ลงทะเบียนออนไลน์ร่วมกิจกรรม (itinlife530)

สิทธิความเป็นส่วนตัว (privacy)
สิทธิความเป็นส่วนตัว (privacy)

ประชาชนในประเทศไทยสามารถเข้าถึงเทคโนโลยีได้มากกว่าร้อยละ 80 เช่น อินเทอร์เน็ต หรือโทรศัพท์ ยิ่งเข้าถึงมากก็ยิ่งมีปัญหามาก จนภาครัฐต้องออกกฎหมายหลายฉบับเพื่อกำหนดบทลงโทษผู้กระทำผิด เช่น พรบ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ เป็นต้น เทคโนโลยีอาจมีเพื่อการค้า บันเทิง  การศึกษา และการสื่อสาร การจัดกิจกรรมของหน่วยงานทั้งภาครัฐ เอกชนต่างก็หันมาใช้เว็บไซต์ เฟสบุ๊ค ทวิตเตอร์ ไอจี ยูทูป หรือไลน์ เพื่อสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้า เก็บข้อมูลจากผู้ใช้ บางท่านอาจมองข้อมูลที่มีปริมาณมากเป็นเสมือนเหมืองข้อมูล (Data mining) ดังที่อาจารย์อนุชิต เคยกล่าวว่า การศึกษาข้อมูลจากอดีตนั้น มีวัตถุประสงค์เพื่อทำนายรูปแบบในอนาคต

มีกิจกรรมมากมายทั้งระดับองค์กร จังหวัด หรือประเทศที่เปิดให้บุคคลลงทะเบียนออนไลน์ มีการสอบถามข้อมูลทั้งเลขที่บัตรประชาชน ชื่อ สกุล ที่อยู่ วันเดือนปีเกิด อายุ เบอร์โทรศัพท์ อีเมล หรือขนาดเสื้อ เพื่อนำข้อมูลไปใช้งานตามวัตถุประสงค์ เช่น ใช้จำกัดจำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรม ใช้เตรียมของสมนาคุณ ใช้เลือกผู้ที่มีคุณสมบัติเหมาะสม ใช้เพื่อให้ฝ่ายขายติดต่อไป หรือนำข้อมูลที่ได้ไปใช้ในธุรกิจที่เกี่ยวข้อง จนมีการร้องเรียนเรื่องสิทธิความเป็นส่วนตัว (Privacy) ประเด็นนี้เยาวชนไทยให้ความสำคัญกับการปกป้องความเป็นส่วนตัวของตนน้อย ดังที่ อ.ดร.อติชาต หาญชาญชัย ได้นำเสนอบทความเรื่อง Information Ethics and Behaviors of Upper Secondary Students Regarding the Use of Computers แล้วได้ผลการทดสอบสมมติฐานว่านักเรียนมัธยมปลายในลำปางให้ความสำคัญกับความเป็นส่วนตัวในการใช้คอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ตน้อยกว่าจริยธรรมสารสนเทศในด้านอื่น

ได้เห็นหน่วยงานบางแห่งจัดกิจกรรมสอบถามข้อมูลของผู้เข้ามาร่วมกิจกรรม ได้นำไปเปิดเผยในหลายลักษณะ ทั้งผ่านอินเทอร์เน็ต หรือพิมพ์ติดไว้ตามบอร์ดประชาสัมพันธ์ เชื่อได้ว่ามีเจตนาดี แต่พบว่าข้อมูลหลายรายการควรเป็นความลับที่ผู้เข้าร่วมกิจกรรมอาจไม่ประสงค์ที่จะเปิดเผย เพราะอาจถูกผู้ไม่หวังดีนำไปใช้ในทางมิชอบ หากไม่มีใครทักท้วงก็จะเกิดการทำซ้ำ เป็นความเคยชินให้เห็นต่อไป หากท่านตระหนักถึงปัญหา และเกี่ยวข้องในการเผยแพร่ก็เสนอให้พูดคุยกับผู้เกี่ยวข้องทำความเข้าใจ เพื่อจะได้หยุดการเผยแพร่ข้อมูลส่วนบุคคลของผู้อื่นในที่สาธารณะโดยไม่มีวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน เช่น วันเดือนปีเกิด เบอร์โทรศัพท์ หรืออีเมล สรุปว่าการเผยแพร่สามารถทำได้แต่ต้องมีการควบคุมด้วยความเข้าใจ เพราะสิทธิความเป็นส่วนตัวเป็นประเด็นจริยธรรมสารสนเทศหนึ่งที่ต้องให้ความสำคัญ

Continue reading “ลงทะเบียนออนไลน์ร่วมกิจกรรม (itinlife530)”

บริหารจัดการโดยไม่ใช้ข้อมูลจริง

โศกนาฏกรรมองค์กรหลงทิศ
โศกนาฏกรรมองค์กรหลงทิศ

จากละครฉากที่หนึ่ง บริหารจัดการโดยไม่ใช้ข้อมูลจริง p.21 – 26 ในหนังสือ โศกนาฏกรรมองค์กรหลงทิศ (Tragedy of Lost) เขียนหนังสือโดย สุธี ปิงสุทธิวงศ์ สุรีพันธุ์ เสนานุช และยิ่งศักดิ์ นันทิวรรณกุล (หนังสือเล่มนี้แฟนให้ผมอ่าน เพราะอาจารย์แนะนำมา)

ถอดบทเรียน ในฐานะผู้อ่านคนหนึ่ง

ปัญหา
มนุษย์ในเรื่อง .. พยายามนำเสนอผลงานของตนให้ [คุณณัฐวุฒิ อภิศัยกิติศักดิ์] ในฐานะประธานของที่ประชุมผู้บริหารได้ทราบ โดยเลือกเฉพาะผลสำเร็จที่ตนรับผิดชอบมานำเสนอ อาจมองข้าม หรือตั้งใจมองไม่เห็นข้อผิดพลาดที่เกิดจากหน่วยของตน ก็เพื่อให้ผู้บริหารได้ชื่นชมผลงาน และหวังจะได้รับความดีความชอบ แล้วก็เกิดเหตุการณ์ที่ว่า “เอาดีใส่ตัว เอาชั่วใส่คนอื่น” แล้ว .. [กิมหงส์] นำเสนอความจริง ว่ายอดไม่ได้ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้  แม้ข้อมูลสรุปผลจะกองอยู่บนโต๊ะของท่านประธาน แต่ .. [คุณณัฐวุฒิ อภิศัยกิติศักดิ์] ขาดศักยภาพข้อที่ 3 ที่คนไทยวัยทำงานส่วนใหญ่ขาดคือ Numerical เขาไม่เข้าใจตัวเลข ไม่รู้จักการอ่านตัวเลข แล้วนำมาใช้ตัดสินใจ จึงไม่รู้ว่าลูกน้องบอกความจริงไม่ครบ และที่สำคัญ เขาไม่เข้าใจปัญหา และเสนอทางแก้ปัญหาที่หลงทิศทาง

ข้อเสนอแนะ
ผมว่าที่สำคัญที่สุด .. ประธานมีปัญหานะครับ
ในหนังสือได้เสนอ ระบบการวัดผลขององค์กร
พบคำสำคัญคือ วิสัยทัศน์ และแผนกลยุทธ์ เป็นต้น

ปล. หากผมถอดบทเรียน 2 เรื่องคือ ปัญหา และข้อเสนอแนะได้ไม่ดีก็ขออภัยด้วย เพราะใช้เวลาอ่านไม่ถึง 2 ชั่วโมงสำหรับละคร 9 ฉาก และก็ถอดบทเรียนในฐานะปุถุชนทั่วไป ไม่ใช่นักวิชาการสายใด จึงไม่ได้นำ theory มาจับประเด็นครับ

http://www.thaiall.com/blog/burin/4063/
http://thaitrainingnetwork.com/speakers.html