รู้ได้ยังไงว่า…เราเป็นไข้เลือดออก

กระทรวงสาธารณสุข เตือนประชาชนโรคไข้เลือดออก มีอาการสำคัญที่สังเกตได้ คือ ไข้สูงลอยเกิน 2 วัน เบื่ออาหาร อาเจียน กินยาแล้วไข้ไม่ลด รีบพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยและรักษา อันตรายที่สุด คือ ช่วงไข้ลดเริ่มตั้งแต่วันที่ 3-5 วัน หากซึมลง อ่อนเพลีย รับประทานอาหารและดื่มน้ำไม่ได้ กระสับกระส่าย มือเท้าเย็น ปวดท้องหรืออาเจียนเป็นเลือด แสดงว่าอาจเข้าสู่ภาวะช็อก ให้ไปพบแพทย์โดยเร็วที่สุด

เมื่อมีไข้ดูแลง่ายๆ คือ เช็ดตัวผู้ป่วยไม่ให้ตัวร้อนจัด รับประทานยาตามแพทย์สั่ง รับประทานอาหารอ่อนและที่ทำให้สดชื่น เช่น น้ำเกลือ น้ำผลไม้ พักผ่อนมากๆ และหมั่นสังเกตอาการที่เปลี่ยนแปลงของผู้ป่วยช่วงที่สำคัญและถือว่าอันตรายที่สุดคือ ช่วงที่ไข้ลด ซึ่งประมาณตั้งแต่ 3-5 วันหลังป่วย ถ้าผู้ป่วยฟื้นไข้ คือ มีอาการสดชื่น รับประทานอาหารได้ กรณีในเด็ก ถ้าวิ่งเล่นได้ก็แสดงว่าน่าจะหายป่วย แต่หากพบว่าซึมลง อ่อนเพลีย รับประทานอาหารและดื่มน้ำไม่ได้ กระสับกระส่าย มือเท้าเย็น   ปวดท้องกะทันหัน   หรืออาเจียนเป็นเลือด   แสดงว่าเข้าสู่ภาวะช็อก  ให้ไปพบแพทย์โดยเร็วที่สุด

ทั้งนี้ โรค ไข้เลือดออก ป้องกันได้ ประชาชนมีส่วนสำคัญในการป้องกันและควบคุมโรค ทำได้ด้วยการ

1.  เก็บบ้านให้สะอาด โปร่ง โล่ง ไม่ให้มีมุมอับทึบ เป็นที่เกาะพักของยุง ตรวจสอบมุ้งลวด มุ้งที่ใช้กางนอน มีรอยรั่วหรือไม่ ให้ปะชุนให้เรียบร้อย

2.  เก็บขยะ เศษภาชนะรอบบ้าน เช่น ใบไม้ กล่องโฟม จานรองกระถางต้นไม้ ยางรถยนต์เก่า ต้องเก็บกวาด ฝัง เผา หรือทำลายทำต่อเนื่องสัปดาห์ละครั้ง ไม่ให้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุง

3.  ภาชนะเก็บน้ำ ต้องปิดฝาให้มิดชิด ป้องกันยุงลายไปวางไข่ ภาชนะรองน้ำ ต้องสังเกตดูว่า มีรอยไข่ยุงลาย ดำ ๆ ติดอยู่หรือไม่ เพราะไข่ยุงลายติดอยู่ได้นานเป็นปี หากพบใช้ผ้าชุบน้ำเช็ดออก

4.  ป้องกันตนเองจากการถูกยุงกัด เช่น ทายากันยุง กำจัดยุงโดยใช้ไม้ช็อตไฟฟ้า จุดสมุนไพรหรือยาจุดไล่ยุง หรือ ใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น

———————– ขอขอบคุณข้อมูลจาก http://health.mthai.com/howto/health-care/12159.html

Leave a Reply