ดัน “นวดไทย” ขึ้นเป็นมรดกวัฒนธรรมโลก หวังยกระดับสปาไทย

dd61

วันที่ 20 กรกฎาคม 2559  น.ต. นพ.บุญเรือง ไตรเรืองวรวัฒน์ อธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ (สบส.) กระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยว่า สบส. ได้เร่งเดินหน้าดำเนินการผลักดันการสร้างเศรษฐกิจรายได้ประเทศจากบริการสุขภาพ ตามนโยบายรัฐบาลที่จะพัฒนาประเทศให้เป็นศูนย์กลางสุขภาพนานาชาติ หรือ เมดิคัลฮับ (Medical Hub)  โดยยกระดับบริการเพื่อส่งเสริมสุขภาพประเภทนวดไทยและสปาไทย ซึ่งมีชื่อเสียงโด่งดังทั่วโลก และเป็นที่นิยมของชาวต่างชาติ ให้เป็นแบรนด์ หรือสัญลักษณ์ของประเทศไทย

สำหรับแนวคิดผลักดันให้นวดไทยเป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรม เพื่อสร้างชื่อเสียงและคุณค่าแก่ภูมิปัญญาไทย เนื่องจากการนวดไทยเป็นมรดกภูมิปัญญาของไทยที่สืบทอดมายาวนานกว่า 600 ปี จนถึงยุคปัจจุบัน ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ นวดแบบราชสำนัก และนวดแบบเชลยศักดิ์

น.ต. นพ.บุญเรือง กล่าวต่อว่า จากการหารือร่วมกับกรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก, กระทรวงวัฒนธรรม, องค์กรยูเนสโก (UNESCO) ประจำประเทศไทย และภาคเอกชน ทุกหน่วยงานมีความเห็นตรงกัน และจะร่วมกันเร่งผลักดันตามขั้นตอน หากเป็นผลสำเร็จจะถือว่าเป็นมรดกชิ้นแรกของโลก ที่สามารถนำมาใช้ในการดูแลสุขภาพ

ขณะเดียวกันได้หารือกับกระทรวงแรงงาน ในการปรับปรุงกฎหมายเพิ่มเติมอาชีพนวดไทยให้เป็นอาชีพสงวนสำหรับคนไทย เพื่อรักษาคุณภาพ มาตรฐาน เอกลักษณ์ และชื่อเสียงของการนวดไทย ซึ่งเปรียบเสมือนรสสัมผัสที่สามารถรับรู้ผ่านการนวดโดยฝีมือคนไทยเท่านั้น

————————————–ขอขอบคุณข้อมูลจาก Kapook.com

10 อาชีพที่น่าแนะนำเยาวชนว่าเรียนแล้วมีอนาคตสดใส

10 อาชีพที่น่าจะรายได้ดี และมีโอกาสได้งานทำสูง
ในยุคอินดัสทรี (Industry) 4.0

ธนวรรธน์ พลวิชัย” ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ได้ให้ข้อมูลอาชีพในอนาคต ที่มีโอกาสประสบความสำเร็จอย่างสูงในไทย 10 อันดับ ได้แก่

1. อาชีพเขียนโปรแกรมเมอร์  (Programmer)
ผู้ที่คิดค้นแอพพลิเคชั่นต่าง ๆ ตามเทรนด์สังคมโลกเปลี่ยนผ่าน
จาก analog สู่ digital จากกดปุ่มเป็นจอสัมผัส
และไปสู่อินดัสทรี 4.0 ที่มีดิจิตอลเป็นหัวใจ

2.อาชีพที่เกี่ยวข้องกับความสวย ความงาม (Beauty)
ผู้รับทำให้ผู้คนสวยงาม ได้แก่ แพทย์ศัลยกรรม แพทย์ผิวหนัง ทันตแพทย์ เภสัชกร พนักงานขายสินค้าด้านความงาม ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์บำรุงผิวสำหรับหญิงและชาย ซึ่งในไทยเป็นที่นิยมอย่างมาก

3.อาชีพดูแลด้านสุขภาพ (Health)
ครอบคลุมตั้งแต่เด็กถึงวัยชรา เทรนด์นี้ทั้งโลกให้ความสำคัญ โดยเฉพาะไทยกำลังเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ อยากมีอายุยืนยาวขึ้น ยอมจ่ายเเพื่อตรวจสุขภาพประจำปีกับโรงพยาบาล รับประทานอาหารที่เน้นดูแลตัวเอง และธุรกิจฟิตเนส เทรนเนอร์ จะได้รับความนิยม

4.อาชีพที่เรียนด้านวิทยาศาสตร์เคมี ชีวเคมี  (Science)
ผู้ที่เรียนทางวิทยาศาสตร์ ปัจจุบันมีการใช้สารเคมีที่มาจากธรรมชาติ จากพืช อาทิ การใช้พลาสติกจากชานอ้อย บริษัทที่ผลิตสินค้าที่ผลิตจากพืชจะได้รับความนิยม เพราะโลกจะให้ความสำคัญกับการดูแลสิ่งแวดล้อม

5.อาชีพที่เกี่ยวข้องกับพลังงาน (Energy)
ผู้ที่มีความรู้เรื่องพลังงาน พลังงานทดแทน การดูแลสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะพลังงานไฟฟ้ามีบทบาทในชีวิตประจำวัน

พลังงานทดแทน
พลังงานทดแทน

6.อาชีพที่มีความชำนาญด้านเครื่องกลขั้นสูง (Mechanical specialist)
ผู้ที่จะเป็นกลไกสำคัญพาประเทศปรับโครงสร้างอุตสาหกรรม

7.อาชีพที่เกี่ยวข้องกับการใช้ภาษา (Language)
ผู้ที่มีความรู้ในภาษา มีทักษะทั้งการพูด การเขียน การคิดสโลแกน ถ้อยคำ ภาษาสำคัญ คือ อังกฤษและจีน ที่ใช้ทั่วโลก และภาษาอารบิกสำหรับชาวมุสลิมที่กระจายอยู่ทั่วโลก รวมถึงภาษาญี่ปุ่น เป็นต้น

8.อาชีพนักกฎหมายธุรกิจ (Law)
นักกฎหมายที่มีความรู้เรื่องกฎหมายระหว่างประเทศ

9.อาชีพที่ดูแลสิ่งแวดล้อม (Environment)
ผู้มีความรู้เรื่องการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และการฟื้นฟูธรรมชาติ

10.  อาชีพที่เกี่ยวข้องกับสัตว์เลี้ยง (Pet)
อาชีพสัตวแพทย์ ผู้ผลิตวัคซีนสำหรับสัตว์เลี้ยง ร้านขายอุปกรณ์สัตว์เลี้ยง แฟชั่นสัตว์เลี้ยง และการผลิตอาหารสัตว์

อาชีพทั้งหมดนี้ประเมินจากโครงสร้างเศรษฐกิจไทยที่มุ่งสู่อุตสาหกรรม 4.0 ที่มีระบบดิจิตอลเป็นหัวใจสำคัญ ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงจากโรบอติก เชื่อมโยงโลก ต้องการแรงงานทักษะ แต่ลดการใช้แรงงานทั่วไป การเปลี่ยนของโครงสร้างเศรษฐกิจประเทศที่เกิดขึ้น “อรรชกา สีบุญเรือง” รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม แสดงความเห็นว่า ต่อไปประเทศไทยต้องก้าวเข้าสู่อุตสาหกรรม 4.0 ใช้เทคโนโลยีเข้ามาใช้ในกระบวนการผลิตตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำมากขึ้น ทำให้ความต้องการแรงงานทั่วไปลดลง แต่ต้องการแรงงานที่มีทักษะสูง โดยขณะนี้กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงอุตสาหกรรม รวมทั้งภาคเอกชน ได้หารือร่วมกัน เพื่อปรับหลักเกณฑ์การเรียนการสอนให้นักศึกษาใหม่ เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการแรงงานของภาคอุตสาหกรรมอย่างแท้จริง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมกล่าวยังมั่นใจว่า ภายใน 5 ปีข้างหน้าจะเห็นภาพการเปลี่ยนแปลง คือ ความต้องการแรงงานที่ต้องใช้ทักษะอาชีพที่มีความเชี่ยวชาญขึ้น แต่เชื่อว่าจะไม่ส่งผลกระทบจนเลิกจ้างงาน หรืออัตราการว่างงานเพิ่มมากขึ้น เพราะตอนนี้แรงงานในภาคบริการยังขาดอยู่มาก อาทิ ภาคท่องเที่ยว ซึ่งอัตราการขยายตัวของนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง อาจมีการโยกแรงงานจากอุตสาหกรรมการผลิต เข้าสู่อุตสาหกรรมภาคบริการเพิ่มขึ้น แม้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมจะเตือนให้รับมืออนาคต แต่ที่เกิดขึ้นแล้วในปัจจุบัน คือนโยบายลดพนักงานลงแบบสมัครใจออก ของบริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด (มหาชน) ที่จัดโครงการ “จากกันด้วยใจ” โดยเป็นพนักงานในส่วนของการรับเหมาค่าแรง (ซับคอนแทร็กต์) ที่ตั้งเป้าหมายไว้ที่ 1,000 คน สาเหตุที่โตโยต้าปรับลดพนักงาน บริษัทให้ข้อมูลว่า เนื่องจากสภาวะเศรษฐกิจภายในประเทศยังคงชะลอตัว ประกอบกับความผันผวนของสภาวะเศรษฐกิจโลกที่มีผลต่อการส่งออก ส่งผลกระทบต่อตลาดรถยนต์ทั้งในประเทศและต่างประเทศอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา ทำให้ต้องปรับลดกำลังการผลิตลง และมีพนักงานเกินความจำเป็นในการผลิต แต่ยืนยันว่าหากกำลังผลิตกลับมาปกติจะกลับมาจ้างงานกลุ่มที่ลาออกแน่นอน แม้จะเป็นการจากลาแบบ “สมยอม” แต่ลึกๆ ในกลุ่มแรงงานเองต่างหวาดหวั่นกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น รวมทั้งหวาดหวั่นกับสภาวะเศรษฐกิจภายในประเทศที่ชะลอตัวจนบริษัทใหญ่ต้องลดพนักงาน เกิดการตั้งคำถามไปยังรัฐบาลว่า จริงๆ แล้วเศรษฐกิจไทยกำลังดี หรือชะลอตัว เพราะในช่วงเวลาไล่เลี่ยกัน หัวหน้าทีมเศรษฐกิจรัฐบาล “สมคิด จาตุศรีพิทักษ์” รองนายกรัฐมนตรี เพิ่งประกาศกับนักลงทุนญี่ปุ่นภายในการประชุมแบงค็อก นิกเกอิ ฟอรั่ม 2559 จัดโดยสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) ว่า เศรษฐกิจไทยเติบโตดี โดยเฉพาะไตรมาส 2 มากกว่า 3% อย่างไรก็ตาม มีข้อมูลบ่งชี้สถานการณ์การจ้างงานของไทย เปิดเผยโดยกระทรวงแรงงาน ระบุว่า ตัวเลขการว่างงานของไทยช่วง 3 เดือนของปีนี้ พบว่าเดือนเมษายน มีตัวเลขผู้ว่างงาน 1% เดือนพฤษภาคม 1.2% และเดือนมิถุนายน 1% โดยกระทรวงแรงงานยืนยันว่าตัวเลขดังกล่าวอยู่ในภาวะปกติ แต่หลายคนก็มองว่าตัวเลขการว่างงานดังกล่าวดูเหมือนจะไม่ใช่เรื่องปกตินักเพราะสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เอง ก็กำลังจับตาการจ้าง 5 เดือนแรกของปีนี้ ระหว่างเดือนมกราคม-พฤษภาคม พบว่า มีอัตราการว่างงานเฉลี่ยอยู่ที่ 385,682 คน จากกำลังแรงงานทั้งหมด 38.5 ล้านคน หรือคิดเป็น 1.07% เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่อยู่ระดับ 0.93% นอกจากนี้ สำนักเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา (กกอ.) ยังให้ข้อมูลว่าแนวโน้มการจ้างงานในปี 2559 จะมีบัณฑิตจบใหม่ 100,000 คน และ 1 ใน 4 อาจไม่มีงานทำ แม้สถานการณ์จ้างงานจะไม่สู้ดีนัก แต่ถ้ารู้จักรับมือและมองเทรนด์โลกให้ออก เชื่อว่าไม่มีคำว่า “ตกงาน” แน่นอน

 

ที่มา คอลัมน์ เศรษฐกิจ
มติชนสุดสัปดาห์ หนังสือพิมพ์มติชนออนไลน์
วันที่: 23 ก.ค. 59 เวลา: 07:46 น.

 

อ้างอิง http://www.matichon.co.th/news/220863
อ้างอิง  http://www.kroobannok.com/article-79488-10-อาชีพในอนาคต-ที่มีโอกาสประสบความสำเร็จอย่างสูงในไทย.html
ข้อมูลเพิ่มเติม

แรงงานเชี่ยวชาญ

             การประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 9 เมื่อ 7 ตุลาคม 2546 ที่บาหลี อินโดนีเซีย ได้กำหนดจัดทำข้อตกลงร่วมกัน (Mutual Recognition Arrangements : MRAs) เกี่ยวกับคุณสมบัติของวิชาชีพหลัก แรงงานเชี่ยวชาญ หรือผู้มีความสามารถพิเศษ เพื่ออำนวยความสะดวกในการเคลื่อนย้ายได้อย่างเสรี โดยจะเริ่มต้นในปี พ.ศ. 2558

ในเบื้องต้นได้ทำข้อตกลงร่วมกันแล้ว 7 สาขา

    1. วิศวกรรม (Engineering Services)
    2. พยาบาล (Nursing Services)
    3. สถาปัตยกรรม (Architectural Services)
    4. การสำรวจ (Surveying Qualifications)
    5. แพทย์ (Medical Practitioners)
    6. ทันตแพทย์ (Dental Practitioners)
    7. บัญชี (Accountancy Services)
แรงงานเชี่ยวชาญ
แรงงานเชี่ยวชาญ

http://www.thaiall.com/asean/