ความดันโลหิตต่ำ…ต้องอ่านด่วน

Omron : digital blood pressure monitor
Omron : digital blood pressure monitor

คนที่บ้านเป็นลม วัดความดันพบว่าต่ำ จึงไปหาหมอ
(ไม่เกี่ยวอะไรกับความดันทุรังนะครับ)

16 ก.ย.59 หมอแนะนำว่าให้ออกกำลังกาย
ให้ยาลดความเครียด
แนะนำให้ออกกำลังกาย
นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ
ติดราวในห้องน้ำ เวลาเป็นลมจะได้มีที่เกาะ

จากนั้นก็ไปค้นข้อมูลเก็บไว้อ่าน ดังนี้

ความดันโลหิตต่ำ (Hypotension) คือ การที่ความดันโลหิตลดลงอย่างกระทันหันอาจเกิดเนื่องมาจากหัวใจล้มเหลว ที่จะรักษาระดับความดันไว้ได้ หรือเกิดจากการขาดของเหลวไหลเวียนอย่างรุนแรงในระบบหมุนเวียนโลหิต

ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความดันต่ำ คือ การอดอาหารเป็นเวลานาน ๆ การใช้ยาระงับประสาทบางชนิด การเสียเลือดมากกว่าปกติ และความผิดปกติในการขับถ่าย ความดันต่ำไม่เป็นอันตรายก็จริง แต่ก็คงจะทำให้เป็นคนอ่อนแอ ไม่มีแรง ปวดหัวเวียนหัวอยู่ตลอดเวลา ทำงานที่ออกแรงไม่ได้ เป็นต้น

ความดันโลหิตโดยทั่วไปสำหรับผู้ ใหญ่
ถ้าเกิน 140/90 ถือว่าเป็นความดันโลหิตสูงเกินควร
ถ้าต่ำกว่า 100/60 ถือว่าต่ำเกินควร
ตัวเลขเหล่านี้เราจะรู้ได้จากการวัดด้วยเครื่องวัดความดันโลหิต (Sphygmomanometer) ซึ่งจะเป็นเครื่องวัดที่ต้องใช้หูฟัง (Stethoscope) หรือจะเป็นเครื่องวัดอัตโนมัติแบบที่เรียกว่าดิจิตอลก็ได้
(Omron : digital blood pressure monitor)

ความดันโลหิตต่ำเกิดขึ้นได้จากต้นตอ 2  ประการ คือ

1.  จากระบบบางอย่างของร่างกายบกพร่องมาตั้งแต่เกิด
2. เกิดจากโรคภัยไข้เจ็บเฉพาะหน้าบางประการ สาเหตุบางอย่างจากระบบบกพร่องนั้น ได้แก่  คนที่โลหิตจางหรือเลือดน้อย   ปริมาณรวมของเลือดต่ำและผนังของเส้นเลือดและการปั๊มของหัวใจผิดปกติ

อันตรายร้ายแรงจากระบบบกพร่องนั้น   จะไม่ค่อยมี แต่ผู้ที่ความดันโลหิตต่ำมักจะ เป็นคนที่ไม่มีแรง   เวียนหัว   หัวหมุน   และคลื่นไส้อาเจียนได้ง่าย ทำงานหนักไม่ค่อยจะได้   เหนื่อยง่าย
ส่วนที่ความดันโลหิตต่ำเพราะมีโรคภัยเฉพาะหน้าเกิดขึ้นนั้น    อาจจะเกิดขึ้นเพราะโลหิตจางแบบเฉียบพลัน    ซึ่งสาเหตุอาจจะเป็นเพราะอุบัติเหตุเสียเลือดมาก หรือมีสิ่งที่เป็นท้อกซินมากเข้าสู่ร่างกายอย่างกะทันหัน หรือต้องรับยาเคมีบางอย่าง   เช่น   ผู้ที่ป่วยเป็นมะเร็งต้องรับเคมีบำบัด   และต้องใช้รังสีบำบัด เป็นต้นความดันต่ำกว่าปกติสามารถก่อผลเสียอย่างทันทีได้มากมาย   เนื่องจากอวัยวะสำคัญหลายชนิดต้องการเลือดและความดันเลือดในระดับหนึ่ง  จึงจะทำหน้าที่ได้ดี    เมื่อความดันต่ำลงมาก  อวัยวะต่างๆ   ก็จะเริ่มหยุดทำงานที่สำคัญๆ   ได้แก่ ไต ตับ หัวใจ สมอง     โดยเฉพาะสมองที่จะก่อให้เกิดอาการหน้ามืดเป็นลมหมดสติ     และในที่สุดอาจจะเสียชีวิตได้ถ้าไม่ได้แก้ไขสาเหตุของความดันต่ำ อาการนี้ทางการแพทย์เรียกว่า Shock

สาเหตุที่พบแบ่งตามลักษณะการเกิดและการรักษา
1. Hypovolumic shock ช๊อคความดันต่ำจากการเสียเลือดหรือเสียน้ำจากร่างกายมากๆ พบในอุบัติเหตุ หรือการติดเชื้อบางอย่าง(ท้องร่วง)
2. Distributive shock  เกิดช๊อคความดันต่ำจากการที่เส้นเลือดทั่วร่างกายขยายตัว   จนปริมาณเลือดในร่างกายดูเหมือนมีน้อยลง  (เมื่อเทียบกับพื้นที่ๆเพิ่มขึ้น)   พบในการแพ้อาหารยาแมลง   การกระทบกระเทือนทางระบบประสาทอย่างรุนแรง   และการติดเชื้อในกระแสโลหิต

3. Cardiogenic shock   ความดันต่ำช๊อคจากการที่หัวใจทำงานแย่ลง พอตัวปั๊มเลือดทำงานแย่ ความดันเลือดก็ลดลง พวกนี้เจอในโรคหัวใจขาดเลือดหรือหัวใจวายทั้งหลาย

สามตัวนี้ ถ้าปล่อยไว้ ตาย… (บางทีรักษาไม่ไหวก็ตาย)
Symptomatic hypotension อื่นๆ ได้แก่โรคหรือภาวะใดๆที่ทำให้ร่างกายเกิดความดันต่ำขึ้นชั่วขณะ มีหลายๆตัว อันตรายบ้างไม่อันตรายบ้าง แต่อาการที่ตรงกันก็คือจะมีอาการหน้ามืด เป็นลม เหงื่อแตก ใจเต้นเร็ว หมดสติหรือเกือบหมดสติ
วิธีแก้    สำหรับผู้ที่มีโรคภัยเฉพาะหน้าก่อน
ถ้าจะให้รู้ว่าเพราะโลหิตจางหรือไม่   คงจะต้องตรวจเลือดก่อนแล้วดูที่ปริมาณเม็ดเลือดขาวก่อนเป็นตัวแรกต่อจากนั้นให้ดูที่เฮโมโกลบิน   (ตัวที่รับเอาออกซิเจนเข้าไว้ในเลือด)   แล้วดูเฮมาโตคริต   (เปอร์เซ็นต์ของเม็ดเลือดแดงทั้งหมด)ถ้าชนิดของเลือดเหล่านี้ต่ำกว่าเกณฑ์จะค่อนข้างแน่ใจว่าโลหิตจาง   และถ้าวัดความดันโลหิตว่าต่ำกว่าเกณฑ์ก็ต้องให้เลือดเป็นการด่วน แต่การปฏิบัติเช่นนี้เป็นหน้าที่ของแพทย์ทำเองไม่ได้ เมื่อแก้อาการโลหิตจางตามนี้ได้แล้ว ความดันโลหิตของคุณน่าจะขึ้นมาได้อยู่ในระดับปกติ

แต่อีกอย่างหนึ่งที่จะต้องเฝ้าดูเป็นพิเศษ คือ การที่คุณโลหิตจางนั้นเกิดจากการเลือดออกภายในร่างกายหรือไม่ เลือดออกภายในนี้อาจจะเป็นที่แผลในกระเพาะหรือลำไส้ คุณรับประทานอะไรเข้าไปเป็นกรดหรือย่อยไม่หมด ก็จะทำให้แผลภายในเลือดออกไม่หยุด อย่างนี้อันตรายแบบเฉียบพลัน ความดันโลหิตต่ำอย่างแน่นอนฉะนั้น อย่าวางใจถ้าความดันโลหิตต่ำจนหมดแรงจะเป็นลม แต่ไม่พบอาการผิดปกติอย่างอื่นให้ดูให้แน่ว่ามีเลือดออกภายในร่างกายหรือไม่ รีบส่งโรงพยาบาลด่วน    โรคเฉพาะหน้าที่ทำให้ความดันโลหิตต่ำอีกอย่างหนึ่งและไม่ค่อยมีใครสังเกตพบ ก็คือ ผู้ที่เป็นหวัดอย่างแรง หรือไปติดเชื้อหวัดใหญ่มา ความดันโลหิตมักจะต่ำ แต่ก็ไม่มีใครค่อยสังเกต เพราะถ้าใครเป็นหวัดใหญ่ ก็มักจะให้คนไข้นอนพัก ให้ยาแก้ไข้ ให้อาหารบำรุงไม่กี่วันก็จะหายแต่ข้อสังเกต ถ้ามีโอกาสตรวจความดันโลหิตและปรากฏว่าเป็นความดันต่ำแล้วละก็ รีบให้ยาบำรุงเลือดด้วย

คำแนะนำเพื่อช่วยป้องกันโรคความดันโลหิตต่ำ
1. ดื่มชาโสม ชาโสมจะมีประโยชน์ในกรณีอ่อนเพลีย
2. ดื่มชาขิง ชาขิงจะช่วยกระตุ้นและสนับสนุนระบบหมุนเวียนโลหิต
3. การพักผ่อนนอนหลับให้สนิทและมากๆ มีความจำเป็นเพราะการนอนไม่หลับจะทำให้เกิดความดันโลหิตต่ำ
4. รับประทานผลไม้เพื่อให้ได้วิตามิน
5. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ


ถ้ามีปัญหาเรื่องขาดอาหาร ก็ควรให้สารอาหารชดเชย เช่น
– กรดโฟลิคจากน้ำผึ้งช่วยสร้างเม็ดเลือดแดง
– กรดอะมิโนในสาหร่ายเกลียวทองเป็นสารอาหารที่จำเป็นต่อผนังเส้นเลือดและระบบประสาทอัตโนมัติ
– วิตามิน เกลือแร่ ในว่านหางจระเข้ช่วยให้เกิดสมดุลของความดันโลหิต
– วิตามินซี ช่วยในการดูดซึมแคลเซี่ยม ธาตุเหล็กและกระบวนการเมตาโบลิซึมของร่างกาย
– วิตามินอีในเมล็ดทานตะวันช่วยลดการแตกตัวของเม็ดเลือดแดง
การแก้ผู้ที่มีความดันโลหิตต่ำโดยทั่วไป
1.  แก้ด้วยอาหาร ควรจะให้อาหารที่เพิ่มโปรตีน ให้มากๆ สำหรับท่านที่กินอาหารชีวจิตอยู่แล้ว เราให้กินโปรตีนทั้งจากพืชและจากเนื้อสัตว์ได้ จากพืชก็คือ ถั่วต่างๆ เช่น ถั่วเหลือง ถั่วดำ ถั่วแดง และผลิตผลจากถั่ว เช่น เต้าหู้ โปรตีนเกษตร เป็นต้น และเราให้กินปลาหรืออาหารทะเลได้ อาทิตย์ละ 2 ครั้งอาจจะเพิ่มปลาได้เป็นอาทิตย์ละสัก 3 ครั้ง และถั่ว-เต้าหู้ให้เพิ่มขึ้นเป็น 25% แทนที่จะเป็น 15%

2.  กินวิตามิน B COMPLEX 100 มก. เป็นประจำวันละ 1 เม็ด และให้แถม B1 100 มก.และ B12 500 ไมโครแกรม อีกอย่างละเม็ด

3.  แคลเซียม 1,000 มก. และโปแตสเซียม 500 มก. กินประมาณ 1 เดือน เว้น 1 เดือน

4. วิตามิน E 400 IU. วันละ 1 เม็ด

5. ขอให้ออกกำลังกายเบาๆก่อน ใช้วิธีรำตะบองแบบชีวจิตจะดีที่สุด แรกใช้
แต่ละท่า ประมาณ 20 ครั้ง เมื่อรู้สึกดีแล้ว ให้เพิ่มเป็นท่าละ 3 ครั้ง

6. ใช้หัวแม่มือนวดเบาๆ บริเวณกลาง หน้าอกแล้วเลื่อนไปที่บริเวณใกล้รักแร้สองข้าง
—————————–
แหล่งข้อมูล:จาก..  คอลัมน์ชีวจิต หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ
http://www.thairath.co.th/content/134141
https://en.wikipedia.org/wiki/Hypotension
http://med.mahidol.ac.th/ramachannel/index.php/knowforhealth-20140914-3/
http://www.thaihealth.or.th/node/17259
+ http://www.thailabonline.com/sec31hypo.htm