ยุบศีลสงฆ์ 227 เหลือ 150 ข้อก็พอ

monkey king
monkey king

มหาเถรสมาคม จ่อสอบกรณี พระคึกฤทธิ์ เจ้าอาวาสวัดนาป่าพง
ยุบศีลสงฆ์ 227 เหลือ 150 ข้อก็พอ เมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2557
ฝ่ายพระคึกฤทธิ์ให้เหตุผล มีเฉพาะส่วนนี้ที่เป็นคำสอนแท้ ๆ ของพระพุทธเจ้า
ไม่นับส่วนคำสอนที่แต่งเติมใหม่
เคยมีแบบนี้มาแล้ว คือ กรณีของสำนักสันติอโศก
ซึ่งทางมหาเถรฯ ได้มีมติให้ตัดออกจากคณะสงฆ์ไทยไป

+ http://hilight.kapook.com/view/106711
+ http://www.komchadluek.net/detail/20140820/190522.html

พระธรรมคุณาภรณ์ (พิมพ์ ญาณวีโร) เจ้าอาวาสวัดปทุมคงคา ในฐานะรองคณะเจ้าภาค 7
กล่าวถึงกรณีคำสอนว่า พระพุทธเจ้าบัญญัติพระธรรมวินัยไว้ 227 ข้อ
ซึ่งหลังจากปรินิพพานแล้ว
ฝ่ายสาวกจะคงไว้ซึ่งของเดิมหรือทำการตัดแต่งก็ได้
แต่ในส่วนของเถรวาทนั้นได้ยึดตามเดิมทั้งหมดไม่มีการตัดออกไป
ซึ่งพระธรรมวินัยแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ
1. พุทธบัญญัติ ที่พระพุทธองค์ตั้งขึ้น 150 ข้อ
เพื่อป้องกันความประพฤติเสียหายและวางบทลงโทษแก่ภิกษุผู้ทำผิด
2. อภิสมาจาร เป็นขนบธรรมเนียมที่แต่งตั้งขึ้น 77 ข้อ
เพื่อเป็นแนวทางให้ภิกษุปฏิบัติตามเพื่อจริยวัตรที่ดีงาม
เมื่อรวมสองส่วนนี้เข้าด้วยกันจึงเรียกว่า พระธรรมวินัย
หากตัดส่วนไหนออกไปพระธรรมวินัยก็จะไม่สมบูรณ์
ฉะนั้นการตัดส่วนอภิสมาจารออกไปเหลือพุทธบัญญัติเพียง 150 ข้อ
จึงถือว่าไม่เหมาะสม ทำให้ปาฏิโมกข์ของสงฆ์
ซึ่งเป็นรากแก้วของพุทธศาสนาขาดความสมบูรณ์

ตามละครจีนเรื่องไซอิ๋ว มีเห้งเจีย หรือซึงหงอคง
เป็นศิษย์เอกของ พระถังซัมจั๋ง ร่วมกับตือโป้ยก่าย และซัวเจ๋ง
พากันเดินทางไปอัญเชิญพระไตรปิฏก ณ ชมพูทวีป
พระไตรปิฎกเป็นคัมภีร์ที่บันทึกคำสอนของพระโคตมพุทธเจ้า
ประกอบด้วย
1. พระวินัยปิฎก ว่าด้วยพระวินัยสิกขาบทต่าง ๆ ของภิกษุและภิกษุณี
2. พระสุตตันตปิฎก ว่าด้วยพระสูตรซึ่งเป็นพระธรรมเทศนาของพระโคตมพุทธเจ้าและพระอรหันตสาวก
3. พระอภิธรรมปิฎก ว่าด้วยพระอภิธรรมหรือปรมัตถธรรม ซึ่งเป็นธรรมะขั้นสูง

ปลาก็อยาก ช้างก็อยาก แมวน้ำก็อยาก .. แต่ครูต้องเลือก

education
education

เคยค้นดู .. มีผู้กล่าวว่าไม่มีหลักฐานว่า albert einstein เขียนประโยคที่ quite นี้จริง

ชวนคิดว่าในอีกมุมมองหนึ่งว่า
ผู้เข้ามาในเวที่นี้โปรดฟัง เป้าหมายของการสอบครั้งนี้
คือ เลือกสิ่งมีชีวิตที่จะไปทำงานเก็บแอปเปิ้ลในสวนอีเดน


ระบบการศึกษาของเรา
ไม่มีใครเป็นอัจฉริยะไปทุกเรื่อง
แต่ถ้าตัดสินว่าช้างจะดำน้ำ ทำงานเหมือนปลา
ช้างก็คงคิดว่าตนเองบกพร่องไปทั้งชีวิต
แต่ถ้าตัดสินว่าลิงลากซุง ทำงานในป่า
ลิงก็คงคิดว่ตนเองไม่มีเรื่ยวแรงทั้งชีวิต

สรุปว่า
หลังจากทุกชีวิตเรียนรู้ที่จะหายใจบนโลกแล้ว
ก็จะแยกย้ายกันไปอยู่ในเวทีที่เหมาะสมสำหรับตน

ลิงในห้องแคบ ลิงต่อโต๊ะ หรือ วัฒนธรรมของกลุ่มลิง

ลิงในห้องแคบ ลิงต่อโต๊ะ หรือ วัฒนธรรมของกลุ่มลิง
ลิงในห้องแคบ ลิงต่อโต๊ะ หรือ วัฒนธรรมของกลุ่มลิง

ในการทดลองครั้งหนึ่ง .. ผู้ทดลองเลิง 5 ตัวไว้ในห้องสี่เหลี่ยมที่มีกล้วยหอม 1 ใบ แขวนไว้ที่เพดานกลางห้อง วิธีเดียวที่จะไปถึงกล้วยหอม อันยั่วยวนใจนั้นได้ก็โดยการปีนบันไดที่ตั้งไว้กลางห้อง แต่เมื่อใดก็ตามที่ลิงตัวใดตัวหนึ่งเหยียบบันไดขั้นแรกก็จะมีท่อฉีดน้ำเย็นฉีดไปทั่วห้อง จนลิงทุกตัวหนาวสั่นแทบขาดใจ ซึ่งไม่มีลิงตัวใดอยากปีนบันไดอีก หรือแม้แต่จะคิดก็ยังไม่กล้า

หลังจากนั้น ผู้ทดลองก็ปิดท่อฉีดน้ำและเอาลิงตัวที่ 6 เข้าไปในห้องแทนลิงตัวหนึ่งที่หนาวสั่นจนทนไม่ไหว  วินาทีแรกที่มันเห็นกล้วยหอมมันก็รีบถลาเข้าหาบันได แต่ก็ถูกสกัดกั้นอย่างโหดร้ายบ้าเลือดจากลิงรุ่นพี่ทั้ง 4 ตัว จนลิงน้องใหม่ไม่กล้าเข้าไปใกล้บันไดอีกด้วยความงุนงงและประหลาดในยิ่งนัก .. จากนั้นผู้ทดลองก็ได้ทำเช่นเดิมคือเอาลิงตัวที่ 7 เข้าไปแทนลิงเก่าอีกตัวหนึ่ง และเหตุการณ์ก็เกิดขึ้นอีก เมื่อลิงน้องใหม่ล่าสุดถลาเข้าหาบันได ก็จะถูกรุมกัดอย่างเอาเป็นเอาตายจากรุ่นพี่ทุกตัวรวมทั้งลิงตัวที่ 6 ที่เพิ่งเข้าไปอยู่ใหม่ด้วย  แถมยังเกรี้ยวกราดมากกว่าตัวอื่น  ทั้งที่ตัวมันเองยังไม่รู้เหตุผล ว่าทำไมการปีนบันไดเป็นสิ่งต้องห้าม  และทำไมลิงชุดเก่าจึงต้องกลัวการขึ้นบันไดในขณะนั้น แต่มันก็ยินดีผสมโรงไปกับเขาด้วย
เหตุการณ์เช่นนี้จะเกิดขึ้นต่อไปอีกนานแสนนาน  จนแม้ลิงเก่าชุดแรกจะครบเกษียณอายุ และถูกทดแทนด้วยลิงชุดใหม่ทั้งหมดแล้ว แต่ลิงรุ่นหลังก็พร้อมใจกันปกป้องบันไดกายสิทธิ์กันอย่างเหนียวแน่น

นี่ คือ ที่มาของนโยบายหรือวัฒนธรรม (Corporate  Culture) ที่พนักงานยึดถือปฏิบัติกันอย่างเคร่งครัดและพร้อมที่จะปกป้องอย่างรุนแรง แม้จะไม่สามารถอธิบายเหตุผลหรือที่มาที่ไปของการประพฤติ (Norms) และการปฏิบัติ (Standard) ก็ตาม วัฒนธรรมเกิดจากคนและหน่วยงานภายในกิจการตั้งข้อสมมติ (Assumption) ทัศนคติ (Attitude) ค่านิยม  (Value)  และความคาดหวัง  (Expectation)  ที่แตกต่างกัน เมือคนเข้าไปทำงานในหน่วยงานใด ก็จะได้รับการปลูกฝังให้ยึดถือแนวปฏิบัติของหน่อยงาน เช่น นิสัย (Habit)  หลักปฏิบัติ  (Practices)  และวิธีการทำงาน (Style)  ที่เป็นลักษณะเฉพาะของหน่วยงาน เช่น  ฝ่ายบัญชีการเงิน  ฝ่ายขาย  ฝ่ายโรงงาน  เป็นต้น  ในที่สุดแล้วก็จะผสมผสานกันเป็นวัฒนธรรม  ที่มีรากฐานมาจากการปฏิบัติ ในอดีต  (Past Practices)  ประเพณี  (Tradition)  กฏระเบียบทั้งที่เป็นลายลักษณ์อักษรและไม่เป็นลายลักษณ์อักษร  (Rule)  และจารีตประเพณี  (Ritual) ซึ่งรากฐานบางเรื่องนั้นก็ยาวนานจนคนรุ่นหลังไม่สามารถ อธิบายที่มาได้

จึงขอฝากให้ทุกคน คิดถึงวัฒนธรรมที่สั่งสมกันมายาวนานนั้น บางสิ่งบางอย่างยังใช้ได้หรือไม่  อันไหนบ้างที่กีดขวางความมีประสิทธิภาพของกิจการและสมควรได้รับการแก้ไขปรับปรุงอย่างเร่งด่วนในยุคคิดใหม่ทำใหม่  มิฉะนั้นเราก็ไม่ต่างอะรกับ  “ลิงในห้องแคบ

นำเสนอบทความดีๆ โดย คุณดารณี มธุรพจน์วจนะ

http://www.mena2003.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=538695212