ผลวิจัยบอกสิงห์อมควันไม่กลัวบุหรี่ แม้จะใช้ภาพขู่บนซองบุหรี่แล้วก็ตาม

ข่าวหนึ่งบอกว่าภาพบนซองบุหรี่ทำให้สิงห์อมควันกลัว ทำให้ยอดซื้อบุหรี่ลดลงอย่างชัดเจน
Australia smoking rates tumble after plain packaging shift
http://www.ft.com/cms/s/0/c4016952-0d4a-11e4-bcb2-00144feabdc0.html

แต่อีกข่าวสื่อสารมาว่าไม่มีผลกระทบหรอก ยอดซื้อยังเหมือน ๆ เดิม
‘Plain’ packaging not a boost to illegal tobacco use, study suggests
http://www.bbc.com/news/health-28966048
http://www.theguardian.com/business/2014/aug/28/cigarette-plain-packaging-fear-campaign-unfounded-victoria-study-finds

cigarettes
cigarettes

ซองบุหรี่สีเรียบ ไม่กระทบสิงห์อมควัน ที่ออสเตรเลีย
ผลวิจัยล่าสุดจากออสเตรเลียพบว่า รูปคำเตือนบนซองบุหรี่ ไม่ได้ช่วยเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมหรือลดจำนวนนักสูบลงแต่อย่างใด
ไม่นานมานี้ ศาลปกครองสูงสุดของไทยยกเลิกคำสั่งระงับการขยายภาพบนซองบุหรี่จากร้อยละ 55 เป็นร้อยละ 85 ตามประกาศกระทรวงสาธารณะสุข พ.ศ. 2556 ส่งผลให้รูปภาพคำเตือนบนซองบุหรี่ในปัจจุบันมีขนาดใหญ่กว่าเดิมจนเกือบเต็มซอง แต่น้อยกว่าออสเตรเลียที่กำหนดให้ซองบุหรี่มีสีเรียบ ไม่มีสัญลักษณ์ยี่ห้อ และภาพคำเตือนที่มีขนาดประมาณร้อยละ 87.5 ของซองบุหรี่มาเป็นเวลาหลายปีแล้ว
ล่าสุด ศูนย์วิจัยด้านพฤติกรรมในโรคมะเร็งแห่งนครเมลเบิร์น ประเทศออสเตรเลีย ออกมาระบุว่า ไม่มีหลักฐานใดยืนยันอย่างชัดเจนว่า ซองบุหรี่สีเรียบ มีรูปคำเตือนขนาดใหญ่ ไม่มีสัญลักษณ์ยี่ห้อ จะสามารถเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการสูบบุหรี่ของสิงห์อมควันได้ หลังทำการสำรวจประชากรตัวอย่างทั่วออสเตรเลียกว่า 2,000 คน ด้วยการโทรศัพท์สัมภาษณ์สิงห์อมควันระหว่างปี 2554-2556 เกี่ยวกับพฤติกรรมการซื้อบุหรี่ ทั้งก่อนและหลังที่กฎหมายซองบุหรี่จะมีผลบังคับใช้ในปลายปี 2555
จากการสำรวจพบว่า 3 เดือนหลังจากกฎหมายซองบุหรี่ฉบับใหม่มีผลบังคับใช้ สิงห์อมควันเพียงร้อยละ 2.6 เท่านั้นพยายามหาซื้อบุหรี่แบบเก่า อย่างมากก็หาซื้อได้เพียงแค่ซองเดียว ขณะเดียวกัน จำนวนผู้ซื้อบุหรี่เถื่อนที่ไม่มีรูปภาพคำเตือนหรือซองสีเรียบมีจำนวนเพียง 2-3 รายเท่านั้น ตรงกับอัตราการบริโภคอัตราการสูบบุหรี่เถื่อนมวลรวมของประเทศที่มีเพียงร้อยละ 5 ในอัตราคงที่ระหว่างปี 2554-2556 ซึ่งหมายความว่า ซองบุหรี่ชนิดใหม่ที่มีรูปคำเตือนขนาดใหญ่แทบไม่ส่งผลอะไรต่อนักสูบเลย
ก่อนหน้านี้ ผลวิจัยจากสถาบัน KPMG ของประเทศอังกฤษ ซึ่งถูกว่าจ้างโดยบริษัทบริติชอเมริกันโทแบคโคและฟิลิปมอริส ผู้ผลิตบุหรี่รายใหญ่ของโลก ชี้ให้เห็นว่า ภายหลังที่กฎหมายซองบุหรี่ของออสเตรเลียฉบับใหม่มีผลบังคับใช้ จำนวนผู้ดูดบุหรี่ลดลงอย่างมาก ประกอบกับรัฐจัดเก็บภาษีบุหรี่ได้น้อยลง ขณะที่ บุหรี่เถื่อนกลับได้รับความนิยมในหมู่นักสูบที่ต้องการสองบุหรี่แบบปกติ ซึ่งตรงข้ามกับ
อย่างไรก็ตาม ประเด็นการเพิ่มรูปคำเตือนที่มีขนาดใหญ่ขึ้นหรือทำซองสีเรียบ มีการถกเถียงกันอย่างกว้างขวางว่าสามารถลดจำนวนผู้สูบบุหรี่ได้หรือไม่ แต่ในทางตรงกันข้าม จำนวนผู้สูบบุหรี่กลับมีแน้วโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อยในแต่ละปี
http://shows.voicetv.co.th/voice-news/115954.html

โลกเรามีกฎหมายการฆ่าตัวตายด้วยความช่วยเหลือทางการแพทย์

What dream may come
What dream may come

ข้อมูลจาก voicetv.co.th
ผลวิจัยล่าสุด ที่มีการสำรวจใน 12 ประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปพบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ เห็นด้วยกับกฎหมายอนุญาตให้มีการฆ่าตัวตาย โดยใช้ความช่วยเหลือทางการแพทย์ สอดคล้องกับความคิดเห็นของประชากรจำนวนมากในสหรัฐฯ ที่ในระยะหลัง เริ่มมีการผลักดันในเรื่องนี้มากขึ้น และตอนนี้ ก็มีหลายมลรัฐในสหรัฐฯที่ผ่านกฎหมายรับรองเรื่องนี้แล้ว เช่น โอเรกอน วอชิงตัน มอนทานา และเวอร์มอนท์
http://shows.voicetv.co.th/voice-world-wide/115845.html

ข่าวนี้ดูขัดกับภาพยนตร์เรื่อง What Dreams May Come (film)
http://en.wikipedia.org/wiki/What_Dreams_May_Come_%28film%29

เราจะพาไปที่เมืองซูริกของสวิตเซอร์แลนด์ ดินแดนที่ได้ชื่อว่ามีนักท่องเที่ยวเดินทางมาเพื่อขอรับความช่วยเหลือทางการแพทย์ในการฆ่าตัวตาย มากที่สุดในโลก โดยนักท่องเที่ยวเหล่านี้เลือกที่จะเดินทางมาเพื่อจบชีวิตตัวเองอย่างสงบ

ปัจจุบัน กฎหมายการฆ่าตัวตายด้วยความช่วยเหลือทางการแพทย์หรือ Assisted Suicide ของสวิตเซอร์แลนด์ยังคงมีเนื้อหาที่ไม่ชัดเจน และยังไม่มีการฟันธงว่า การกระทำดังกล่าว ผิดกฎหมายหรือไม่ ทำให้ชาวยุโรปจำนวนมาก ที่ต้องการจะจบชีวิตลงด้วยการใช้การช่วยเหลือทางการแพทย์ เลือกที่จะเดินทางมายังเมืองซูริก เมืองท่องเที่ยวชื่อดังของสวิตเซอร์แลนด์ ทำให้หลายคนเรียกนักท่องเที่ยวกลุ่มนี้ว่า suicide tourist หรือนักท่องเที่ยวที่มาเพื่อฆ่าตัวตาย

ผลวิจัยจาก Institute of Legal Medicine ในเมืองซูริก ซึ่งเพิ่งมีการตีพิมพ์ออกมาในนิตยสารทางการแพทย์เมื่อไม่นานมานี้ระบุว่า ในช่วงระหว่างปี 2551-2555 มีนักท่องเที่ยวที่เดินทางมายังซูริก เพื่อฆ่าตัวตายโดยขอความช่วยเหลือทางการแพทย์แล้วกว่า 611 คน โดยคนกลุ่มนี้เดินทางมาจาก 31 ประเทศทั่วโลก แต่ส่วนใหญ่มาจากเยอรมนี และสหราชอาณาจักร

ในจำนวนของผู้ที่มาขอรับการฆ่าตัวตาย ด้วยความช่วยเหลือทางการแพทย์ทั้ง 611 คนนี้ เป็นผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 23-97 ปี ทำให้ค่าเฉลี่ยของอายุอยู่ที่ 69 ปี และเป็นผู้หญิงถึงร้อยละ 58 โดยเกือบครึ่งหนึ่งของผู้ป่วยที่มาขอความรับความช่วยเหลือเพื่อฆ่าตัวตายนั้น เป็นโรคเกี่ยวกับระบบประสาท นอกจากนั้น ก็มีโรคมะเร็ง โรคไขข้ออีกเสบ และโรคหัวใจและหลอดเลือด ซึ่งส่วนมากล้วนแล้วแต่เป็นผู้ป่วยที่มีอาการลุกลาม และยากที่จะรักษาให้หายได้

โดยองค์กร DIGNITAS ซึ่งเป็นองค์กรสนับสนุนสิทธิเหนือร่างกายของมนุษย์ ในการที่จะจบชีวิตลงอย่างสงบ ด้วยการฆ่าตัวตายโดยขอความช่วยเหลือทางการแพทย์ ก็เปิดเผยว่า กลุ่มคนไข้เหล่านี้ จะได้รับการปฏิบัติเป็นอย่างดีจากโรงพยาบาล และเมื่อมาถึงวันที่กำหนด จะให้มีการฆ่าตัวตาย เจ้าหน้าที่จะให้ดื่มยาที่มีฤทธิ์กดประสาท และมีผลต่อระบบทางเดินหายใจ ทำให้ผู้ป่วยไม่ต้องทุกข์ทรมาน แต่จะค่อยๆหยุดหายใจจนจบชีวิตลงในที่สุด

ซึ่งวิธีการดังกล่าวได้รับความนิยมจากกลุ่มผู้ป่วยอาการโคม่าในสวิตเซอร์แลนด์ ไม่ต่างอะไรจากกลุ่มนักท่องเที่ยวที่ต้องการเดินทางมาเมืองซูริกเพื่อจบชีวิตของตนเอง โดยในปี 2551 นั้น มีนักท่องเที่ยวที่มาขอรับความช่วยเหลือทางการแพทย์เพื่อการฆ่าตัวตายมากถึง 123 คน และลดลงเหลือ 86 คนในปีถัดมา แต่เป็นที่น่าแปลกใจว่า ในช่วงปี 2552 จนถึงปี 2555 จำนวนนักท่องเที่ยวกลุ่มนี้เพิ่มขึ้นเป็น 172 คนเลยทีเดียว

ทั้งนี้ กฎหมายของสวิตเซอร์แลนด์ไม่ได้เขียนไว้อย่างแน่ชัดว่า ผู้ป่วยที่มีอาการถึงขั้นไหน ที่จะสามารถขอรับความช่วยเหลือทางการแพทย์เพื่อการฆ่าตัวตายได้ โดยเปิดโอกาสให้แพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านเป็นผู้ที่ตัดสินใจในเรื่องนี้ ส่วนในสหราชอาณาจักร ไอร์แลนด์ และฝรั่งเศส การกระทำดังกล่าวถือว่าเป็นสิ่งที่ผิดกฎหมาย