให้นักศึกษามีคุณภาพตรงตามความต้องการของบริษัทที่รับเข้าทำงาน บริษัทจะต้องมีบทบาทในการกำหนดการเรียนการสอนช่วยกันกับทางมหาวิทยาลัย ท่านต้องฉีดยาให้กับมหาวิทยาลัยด้วย” ประธานกรรมการ บริษัท เนชั่น มัลติมีเดีย กรุ๊ป กล่าว
นางสาวดวงกมล กล่าวว่า มหาวิทยาลัยเนชั่นตระหนักว่า ต้องเรียนรู้กับผู้ที่มีฝีมือ มีความสามารถ มีประสบการณ์ตรงจากสาขานั้นๆจริง เพื่อคุณภาพของนักศึกษา โดยระหว่างช่วงที่ศึกษาอยู่มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยอาจต้องรบกวนเชิญวิทยากรที่มีประสบการณ์เข้ามาสอน ก่อนออกสนามจริง ซึ่งไม่จำเป็นว่าต้องออกนอกสถานที่ก็ต่อเมื่อถึงเวลาฝึกปฏิบัติงานเท่านั้น และเชื่อว่าการได้เรียนรู้และเรียนกับผู้มีฝีมือจริงๆ จะเป็นการเพิ่มคุณภาพการศึกษา ซึ่งเป็นสิ่งหนึ่งในการผลิตบุคลากรที่มีคุณภาพสู่ตลาดงานต่อไป
ผศ.ดร.พงษ์อินทร์ กล่าวว่า บทบาทการป้อนบุคลากรเข้าสู่ตลาดงาน ไม่ว่าจะอดีตหรือปัจจุบันจะพบปัญหาที่ว่าจบแล้วทำงานไม่เป็น ไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานภาครัฐหรือเอกชนเมื่อรับเข้าทำงานแล้ว ต้องฝึกงานให้ใหม่เกือบทั้งหมด ยิ่งกระแสเทคโนโลยีการเปลี่ยนแปลงเร็วขึ้น กระบวนการจัดการเรียนการสอนในขั้นตอนการฝึกงานจำเป็นต้องมีฝึกปฏิบัติงานตามนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ และเพื่แเป็นกาสนองต่อนโยบายการศึกษา มหาวิทยาลัยเนชั่นจึงให้ความสำคัญต่อการฝึกปฏิบัติงาน และให้เห็นผลสัมฤทธิ์มากที่สุด เช่น ประเทศฝั่งยุโรปมี เคเอฟซียูนิเวอร์ซิตี้ ประเทศไทยก็มีวิทยาลัยดุสิตธานีของโรงแรมดุสิตธานี ซึ่งอยากให้เกิดภาพแบบนี้เกิดขึ้นต่อจากนี้ไป
ผศ.ดร.พงษ์อินทร์ กล่าวต่อว่า อยากให้เกิดการแลกเปลี่ยนมากขึ้น โดยมีการแลกเปลี่ยนกับบริษัทสหกิจที่ร่วมลงนามคือ มหาวิทยาลัยเนชั่นยินดีจะจัดบริการวิชาการให้กับบริษัท โดยดำเนินการจัดการส่งคณาจารย์ เพื่อเป็นวิทยากรฝึกอบรม ให้แก่สถานประกอบการ 6 ชั่วโมง สนับสนุนให้คณาจารย์พัฒนาองค์ความรู้ด้านต่างๆ ที่เป็นประโยชน์แก่สถานประกอบการ อาทิ การวิจัย การให้คำปรึกษาทางวิชาการ ลดค่าธรรมเนียมร้อยละ 20 ในหลักสูตรปริญญาตรีและโท รวมถึงหลักสูตรประกาศนียบัตรหรือหลักสูตรระยะสั้นที่ทางมหาวิทยาลักำหนดจัดขึ้น และนอกจากนี้ ในอนาคตข้างหน้ามหาวิทยาลัยจะพยายามให้เกิดความร่วมมือระหว่างประเทศ
นายธาดา เศวตศิลา ผู้อำนวยการกลุ่มด้านลูกค้าสถาบันการศึกษา บมจ.ทรู คอร์ปอเรชั่น กล่าวว่า ความร่วมมือดังกล่าวถือเป็นสิ่งที่เป็นประโยชน์ เพราะการได้เรียนรู้กับมืออาชีพบริษัทที่มีฝีมือ ย่อมได้ทักษะที่มีคุณภาพอยู่แล้ว ซึ่งใครก็สามารถทำได้ แต่ตนฝากถึงนายสุทธิชัย ในเรื่องของคุณธรรมจริยธรรม ความถูกต้อง ความชอบทำ ซึ่งมีส่วนสำคัญในชีวิตการทำงาน ส่วนการรับนักศึกษาเข้าฝึกปฏิบัติงาน ทางบมจ.ทรู ได้ทำเป็นนโยบายอยู่แล้ว แต่จะพิเศษตรงที่ว่านักศึกษาจะมาฝึกปฏิบัติตั้งแต่อยู่ชั้นปี 1 และมีความเป็นสหกิจ
36 บริษัทสหกิจ ประกอบด้วย บริษัท เอ็นโซโก้ จำกัด, บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน), บริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน), บริษัท อเด็คโก้ (ประเทศไทย) จำกัด, บริษัท ทีม กรุ๊ป ออฟ คัมปานีส์ จำกัด, บริษัท เทคโทนิศส์ ดีซายน์ คอนซัลแตนท์ จำกัด, บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน), บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน), บริษัท ทรูมูฟ จำกัด, บริษัท เวสเทริ์นดิจิตอล (ประเทศไทย) จำกัด ,บริษัท ไอโทรามา คอนซัลติ้ง จำกัด, บริษัท ไอบีเอ็ม (ประทศไทย) จำกัด, บริษัท ไทยประกันชีวิต จำกัด, บริษัท ไทยสมุทรประกันชีวิต, บริษัท ป.ต.ท. จำกัด (มหาชน), บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน), บริษัท เฮเฟเล่ (ประเทศไทย) จำกัด, บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน), บริษัท พรีเมียร์โพรดักส์ จำกัด, บริษัท พรีเมียร์โพรดักส์ จำกัด, บริษัท โมเดอร์นฟอร์มกรุ๊ป จํากัด, บริษัท อินเด็กซ์ ครีเอทีฟ วิลเลจ จำกัด (มหาชน),  บริษัท โฮม โปรดักส์ เซ็นเตอร์ จำกัด (มหาชน), บริษัท มุ่งพัฒนาอินเตอร์ เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน), บริษัท ศารายา เอ็มเอฟจี (ไทยแลนด์) จำกัด พรีเมียร์ กรุ๊ป, บริษัท เนชั่น มัลติมีเดีย กรุ๊ป จำกัด (มหาชน), บริษัท จีเอฟ เอ คอร์ปอเรชั่น (ไทยแลนด์) จำกัด, บริษัท ซินโนวา ฟู้ดส์ จำกัด, บริษัท มาลี สามพราน จำกัด (มหาชน), บริษัท แม่ประยูร อาหาร จำกัด, บริษัท สรุพล ฟู้ดส์ จำกัด (มหาชน), บริษัท โอลีน จำกัด,  บริษัท สีฟ้าลุมพินี จำกัด, บริษัท แสงชัย กรุ๊ป จำกัด, บริษัท ดาน่า สไปเซอร์ (ประเทศไทย) จำกัด, บริษัท ยูนิค อุตสาหกรรมพลาสติก จำกัด, บริษัท ฮูทามากิ (ประเทศไทย) จำกัด, บริษัท ทีชเทค จำกัด, บริษัท GlaxoSmithkline (Thailand) Limited
———-