ชุมชนต่างจังหวัดใช้สื่อสังคมน้อยมาก (itinlife442)

check friend profile
check friend profile

มีการเปิดเผยผลการจัดอันดับเมืองที่ใช้เฟสบุ๊ค เมื่อ 15 มีนาคม 2554 โดยเว็บไซต์ socialbakers.com พบว่ากรุงเทพฯ อยู่อันดับ 5 มีบัญชีผู้ใช้อยู่ 7,419,340 บัญชี และตัวเลขสุดท้ายเมื่อต้นกุมภาพันธ์ 2556 มี 12,797,500 บัญชี โดยกรุงเทพฯ เลื่อนขึ้นมาเป็นอันดับ 1 จากจำนวนบัญชีผู้ใช้ทั้งประเทศราว 18,271,4800 บัญชี ซึ่งเป็นตัวเลขที่ไม่อาจสะท้อนจำนวนผู้ใช้ได้อย่างชัดเจน เพราะบางท่านอาจมีสองบัญชี พบว่าเมื่อเทียบบัญชีในกรุงเทพฯ ต่อผู้อาศัยจริงจะสูงถึง 154.54% แสดงถึงความนิยมต่อการใช้งานเครือข่ายสังคมได้เชิงประจักษ์ ปัจจุบันเริ่มมีการกล่าวถึง instagram ผ่านสื่อทีวีที่นิยมในหมู่ดารา ที่แฟนคลับจะคอยติดตามว่าดาราที่ตนชื่นชอบไปทำอะไรที่ไหนเมื่อไรผ่านสื่อสังคม

มีการแสดงความเห็นว่าตัวเลขข้างต้นไม่น่าเชื่อถือ อาจเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ปัจจุบัน socialbakers.com ได้ปิดบริการข้อมูลสถิติส่วนนี้ไปแล้ว แต่ข้อมูลเดิมที่อาจคลาดเคลื่อนอยู่บ้างก็สะท้อนได้ว่าคนต่างจังหวัดที่มีบัญชีในเฟสบุ๊คอยู่ราว 5.5 ล้านบัญชี หรือคิดเป็นเพียงร้อยละ 8.5 ในแต่ละจังหวัด ถ้าไม่นับรวมนักเรียน นักศึกษา ข้าราชการ และพนักงานเอกชน ก็จะพบว่าคนในชุมชนต่างจังหวัดแทบไม่ใช้เฟสบุ๊ค เมื่อนึกถึง instagram ก็ยิ่งน้อยลงไปมาก ถ้าในกลุ่มเพื่อนไม่มีใครใช้เฟสบุ๊คเลย ไม่ใช่สาวกแฟนคลับ ย่อมเป็นไปได้ว่าสังคมเสมือนจริงอาจเป็นสังคมที่ร้างเพื่อนฝูงสำหรับบางคน

ครั้งหนึ่งเคยพูดคุยกับผู้นำชุมชนหลายสิบคนที่ทำหน้าที่ด้านสื่อสาร พวกเขาไม่ถนัดการใช้เทคโนโลยี ไม่สนใจสังคมเสมือนจริง ไม่มีอุปกรณ์สำหรับเข้าถึงเฟสบุ๊ค หลายท่านเคยเข้าและบอกว่าเคยเท่านั้น แต่จำรหัสไม่ได้ก็น่าจะมาจากการที่เข้าไปแล้วไม่พบสิ่งที่สนใจ ไม่พบเพื่อน ไม่พบสังคมที่คุ้นเคย หากเข้าใช้งานเฟสบุ๊คครั้งแรกก็จำเป็นต้องเริ่มต้นด้วยการสร้างสังคม การส่งคำร้องขอเป็นเพื่อน การเข้ากลุ่ม กดไลค์ และแบ่งปัน แต่ผู้คนในชุมชนต่างจังหวัดมีความสุขกับสังคมจริง ที่ใช้ชีวิตอยู่จริง ได้พูดคุยสังสรร เฮฮา ไม่ต้องผ่านเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์เหมือนคนรุ่นใหม่ นั่นคือทางเลือกของคนต่างจังหวัดที่ไม่ได้อิงแอบเอนเอียงไปกับวัฒนธรรมใหม่ที่ทะลักเข้าสู่ชุมชนเมืองตลอดเวลา

+ http://thaibbclub.com/bangkok-no-1-from-list-of-cities-on-facebook/

+ http://fbguide.kapook.com/view55860.html

+ http://stat.bora.dopa.go.th/stat/y_stat56.html

+ http://www.socialbakers.com/facebook-statistics/

+ http://www.socialbakers.com/facebook-statistics/thailand?ref=article

+ http://www.socialbakers.com/blog/647-top-10-biggest-facebook-cities

fb เป็นพื้นที่ส่วนตัว อยากด่าใครก็จะด่า ไม่ชอบก็ unfriend ซะ

major cineplex
major cineplex

เหตุเริ่มจาก ผู้จัดการโรงภาพยนตร์กับลูกค้ามีปากเสียงเรื่องเครื่องปรับอากาศไม่ทำงาน แล้วมีโทษะทั้งคู่

แต่ rule ของ Philip Kotler มี 2 ข้อ
Rule 1 : The customer is always right.
Rule 2
: If the customer is wrong, go back to rule 1.

ทำให้ผู้จัดการพิจารณาตนเอง แล้วลาออก แต่เกิดอารมณ์ร่วมกับพนักงานของโรงภาพยนตร์ แล้วไปเขียนแสดงความคิดเห็นว่าลูกค้าไม่ถูกต้อง ส่งผลต่อ CSR เชิงลบอย่างไม่ต้องสงสัย เมื่อโรงภาพยนตร์ตรวจสอบว่าเป็นพนักงานจำนวนสองท่าน จึงพิจารณาให้พ้นจากสภาพการเป็นพนักงาน


เคยมีเพื่อน ๆ โพสต์ในเฟส
ว่า  “ฉันอยากโพสต์อะไรก็จะโพสต์
บางคนก็ “สบถ อยู่เป็นประจำ
.. ใครรับไม่ได้ก็ให้ unfriend ไปซะ

แต่กรณีนี้ ผู้เป็นเจ้านายประกาศผ่านสื่อเลยว่า Layoff .. ไม่ใช้ unfriend อย่างที่คาดไว้

ความเคยชินกับการ post ที่ไม่แคร์ใคร
อาจเป็นผลเสีย อย่างกรณีนี้ก็ได้

.. แล้วเพื่อนท่านหนึ่ง post แสดงความเห็นว่า “มีผู้ด้อยโอกาสมากมาย ไม่มีโทรศัพท์ ไม่มีคอมพิวเตอร์ ต่างกับคนที่มีโอกาสบางคน ขาดกระบวนการในการยั้งคิด ว่าควรใช้สื่ออย่างไร

manager
manager

ทั้งกรณี ของผู้จัดการ และพนักงาน เป็นสถานการณ์และเหตุผลที่ต่างกันไป หยิบไปพูดถึงได้หลายวิชา

ภาพจากเฟส อ.เกียรติ
http://www.facebook.com/photo.php?fbid=577659912258407&set=a.111585805532489.13446.100000432096291