ลดค่าไฟ..

ไม่เชื่อก็ต้องเชื่อ การลดค่าไฟฟ้านั้นทำได้ง่ายแสนง่ายเพียงปรับพฤติกรรมเล็กๆ น้อยๆ ด้วย 7 ข้อคำนึงที่ต้องลงมือปฏิบัติ รับรองบิลเดือนหน้า ลด..ลด..ลด..และลด!!!

ปิดหน้าจอคอมฯ เมื่อไม่ใช้งาน ประหยัดไฟถึง ร้อยละ 60
อย่าเสียบปลั๊กหม้อหุงข้าวทิ้งไว้ เพราะระบบอุ่นจะทำงานจะกินไฟมาก
ปิดทีวีเมื่อไม่ดู เพราะนอกจากสิ้นเปลืองส่งผลให้พังเร็วด้วย
ใช้เครื่องซักผ้า ต้องใส่ผ้าให้เต็มกำลัง จะมากจะน้อยก็เปลืองไฟเท่ากัน
ใช้บัลลาสต์ประหยัดไฟคู่กับหลอดผอมประหยัดอีกหลายตังค์
ปิดเครื่องปรับอากาศก่อนเวลาเลิกใช้งานเล็กน้อย
ปลูกต้นไม้คลายร้อน รู้มั้ย? ต้นไม้ใหญ่ 1 ต้น ให้ความเย็นเท่ากับแอร์ 1 เครื่อง (12,000 บีทียู)

ที่มา : กองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน

http://www.manager.co.th/Daily/ViewNews.aspx?NewsID=9560000039539

กฎการใช้ จอในครอบครัว

family 1960
family 1960

http://simple.wikipedia.org/wiki/Leave_It_to_Beaver

ยุคที่หน้าจอ ทั้งโทรทัศน์ ไอโฟน ไอแพด แท็บเล็ต ล้วนดึงดูดสายตาเราไปจากเรื่องรอบตัว แต่สำหรับความสัมพันธ์ในครอบครัว การสบตา พูดคุย สร้างความสัมพันธ์ ล้วนเป็นสิ่งที่สำคัญ คนในครอบครัวจึงควรควบคุมการใช้อุปกรณ์เทคโนโลยีเหล่านี้ให้เหมาะสม ซึ่งเรามีคำแนะนำดีๆ มาฝากกันเช่นเคย

1. พึงระวังทุกหน้าจอ

เป็นที่ทราบกันดีว่าจอโทรทัศน์ไม่ดีสำหรับสายตาและพัฒนาการของเด็ก แต่คุณพ่อคุณแม่จำนวนมากกลับปล่อยให้ลูกน้อยเล่นไอแพด ไอโฟน กันได้โดยไม่จำกัดเวลา แต่หน้าจอเหล่านี้ก็เป็นอันตรายต่อสายตาและพัฒนาการของลูกน้อยเช่นกัน หากเป็นไปได้จึงไม่ควรให้เด็กอายุต่ำกว่า 7 ขวบ ใช้หน้าจอเลย หรือหากจำเป็นก็ควรจำกัดเวลาและจำนวนชั่วโมงที่จะให้เด็กๆ เล่นกับอุปกรณ์เหล่านี้ได้

2. สบตากันให้มากขึ้น

คงคุ้นตากันดีกับภาพทุกคนบนโต๊ะอาหารต่างคนต่างจ้องหน้าจอ หรือคนที่คุยกันโดยตายังจ้องหน้าจออยู่ แต่เมื่ออยู่กับคนในครอบครัว เราควรหันมาสบตากัน เพราะบ่อยครั้งที่การสื่อสารทางกายและสายตา สำคัญกว่าปากมากนัก และสำหรับเด็กๆ แล้ว การที่คุณพ่อคุณแม่สบตา มีทีท่าใส่ใจยามที่เขาเล่าเรื่องต่างๆ ให้ฟัง หรือเล่นกับเขานั้น สำคัญมาก ถือเป็นการยอมรับในตัวเขาอย่างหนึ่งทีเดียว

3. กำหนดเวลาใช้อุปกรณ์อิเลกทรอนิกส์

เมื่ออุปกรณ์เหล่านี้คือความเคยชิน การกำหนดเวลาสำหรับการใช้ก็เป็นเทคนิคหนึ่งที่ช่วยจำกัดเวลาได้ดี อาจกำหนดเป็นเวลาหลังทำการบ้านเสร็จ เพื่อช่วยให้ลูกอยากทำการบ้าน และตัวคุณพ่อคุณแม่เองก็ควรจำกัดเวลาสำหรับตัวเองเช่นกัน เช่นหากลูกยังไม่หลับจะไม่แตะเครื่องมือเหล่านี้ เป็นต้น

4. พึงระวังเรื่องความเป็นส่วนตัว

หากเสพติดการใช้เฟซบุ๊ก ควรระมัดระวังที่จะจัดการกำหนดคนที่จะเข้ามาดูไทม์ไลน์ของเรา หรือเข้าถึงข้อมูลของเราได้ ยิ่งเมื่อคุณมักจะโพสรูปของคนในครอบครัว ก็ยิ่งควรระมัดระวังให้มากขึ้นเป็นพิเศษ อย่าลืมว่าโลกออนไลน์จะทำให้ข้อมูลส่วนตัวของคุณที่อาจไม่อยากให้คนไม่รู้จักได้รู้เห็นหลุดออกไปได้ ซึ่งนั่นหมายถึงข้อมูลและรูปของเจ้าตัวน้อยของคุณด้วย

5. ระวังข้อมูลที่ลูกได้รับ

แม้คุณพ่อคุณแม่จะระมัดระวังการรับข้อมูลข่าวสารของลูกน้อย แต่บางโอกาสก็ทำได้ยากยิ่ง เมื่อปล่อยให้ลูกดูโทรทัศน์ หรือใช้คอมพิวเตอร์ คุณพ่อคุณแม่จึงควรอยู่ด้วยทุกครั้ง เพื่อคอยอธิบายหากเห็นสิ่งที่ไม่เหมาะสม และควรเลือกสื่อที่ลูกรับให้เหมาะสม โดยเฉพาะโฆษณา และละครโทรทัศน์

6. จัดที่ทางสำหรับอุปกรณ์เทคโนโลยี

หากจัดที่ที่ใช้โทรทัศน์ และอุปกรณ์ไฮเทคต่างๆ ให้เป็นที่เป็นทาง และกำหนดไว้ว่าเมื่อออกจากบริเวณเหล่านี้จะไม่ใช้ ก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่ช่วยจำกัดเวลาและโอกาสที่ใช้ได้ดี เช่นในห้องนอนเป็นสถานที่ที่ปลอดอุปกรณ์ไฮเทค เป็นต้น

อ้างอิงบางส่วนจาก parenting.com

http://www.manager.co.th/Family/ViewNews.aspx?NewsID=9560000032394

เลี้ยงลูกอย่างไรไม่ให้เอาแต่ใจตัวเอง

6  เคล็ดลับเลี้ยงลูกไม่ให้เอาแต่ใจตัวเอง

ภาพประกอบจากอินเตอร์เนต
ภาพประกอบจากอินเตอร์เนต

1. จัดกฎเกณฑ์กับลูกให้เหมาะสมกับพัฒนาการและวัยของเด็ก

2. ตั้งกฎเรื่องความปลอดภัยให้แก่ลูก เช่น อย่าใช้นิ้วมือจับเตาไฟร้อนๆ ห้ามวิ่งเล่นที่ถนน ถือเป็นกฎเหล็ก เราจะไม่อะลุ้มอล่วยในเรื่องกฎเหล็กแห่งความปลอดภัย

3. เน้นเรื่องการสร้างพฤติกรรมทางสังคมเชิงบวก โดยให้ลูกพูดคำว่า ขอโทษ หรือขอบคุณอย่างสุภาพกับเพื่อนๆ และคนขอบข้าง

4.คุยกับลูกถึงพฤติกรรมที่เหมาะสมอย่างชัดเจน เด็กวัยเรียนหรือเด็กโตแล้วจะเริ่มมีสมาธิ ตัวอย่างเช่น เมื่อถามลูกว่าทำไมลูกทำอย่างนั้น ลูกอาจจะไม่สามารถตอบได้ แต่หากตั้งคำถามใหม่ว่าแม่สงสัยจังเลยว่าทำไมเกิดสิ่งนี้บ่อยจัง การตั้งคำถามปลายเปิดแบบนี้ทำให้เด็กเริ่มใช้เวลาคิด และคุณพ่อคุณแม่อาจแปลกใจกับคำตอบที่ได้รับ

5. สงบ เมื่อคุณพ่อคุณแม่เริ่มหงุดหงิดต่อพฤติกรรมของลูกจะทำให้เรารู้สึกไม่ดีและควบคุมตัวเองไม่ได้ (ตอนนี้คุณพ่อคุณแม่เริ่มมีอาการเหมือนเวลาลูกเอาแต่ใจตัวเองแล้วล่ะค่ะ) และสิ่งนั้นไม่ได้สอนอะไรให้แก่ลูกเลย

6. สม่ำเสมอ เมื่อพูดอะไรแล้วต้องทำตามที่พูด หากเรามีความคาดหวังพฤติกรรมอะไรให้ลูก เราต้องทำตามนั้นจริง ๆ คุณแม่จะไม่ให้ลูกเล่นของเล่นนี้อีกหากลูกไม่รักษาของ หากพูดบ่อยๆ เกิน 10 ครั้งแสดงว่าไม่ได้ผลแล้วนะคะ

สิ่งที่สำคัญที่สุด คือ ให้เราเริ่มสอนตั้งแต่ลูกอายุยังน้อย และทำอย่างสม่ำเสมอ เข้าใจความต้องการและรู้พัฒนาการของลูกอย่างละเอียดอ่อน โดยให้อยู่ภายในขอบเขตที่เหมาะสม ขอเป็นกำลังใจให้ทุกครอบครัวเสมอค่ะ

http://www.manager.co.th/Family/ViewNews.aspx?NewsID=9550000126184

การมีเซ็กซ์ดีต่อสุขภาพอย่างไร?

ภาพประกอบจากอินเตอร์เนต
ภาพประกอบจากอินเตอร์เนต

จากหลักการทางวิทยาศาสตร์ได้กล่าวว่าการมีเซ็กซ์ส่งผลดีต่อสุขภาพถึง 9 ประการดังนี้

1. ลดความเครียด การมีเซ็กซ์สามารถลดความเครียด และช่วยกระตุ้นการไหลเวียนของโลหิตด้วย จากงานวิจัยของชาวสกอตแลนด์ที่ทำการวิจัยกับผู้ชายจำนวน 22 คน และผู้หญิงจำนวน 24 คน ซึ่งคนเหล่านี้มีการจดบันทึกการมีเซ็กซ์ของตัวเองอย่างสม่ำเสมอ หลังจากนั้น ได้จัดให้กลุ่มทดลองอยู่ในภาวะของความเครียด เช่น การพูดในที่สาธารณะ การคำนวณคณิตศาสตร์พร้อมการออกเสียงดังๆ และได้จัดให้มีการตรวจสอบความดันโลหิต ผลปรากฏว่า คนที่มีเซ็กซ์จะตอบสนองต่อความเครียดได้ดีกว่าคนที่ไม่มีเซ็กซ์ และยังพบด้วยว่าผู้หญิงที่ได้รับการกอดจากคู่รักจะมีความดันโลหิตที่ดีกว่าคนที่ไม่ได้รับการกอด

2. ช่วยเผาผลาญแคลอรี่ การมีเซ็กซ์ 30 นาที ช่วยเผาผลาญแคลอรี่ถึง 85 แคลอรี่ หรืออาจมากกว่านั้น อาจฟังดูเหมือนไม่มากเท่าไร แต่หากใช้เวลา 42 ครั้ง จะช่วยเผาผลาญแคลอรี่ ถึง 3,750 แคลอรี่ ประมาณเกือบจะ 1 กิโล เราสามารถลดได้เกือบจะ 1 กิโลต่อ 21 ชั่วโมง เพราะการมีเซ็กซ์ ก็คือ การออกกำลังกายนั่นเอง นักวิเคราะห์ทางเพศศึกษา กล่าวว่า การมีเพศสัมพันธ์ช่วยทั้งทางด้านร่างกายและทางจิตใจด้วย

3. ช่วยสร้างภูมิคุ้มกัน การมีเซ็กซ์ 1 หรือ 2 ครั้งต่อสัปดาห์ช่วยให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกัน อีกทั้งสามารถช่วยป้องกันหวัด หรือการติดเชื้ออื่นๆ ได้ด้วย

4. เป็นยาแก้ปวด ผลของฮอร์โมนออกซิโตซินไม่เพียงแต่ช่วยเรื่องความรักเท่านั้น แต่ยังเป็นยาแก้ปวดขนานดี ซึ่งเรียกว่าเอนโดฟิน หากเราปวดหัว ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ หรือมีอาการเครียดก่อนมีประจำเดือน อาจเป็นเพราะเราไม่มีเซ็กซ์

5. ช่วยสร้างคุณค่าในตัวเอง จากการศึกษาของมหาวิทยาลัย เทกซัส พบว่า การมีเซ็กซ์เป็น 1 ใน 237 เหตุผลของการสร้างคุณค่าในตัวเอง และยังกล่าวอีกว่าสำหรับคนที่มีคุณค่าของตัวเองอยู่แล้ว จะยิ่งช่วยเพิ่มคุณค่ามากขึ้นไปอีกด้วย เพราะการมีเซ็กซ์ช่วยทำให้พวกเขารู้สึกดีต่อตัวเอง แน่นอนเราไม่จำเป็นต้องมีเซ็กซ์บ่อยๆ เพื่อเสริมสร้างคุณค่าในตัวเอง แต่หากเรามีเซ็กซ์ด้วยความรัก การเชื่อมโยงความรู้สึก จะทำให้เรารู้สึกดีกับตัวเอง

6. มีผลต่อสุขภาพหัวใจ การศึกษาจากประเทศอังกฤษเป็นเวลาถึง 20 ปี พบว่า ผู้ชายที่มีเซ็กซ์ 2 ครั้ง หรือมากกว่านั้นใน 1 สัปดาห์จะช่วยลดการเสียชีวิตด้วยโรคหัวใจล้มเหลวมากกว่าผู้ชายที่มีเซ็กซ์น้อยกว่าเดือนละครั้ง

7. ทำให้ความสัมพันธ์ลึกซึ้งมากขึ้น การมีเซ็กซ์ช่วยยกระดับฮอร์โมนออกซิโตซิน (Oxytocin) หรือที่เรียกอีกอย่างว่า ฮอร์โมนแห่งความรัก ซึ่งช่วยให้คนสร้างสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้น และสร้างความไว้วางใจ จากการศึกษาผู้หญิงถึง 59 คน ในระดับฮอร์โมนออกซิโตซินก่อนและหลังการได้รับการกอดพบว่า ผู้หญิงเหล่านี้มีระดับฮอร์โมนเพิ่มสูงมากขึ้นหลังจากการสัมผัสทางด้านร่างกายกับคนรัก

8. การหลั่งช่วยลดโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก การหลั่งบ่อยๆ โดยเฉพาะผู้ชายในช่วงวัย 20 ปี อาจจะช่วยลดความเสี่ยงการเกิดโรคมะเร็งต่อมลูกหมากในปั้นปลายชีวิต จากการศึกษาในนิตยสารการแพทย์ของอเมริกาพบว่าผู้ชายที่หลั่งมากกว่า 21 ครั้งต่อเดือน จะมีอัตราการเป็นมะเร็งต่อมลูกหมากน้อยกว่าผู้ชายที่หลั่งประมาณ 7 ครั้งต่อเดือน

9. ช่วยให้หลับสบาย สารออกซิโตซินจะไหลออกมาในขณะถึงจุดสุดยอดซึ่งจะช่วยให้นอนหลับสบาย งานวิจัยแสดงให้เห็นอีกว่าการนอนหลับอย่างเพียงพอจะช่วยส่งผลที่ดีต่อสุขภาพด้านอื่นๆ ด้วย เช่นการมีน้ำหนักที่สมดุลการไหลเวียนของโลหิตทำงานได้ดี

ในแง่ของทางวิทยาศาสตร์การมีเซ็กซ์ดูเหมือนจะเป็นผลดีมากมายต่อสุขภาพกายและจิตใจ แต่ก็ไม่ควรหมกหมุ่นในเรื่องเซ็กซ์มากเกินไป หากต้องควรระมัดระวังในเรื่องของความสะอาดด้วย ซึ่งทางที่ดีที่สุดนั้นก็ควรหลีกเลี่ยงจากการส่ำส่อนทางเพศ เพราะโรคภัยไข้เจ็บที่เกิดจากการมีเซ็กซ์ก็มีอยู่มากมายเหลือเกิน ดังนั้นการรักษาชีวิตที่สมดุล ครองคู่ไปด้วยความรักและความเข้าใจระหว่างสามีและภรรยา ถือว่าเป็นเรื่องที่มีสำคัญยิ่งกว่าเรื่องใดๆ ขอให้ทุกครอบครัวอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขค่ะ

ข้อมูลอ้างอิง
http://www.webmd.com/sex-relationships/guide/10-surprising-health-benefits-of-sex

http://www.manager.co.th/Family/ViewNews.aspx?NewsID=9550000138072

เก่งทั้งบ้าน..ด้วยพลังสมองซีกซ้าย

โดย  ดร.นพ.ยุทธนา ภาระนันท์

ช่วงที่ผ่านมา ท่านทำงานค่อนไปทางข้างไหนมากกว่ากัน ระหว่าง Work hard กับ Work smart

ครอบครัว
ครอบครัว

คมคิด: ขวานทื่อ หากไม่ลับให้คม ก็ต้องออกแรงมาก (Adapted from Ecclesiastes 10:10, 2012)

พ่อ: พ่อมีเรื่องให้ทายนะ กติกาคือ ห้ามตอบให้ถูก
แม่ & ลูก: ง่ายจะตาย ถามมาเลยพ่อ
พ่อ: หนึ่ง บวก หนึ่งเท่ากับอะไร
แม่ & ลูก: 20
พ่อ: ปลาอะไรเอ่ยดิ้นได้
แม่ & ลูก: ปลา…ปลาตายแล้ว
พ่อ: เอ๊ะ! พ่อถามไปกี่ข้อแล้วนี่
แม่ & ลูก: ก็สองข้อไง
พ่อ: อ้าว!…ตอบถูกไปแล้ว
แม่ & ลูก: !!??!!

การทายปัญหาของพ่อแม่ลูกครอบครัวนี้ ไม่เพียงเสริมสร้างความสนิทสนมกันในครอบครัวเท่านั้น แต่ยังช่วยกระตุ้นสมองไปพร้อมกันด้วย เพราะสมองเป็นอวัยวะที่ยิ่งใช้ ยิ่งคม

หลายครั้งผมอบรมให้บุคลากรของหน่วยงานภาครัฐและเอกชนในหัวข้อเกี่ยวกับ “เปิดสมอง ปั้นอัจฉริยะ” (Multiple intelligence) ผมให้ทำแบบสำรวจ “Memory Impairment” เช่น อบบางอย่างในเตา แล้วลืมว่าต้องเอาออกมา, ลืมกุญแจบ้านไว้ในรถ ซึ่งจอดไว้อีกที่หนึ่ง, ไปช็อปปิ้ง แต่ดันลืมเอากระเป๋าเงินไป, หลงทางในห้างสรรพสินค้า เป็นต้น ปรากฏว่า มีไม่น้อยที่มีอาการเหล่านี้ ซึ่งมักจะอยู่ในช่วงวัย 40 ปีขึ้นไป

ผมจึงย้ำให้ทุกท่านได้ฝึกฝนใช้สมอง 2 ซีกอย่างสม่ำเสมอทุกวัน เพราะหากไม่ใช้ก็จะยิ่งเสื่อมเร็วเข้าไปใหญ่ แล้วผมก็ฝึกทักษะขยับมือขยายสมอง ทำมือเป็นรูป L กับ O สลับกันไปมาซ้ายขวา, ทำมือถูค้อนทุบ เป็นต้น ก็เรียกบรรยากาศครื้นเครงกันทั่วห้องฝึกอบรมกันเลยครับ

โอกาสเดือนเมษายน เรียกได้ว่าเป็นเดือนแห่งความครัวเป็นสุขก็ว่าได้นะครับ ก็อยากฝากทักษะง่ายๆ ในการกระตุ้นสมองซึกซ้ายในชีวิตประจำวัน ลองฝึกดูนะครับ ใช้ได้กับทุกคนในครอบครัวครับ

ทักษะปลุกสมองซีกซ้าย (Enhancing Lt brain)

เป็นฝึกฝนลงมือทำสิ่งต่างๆ ในชีวิตประจำวัน ที่เกี่ยวข้องกับหน้าที่ของสมองซึกซ้ายซึ่งคล้ายนักวิทยาศาสตร์ อันได้แก่ การใช้เหตุผล การแยกแยะ การเก็บรายละเอียด การลำดับก่อนหลัง การจัดระเบียบขั้นตอน ตัวเลข ภาษา เป็นต้น ขอยกตัวอย่างบางประการ ดังนี้…

1.  ฝึกเขียนสิ่งที่จะทำออกมาเป็นรายการ
2. นำสิ่งที่จะทำมาจัดลำดับความสำคัญก่อนหลัง
3. สนใจในรายละเอียด
4. รู้จักบริหารเวลา
5. ทำอะไรแล้ว ทำจนสำเร็จ
6. ฝึกวิเคราะห์ปัญหาและตัดสินใจด้วยเหตุผล
7. เปรียบเทียบทางเลือกต่างๆ โดยเขียนทั้งข้อดี ข้อเสีย แต่ละทางเลือก ก่อนตัดสินใจ
8. แยกย่อยสิ่งต่างๆ เป็นประเด็นๆ แล้วนำมาจัดหมวดหมู่
9. ฝีกจัดเรียงลำดับขณะสื่อสารออกมาเป็นข้อๆ เช่น ฉันมีจุดประสงค์ 3 ประการได้แก่…

“ในที่ซึ่งมีที่ปรึกษามาก ย่อมมีความปลอดภัย” ท่านเห็นด้วยหรือไม่?

http://www.manager.co.th/Family/ViewNews.aspx?NewsID=9560000038006

9 เรื่องควรละ..เลิก..เมื่อตั้งครรภ์

เมื่อมีอีกหนึ่งชีวิตที่ต้องดูแลในท้อง คุณแม่ต้องเพิ่มความระมัดระวังในการใช้ชีวิต เพิ่มการดูแล

ตั้งครรภ์
ตั้งครรภ์

ตัวเองในทุกๆ ด้านให้มากขึ้น แต่ก็มีหลายอย่างที่จำเป็นต้องลด ละ เลิก เพราะจะช่วยให้คุณแม่สุขกายสบายใจ ส่วนเจ้าตัวเล็กในท้องก็จะเติบโตได้ดี และคลอดออกมาอย่างสมบูรณ์แข็งแรงค่ะ

9 เรื่องควรลด ละ เลิก

1. เดินและเคลื่อนไหวเร็ว

ตอนยังไม่ท้องคุณแม่อาจเป็นคนกระฉับกระเฉง เดินหรือเคลื่อนไหวเร็ว ไปโน่นมานี่ได้อย่างรวดเร็วทันใจ แต่ตอนนี้คุณแม่ต้องใจเย็น เดินและเคลื่อนไหวให้ช้าลง ยิ่งท้องใหญ่มากขึ้นยิ่งต้องลดสปีดของตัวเองลง เพราะการเดินและเคลื่อนไหวในจังหวะและความเร็วที่พอเหมาะ จะช่วยรักษาสมดุลของการเคลื่อนไหว และปลอดภัยมากขึ้น หากคุณแม่เกิดก้าวพลาด หรือสะดุดหกล้ม อาจเป็นอันตรายทั้งคุณแม่และเจ้าตัวเล็กในท้องได้

2. ลดเสียงเพลง

การฟังเพลงที่ชอบ เป็นอีกหนึ่งกิจกรรมยอดฮิตของคุณแม่ เพราะช่วยให้ผ่อนคลายสบายใจ แถมยังส่งผลต่อพัฒนาการทางสมองและอารมณ์ของเจ้าตัวเล็กในท้อง แต่ก็ไม่ควรฟังในระดับเสียงที่ดังมากจนเกินไป เพราะแทนที่จะรู้สึกผ่อนคลายสบายอารมณ์ ก็อาจกลายเป็นความเครียดและแก้วหูถูกทำลายแทน ซึ่งแน่นอนว่า เจ้าตัวเล็กในท้องจะได้รับผลกระทบเหล่านั้นไปด้วยอย่างแน่นอน

3. กินเร็ว

การกินอาหารเร็วๆ เคี้ยวยังไม่ทันละเอียดก็รีบกลืนลงคอจนติดเป็นนิสัย จะทำให้กระเพาะอาหารทำงานหนัก ส่งผลให้ท้องอืดท้องเฟ้อ และยังทำให้คุณแม่กินอาหารมากกว่าปกติ เป็นสาเหตุของความอ้วนและโรคภัยอื่นๆ ที่จะตามมาได้อีกด้วย การเคี้ยวอาหารให้ช้าลง นอกจากจะปลอดภัยสบายท้อง ไม่มีอาการท้องอืดท้องเฟ้อ ลดความเสี่ยงต่ออาการผิดปกติต่างๆ แล้ว คุณแม่ก็ยังได้สัมผัสรสชาติของอาหารที่โปรดปราน หรืออาหารที่อยากกินอย่างเต็มที่ เรียกได้ว่าอิ่มเอมทั้งกายและใจจริงๆ ค่ะ

4. เว้นอาหารและเครื่องดื่มบางชนิด

เช่น อาหารมันจัด เนื้อสัตว์ที่ติดมัน หรือติดหนัง ขนมหวาน น้ำหวาน น้ำอัดลม เป็นต้น อาหารเหล่านี้จะทำให้คุณแม่ได้รับไขมันและน้ำตาลในปริมาณที่มากเกินไป ทำให้คุณแม่อ้วน เสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวาน และยังเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ อีกด้วย

5. ไม่ยืนหรือนั่งท่าเดิมนานๆ

การนั่งพิมพ์เอกสารนานๆ ยืนถ่ายเอกสาร หรือการทำงานบ้านต่างๆ เช่น รีดผ้า ทำกับข้าว ทำความสะอาด เหล่านี้เป็นกิจกรรมที่ควรหลีกเลี่ยง เพราะการนั่งหรือยืนนานๆ จะทำให้คุณแม่รู้สึกปวดเมื่อย เกิดเส้นเลือดขอด เป็นตะคริว และเกิดอาการเวียนศีรษะได้

6. หลีกเลี่ยงมลพิษ

คุณแม่ควรอยู่ในที่ที่อากาศบริสุทธิ์ หรือมีมลพิษน้อยที่สุด มีผลการศึกษาวิจัยพบว่า มลพิษต่างๆ ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในกระแสเลือด ซึ่งสามารถขัดขวางการทำงานของรกและส่งผลต่อ DNA ของทารกตั้งแต่ยังเป็นตัวอ่อนในครรภ์ คุณแม่ที่หายใจเอามลพิษเข้าไปมากๆ จะส่งผลให้ลูกมีไอคิวต่ำอีกด้วยนะคะ

แต่หากหลีกเลี่ยงไม่ได้ เช่น จำเป็นต้องใช้รถสาธารณะในการเดินทาง ควรสวมหน้ากากเพื่อป้องกันควันพิษ ฝุ่นละออง และเชื้อโรคต่างๆ ค่ะ

7. เลิกเครียด

เป็นเรื่องที่พูดง่ายทำยากค่ะ เพราะเรื่องที่ทำให้กังวลจนกลายเป็นความเครียดสำหรับคุณแม่แล้ว ส่วนใหญ่ก็หนีไม่พ้นเรื่องลูกในท้องนี่แหล่ะค่ะ แต่เพื่อลูกแล้วเชื่อว่าคุณแม่สามารถหาทางจัดการความเครียดตัวร้ายได้แน่ๆ เพราะถ้าปล่อยไว้ลูกในท้องจะรับรู้อารมณ์เครียดของคุณแม่ได้ มีรายงานยืนยันว่าลูกจะเป็นเด็กเครียด งอแง และเลี้ยงยาก อาจเป็นเพราะสารเครียดในร่างกายของคุณแม่ส่งผ่านมาถึงลูก และยังมีผลต่อการพัฒนาสมองของลูกอีกด้วย

8. เลิกดื่มแอลกอฮอล์

ผู้หญิงที่ยังไม่รู้ตัวว่าตั้งครรภ์แล้วดื่มแอลกอฮอล์ จะมีผลต่อการสร้างอวัยวะต่างๆ ของลูกในท้องในช่วง 3 เดือนแรก ซึ่งเป็นช่วงที่ทารกสร้างเส้นประสาทและสมอง ทุกครั้งที่คุณแม่ดื่ม ลูกก็จะได้รับแอลกอฮอล์ด้วย ทำให้ลูกเกิดความผิดปกติทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ สมอง ใบหน้า เช่น ร่างกายไม่เจริญเติบโต พัฒนาการทางสมองผิดปกติ ปัญญาอ่อน การทำงานประสานระหว่างมือและตาไม่ดี เรียนรู้ไม่ดี เป็นต้น

9. เลิกนอนดึก

คุณแม่ควรนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย ซึ่งแต่ละคนจะไม่เท่ากัน บางคนอาจต้องการนอนคืนละ 7 ชั่วโมง แต่บางคนอาจต้องการนอนมากกว่านั้น ซึ่งเป็นเรื่องเฉพาะบุคคล แต่ไม่ควรนอนน้อยกว่า 5 ชั่วโมง เพราะมีการศึกษาพบว่า คุณแม่ตั้งครรภ์ที่นอนน้อยกว่าคืนละ 5 ชั่วโมง เสี่ยงที่จะเกิดครรภ์เป็นพิษมากกว่าปกติถึง 9.5 เท่าค่ะ

หากคุณแม่สามารถทำได้ทั้งหมดที่กล่าวมานี้ เชื่อว่าการตั้งครรภ์ในครั้งนี้จะมีความสุขทั้งกายและใจค่ะ

บทความจาก :นิตยสารรักลูก

http://www.manager.co.th/Family/ViewNews.aspx?NewsID=9560000024528

อาหารป้องกันผมร่วง

อาหารป้องกันศีรษะล้าน (โดยเฉพาะคุณผู้ชาย)
โดย ดร.ฉัตรภา หัตถโกศล  ผู้เชี่ยวชาญด้านโภชนคลินิก (เบาหวาน หัวใจ โรคกลุ่มเมตาโบลิก)

ภาพประกอบจากอินเตอร์เนต
ภาพประกอบจากอินเตอร์เนต

ปัญหาผมร่วงเป็นเรื่องปกติในผู้ที่เริ่มมีอายุ ดูเหมือนว่ายิ่งอายุมากขึ้นเท่าไรร่างกายก็แสดงสิ่งที่ไม่พึงประสงค์มากขึ้นเท่านั้น นั่นคือ ความหมายของคำว่า “ชราภาพ”

แต่ทุกคนย่อมหลีกหนีจากความเป็นจริงนี้ไม่ได้ แต่จะทำอย่างไรให้ดีที่สุดและถนอมผมบนศีรษะได้นานที่สุด คุณลองคิดดูว่าคุณจะรู้สึกอย่างไรเมื่อคุณเห็นผมบนศีรษะจากที่เคยดกดำกลับเปลี่ยนไป คุณได้แต่นั่งดูผมที่ร่วงหลุดไปที่ละเส้น สองเส้น หรือหลายเส้น มากกว่าครึ่งของผู้ชายมีปัญหาผมร่วง ศีรษะบาง หลังจากอายุ 45 ปีขึ้นไปโดยมาจากหลากหลายปัจจัยเช่น กรรมพันธุ์, ความเครียด, การดำเนินชีวิตที่รีบเร่ง, ฮอร์โมนในร่างกาย, ความเจ็บป่วย, อาหารที่ไม่ถูกต้อง, ยารักษาโรคต่างๆ เหล่านี้ส่งผลให้เกิดปัญหาผมร่วงทั้งนั้น จะสังเกตุได้ง่ายว่าผู้ชายมักมีปัญหาผมร่วงมากกว่าผู้หญิง เนื่องมาจากว่าสายพันธุกรรมของผู้ชายส่งผลต่อผมได้มากกว่าผู้หญิง ในปัจจุบันยาหลายชนิดได้ถูกผลิตขึ้นเพื่อป้องกันผมร่วง หรือมีวิธีการปลูกผมซึ่งมีค่าใช้จ่ายสูงและบางครั้งก็ไม่ได้ผลเท่าที่ควร รวมถึงปัญหาที่ตามมากับยาและวิธีการเหล่านี้ เช่น ปัญหาหัวใจเต้นผิดปกติ ทำให้ตับเป็นพิษหรือภาวะไตวายได้ และที่สำคัญอาจทำให้เสื่อมสมรรถภาพทางเพศด้วย

จากการศึกษาพบว่าสาเหตุหลักของการผมร่วงเกิดจากพันธุกรรมและการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนในร่างกาย นักวิจัยค้นพบว่าความสัมพันธ์ระหว่างฮอร์โมนกับปัญหาการหลุดร่วงของเส้นผม คือ ฮอร์โมนในเพศชายในกลุ่มเทสโทสเตอโรนโดยมีฮอร์โมนไดไฮโดรเทสโทสเตอโรน “Dihydro testosterone (DHT)” โดยปกติแล้วฮอร์โมนตัวนี้จะเกิดขึ้นได้ทั้งในผู้หญิงและผู้ชาย ซึ่งเป็นตัวการที่ทำให้เกิดการหลุดร่วงของเส้นผม ตามปกติของกลไกร่างกายจะมีการหยุดยั้งการทำงานของฮอร์โมน (DHT) เพื่อไม่ให้ผมหลุดร่วง แต่ในผู้ที่เริ่มมีอายุเพิ่มมากขึ้น ร่างกายจะมีความสามารถในการหยุดยั้งการทำงานของฮอร์โมน DHT ที่ลดลง ส่งผลให้ฮอร์โมน DHT ทำปฏิกิริยากับรากผมซึ่งก่อให้เกิดปัญหาผมร่วงอย่างถาวร หรือพูดอีกอย่างว่าในปกติผมของคนเราย่อมหลุดร่วงเป็นประจำอยู่ทุกวันอยู่แล้ว แต่ก็จะขึ้นมาใหม่แทนเส้นเก่าที่หลุดร่วงไป แต่ในกณีของผู้สูงอายุผมที่หลุดร่วงไปจะไม่มีการงอกขึ้นแทนที่ใหม่ทำให้ศีรษะบางลงเรื่อยๆ

นักวิจัยได้ทำการศึกษาและพบว่าอาหารบางกลุ่มมีคุณสมบัติในการบำรุงรักษาเส้นผมให้แข็งแรงช่วยลดปัญหาผลหลุดล่วงได้อย่างดีและปลอดภัยต่อร่างกาย

อาหารที่ป้องกันผมร่วง

1. อาหารที่มีแร่ธาตุสังกะสี พบว่ามีส่วนช่วยในการยับยั้งการทำงานของฮอร์โมน DHT เนื่องมาจากว่าสังกะสีช่วยในการส่งเสริมให้เซลล์ผมมีการเจริญเติบโตและเส้นผมที่ขึ้นมาใหม่มีความแข็งแรง แร่ธาตุสังกะสียังช่วยในการปรับสมดุลของต่อมไขมันในหนังศีรษะซึ่งเป็นอีกสาเหตุที่ทำให้เกิดปัญหาผมร่วงได้เหมือนกัน อาหารที่เป็นแหล่งของแร่ธาตุสังกะสีได้แก่อาหารทะเลเช่นหอยนางรม ไข่ ถั่ว งา เมล็ดฟักทอง เนื้อวัว เนื้อไก่และนมเป็นต้น

2. อาหารกลุ่มวิตามินเอสูง จากหลายการศึกษาพบว่าคนที่ได้รับวิตามินเอเพียงพอต่อความต้องการของร่างกายมีรากผมที่แข็งแรงมากกว่าผู้ที่ได้รับปริมาณวิตามินเอไม่ครบถ้วน วิตามินเอจะช่วยส่งเสริมการเจริญเติบโตและเพิ่มความแข็งแรงให้กับเซลล์ทุกเซลล์ในร่างกายรวมถึงเซลล์เส้นผมและหนังศีรษะ แหล่งที่มาของวิตามินเอ เช่น ผักสีส้มสีเหลือง (แครอท ฟักทอง มะม่วงสุก) ผักสีเขียวเข้ม (คะน้า ผักขม ตำลึง) นม ไข่ และตับเป็นต้น

3. อาหารกลุ่มไบโอติน ซึ่งเป็นหนึ่งในวิตามิน บี สามารถช่วยให้เส้นผมมีความแข็งแรงและสุขภาพดีขึ้น ลดการหลุดร่วงของเส้นผม ร่างกายต้องการไบโอตินรวมกับโปรตีนเพื่อทำให้ผมและเล็บแข็งแรง จากการศึกษาพบว่าผู้ที่ขาดไบโอตินจะส่งผลทำให้ผมขาดง่ายและหลุดร่วงง่ายด้วย เล็บจะเปราะฉีกง่าย อาหารที่มีไบโอตินสูงได้แก่ ยีสต์ที่ใช้ในการหมักเหล้าหรือเบียร์ ไข่แดง เมล็ดทานตะวัน ข้าวโอ๊ต ถั่วเหลือง

4. อาหารกลุ่มวิตามินซี ร่างกายจะใช้วิตามินซีในการสร้างคอลลาเจนซึ่งเป็นโครงสร้างของเนื้อเยื่อเกี่ยวพันทำให้เนื้อเยื่อมีความแข็งแรงโดยจะทำให้รากผมมีความแข็งแรงมากขึ้น โดยปกติแล้วร่างกายของคนเราจะไม่สามารถกักเก็บวิตามินซีที่ได้จากอาหารให้อยู่ในร่างกายได้ในระยะยาวดังนั้นร่างกายจะต้องการวิตามินซีอยู่ตลอด อาหารที่มีวิตามินซีสูง เช่น ผลไม้รสเปรี้ยว ผักสีเขียวเข้ม พริกสด และผักกลุ่มมะเขือ

5. โปรตีนไขมันต่ำ เนื่องมาจากว่าองค์ประกอบสำคัญของเส้นผมคือสารประเภทโปรตีน ดังนั้นเมื่อร่างกายได้รับโปรตีนที่เพียงพอก็จะทำให้การสร้างเซลล์ผมทำงานได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น แต่เนื่องมาจากอาหารกลุ่มโปรตีนส่วนใหญ่จะมาจากเนื้อสัตว์ที่มีไขมันเป็นส่วนประกอบ และการที่ร่างกายได้รับไขมันสูงจะเร่งให้เกิดการหลุดร่วงของเส้นผมได้ ดังนั้นจึงควรเลือกโปรตีนที่มีไขมันต่ำ เช่น เนื้อปลา เนื้อไก่อก เนื้อสันใน ถั่วเมล็ดแห้ง โยเกิร์ต เป็นต้น

6. น้ำ เป็นปัจจัยหลักอันหนึ่งที่เรามักจะมองข้ามไป แต่การที่ร่างกายขาดน้ำจะส่งผลให้เซลล์ต่างๆของร่างกายทำงานได้ไม่สมบูรณ์ไม่เว้นแต่เซลล์ผม ดังนั้นในแต่ละวันควรดื่มน้ำให้ได้อย่างน้อย 8 แก้ว

อาหารกับเส้นผมนั้นเป็นเรื่องที่เกี่ยวเนื่องกัน การรับประทานอาหารที่ดีจะช่วยทำให้เส้นผมสามารถอยู่กับเราได้นานขึ้น ไม่อาจเถียงได้ว่าเส้นผมเป็นสิ่งสำคัญเพราะทำให้หน้าตาและบุคลิกเปลี่ยนไป แต่ต้องระวังอาหารบางประเภทที่ทำให้เกิดการหลุดร่วงของเส้นผมได้ง่ายขึ้น เช่น อาหารที่มีไขมันอิ่มตัวสูง อาหารทอด อาหารแปรรูป นอกจากเรื่องของอาหารแล้ว การออกกำลังกาย การไม่สูบบุหรี่ และรักษาระดับน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานก็จะส่งผลให้เกิดสมดุลในร่างกายและลดปัญหาการหลุดร่วงของเส้นผม

http://www.manager.co.th/Family/ViewNews.aspx?NewsID=9560000032478

ดูแลสุขภาพ 4 ช่วงวัย

โดย…อ.นพ.สมบูรณ์ อินทลาภาพร
ภาควิชาเวชศาสตร์ป้องกันและสังคม

ภาพประกอบจากอินเตอร์เนต
ภาพประกอบจากอินเตอร์เนต

การดูแลสุขภาพ ย่อมดีกว่าการมาหาหมอเพื่อรับการรักษา แต่จะดูแลอย่างไรเพื่อให้สุขภาพดีในทุกช่วงวัย มีรายละเอียดมาฝากครับ

การดูแลตนเองและคนที่คุณรักให้มีสุขภาพดี ครอบคลุมทุกช่วงอายุ จะเน้นการส่งเสริมสุขภาพป้องกันโรคเป็นสำคัญ โดยเด็กเล็ก เน้นในเรื่องพัฒนาการและการเรียนรู้ วัยรุ่น เน้นทางด้านจิตใจและสังคม วัยทำงาน เน้นการดูแลพฤติกรรมเสี่ยง ส่วนผู้สูงอายุ เน้นการดูแลสุขภาพให้แข็งแรงอย่างต่อเนื่อง

เริ่มต้นสุขภาพดี

ช่วงที่ 1 อายุ 0-6 ปี เริ่มจากหญิงตั้งครรภ์ควรไปฝากครรภ์และตรวจสม่ำเสมอ เพื่อให้ทารกในครรภ์ได้รับการดูแลและคลอดอย่างปลอดภัยโดยแพทย์ จากนั้นจนถึงอายุ 6 ปี ทารกต้องได้รับวัคซีนพื้นฐานครบถ้วน และได้รับการตรวจทางด้านพัฒนาการ การเรียนรู้ และพฤติกรรมต่างๆ

ช่วงที่ 2 อายุ 7-18 ปี สิ่งที่สำคัญ คือ การเตรียมตัวให้วัยนี้เป็นผู้ใหญ่ที่แข็งแรงทั้งด้านร่างกาย และจิตใจ มีอารมณ์ที่แจ่มใส มีภูมิคุ้มกันทางความคิด สามารถดูแลตนเองให้ห่างไกลจากยาเสพติด โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ หรือการตั้งครรภ์ที่ไม่พร้อมในวัยรุ่น เพื่อเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพต่อไป

ช่วงที่ 3 อายุ 19-60 ปี เป็นวัยทำงาน ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ยาวถึง 40 ปี มักมีเวลาในการดูแลสุขภาพตนเองน้อย ทำให้เสี่ยงต่อการเกิดโรคได้ โดยวัยนี้มักเป็นโรคที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมการใช้ชีวิต เช่น โรคอ้วน เบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคจากบุหรี่ สุรา หรือโรคที่เกี่ยวข้องกับการทำงาน เช่น ปวดหลัง ปวดกล้ามเนื้อ โรคเครียด เป็นต้น จึงจำเป็นต้องตรวจสุขภาพสม่ำเสมอ เพื่อให้เข้าสู่วัย 60 ปี เป็นผู้สูงอายุที่มีสุขภาพดี

ช่วงที่ 4 อายุ ตั้งแต่ 60 ปี ขึ้นไป วัยนี้ถือเป็นวัยสูงอายุ นอกจากมีความเสื่อมถดถอยของร่างกายแล้ว บางรายยังมีโรคประจำตัวด้วย สำหรับผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัว ควรรับการตรวจรักษาสม่ำเสมอและปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ ไม่ควรซื้อยามารับประทานเอง หากมีอาการผิดปกติควรพบแพทย์ เพื่อให้การรักษาที่ถูกต้อง ก็จะทำให้มีสุขภาพดีได้อย่างต่อเนื่องเช่นเดียวกับผู้สูงอายุทั่วไป ที่ควรรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ออกกำลังกายทุกวัน นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ และทำจิตใจให้ร่าเริงแจ่มใส ไม่เครียด

การดูแลสุขภาพเป็นเรื่องสำคัญนะครับ เพราะสุขภาพดีนำมาซึ่งความสำเร็จไปกว่าครึ่ง

http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9560000021402

ไม่ควรทำ…ถ้าไม่อยากให้ลูกติดเกม

โดย…รศ.นพ.ชาญวิทย์ พรนภดล
ภาควิชาจิตเวชศาสตร์

ปัจจุบันเด็กกับคอมพิวเตอร์และการเล่นเกม ดูจะเป็นของคู่กัน ที่นับวันจะแยกกันยาก ปัญหานี้พ่อแม่หรือผู้ปกครองสามารถช่วยแก้ไขได้ ด้วยการไม่ทำสิ่งเหล่านี้

ภาพประกอบจากอินเตอร์เนต
ภาพประกอบจากอินเตอร์เนต

1. ไม่ตั้งกติกาก่อนซื้ออุปกรณ์เล่นเกมให้ การที่ผู้ปกครองซื้ออุปกรณ์เล่นเกมให้ลูก โดยไม่ได้มีการตั้งกติกาการเล่นเอาไว้ก่อนล่วงหน้า เป็นสิ่งที่ไม่ควรทำเป็นอย่างยิ่ง ผู้ปกครองควรมีการสร้างกติการ่วมกันกับเด็กก่อน ว่า เด็กสามารถเล่นเกมได้วันไหนบ้าง เวลาไหนบ้าง เล่นได้ครั้งละไม่เกินกี่ชั่วโมง ตั้งแต่เวลาใดถึงเวลาใด ก่อนจะเล่นจะต้องรับผิดชอบทำการบ้านให้เสร็จเรียบร้อยก่อน หากไม่รักษากติกาจะต้องถูกทำโทษอย่างไร (แนะนำให้ใช้วิธีงดเกม หรือลดเวลาในการเล่นเกมลง) จะเป็นการยากมากที่จะมาตั้งกติกากันภายหลัง หลังจากที่ปัญหาเกิดขึ้นแล้ว

2. ใช้เกมเป็นเสมือนพี่เลี้ยงเด็ก พ่อแม่ผู้ปกครองที่งานยุ่งอาจจะคิดว่าการให้เด็กอยู่บ้านเล่นเกม หรือไปอยู่ร้านเกมน่าจะปลอดภัย ตัวเองจะได้มีเวลาส่วนตัวเพื่อไปทำอย่างอื่น ขอบอกว่าความคิดนี้เป็นอันตรายอย่างยิ่ง หลายครอบครัวกว่าที่พ่อแม่จะรู้ตัว ลูกก็ติดเกมงอมแงมไปเสียแล้ว

3. ดีแต่บ่น แต่ไม่เคยเอาจริง สิ่งที่พ่อแม่มักจะทำเสมอแต่เป็นวิธีที่ไม่เคยได้ผล คือ การดีแต่บ่น เช่น “เล่นนานไปแล้ว” “เลิกได้แล้วนะ” “เมื่อไหร่จะเลิกซักที” การพูดบ่อยๆ นอกจากจะไม่ค่อยได้ผลแล้ว ยังทำให้ลูกเกิดความรู้สึกว่า “บ่นอีกแล้ว…รำคาญ” ถ้าเกิดขึ้นบ่อยๆ จะทำให้ลูกไม่อยากคุยและไม่อยากเจอหน้าพ่อแม่ เพราะคิดว่าจะต้องโดนดุ การพูดน้อยแต่ทำจริงตามกติกาที่ตกลงกันไว้เป็นวิธีที่ได้ผลดีกว่าเสมอครับ

4. ใจอ่อน ธรรมชาติของเด็กมักจะชอบต่อรองกับพ่อแม่เสมอเมื่อหมดเวลาเล่น โดยมักจะพูดว่า “แป๊บนึง…ขออีก 10 นาทีน่า จะจบเกมแล้ว” ไปๆ มาๆ 10 นาทีที่ว่าก็อาจลากยาวเป็นครึ่งชั่วโมง หรือหลายชั่วโมงเลยก็เป็นได้ ซึ่งพอต่อรองได้ครั้งหนึ่งก็มักจะมีครั้งต่อๆ ไป เพราะเด็กเค้ารู้ว่าพ่อแม่ไม่เอาจริง การใจอ่อนอย่างนี้ไม่ได้มีผลเสียกับเรื่องเล่นเกมเท่านั้นนะครับ แต่จะมีผลต่อกฎเกณฑ์ทุกอย่างในบ้าน ถ้าลูกรู้ว่าคุณจะใจอ่อนแล้ว เป็นเรื่องยากที่เขาจะทำตามกฎกติกาที่วางไว้ เพราะคิดว่าจะมาต่อรองเอาทีหลังได้ ซึ่งจะเป็นผลเสียต่อการรักษาระเบียบวินัยในตัวเองของเขาในระยะยาว

5. ไม่เสมอต้นเสมอปลาย คุณอาจเคร่งครัดต่อกฎเกณฑ์ที่ตั้งไว้ได้ แต่ก็เป็นแค่ชั่วครั้งชั่วคราว เช่น ตั้งกฎว่าอย่าเล่นเกมเกิน 2 ชั่วโมง แต่ก็ทำได้บ้าง ไม่ได้บ้าง ซึ่งอาจเป็นเพราะความใจอ่อนของคุณ หรือความที่คุณไม่มีเวลา สุดท้ายแล้วกฎเกณฑ์เหล่านั้นก็จะไร้ความหมาย ไม่ต่างกับการใจอ่อนยอมให้ทุกครั้งเลยครับ

6. ความขัดแย้งกันเองระหว่างผู้ปกครอง เมื่อลูกขอเล่นเกม คุณแม่อาจจะไม่ให้ แต่คุณพ่ออาจตามใจ เวลาเกิดความขัดแย้งกันอย่างนี้ เด็กๆ ก็มักเลือกเข้าข้างฝ่ายที่ให้ประโยชน์กับเขามากที่สุด ซึ่งอาจพัฒนากลายเป็นปัญหาความสัมพันธ์ได้ เช่น เขาอาจรู้สึกว่าแม่ยืนอยู่ฝั่งตรงข้ามกับเขา เป็นศัตรูกับเขาไปเลย ในเรื่องนี้พ่อแม่ควรมีจุดยืนร่วมกันนะครับ ว่าจะวางกฎกติกาของบ้านอย่างไร และตัวเด็กๆ เองก็ต้องมีส่วนร่วมในการวางกฎกติกาด้วยนะครับ

7. ละเลยการทำกิจกรรมร่วมกันในครอบครัว หลายครอบครัวที่มีลูกติดเกม พบว่ามักจะเป็นครอบครัวที่พ่อ แม่ ลูกอยู่กันคนละทิศละทาง ต่างคนต่างอยู่ แต่ละคนง่วนอยู่กับสิ่งที่ตัวเองสนใจ ไม่ค่อยได้มีการทำกิจกรรมสนุกสนานด้วยกัน ดังนั้นพ่อแม่ควรส่งเสริมให้ลูกมีกิจกรรมทำยามว่าง เป็นกิจกรรมที่ให้ความสนุกสนานเพลิดเพลินไม่แพ้การเล่นเกม หรือมากกว่าการเล่นเกม ซึ่งควรเป็นกิจกรรมที่ลูกชอบ และสามารถร่วมกันทำกิจกรรมนั้นๆ ได้ทั้งครอบครัว เพื่อเป็นการสานความสัมพันธ์อันดีระหว่างพ่อ แม่ ลูก

ลองทำดูนะครับ บนพื้นฐานของเมตตา กรุณา และความอดทน ผมเอาใจช่วยครับ

http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9560000014878

ทำอย่างไร! เมื่อเชื้อดื้อยาในโรงพยาบาล

โดย…ศ.คลินิก นพ.อุดม คชินทร
คณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ม.มหิดล

ยา1
ยา1

หลายคนกังวลเมื่อเกิดเชื้อดื้อยาแล้ว จะทำอย่างไร

การดื้อยา เกิดจากการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรมของเชื้อโรคและเมื่อเชื้อโรคดื้อต่อยาปฏิชีวนะตัวใดตัวหนึ่ง ก็มักจะดื้อกับยาปฏิชีวนะตัวอื่นในประเภทเดียวกัน ทำให้การรักษาโรคติดเชื้อนั้นๆ ได้ผลไม่ดี ต้องใช้ยาปฏิชีวนะประเภทที่มีความสามารถสูงขึ้นเพื่อมายับยั้งเชื้อโรค ส่งผลให้ผู้ป่วยมีภาวะโรครุนแรงต้องได้รับการรักษาในโรงพยาบาลนานขึ้น เสียค่าใช้จ่ายเพิ่มมากขึ้นหรืออาจทำให้เสียชีวิตได้ จากจำนวนผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาพบว่า การติดเชื้อโรคดื้อยา เป็นโรคติดเชื้อชนิดใหม่ที่กำลังเป็นปัญหาสาธารณสุขอยู่ขณะนี้

ส่วนใหญ่การติดเชื้อดื้อยา มักพบในผู้ป่วยที่นอนพักรักษาตัวในโรงพยาบาลเป็นเวลานาน ผู้ป่วยภูมิคุ้มกันบกพร่อง หรือผู้ป่วยที่เคยได้รับยาปฏิชีวนะมาก่อน อย่างไรก็ดี การรักษาโรคติดเชื้อดื้อยาบางชนิดยังมียาที่มีประสิทธิภาพสามารถรักษาได้ ซึ่งแพทย์จะเป็นผู้ตัดสินใจให้การรักษาที่ดีที่สุดแก่ผู้ป่วย

กริ่นมาพอควร เชื้อที่ว่านี้คือ เชื้อแบคทีเรีย ซึ่งเป็นเชื้อโรคที่มีอยู่ในร่างกายคนเรา โดยเฉพาะเชื้อสตาฟิโลค็อกคัส ออเรียส (Staphylococcus aureus) เป็นเชื้อที่พบได้บ่อยมาก ประมาณ 3 คน จะพบเชื้อนี้ 1 คน เมื่อเชื้อแบคทีเรียเกิดการดื้อต่อยาปฏิชีวนะก็จะกลายเป็นเชื้อที่รักษายาก เพราะเชื้อโรคสามารถดื้อต่อยาที่เคยใช้รักษาได้มาก่อน สำหรับการแพร่กระจายนั้น ส่วนใหญ่ติดต่อทางการสัมผัส ทั้งทางตรงโดยใช้มือ และทางอ้อมโดยผ่านอุปกรณ์ของเครื่องใช้ต่างๆ

การป้องกันทำได้โดย บุคลากรทางการแพทย์ทุกคนต้องล้างมือด้วยสบู่และน้ำหรือใช้แอลกอฮอล์ลูบมือก่อนและหลังให้การดูแลผู้ป่วย การสวมเครื่องป้องกันก่อนเข้าไปดูแลผู้ป่วย โดยสวมถุงมือและเสื้อคลุม ทำความสะอาดห้องพักและอุปกรณ์ทางการแพทย์ด้วยความระมัดระวัง ด้านผู้ป่วยนั้นสามารถป้องกันตนเอง โดยล้างมือบ่อยๆ รวมถึงญาติหรือผู้ที่เข้าเยี่ยม ต้องล้างมือก่อนและหลังออกจากห้องเยี่ยมไข้ที่หอผู้ป่วย

นอกจากนี้การให้การรักษาผู้ป่วยโรคติดเชื้อ ต้องได้รับการวินิจฉัยอย่างถูกต้องและต้องให้การรักษาที่รวดเร็ว เพราะถ้ามีการใช้ยาปฏิชีวนะที่ยาวนาน ก็จะมีส่วนกระตุ้นให้เชื้อโรคนั้นดื้อยาได้อีกเช่นกัน ดังนั้นการใช้ยาปฏิชีวนะ ควรใช้ให้ถูกต้อง ไม่ว่าจะเป็นการเลือกชนิดของยา ขนาดของยา และระยะการให้ยาระหว่างมื้อยา โดยแพทย์และผู้ป่วยต้องร่วมมือกันก็จะช่วยลดโอกาสที่เชื้อโรคจะพัฒนาเพื่อต่อต้านยาที่ใช้รักษา และลดโอกาสการแพร่กระจายของเชื้อโรคไปยังผู้ป่วยอื่นด้วย

เมื่อผู้ป่วยกลับไปอยู่บ้าน ให้ปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ โดยรับประทานยาปฏิชีวนะจนครบตามแพทย์สั่ง ห้ามหยุดยาก่อนและไม่ซื้อยามารับประทานเอง ถ้ามีอุปกรณ์ทางการแพทย์ติดตัวไปหรือมีแผลด้วย ให้ทำความสะอาดมือบ่อยๆ โดยเฉพาะก่อนและหลังทำแผลรวมถึงดูแลความสะอาดทั้งอุปกรณ์ ก่อนเตรียมและรับประทานอาหาร หลังเข้าห้องน้ำ หลังสั่งน้ำมูก ไอหรือจาม หลีกเลี่ยงการใช้ผ้าขนหนูหรือใบมีดโกนร่วมกัน และทุกครั้งที่ไปรับบริการทางการแพทย์ ควรแจ้งให้บุคลากรทางการแพทย์ทราบถึงประวัติการดื้อยา เพื่อจะได้รับการดูแลทั้งการรักษาและการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อโรคดื้อยาอย่างเหมาะสม

http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9560000033764