ใครว่าดื่มเหล้า…ดื่มเบียร์แล้วไม่มีประโยชน์

images1
ใครๆ  ก็บอกว่ากินเหล้าเบียร์นั้นไม่มีประโยชน์แต่จริงๆ มันมีประโยชน์อยู่ในตัวของมันนะ
แต่ต้องดื่มให้พอเหมาะพอควรไม่ใช่ดื่มหนักจนลืมโลกไปเลย.
มาดูประโยชน์ของเหล้าเบียร์กันเลยดีกว่า
1.ประโยชน์ต่อหัวใจ คุณดื่มนิดหน่อยนะมันช่วยลดการแข็งตัวของเกล็ดเลือด ลดการดื้อต่ออินซูลิน จึงช่วยป้องกันโลกหัวใจสำหรับคนที่เป็นเบาหวาน ความดันโลหิตสูง และป้องกันโรคหัวใจได้ 
2.ประโยชน์ต่อสมอง ดื่มแค่สัปดาห์ละ 1-6 แก้ว จะช่วยป้องกันโรคอัลไซเมอร์และความจำเสื่อมได้ ลดการอุดตันในเส้นเลือด เพราะแอลกอฮอร์ทำให้เลือดสูบฉีดดี 
3.ประโยช์ต่อกระดูก ดื่มนิดหน่อย ช่วยสะสมแคลเซียมและธาตุอื่น ๆในกระดูก ช่วยเพิ่มความหนาแน่นของกระดูกสะโพก ป้องกันกระดูกแตกหัก
4.ช่วยลดความเสี่ยงโรคเบาหวาน  ถ้าดื่มนิดหน่อย ถึงปานกลางจะช่วยลดความเสี่ยงเบาหวานได้ 36% 
5.ช่วยป้องกันโรคมะเร็ง ถ้าดื่มนิดหน่อย ไวน์แดงและเบียร์ดำ ป้องกันมะเร็งได้ช่วยชะลอการเติบโตของเซลล์มะเร็ง

ปริมาณการดื่มที่เหมาะสม

ปริมาณ standard drink (1 ดริ๊ง) คือเท่าไหร่ ?  ขึ้นกับความเข้มข้นของแอลกอฮอล์ ซึ่งโดยทั่วไปคือ
* วิสกี้ บรั่นดี 1 ดริ๊งก์ คือ 45 ซีซี หรือ 1.5 ออนซ์ (4.5 ฝาสูง)
– ไวน์ 1 ดริ๊งก์ คือ 150 ซีซี หรือ 5 ออนซ์ (ประมาณ 1/5 ขวด)
– เบียร์ 1 ดริ๊งก์ คือ 360 ซีซี หรือ 12 ออนซ์ (ประมาณ 1 กระป๋องเล็ก)
* ปริมาณเหล้าที่ยังไม่ผสม

——   ปริมาณการดื่มที่แนะนำต่อไปนี้ สำหรับผู้ที่มีสุขภาพดีที่เลือกจะดื่มแอลกอฮอล์ และไม่มีข้อห้าม    ——

ปริมาณการดื่มที่เหมาะสมหรือดื่มพอประมาณ (moderate drinking) คือเท่าไหร่ ? หากท่านเลือกที่จะดื่มแอลกอฮอล์ ปริมาณที่เหมาะสมซึ่งมีผลดีต่อไขมันและหลอดเลือดของร่างกาย และลดความดันโลหิตได้คือวันละ 1 ดริ๊งสำหรับผู้หญิง (และผู้ชายที่น้ำหนักน้อยกว่า 60 กก.) และ 2 ดริ๊งสำหรับผู้ชาย

ดื่มมากแค่ไหน ที่เรียกว่าดื่มหนัก (heavy drinking) ?  คือดื่มมากกว่าวันละ 1 ดริ๊งสำหรับผู้หญิง และ มากกว่า 2 ดริ๊งสำหรับผู้ชาย

ดื่มมากแค่ไหน ที่เรียกว่าดื่มมากเกินไปหรือดื่มหัวราน้ำ (binge drinking) ?  คือดื่มมากจนระดับแอลกอฮอล์ในเลือดสูงกว่า 80 mg% โดยทั่วไปเป็นการดื่มที่มากกว่า 4 ดริ๊งสำหรับผู้หญิง และ มากกว่า 5 ดริ๊งสำหรับผู้ชายใน 1 ครั้ง (ภายในประมาณ 2 ชั่วโมง)

ถ้าดื่มแอลกอฮอล์แล้วต้องการให้ผ่านด่านเป่าของตำรวจได้ จะดื่มอย่างไรตามประกาศกฎกระทรวงมหาดไทยฉบับที่ 16/2537 กำหนดระดับแอลกอฮอล์ในเลือดสำหรับผู้ขับขี่ไม่ให้เกิน 50 mg% ผู้ฝ่าฝืนจะต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 เดือน หรือปรับตั้งแต่ 2,000 ถึง 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และการวิจัยในคนไทยพบว่าการดื่มพอประมาณ (moderate drinking) มักจะทำให้ระดับแอลกอฮอล์ในเลือดไม่เกิน 50 mg% แต่การดื่มแอลกอฮอล์มักมีแอลกอฮอล์ค้างอยู่ในปาก 15-20 นาที ซึ่งทำให้ระดับแอลกอฮอล์สูงกว่าความเป็นจริงในการตรวจวัดระดับแอลกอฮอล์จากลมหายใจ ดังนั้นควรบ้วนปากด้วยน้ำเปล่าก่อน เพื่อกำจัดแอลกอฮอล์ที่ค้างอยู่ในปาก

ดื่มแอลกอฮอล์อย่างไรให้ปลอดภัย ?

  • ไม่ควรดื่มแอลกอฮอล์หากมีข้อห้ามด้านสุขภาพ สังคม หรือด้านกฏหมาย
  • หากกำลังตั้งครรภ์หรือจะตั้งครรภ์ไม่ควรดื่มแอลกอฮอล์ เพราะอาจส่งผลเสียต่อการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ได้ ทั้งด้านร่างกายและสติปัญญา ทำให้ลูกมีหน้าต่างผิดปกติได้
  • หลีกเลี่ยงการดื่มในขณะท้องว่าง ควรดื่มคู่กับมื้ออาหารหรือหลังอาหาร เพื่อชะลอการดูดซึมของแอลกอฮอล์ และควรดื่มอย่างช้าๆ ค่อยๆจิบ
  • จำกัดปริมาณการดื่มแอลกอฮอล์เพื่อไม่ให้สูญเสียการควบคุมตัวเองทั้งด้านร่างกายและจิตใจ
  • ผู้ที่ทำงานกับเครื่องจักร เครื่องกล หรือขับขี่ยานพาหนะ ควรหลีกเลี่ยงการดื่มสุราโดยสิ้นเชิง

ข้อเสียของการดื่มแอลกอฮอล์ การดื่มในปริมาณที่มากเกินไป ทำให้เป็น alcoholism และเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดโรคความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) ตับแข็ง มะเร็งคอหอย มะเร็งกระเพาะ มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ มะเร็งเต้านม ทำให้ระบบประสาทส่วนกลางผิดปกติ และโรคขาดวิตามินและเกลือแร่ต่างๆ ซึ่งเพิ่มอัตราการเสียชีวิต

—————–
ขอขอบคุณข้อมูลจาก   http://www.247friend.net/blog/oldman/2013/09/03/entry-1

http://bicrestaurant.com/media/bic-menu-alcohol.php