ชี้ชีวิต เข็มทิศการศึกษา

เข็มทิศการศึกษา
เข็มทิศการศึกษา

มหาวิทยาลัยเนชั่น จังหวัดลำปาง
ขอเชิญ นักเรียน นักศึกษา และสื่อมวลชน ทุกแขนง
ร่วมงาน Open House “ชี้ชีวิต เข็มทิศการศึกษา”
โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พงษ์อินทร์ รักอริยะธรรม อธิการบดี มหาวิทยาลัยเนชั่น จังหวัดลำปาง และ
คุณวิบูลย์ ทานุชิต รองผู้อำนวยการ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 35 (สพม.35)
วันที่ 16 มีนาคม 2555 เวลา 13.00 -16.30 น.
ณ ห้องประชุมใหญ่ ชั้น 2 อาคารคณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์
มหาวิทยาลัยเนชั่น จังหวัดลำปาง

ประเด็นเรื่อง “เข็มทิศ Compass” น่าสนใจมากครับ
เคยฟังการบรรยายธรรมเรื่อง “เข็มทิศชีวิต” ของคุณฐิตินาถ ณ พัทลุง
ครั้งนี้จะไปฟังนักการศึกษาพูดเรื่อง “เข็มทิศการศึกษา”
เพราะเชื่อว่าการศึกษา ช่วยให้โลกเราพัฒนาอย่างที่เป็นอยู่ทุกวันนี้
และจะพัฒนาต่อไปอย่างไม่หยุดยั้ง


ประโยคหนึ่ง “เบี่ยงเบนจากเป้าหมายหลักของตัวเองไปได้ไกลขนาดนั้น”

http://www.facebook.com/CompassNLPworld

http://it.nation.ac.th/webboard/viewtopic.php?f=54&t=2249

แก้วน้ำแห่งความสุข

แก้วน้ำแห่งความสุข
แก้วน้ำแห่งความสุข

ลูกสาว ม.1 นำบทความในกระดาษมาให้อ่าน
เพราะครูให้สรุปมาสั้น ๆ ว่า เขาพูดถึงอะไร
ผมก็ให้ลูกอ่านให้ฟัง แล้วก็ชอบครับ
.. เห็นความคิดของมนุษย์อีกแบบหนึ่ง

จึงนำเนื้อหามาแบ่งปันต่อครับ
ถ้ามีโอกาสก็จะไปหาหนังสือ ความหวัง ไม่เห็น ไม่ใช่ ไม่มี มาอ่านสักหน่อย

จิตร์ ตัณฑเสถียร มือเก๋าของแวดวงโฆษณาพูดเรื่อง “การยึดมั่นถือมั่น

เขายกตัวอย่างเรื่อง “แก้ว”
แก้วที่ว่างเปล่านั้น  เมื่อใส่น้ำ มันก็เป็น “แก้วน้ำ”
แต่ถ้าเราเอาดอกไม้ปักลงไป มันก็จะเป็น “แจกัน”
และถ้าแก้วใบนั้นใหญ่หน่อย เราเติมน้ำและใส่ “ปลา” ลงไป
“แก้วน้ำ” ก็จะกลายเป็น “ตู้ปลา”
และหากเราคว่ำ “แก้วน้ำ” เอาดินสอขีดรอบแก้ว
“แก้วน้ำ” จะกลายเป็น “วงเวียน”

“จิตร์” บอกว่าคนเราอย่ายึดมั่นถือมั่น
อย่าคิดว่า “แก้วน้ำ” ต้องเป็น “แก้วน้ำ” ตลอดไป
ครับ ทุกสรรพสิ่งในโลกนี้ไม่ได้หยุดนิ่ง
มันแปรเปลี่ยนตาม “ตัวแปร” ต่างๆ
เรานำไปใช้งานอย่างไร มันก็เป็นเช่นนั้น

“ชีวิต” ก็เช่นกัน
เหมือนนักเรียนที่เชื่อว่าการสอบเข้ามหาวิทยาลัยคือทั้งหมดของชีวิต
ถ้าสอบไม่ติดก็เสียใจ และรู้สึกว่าชีวิตสิ้นหวัง
หรือถ้าสอบเข้าคณะที่คนคิดว่า “ดี” ก็จะคิดว่าชีวิตนับต่อจากนี้ต้องรุ่งเรืองอย่างแน่นอน

สมัยก่อน “ด่าน” วัดความสำเร็จของชีวิตจะอยู่ที่การสอบเข้ามหาวิทยาลัย
แต่ปัจจุบันนี้ผู้ปกครองเพิ่ม “ด่าน” มากขึ้น
เริ่มต้นจากระดับ “โรงเรียน”
ถ้าเข้าโรงเรียนนี้ได้ต้องประสบความสำเร็จอย่างแน่นอน
จากนั้นก็ขยับเป็นทอดๆ จนถึง “มหาวิทยาลัย”
ใช้ “โรงเรียน” หรือ “มหาวิทยาลัย” เป็นดัชนีวัดความสำเร็จ
คิดแบบ “หยุดนิ่ง” ว่าเมื่อเข้าคณะดีๆ มหาวิทยาลัยดังๆไปแล้ว
ชีวิตก็ต้อง “ดี” แบบนี้ตลอดไป
เป็น “แก้วน้ำ” ก็เป็น “แก้วน้ำ” ตลอดไป

นั่นคือเหตุผลที่เด็กวันนี้ต้องใช้เวลากับการ “เรียนพิเศษ” มากกว่าในห้องเรียนปกติ
ไม่มีเวลาเล่นกับชีวิตเลย
ผมไม่เคย “เรียนพิเศษ”
ดังนั้น ทุกครั้งที่เห็นเด็กเรียนพิเศษแบบหามรุ่งหามค่ำ ผมจะรู้สึกสงสารและเสียดาย
“สงสาร” เด็กที่ต้องเรียนหนัก
“เสียดาย” โอกาสสำหรับความสุขนอกห้องเรียนในวัยเด็ก

ขออนุญาตเล่าชีวิตวัยเด็กของผมให้เด็กรุ่นใหม่อิจฉาสักหน่อย
ตอนเรียนอยู่ที่เมืองจันท์ ผมใช้ชีวิตอยู่กับโรงเรียนเบญจมราชูทิศ ๑๐-๑๒ ชั่วโมงต่อวัน
ค่าเทอมที่พ่อแม่จ่ายไปคุ้มค่าจริงๆ
ไปเรียนตอนเช้า เรียนเสร็จเดินกลับบ้าน
เปลี่ยนชุดเสร็จก็วิ่งกลับไปโรงเรียนอีก
ไม่ได้ไป “เรียน” แต่ไป “เล่น” ครับ

ตอนเช้าใช้ห้องเรียนของโรงเรียน แต่ตอนเย็นใช้สนามกีฬา
ถ้าไม่เล่นวอลเลย์บอล ก็เล่นฟุตบอล
ใช้แสงอาทิตย์เป็น “นาฬิกาปลุก”
หมดแสงเมื่อไรก็หมดแรงเมื่อนั้น

ส่วนวันเสาร์-อาทิตย์ ถ้าไม่ไปสวนกับ “ป๋า” หรือ “แม่” ก็จะแวะไปบ้านเพื่อน
ฮาเฮกันตลอด
ปิดเทอมก็เล่นฟุตบอล วอลเลย์บอล เข้าสวน ไปห้องสมุดประชาชน หรือหานิยายอ่าน หรือไม่ก็ไปบ้านเพื่อน
ไม่เคยเรียนพิเศษเลย
จนช่วงหนึ่งที่บ้านมีปัญหาทางการเงิน แม่ต้องเปิดแผง ขายสาคูไส้หมูและขนมใส่ไส้หารายได้เพิ่ม
ช่วงนั้นจึงเริ่มทำตัวมีประโยชน์
ช่วยทำขนมและเปลี่ยนผลัดกับแม่ไปนั่งขายที่หน้าแผงตอนค่ำ
แต่ก็ยังเล่นกีฬาตลอด
จนอีก ๑ ปีก่อนเอ็นทรานซ์ ชีวิตผมจึงเปลี่ยนไป
ลุยอ่านหนังสือเต็มที่ก่อนสอบ

ครับ ในขณะที่เด็กวันนี้ใช้เวลาเรียนพิเศษตั้งแต่ระดับประถมจนถึงชั้น ม.๖
ไม่ต่ำกว่า ๑๐ ปี
แต่ผมใช้เวลาลุยอ่านหนังสือเพื่อสอบเข้ามหาวิทยาลัยแค่ปีเดียว
ที่เหลือ “เล่น”
น่าอิจฉาไหมครับ
ผู้ใหญ่ส่วนใหญ่มัก “ยึดมั่นถือมั่น” ว่า “โรงเรียน” หรือ“มหาวิทยาลัย” เป็น “ด่าน” วัดความสำเร็จ
ลืมไปว่าชีวิตไม่ใช่ “เกมโชว์”
ผ่านด่านนี้ไปก็ชนะในเกมเลย
ชอบคิดแบบ “หยุดนิ่ง”
เช่นเดียวกับ “เกรด” ในใบปริญญา
นิสิตนักศึกษาจำนวนมากไม่รู้ว่าตัวเลขของ “เกรด” มีค่าเพียงแค่ใช้ในการสมัครงาน
พ้นจากวันนั้น “เกรด” ก็เป็นแค่ “ตัวเลข” ในใบปริญญา
ไม่มีใครสนใจ
เพราะเมื่อเริ่มทำงานจริง คุณค่าของเราจะอยู่ที่การทำงาน
ใครทำงานเก่งกว่ากัน
ใครทำงานกับคนได้ดีกว่ากัน ฯลฯ
หัวหน้างานไม่สนใจแล้วว่าใครเรียนจบมาด้วยเกรดเท่าไร

ที่สำคัญ  ชีวิตของเราไม่ใช่ “เส้นตรง”
แต่เป็น “ทางแยก” ที่ต้องเลือกเสมอ
ดุลพินิจในการใช้ชีวิตจึงเป็นเรื่องสำคัญ
เพราะ “ชีวิต” ก็เหมือน “แก้วน้ำ” ครับ
มันแปรเปลี่ยนไปเสมอ ไม่เคยหยุดนิ่ง

“แก้วน้ำ” จะเป็นอะไร
ขึ้นอยู่กับ “การใช้งาน”
“ชีวิต” ก็เช่นกัน
จะเป็นอะไร
ก็ขึ้นอยู่กับ “การใช้ชีวิต”
ที่สำคัญ ต้องอย่าลืมว่าทุกช่วงเวลาของชีวิตมีค่าเท่าเทียมกัน

ถ้าคนเรามีอายุ ๗๐ ปี
๑๐ ปี ก็คือ ๑ ใน ๗ ของชีวิต
๑๐ ปีในวัยเด็กก็มีค่าเท่ากับ ๑๐ ปีในวัยหนุ่มสาว
หรือ ๑๐ ปีในช่วงท้ายของชีวิต
ไม่มีช่วงเวลาใดมีค่ามากกว่ากัน
ดังนั้น ใครสะสมห้วงเวลาแห่งความสุขได้มากกว่ากัน
คนนั้นถือว่า “โชคดี”
เวลาของ “ความสุข” ที่แท้จริงจึงไม่ใช่ “วันพรุ่งนี้”
แต่เป็น “วันนี้”

http://www.se-ed.com/eShop/Products/Detail.aspx?CategoryId=0&No=9789740208495
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1321953970

สทศ. รับ o-net ถามแรงเรื่องเพศ พร้อมนำข้อวิจารณ์ไปปรับปรุง


onet เวลาผ่านไป อะไรอะไรก็กระจ่างขึ้น
onet เวลาผ่านไป อะไรอะไรก็กระจ่างขึ้น

http://www.scholarshipinter.com/2011/content.php?id=1360

http://news.mthai.com/hot-news/154847.html

1. ผมว่า .. ฐานคิดของคนเราแตกต่างกัน
เมื่อใดก็ตามที่คิด แล้วนำความคิดมาเปรียบเทียบ ก็มักจะเห็นความแตกต่าง
อย่างเช่น ข้อสอบโอเน็ต
ถ้าใช้ฐานคิดของนักเรียนหญิงก็คงตอบไปทาง
ถ้าใช้ฐานคิดของผู้ปกครองที่ทุกเรื่องต้องปรึกษาตนก็คงตอบไปทาง
ถ้าใช้ฐานคิดของวัยรุ่นที่เอนตามโจทย์ก็คงไปอีกทาง
ถ้าใช้ฐานคิดของวิชาสุขศึกษา ก็น่าจะตอบตรงตามที่ผู้ออกข้อสอบคิด

2. เรื่องฐานคิดที่แตกต่าง มีตัวอย่างเกี่ยวกับแนวคิดการรับสมัครนักเรียน
โดยงานรับนักเรียนของโรงเรียนในหมู่บ้าน ว่าเหตุที่นักเรียน .. เลือกเรียนเพราะอะไร
1. คุณครูสอนดี ดังนั้นหน้าที่ทำให้มีนักเรียนเพิ่ม คือ สอนในชั้นเรียนให้ดี เป็นหลัก
2. นักเรียนที่นี่เก่ง ดังนั้นต้องติว สอนพิเศษ ให้ทำข้อสอบเยอะ ส่งแข่งขัน เป็นหลัก
3. ค่าเล่าเรียนถูก หรือมีทุนการศึกษา งั้นก็ลดค่าเล่าเรียน เป็นหลัก
4. ครูรู้จักผู้ปกครอง ดังนั้นก็สนับสนุนให้ครูออกพื้นที่ ตามบ้าน สอนน้อยลง เป็นหลัก
5. ครูรู้จักเยาวชน ดังนั้นก็สนับสนุนให้ครูไปคลุกคลีกับเด็กในหมู่บ้าน
คลุกคลีกับเด็นในชั้นเรียนให้น้อยลง เป็นหลัก
6. โรงเรียนสวย ดังนั้นทุ่มทุนสร้าง เป็นหลัก
7. ใกล้บ้าน ไม่ต้องทำอะไร เสือนอนกิน
8. ครูใหญ่เล่นการเมือง ก็ต้องให้ครูใหญ่ออกสื่อบ่อย ๆ เป็นหลัก
9. ใช้ดีจึงบอกเพื่อน อันนี้ต้องมานั่งคุยกันว่า 5w คืออะไร
อันที่จริงทุกเหตุ มีผล ตรงตามสิ่งที่เกิดขึ้น
ถ้าทวนคำถามอีกครั้งว่า “กิจกรรมใดมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจของนักเรียนมากที่สุด
ซึ่งคำตอบย่อมมีอยู่เป็นที่ประจักษ์ .. ???
แต่ถ้าคิดตามฐานคิดของบทบาทที่เป็น
คำตอบก็อาจไม่ถูกต้องเสมอไป เรียกว่าคำตอบขึ้นกับคนตอบนั่นหละครับ

3. ประเด็นข่าว
ได้จาก http://www.khaosod.co.th/view_newsonline.php?newsid=TVRNek1EQXdNak00TUE9PQ==

จากกรณี สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ “สทศ.” จัดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน หรือ “โอเน็ต” ช่วงชั้นที่ 4 หรือระดับมัธยมศึกษาปีที่ 6 ประจำปีการศึกษา 2554 ระหว่างวันที่ 18-19 ก.พ. ที่ผ่านมา และภายหลังการสอบปรากฏว่ามีกลุ่มนักเรียน ม.6 เข้าไปโพสต์กระทู้ตามเว็บไซต์ชื่อดัง อาทิ เด็กดี และเอ็มไทย ดอต คอม วิพากษ์วิจารณ์ตั้งคำถามถึงวิธีออกข้อสอบวิชาสุขศึกษาดังกล่าว เพราะโจทย์และคำตอบค่อนข้างกำกวม ตัดสินใจยากว่าข้อใดถูกข้อใดผิด ตลอดจนโจทย์บางข้ออ่านแล้วเนื้อหาไม่เหมาะสม
โดยคำถามที่ กลุ่มนักเรียนชี้ว่า ไร้หลักการวิชาการและไม่เหมาะสมอย่างยิ่ง เช่น “หากเกิดอารมณ์ทางเพศขึ้นมาต้องทำอย่างไร” ตอบ ก.ชวนเพื่อนไปเตะบอล ข.ปรึกษาครอบครัว ค.พยายามนอนให้หลับ ง.ไปเที่ยวกับเพื่อนต่างเพศ จ.ชวนเพื่อนสนิทไปดูหนัง หรือ “เป็นแฟนกันต้องแสดงออกยังไงให้ถูกประเพณีไทย” ตอบ ก.เดินโอบไหล่ซื้อของ ข.ชวนไปทานข้าวดูหนัง ค.นอนหนุนตักในที่สาธารณะ ง.ชวนกันไปทะเลค้างคืน จ.ป้อนข้าวกันในร้านอาหาร และ “อาการลักเพศจะมีพฤติกรรมแสดงออกมาอย่างไร” ก.สะสมชั้นในเพศตรงข้าม ข.แต่งกายเลียนแบบเพศตรงข้าม ค.รักกับเพศเดียวกัน ง.โชว์อวัยวะเพศ จ.แอบดูเพื่อนต่างเพศในห้องน้ำ ตามที่ “ข่าวสด” เสนอมาตามลำดับนั้น
ล่าสุด นายสมหวัง พิธิยานุวัฒน์ ประธานคณะกรรมการบริหาร สทศ. และนายสัมพันธ์ พันธุ์พฤกษ์ ผอ.สทศ. ก็ได้ร่วมกันแถลงข่าวชี้แจงข้อกังขากระหึ่มเน็ตวัยโจ๋ว่า ได้เรียกผู้ออกข้อสอบวิชาสุขศึกษา มาชี้แจงแล้ว พบว่า
เนื้อหาข้อสอบเป็นไปตามหลักสูตรที่เคยประกาศลงเว็บไซ ต์ สทศ. ตั้งแต่ก่อนจัดสอบ เนื้อหาเป็นการวัดความจำเนื้อหาที่อยู่ในตำรา
“คนอาจมองว่าข้อสอบไม่เหมาะสม ซึ่งสทศ.ก็ยอมรับว่าข้อความที่ไปเขียนเป็นโจทย์อาจรุนแรงเกินไป แต่ไม่ได้มีเจตนาอย่างนั้น เบื้องต้นจึงให้เจ้าหน้าที่รวบรวมความเห็นของเด็กในเว็บไซต์ต่างๆ เพื่อนำไปวิเคราะห์ปรับรูปแบบการออกข้อสอบในปีหน้า ขอชี้แจงว่าข้อสอบโอเน็ตที่ถูกนำโพสต์ไว้ที่เว็บไซต์ มีเนื้อหาไม่ถูกต้องสมบูรณ์ทั้งหมด..
“อย่างโจทย์ข้างต้น จริงๆ แล้ว สทศ.ถามว่า ′ในค่านิยมที่ดีจะปฏิบัติตนอย่างไรหากเกิดอารมณ์ทางเพศ′ ซึ่งก็อยู่ในหลักสูตรวิชาสุขศึกษา สาระที่ 2 เรื่องชีวิตและครอบครัว ในมาตรฐานเรื่องค่านิยมที่ดีเรื่องเพศ และเข้าใจธรรมชาติของการเกิดอารมณ์ทางเพศ โดยใจความเนื้อหาได้เขียนวิธีแก้ไว้ว่า ให้แสดงการปลดปล่อยอารมณ์ด้วยการออกกำลังกายและเล่นกีฬา ฉะนั้นคำตอบที่ถูกจะเป็นข้อ ก.ชวนเพื่อนไปเตะบอล ซึ่งเป็นการให้เด็กได้คิดวิเคราะห์แทนการท่องจำตรงตามวัตถุประสงค์ของ สทศ.” ผอ. สทศ.กล่าว
อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาจากคำตอบของ ผอ.สทศ. แล้วก็ยังถือว่า “ไม่เคลียร์ไ อยู่นั่นเอง เนื่องจากถ้าฟันธงว่า คำตอบที่ถูกต้อง คือ “ก.ชวนเพื่อนไปเตะบอล” ก็มีข้อโต้แย้งจากน.ส.เพชรไพริน ทองพหุสัจจะ นักเรียนชั้นม.6 โรงเรียนสตรีวิทยา ผู้ทำข้อสอบมาหมาดๆ ที่ให้สัมภาษณ์ “ข่าวสด” เอาไว้ว่า
“ข้อสอบโอเน็ตในส่วนของคำถามนั้นไม่ยาก แต่ตัวเลือกคำตอบทั้ง 5 ข้อกำกวมมาก เช่นถามว่าเมื่อเกิดอารมณ์ทางเพศขึ้นมาต้องทำอย่างไร ตัวเลือกคำตอบ ได้แก่ ชวนเพื่อนไปเตะบอล ปรึกษาครอบครัว พยายามนอนให้หลับ ไปเที่ยวกับเพื่อนต่างเพศ หรือชวนเพื่อนสนิทไปดูหนัง ซึ่งตอบไปว่าพยายามนอนให้หลับ เนื่องจากเป็นผู้หญิงคงไม่ตอบข้อที่ชวนเพื่อนไปเตะบอล และไม่รู้ว่าตัวเลือกใดเป็นคำตอบที่ถูกต้อง เพราะนักเรียนหญิงและชายอาจตอบไม่เหมือนกัน จึงไม่แน่ใจว่าผู้ออกข้อสอบต้องการวัดอะไรในตัวเด็กกันแน่ แต่ที่แน่ๆ คือข้อสอบสักษณะนี้ทำให้ผู้สอบงงและสับสนมาก”
ก็ได้แต่หวังว่า เมื่อมีบทเรียนหลายครั้งหลายครา สอบ “โอเน็ต” ครั้งหน้าคงไม่มีคำถามพิสดารพันลึก โผล่ออกมาให้เยาวชนคนรุ่นใหม่ต้องร้อง “จ๊ากส์” กันอีกรอบ!

ยุคตกต่ำของอาจารย์มหาวิทยาลัย

สุรศักดิ์ อมรรัตนศักดิ์
สุรศักดิ์ อมรรัตนศักดิ์

โดย สุรศักดิ์ อมรรัตนศักดิ์

ไม่มียุคใดอีกแล้วที่อาจารย์มหาวิทยาลัยจะมีสถานภาพตกต่ำเช่นนี้ ท่านทราบหรือไม่ว่าปัจจุบันอาจารย์มหาวิทยาลัยได้รับเงินเดือนเฉลี่ยต่ำกว่า ครูประถม มัธยมที่เคยมีเงินเดือนเท่ากันประมาณ 8%
สืบเนื่องมาจากที่สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน(ก.พ.) ได้ปรับระบบบริหารงานบุคคลจากระบบจำแนกตำแหน่ง(Position classification) หรือเรียกกันง่ายๆ ว่าระบบซี ซึ่งแบ่งเป็น 11 ระดับ มาเป็นการจัดประเภทตำแหน่งตามกลุ่มลักษณะงานหรือเรียกว่าระบบแท่ง ซึ่งแบ่งเป็น 4 แท่ง
ทุกหน่วยราชการ ซึ่งรวมทั้งคณะกรรมการข้าราชการครู (ก.ค.)ต่างก็ดำเนินการปรับระบบให้สอดคล้องกับระบบใหม่ที่ ก.พ.กำหนด
ขึ้น โดย ก.ค.ได้จัดทำแท่งบัญชีเงินเดือนข้าราชการครูคู่ขนานไปกับแท่งเงินเดือนข้า ราชการพลเรือน (ก.พ.)
แต่สำนักงานและคณะกรรมการการอุดมศึกษา (ส.ก.อ.) หน่วยงานที่กำกับดูแลสถาบันอุดมศึกษาของประเทศ ซึ่งควรจะเป็นผู้นำในการปรับระบบให้สอดคล้องกับระบบที่ ก.พ.กำหนด กลับไม่ยอมดำเนินการใดๆ ปล่อยให้เวลาล่วงเลยไปเป็นปี จึงเพิ่งตื่น โดยการตั้ง ดร.วิจิตร ศรีสอ้านเป็นประธานอนุกรรมการศึกษาเรื่องนี้มีใครทราบบ้างไหมว่าปัจจุบัน อาจารย์มหาวิทยาลัยยังไม่มีแท่งบัญชีเงินเดือนเป็นของตัวเอง ส่วนอาจารย์มหาวิทยาลัยที่มีเงินเดือนตันในระบบซีได้ขยับขึ้นเงินเดือนในปี งบประมาณ 2544 นั้นเป็นเพราะไปอาศัยใบบุญของ ก.พ.โดยขออิงเงินเดือนของ ก.พ.ไปพลางๆ ก่อน
ข้าราชการพลเรือนได้ขยับเงินเดือนตามระบบแท่งไปล่วงหน้าเกือบ 2 ปีแล้ว แต่อาจารย์มหาวิทยาลัยเพิ่งจะได้รับอานิสงส์นี้เมื่อเดือนตุลาคม 2553
ในขณะที่ครูประถม มัธยม ซึ่งมีลักษณะงานคล้ายกับอาจารย์มหาวิทยาลัย ได้ปรับขึ้นเงินเดือนไปแล้ว 2 ครั้ง โดยครั้งแรกเมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2554 ได้ปรับขึ้นไป 8% และครั้งที่สองเมื่อวันที่ 1 เมษายน 2554 ปรับขึ้นพร้อมกับข้าราชการอื่นๆ อีก 5%
ปัจจุบันครูประถม มัธยมจึงมีเงินเดือนเฉลี่ยสูงกว่าอาจารย์มหาวิทยาลัยที่เคยมีเงินเดือนเท่า กันถึง 8%
หากอาจารย์มหาวิทยาลัยต้องการมีเงินเดือนเท่ากับครูประถมมัธยม เห็นทีคงจะต้องไปอาศัยใบบุญของ ก.ค.เหมือนกับที่เคยแอบอิงใบบุญของ ก.พ.มาแล้ว
อย่างนี้อาจารย์มหาวิทยาลัยไม่รู้สึกอายครูประถม มัธยม บ้างหรือ แทนที่สถาบันอุดมศึกษาซึ่งเต็มไปด้วยนักวิชาการควรจะต้องเป็นผู้นำของสังคม แต่กลับต้องคอยไปพึ่งใบบุญคนอื่นอยู่ตลอดเวลา
ไม่ทราบว่าผู้บริหารของ ส.ก.อ.ยังสุขสบายดีหรือ ท่านปล่อยให้เรื่องอย่างนี้เกิดขึ้นได้อย่างไร และหากยังปล่อยให้เป็นเช่นนี้โดยไม่มีการแก้ไข ต่อไปจะหาคนเก่งที่ไหนมาเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัย
หากคนเก่งไม่ยอมมาเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัยแล้ว ท่านลองหลับตานึกเอาเองก็แล้วกันว่าจะเกิดอะไรขึ้นกับคุณภาพของบัณฑิตใน อนาคตทั้งนี้ เพราะถ้าผู้สอนมีความรู้น้อยแล้วจะเอาความรู้จากที่ไหนมาสอนนักศึกษา เนื่องจากไม่มีใครสอนได้มากกว่าที่รู้ประเทศในแถบตะวันตก ไม่ว่าจะเป็นยุโรป หรืออเมริกาต่างก็ให้เงินเดือนอาจารย์มหาวิทยาสูงกว่าอาชีพอื่นๆ ทั้งนี้ ไม่ยกเว้นแม้กระทั่งอาจารย์มหาวิทยาลัยในประเทศเพื่อนบ้าน เช่น สิงคโปร์ และมาเลเซีย
ที่ผ่านมาอาจารย์มหาวิทยาลัยไม่เคยเรียกร้องใดๆ เลยโดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องเงินเดือน แต่อาจารย์มหาวิทยาลัยก็ไม่สมควรที่จะได้รับเงินเดือนน้อยกว่าครูประถม มัธยม
สถานภาพอาจารย์มหาวิทยาลัยหากเปรียบเทียบกับข้าราชการอื่น ไม่ว่าจะเป็นผู้พิพากษา อัยการ หรือพนักงานรัฐวิสาหกิจ ซึ่งเป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของรัฐบาล ยิ่งไม่อาจเปรียบเทียบกันได้เลย ทั้งนี้ เพราะเงินเดือนของอาจารย์มหาวิทยาลัยต่ำกว่าข้าราชการกลุ่มดังกล่าวชนิดมอง ไม่เห็นฝุ่น
มีใครทราบบ้างไหมว่าคนที่จบปริญญาเอกใหม่ๆ หากมาเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัยจะได้รับเงินเดือนเพียงหมื่นเศษๆ เงินเดือนพอๆ กับพนักงานขับรถของบริษัท แล้วอย่างนี้คนเก่งที่ไหนจะอยากมาเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัย
โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาจารย์มหาวิทยาลัยที่สอนในคณะนิสิตศาสตร์ซึ่งเรียนกฎหมาย มาเหมือนกับผู้พิพากษาและอัยการทำไมจึงได้รับเงินเดือนน้อยกว่าผู้พิพากษา และอัยการอย่างเทียบกันไม่ได้ คุณวุฒิของอาจารย์นิติศาสตร์ก็มิได้ด้อยไปกว่าผู้พิพากษาและอัยการเลยแม้แต่ น้อย
อาจารย์นิติศาสตร์ในมหาวิทยาลัยส่วนใหญ่จบปริญญาโทปริญญาเอกทั้งสิ้น และยังเป็นอาจารย์ที่สอนผู้พิพากษาและอัยการแต่กลับได้รับเงินเดือนต่ำกว่า ลูกศิษย์ที่ตัวเองเคยสอนมาแล้ว อย่างนี้จะไม่ให้อาจารย์รู้สึกน้อยใจได้อย่างไร
เช่นเดียวกัน อาจารย์แพทย์ และอาจารย์วิศวะ ซึ่งเป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่าเรียนยากกว่าสาขาอื่นๆ แต่อาจารย์แพทย์และวิศวะกลับได้รับเงินเดือนเท่ากับข้าราชการพลเรือนทั่วไป ซึ่งมีเงินเดือนต่ำกว่าผู้พิพากษาและอัยการ
ท่านทราบไหมว่าหากอาจารย์แพทย์และอาจารย์วิศวะไปทำงานในภาคเอกชนจะได้รับ เงินเดือนมากกว่าที่เป็นอาจารย์มหาวิทยาลัยไม่น้อยกว่าสามเท่า
แต่อาจารย์เหล่านี้กลับยอมเสียสละทำงานในมหาวิทยาลัย ยอมกัดก้อนเกลือกิน แต่ไม่เคยมีใครมองเห็นคุณงามความดีของอาจารย์มหาวิทยาลัยเหล่านี้เลย ปล่อยให้อาจารย์มหาวิทยาลัยมีเงินเดือนน้อยกว่าครูประถม มัธยมเหมือนเช่นทุกวันนี้
หรือจะต้องรอให้อาจารย์มหาวิทยาลัยลาออกไปขายกล้วยทอดกันให้เกือบหมด มหาวิทยาลัยเสียก่อน จึงจะมองเห็นความสำคัญของอาจารย์มหาวิทยาลัย
อนิจจาช่างน่าสงสารอาจารย์มหาวิทยาลัยเสียเหลือเกินที่อุตส่าห์เสียสละตัว เองมาเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัยโดยหวังว่าจะเห็นความก้าวหน้าในหน้าที่การงาน แต่ที่ไหนได้แม้กระทั่งตัวเงินเดือนก็ยังไม่อาจสู้ครูประถมได้
แล้วอย่างนี้จะให้อาจารย์มหาวิทยาลัยมีขวัญและกำลังใจในการทำงานต่อไปได้ อย่างไร อย่าปล่อยให้เรื่องเช่นนี้ดำรงอยู่อีกต่อไปเลย รีบแก้ไขโดยด่วนเถิดครับ

ที่มา: หนังสือพิมพ์มติชน

http://www.moe.go.th/moe/th/news/detail.php?NewsID=24757&Key=hotnews

http://www.etesting.ru.ac.th/boss&staff2.html

สรยุทธ สุทัศนะจินดา เล่าเรื่อง trueplookpanya.com

ปลูกปัญญาดอทคอม
ปลูกปัญญาดอทคอม

4 ต.ค.54 รายการเรื่องเล่าเช้านี้ ฟังคุณสรยุทธ เล่าเรื่องเว็บไซต์ ปลูกปัญหาดอทคอม สะกดตรงตัวคือ trueplookpanya.com พัฒนาโดย บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ซึ่งมีเนื้อหาสำหรับเยาวชนที่เข้าถึงได้ฟรี มีคลิ๊ปตัวอย่างดี ๆ มากมาย ลองเข้าไปท่องเว็บไซต์นี้แล้วก็ประทับใจ มีบริการ blog ด้วยครับ เป็นสหายร่วมอุดมการณ์กับ  gotoknow.org และ thaiteachers.tv ผมว่าเป็นแนวโน้มที่ดีที่องค์กรใหญ่ ๆ หันมาสนใจการศึกษาของเยาวชน .. ส่วนชื่อเว็บไซต์ก็ความหมายยอดเยี่ยมเลยครับ .. ผมช่วยเชียร์ด้วยครับ

ผมชอบแรงบันดาลใจของเว็บไซต์ครับ
ด้วยแรงบันดาลใจจาก คุณศุภชัย เจียรวนนท์ กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธาน คณะผู้บริหาร บมจ. ทรู คอร์ปอเรชั่นที่กล่าวไว้ว่า “การเข้าถึงสาระความรู้โดยผ่านสื่อต่างๆของคนไทยนั้น ยังนับว่าน้อยมากเมื่อเทียบกับประเทศเพื่อนบ้าน” จึงถือว่าการได้มีส่วนร่วมในการนำสื่อรูปแบบต่างๆ ของ ทรู มาช่วยสร้างสังคมการเรียนรู้ให้เกิดขึ้นในประเทศไทยเป็นพันธกิจที่สำคัญยิ่ง และเป็นความรับผิดชอบต่อสังคมของกลุ่มบริษัททรูที่จะต้องมีส่วนร่วมและเป็น กำลังสำคัญในการทำกิจกรรมเพื่อผลักดันให้คนไทยได้มีโอกาสเข้าถึงข้อมูลข่าว สาร สาระความรู้ เพื่อพัฒนาศักยภาพให้ทัดเทียมกัน ตลอดจนสามารถนำความรู้ที่ได้ไปพัฒนาให้เกิดประโยชน์ต่อตนเอง ชุมชน สิ่งแวดล้อม และประเทศชาติ
โดยในระยะแรกของการดำเนินโครงการปลูกปัญญา เราได้เล็งเห็นว่าสื่อสารสนเทศที่เป็นสื่อหนึ่งที่สำคัญและมีประสิทธิภาพใน การนำความรู้ที่สมบูรณ์พร้อมทั้งภาพและเสียง ช่วยบอกเล่าความรู้ใหม่ๆ และสร้างแรงบันดาลใจทางการศึกษาได้เป็นอย่างดีแก่เด็ก เยาวชน และคนไทยทั่วประเทศ รวมถึงสามารถเข้าถึงพื้นที่ห่างไกล ทุรกันดาร โดยผ่านระบบดาวเทียมแล้ว ยังช่วยพัฒนาการศึกษาอย่างต่อเนื่องด้วยการจัดทำเนื้อหาสาระการเรียนรู้ผ่าน สื่อในรูปแบบเว็บไซต์ที่สามารถให้ข่าวสารและข้อมูลต่างๆ ในรูปแบบมัลติมีเดีย พร้อมกับการค้นหาสิ่งที่เป็นประโยชน์ในการพัฒนาตนเองและสังคมได้อย่างกว้าง ขวาง
http://www.trueplookpanya.com/true/about_us.php

education ใน 40 ปีข้างหน้า

education in next 40 years
education in next 40 years

5 ส.ค.54 ในอนาคต คงไม่ได้เห็นกระดาษ ไวท์บอร์ด หรือปากกาในการเรียนการสอนเป็นหลัก แต่มุ่งการเรียนรู้ผ่านการมีส่วนร่วมในเครือข่ายสังคม และคอร์สแวร์ ที่เรียนรู้ได้จากทุกที่ทุกว่าผ่านการผสมผสานอุปกรณ์ทุกรูปแบบ

หนังสือแบบเก่าจะถูกแทนที่ด้วยอุปกรณ์พกพา เช่น tablet ที่เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตเข้าห้องเรียนเสมือน นักเรียนจะอ่านหนังสือออนไลน์ เรียนผ่านระบบอีเลินนิ่ง ที่สื่อต่าง ๆ จะใช้งานได้ผ่านโปรแกรมประยุกต์เมฆ (Cloud Application)

สื่อมัลติมีเดีย และกิจกรรมออนไลน์เป็นเครื่องมือสำหรับวันพรุ่งนี้ ข้อจำกัดในการเรียนรู้ของนักเรียนจะหายไป สามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารได้มากกว่าที่เคยเป็นมา เช่นการเรียนวิทยาศาสตร์ที่อยู่แต่ในหนังสือที่น่าเบื่อ ก็จะมาเป็นคอร์สแวร์ที่นักเรียนได้เห็นภาพ ได้มีส่วนร่วม ทดลองลงมือปฏิบัติ และทำซ้ำจนเข้าใจ ที่จะส่งผลให้เกิดความพึงพอใจในการเรียน และมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น

การเพิ่มเครื่องมือในการเรียนรู้ทั้ง smart board, classroom capture system ทำให้นักเรียนได้กลับมาทบทวน ครูสามารถสอนได้อย่างแม่นยำ จัดกิจกรรม เตรียมเนื้อหาได้ตามตามหลักสูตร และง่ายในการบันทึกกิจกรรมของนักเรียน เพื่อใช้ประเมินผลการเรียนรู้ และพัฒนาอย่างเหมาะสม

ครูและนักเรียนจะคุ้นเคยในการใช้อินเทอร์เน็ต และคอร์สแวร์เพิ่มขึ้น คาดว่าใช้อินเทอร์เน็ตเป็นห้องเรียนหลักในอนาคต การมีชั้นเรียนในคอร์สแวร์จะเข้าเมื่อใดก็ได้ เพราะไม่จำกัดเรื่องกรอบเวลา หรือสถานที่ เพื่อเรียนรู้ ทำงานที่มอบหมาย และส่งงานผ่านโปรแกรมประยุกต์เมฆได้

คอร์สแวร์มีแนวโน้มเป็นระบบเปิดที่สามารถเข้าถึงได้ หลักสูตรจะเป็นมาตรฐานที่เหมือนกัน สื่อการสอนที่ใช้ก็ใกล้เคียง ทำให้เรียนจากที่หนึ่ง ก็เหมือนกับอีกที่หนึ่ง หรือเรียนร่วมกันผ่านเมฆ (cloud) ต่อไปการเรียนจะไม่จำกัดในห้องกล่องที่โรงเรียน แต่เพื่อนยังคงเหมือนกัน ห้องเรียนจะเป็นห้องเรียนดิจิทอล ที่ไม่มีข้อจำกัดสำหรับนักเรียน ไม่ใช่แต่กระบวนการเรียนรู้ที่พัฒนาไป แต่จะเข้าถึงและขยายไปทุกประเทศมิใช่เฉพาะในไทย

มาตรฐานเครือข่ายสังคมถูกหวังว่าจะเป็นรูปแบบการเรียนรู้หลักสำหรับการเรียนออนไลน์ ทั้ง แชท เสวนา ถกเถียง มีส่วนร่วม การทำงานร่วมกัน และการแบ่งปัน โรงเรียนและมหาวิทยาลัยที่ตั้งอยู่ก็ยังอยู่ที่เดิม แต่จะฝังการพัฒนาเข้าไปและใช้เทคโนโลยีมาอำนวยความสะดวกในการเรียนรู้ ให้ทุกคนเข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้ตลอดเวลา

คอร์สแวร์ที่เหมาะสมจะถูกให้ความสำคัญสูงในกระบวนการจัดการเรียนการสอน ระบบ LMS จะขยายรูปแบบออกไป โครงสร้างการเรียนรู้จะเป็นเพียงส่วนหนึ่งของชุมชนการเรียนรู้ที่มีขนาดใหญ่ และเปิดให้เกิดการแบ่งปัน ทำงานร่วมกันในเครือข่ายสังคม

http://www.facebook.com/photo.php?fbid=10150256326543895&set=a.10150108586263895.287810.814248894