หลักคิดของทหารที่ไม่แตกทัพ

คำพระ ว่าด้วยเรื่องอริยสัจ 4
คำพระ ว่าด้วยเรื่องอริยสัจ 4

เคารพกติกา
ปกติการอยู่ในสังคม ก็ต้องดำเนินการไปตามกติกาที่มีในสังคมนั้น การศรัทธาในลำดับชั้นตามสายการบังคับบัญชา ทำให้การเคลื่อนทัพสามารถไปในทิศทางที่กำหนดได้อย่างถูกต้อง ถ้ามีทหารแตกแถวจำนวนมาก ทัพนั้นก็มีแนวโน้มไปไม่ถึงวิสัยทัศน์ที่กำหนด ดังนั้นความผิดของทหารแตกแถว หรือบุคลากรในองค์กรที่ไม่เคารพกติกาของกลุ่ม จึงมีความผิดร้ายแรงเสมอ

ไม่เป็นทหารแตกทัพ
มีอยู่วันหนึ่ง คือ 4 กรกฎาคม 2555 ไปประชุมกับเพื่อนในเวทีต่างวัฒนธรรม มีท่านหนึ่งทักผมว่า ผมกล้าคิด negative ซึ่งการคิดแบบนั้น สำหรับผมแล้ว ถือเป็นเรื่องปกติ เพราะในใจผมจะเริ่มต้นด้วยคำถามจากทุกมุม คงเพราะเคยมีพระสอนเรื่องอริยสัจ 4 ที่เริ่มต้นด้วยคำว่าทุกข์คืออะไร เมื่ออยู่ในกลุ่มเพื่อนก็ต้องมองหากาละเทศะก่อนเอ่ยคำใด แต่ถ้าพูดแล้วรู้สึกว่าตนเองเป็นทหารแตกทัพก็ต้องเปลี่ยนมุมใหม่ เพราะความคิดของเราอาจไม่ถูกเสมอไป แต่สิ่งที่ทำให้ทัพเป็นทัพอยู่ได้คือความสามัคคี ผมมีศรัทธาอยู่อย่างหนึ่งว่าความสามัคคีคือพลังและอาจนำไปสู่การบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ ดังนั้นความคิดของเราจึงไม่จำเป็นต้องถูกเสมอไป เปลี่ยนตนเองไปตามกลุ่มซะ ทุกอย่างก็เรียบร้อย เพราะจุดยืนของตนคงไม่สำคัญเท่าของกลุ่ม

ปากไม่ตรงกับใจ
มีเพื่อนทักผมว่าปากไม่ตรงกับใจ เพราะท่านถามว่า “มีรถราคาดีคัน 10 ล้าน มาวางขายผมจะซื้อไหม ผมก็ตอบไปว่าซื้อแน่ เพราะคุ้ม” ที่ผมตอบว่าซื้อก็เพราะคนตั้งเขามีเหตุผลของเขา และเปลี่ยนไม่ได้ ผมว่ามนุษย์ที่มีการศึกษามาระดับหนึ่งแล้ว จะคิดก่อนพูด ตอนนั้นผมก็คิดว่าจะขัดไปทำไม ขัดไปก็คงไม่ลดราคาลง ทำให้หลายครั้งพูดแบบไม่ตรงกับความคิด ตัวอย่างเช่น มีผู้หญิงโปะแป้งมาซะขาว กระโปรงสั้นจู๋ สวมเสื้อเกาะอก เดินมา แล้วถามผมว่าสวยไหม ผมก็ต้องตอบไปว่า “สวย” อันที่จริงไม่ได้คิดอย่างนั้น เพราะการแต่งตัวแบบนั้น เลยเกณฑ์คำว่าสวยไปหลายขุมแล้ว แต่เพื่อให้เกียรติคนถาม ก็ต้องตอบไปตามที่ผู้ถามคาดหวัง

สำนวณ “ได้ครับพี่ – ดีครับนาย – สบายครับผม – เหมาะสมครับท่าน”
http://www.dhiravegin.com/detail.php?item_id=000091

มุมที่แตกต่างจากบทความเรื่อง
‘ประสาร’เขียนจ.ม.ถึง’อ.ป๋วย’เปิดเบื้องหลังโอนหนี้กองทุนฯ
http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/finance/finance/20120706/460351/news.html