บริการเรียนรู้ทางไกลจากไมโครซอฟท์ (itinlife381)

microsoft office 365 on chula university
microsoft office 365 on chula university

เครื่องมือที่นำมาใช้สนับสนุนการเรียนรู้ทางไกล (Distance-learning) หรืออีเลินนิ่ง (E-learning) มีทั้งแบบโอเพนท์ซอร์ท (Open source) แบบจำหน่าย และแบบคราว (Cloud) ซึ่งบริการแบบคลาวด์เหมาะกับผู้ใช้ หรือผู้ให้บริการที่ไม่ต้องดูแลเครื่องบริการเอง ไม่ต้องพะวงเรื่องซอฟท์แวร์ ฮาร์ดแวร์ บุคลากร เครือข่าย หรือความปลอดภัย ปัจจุบันมีผู้ให้บริการเพิ่มขึ้นเป็นลำดับ ซึ่ง Microsoft Office 365 สามารถให้บริการโปรแกรมสำนักงานแบบออนไลน์เช่นเดียวกับ Google Apps แต่มีค่าใช้จ่ายต่อคนต่อเดือนตามประเภทการใช้งาน

การจัดการเรียนการสอนบนคลาวด์เหมาะสำหรับหลักสูตรที่ผู้เรียนมีความรับผิดชอบสูง และพร้อมใช้เทคโนโลยี ซึ่งบริการของ Microsoft Office 365 for education อยู่ในคลาวด์มาพร้อม Exchange Online ที่เปิดให้องค์กรมีเครื่องบริการอีเมล และ SharePoint Online ที่เปิดให้สถานศึกษามีไซต์ของตนเองที่สมาชิกสามารถร่วมกันจัดทำ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ และบริการจัดการเนื้อหาได้ และ  Lync Online ที่เปิดให้มีการติดต่อสื่อสารแบบวีดีโอคอนเฟอเรนท์ ซึ่งทั้งหมดรวมกันเพื่อสนับสนุนการจัดการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพ

ในประเทศไทยมีคณะเภสัชศาสตร์ของจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัยนำร่องจัดการเรียนการสอนทางไกลผ่านบริการของ Office 365 แล้ว ซึ่งบริการของไมโครซอฟท์ข้างต้นประกอบด้วยระบบสร้างเอกสาร Word, Excel, Powerpoint และ Access แล้วรับส่งระหว่างผู้เรียนกับผู้สอน การใช้ระบบอีเมลของสถาบัน ้ของดและตารางนัดหมาย ถูกจำกัดและบริการในกลุ่มองค์กรเดียวกันได้อย่างไร้รอยต่อ การสร้างชุมชนแลกเปลี่ยนเรียนรู้แบบถามตอบ หรือสร้างเนื้อหาเพื่อการแบ่งปัน การสื่อสารผ่านมัลติวีดีโอคอนเฟอเรนท์ หรือประชุมทางไกลที่เชื่อมโยงเอกสารข้างต้นพร้อมบันทึกเก็บไว้ เพื่อทบทวนย้อนหลังได้จากทุกที่ทุกเวลา ทั้งหมดไม่ใช่ก้าวแรกหรือก้าวสุดท้ายของการพัฒนาเครื่องมือสนับสนุนทางการศึกษา แล้วมาติดตามว่าโลกของเราจะมีอะไรมาให้ได้เรียนรู้กันต่อไปอย่างไม่มีทีท่าว่าจะสิ้นสุด

+ http://www.thairath.co.th/content/edu/322771

+ http://www.nationmultimedia.com/technology/Distance-learning-made-easy-30198870.html

เว็บกระทรวงศึกษาธิการ กับภาพประกอบข่าว

ข่าวใน moe.go.th
ข่าวใน moe.go.th

28 ม.ค.56 เวลาอยู่บ้าน ก็มักใช้เวลาว่างเปิดเว็บไซต์เพราะความอยากรู้อยากเห็นเรื่อยเปื่อยของมนุษย์ ซึ่งหนึ่งในเว็บไซต์ที่เข้าไปอ่าน คือ กระทรวงศึกษาธิการ คงเพราะอาชีพเกี่ยวข้องกับกระทรวงนี้มากที่สุด เนื่องจากมหาวิทยาลัย คณะวิชา หรือหลักสูตร ก็ล้วนมีต้นสังกัดที่เรียกว่ากระทรวงศึกษาธิการ นอกจากนี้ข่าวต่างประเทศเกี่ยวกับการศึกษาก็จะสะท้อนผลการจัดอันดับก็ล้วนสะท้อนว่าเราอยู่อันดับท้าย เด็กไทยอ่านน้อย หรือนักวิชาการที่ผมรู้จักก็จะเขียนข่าวพาดพิงกระทรวงนี้เสมอ
เมื่อเข้าไปในเว็บของกระทรวง ก็มักจะติดตามข่าวสาร เพราะมีเรื่องใหม่มาให้อ่านตลอด ช่วงต้นปี 2556 พบหัวข้อ “ข่าวเด่นประเด็นร้อน” ก็จะเข้าไปในส่วนอ่าน “ทั้งหมด” เมื่อเข้าไปก็สงสัยในความผิดปกติอย่างหนึ่ง แต่ก็ไม่ได้เอะใจอะไร มาวันนี้นึกออกว่า ที่แปลกไปกว่าปกติ คือ คำว่า “ไม่มีรูปภาพ” ซึ่งคาดหมายต่อไปได้ว่า อันที่จริงผู้พัฒนาระบบเตรียมให้ ผู้เขียนข่าวเป็นผู้อัพโหลด เพิ่มภาพประกอบข่าวเข้าไปได้ เห็นเว็บข่าวต่างประเทศอย่าง cnn.com หรือ bbc.com  หากไม่มีภาพก็จะปรากฎข้อความข้างต้น แต่ที่ผ่านมาคงไม่มีภาพ จึงไม่พบภาพประกอบข่าว พบก็แต่คำว่า “ไม่มีรูปภาพ” เป็นกรณีศึกษาที่จะไปเล่าให้นักศึกษาฟังได้
http://www.moe.go.th/moe/th/news/index.php?Key=hotnews

รศ.ดร.วรพล โสคติยานุรักษ์ เลขาธิการ กลต.

รศ.ดร.วรพล โสคติยานุรักษ์
รศ.ดร.วรพล โสคติยานุรักษ์

การบรรยายในหลักสูตร Executive MBA มหาวิทยาลัยเนชั่น
วันที่ 26 มกราคม 2556 เวลา 9.00 -12.00น.

โดยสุดยอดวิทยากร คือ รศ.ดร.วรพล โสคติยานุรักษ์ เลขาธิการ กลต.
คำว่า กลต.= ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
ซึ่งชาวไทยมากมายประสบความสำเร็จด้านทรัพย์สิน
จากการเข้าลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ มีหนังสือเกี่ยวกับเรื่องนี้จำหน่วยเยอะมาก
ที่มหาวิทยาลัยมีห้องสมุดโซนของ SET ให้อ้างอิงจำนวนหนึ่ง
ช่วงปลายเดือนมกราคม 2556 ตลาดกำลังผันผวน
ท่านต้องมีอะไรดี ๆ มาเล่าให้ฟังแน่นอน

ผลงานส่วนหนึ่ง
1. “ศักยภาพไทยในเวทีการแข่งขันโลก”
รศ.ดร.วรพล โสคติยานุรักษ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านการเงินกัน
และอาจารย์ประจำสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารหารศาสตร์
http://e-masscom.com.www.readyplanet.com/mcontents/marticle.php?headtitle=mcontents&id=31758&Ntype=0
จากรายการ “ชั่วโมงเศรษฐกิจ” สถานีวิทยุจุฬาฯ
F.M.101.5 MHz. http://www.curadio.chula.ac.th
(25 พ.ย.2545 09.15.-09.30 น)

2. รศ.ดร.วรพล โสคติยานุรักษ์ / USAคุมเข้มสถาบันการเงิน F.M.101.50
http://77.nationchannel.com/playvideo.php?id=76676

งานแสดงเปิดตัว กีฬา อพร. ปีการศึกษา 2555

งานแสดงเปิดตัว กีฬา อพร. ปีการศึกษา 2555

ณ ห้องประชุมใหญ่ อาคารคณะบริหารธุรกิจ ชุมพล พรประภา มหาวิทยาลัยเนชั่น มีงานเปิดตัว กีฬา อพร.สัมพันธ์ เป็นการรวมพลังของสถาบันการศึกษาในจังหวัดลำปาง ทั้งสิ้น 11 สถาบันการศึกษาเข้าร่วมการแข่งขันกีฬา คือ มหาวิทยาลัยราชภัฎลำปาง, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา วิทยาเขตลำปาง, วิทยาลัยอินเตอร์เทคลำปาง, วิทยาลัยสารพัดช่างลำปาง, วิทยาลัยการอาชีพเกาะคา, วิทยาลัยอาชีวศึกษาลำปาง, วิทยาลัยการอาชีพเถิน, วิทยาลัยเทคโนโลยีและการจัดการ กฟผ.แม่เมาะ, โรงเรียนลำปางพาณิชการและเทคโนโลยี, สถาบันการพลศึกษาลำปาง และมหาวิทยาลัยเนชั่น ลำปาง เป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันในวันที่ 19 มกราคม 2556

5 คำแนะนำในการพัฒนาการศึกษา

learning curve by country
learning curve by country

ปลายปี 2555 มีรายงานใน pearson ว่าประเทศไทยอยู่อันดับที่ 37 จาก 40 ประเทศ
โดยประเทศฟินแลนด์อยู่อันดับ 1 ส่วนอันดับสุดท้ายคืออินโดนีเซีย
ซึ่งเป็นผลการจัดอันดับของบริษัทด้านการศึกษาชื่อดังจากสหรัฐฯ “เพียร์สัน”
แล้วมีคำแนะนำสำหรับผู้จัดทำนโยบายด้านการศึกษาระดับประเทศ 5 ข้อ
ผมรู้สึกว่าถ้าเป็นผู้กำหนดนโยบายด้านการศึกษาก็ควรจะอ่านไว้สักหน่อย ถ้าไม่ใช่จะอ่านไว้ .. ก็ไม่เสียหาย
http://thelearningcurve.pearson.com/the-report/executive-summary

5 บทเรียน สำหรับผู้จัดทำนโยบายด้านการศึกษา
Five lessons for education policymakers

1. การพัฒนาการศึกษาไม่ใช่ฝันลม ๆ แล้ง ๆ แล้วจะสำเร็จ ต้องใช้เงินลงทุน เชื่อมโยง และต่อเนื่อง จึงจะได้ผล
1. There are no magic bullets: The small number of correlations found in the study shows the poverty of simplistic solutions. Throwing money at education by itself rarely produces results, and individual changes to education systems, however sensible, rarely do much on their own. Education requires long-term, coherent and focused system-wide attention to achieve improvement.

2. ถ้าได้ครูดี ผลคือนักเรียนดี จึงต้องรักษาครู และพัฒนาให้เป็นครูมืออาชีพ ไม่ใช่มุ่งเพิ่มเทคนิค หรือเพิ่มเครื่องมือ
2. Respect teachers: Good teachers are essential to high-quality education. Finding and retaining them is not necessarily a question of high pay. Instead, teachers need to be treated as the valuable professionals they are, not as technicians in a huge, educational machine.

3. มีวัฒนธรรมเชิงลบบางเรื่องที่ต้องเปลี่ยน แล้วสนับสนุนวัฒนธรรมเชิงบวกที่มีผลต่อการศึกษา
3. Culture can be changed: The cultural assumptions and values surrounding an education system do more to support or undermine it than the system can do on its own. Using the positive elements of this culture and, where necessary, seeking to change the negative ones, are important to promoting successful outcomes.

4. พ่อแม่ต้องเข้าใจและร่วมกันพัฒนาการศึกษาของเด็ก
4. Parents are neither impediments (ผลักดัน) to nor saviours (ผู้ไถ่บาป) of education: Parents want their children to have a good education; pressure from them for change should not be seen as a sign of hostility but as an indication of something possibly amiss in provision. On the other hand, parental input and choice do not constitute a panacea. Education systems should strive to keep parents informed and work with them.

5. การศึกษาคือการเติมเต็มทักษะในปัจจุบัน เพื่อนำไปใช้ในอนาคต
5. Educate for the future, not just the present: Many of today’s job titles, and the skills needed to fill them, simply did not exist 20 years ago. Education systems need to consider what skills today’s students will need in future and teach accordingly.

http://www.thaiall.com/blogacla/admin/2176/

วัดจำนวน Talking About This แทน Like ใน FB ดีกว่าไหม

เลิกวัดจำนวน Like ใน FB มาสนใจจำนวน Talking About This ดีกว่า
เลิกวัดจำนวน Like ใน FB มาสนใจจำนวน Talking About This ดีกว่า

http://www.zocialrank.com/facebook/

เมื่อวันที่ 26 กันยายน 2555 คุณภาวุธ พงษ์วิทยภานุ (ป้อม)
ได้เขียนบทความเกี่ยวกับความต่างของ like และ talking ไว้น่าสนใจ

ถ้าพูดถึงคำว่าไลค์ (Like) หรือ “ชอบ” ทุกวันนี้ทุกคนก็จะนึกถึง Facebook ใช่ไหมครับ บทความนี้หลายคนอาจจะแปลกใจว่า เอ…ทำไมวันนี้ผมมาแปลก ที่เชิญชวนให้มาหยุดล่าคนกดไลค์ แล้วอย่างงี้เราจะทำธุรกิจได้อย่างไร ถ้าไม่มีไลค์เราจะทำธุรกิจบนเฟสบุ๊ค ได้อย่างไร? วันนี้ผมมีคำอธิบายครับ

ปัจจุบันธุรกิจร้านค้าต่างๆ ในเมืองไทย ต่างหันเข้ามาใช้เฟซบุ็ค เป็นช่องทางในการเข้าถึงกลุ่มลูกค้าและเป้าหมายกันอย่างมาก โดยตัวเลขที่ใช้วัดว่า เฟซบุ็คของธุรกิจคุณมีคนนิยมเข้ามาใช้บริการ ก็คือ จำนวนคนกดไลค์ (Like)  หรือ “ชอบ” ยิ่งมีคนไลค์มากเท่าไร ยิ่งทำให้ธุรกิจคุณสามารถเข้าถึงและสื่อสารกับลูกค้าหรือกลุ่มเป้าหมายของธุรกิจได้มากขึ้นเท่านั้น บางแห่งเริ่มนำมาใช้เป็นตัวเลขวัดผลความประสบความสำเร็จของการทำการตลาดผ่านทางเฟซบุ็ค โดยวัดผลกับเฟซบุ็ค ของคู่แข่ง  จึงทำให้ ตอนนี้บริษัทหรือธุรกิจต่างๆ หันมาสร้างหรือไล่ล่า จำนวนไลค์กัน อย่างไม่ลืมหูลืมตา โดยไม่สนว่าคนที่เข้ามากดไลค์จะเป็นกลุ่มเป้าหมายของเราหรือไม่ก็ตาม

โดยตอนนี้เฟสบุ๊คเพจของคนไทยที่มีจำนวนคนกดไลค์ที่มากกว่า 2 ล้านคน มีทั้งหมด 3 เพจ และมีคนกดไลค์มากกว่า 1 ล้านคน ทั้งหมด 20 เพจ (อ้างอิงจาก http://zocialrank.com/facebook) แต่คุณเชื่อไหมครับว่า หากมองย้อนกลับไปเมื่อต้นปี 2012 ที่ผ่านมา หรือ 6-7 เดือนที่ผ่านมา ประเทศไทยมีเฟสบุ๊คเพจที่มีจำนวนคนกดไลค์มากกว่า 1 ล้านคน เพียงแค่ 2 เพจเท่านั้น นั้นก็คือเฟซบุ็คเพจของ คุณตัน อิชิตัน และ วงดนตรีบอดี้สแลม แต่ทำไมผ่านไปเพียงไม่กี่เดือนกลับมีเฟซบุ๊กเพจที่มีจำนวนคนกดไลค์มากว่าล้านเพิ่มขึ้นมากกว่า 20 เพจเลยทีเดียว มันเกิดอะไรขึ้น

ด้วยตัวเลขคนกดไลค์เยอะมากขึ้น ยิ่งสะท้อนให้เห็นว่าคนไทยนิยมใช้เฟสบุ๊คมากขนาดไหน โดยเฉพาะชาวกรุงเทพฯ ที่ติดลำดับเมืองที่มีประชากรใช้เฟสบุ๊คมากที่สุดในโลก แต่การที่มีประชากรใช้เฟสบุ๊คเยอะ ก็ไม่จำเป็นที่เฟสบุ๊คเพจต่าง ๆ จะมีจำนวนการเติบโตสูงตามไปด้วย แล้วปัจจัยอะไรละ? ที่ทำให้เฟสบุ๊คเหล่านั้นเติบโตด้วยยอดไลค์สูงได้ขนาดนั้น


ถูกพูดถึงเท่าไร (Talking About) คือ  สิ่งที่คุณควรสนใจมากว่า

เฟสบุ๊คเองได้มองเห็นปัญหาของการไล่ล่าให้คนกดไลค์กันอย่างบ้าคลั่งอย่างไร้เหตุผล เฟสบุ๊คจึงกำหนดค่าตัวเลขใหม่ขึ้นมา ที่ชื่อว่า “ถูกพูดถึง (Talking about this)” ซึ่งค่าของตัวเลขนี้จะมาจาก จำนวนคนที่เข้ามาส่วนร่วม (Engage) หรือมีกิจกรรมกับเฟซบุ๊คเพจของคุณ เช่น การเข้ามากดไลค์ในแต่ละข้อความ, การแชร์ (Share) หรือแบ่งปันข้อความของคุณออกไป, การเข้ามาโต้ตอบ หรือเขียนข้อความลงในหน้าเฟซบุ๊คเพจของคุณ หรือเข้ามาร่วมกิจกรรมต่างๆ ที่คุณมีในเฟซบุ็คของคุณ ซึ่งกิจกรรมทั้งหมดที่เกิดขึ้นจะทำให้ค่าของ “ถูกพูดถึง (Talking about this)” เพิ่มมากขึ้น
นั้นหมายความว่า ถ้าเฟซบุ็คเพจไหนมีจำนวนคนกดไลค์เยอะ แต่ค่าตัวเลข “ถูกพูดถึง (Talking about this)“ ต่ำ นั้นแสดงว่าเฟซบุ๊คเพจนั้นๆ ไม่ได้รับความสนใจจากสมาชิกในเพจนั้นๆ นั้นหมายถึงคุณพูดหรือสื่อสารอะไรออกไป ก็ไม่มีคนเห็น ไม่มีคนดู ซึ่งมันหมายถึงประสิทธิภาพในการสื่อสารไปยังลูกค้าหรือกลุ่มเป้าหมายก็น้อยลงด้วยเช่นกัน  ซึ่งวิธีการที่จะดูตัวเลข ”ถูกพูดถึง (Talking about this)”  ก็สามารถเข้าดูได้ที่หน้าเฟซบุ๊คเพจของคุณ มันจะอยู่ข้างๆ ตัวเลขไลค์ ด้านบนครับ

http://www.pawoot.com/like-and-who-talking-about

ครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ล้นตลาด ต้องการวิทยาศาสตร์/วิศวกรรมศาสตร์/คอมพิวเตอร์

asean jobs
asean jobs

http://news.voicetv.co.th/thailand/60043.html
กระทรวงศึกษาธิการ ประกาศ
รัฐบาลจะส่งเสริมการพัฒนาบุคลากรด้านวิทยาศาสตร์
เนื่องจากตลาดแรงงานทั้งในและต่างประเทศต้องการ
ขณะที่บุคลากร ด้านครุศาสตร์ และศึกษาศาสตร์ ล้นตลาดแล้ว

นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
ระบุถึง ผลกระทบของการเปิดประชาคมอาเซียนต่อระบบการศึกษาไทย
ว่าหลังจากนี้ การผลิตบัณฑิตของมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ต้องคำนึงถึงความต้องการของตลาดแรงงานด้วย

ซึ่งขณะนี้กำลังต้องการ ด้านวิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ และคอมพิวเตอร์
ส่วนด้านครุศาสตร์ และศึกษาศาสตร์  มีจำนวนมากกว่าความต้องการของตลาดแรงงานแล้ว
จึงทำให้บัณฑิตที่จบในสาขาดังกล่าว สูญเสียโอกาสในการทำงาน

เนื่องจากแต่ละปี มีบัณฑิตด้านครุศาสตร์และศึกษาศาสตร์จบการศึกษา  4 – 5 หมื่นคน
โดยปีการศึกษา 2555  มีการรับนักศึกษาใหม่ใน 2 สาขาดังกล่าวเกือบ 1 แสนคน
แต่เมื่อเปรียบเทียบกับยอดการบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเป็นข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
ทำให้เห็นว่า จำนวนดังกล่าวล้นความต้องการของตลาดแล้ว
เช่น ตำแหน่งครูผู้ช่วย ปีล่าสุด ทั่วประเทศมีการเปิดบรรจุ 1,500 อัตรา
มีผู้สมัครสอบเกือบ 2 แสนคน จึงทำให้มีบัณฑิตตกงานจำนวนมาก

นอกจากนี้ กระทรวงศึกษาธิการ ยังมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
ศึกษาการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนที่มี 7 สาขาวิชาชีพ

1. วิศวกรรม (Engineering Services)
2. พยาบาล (Nursing Services)
3. สถาปัตยกรรม (Architectural Services)
4. การสำรวจ (Surveying Qualifications)
5. แพทย์ (Medical Practitioners)
6. ทันตแพทย์ (Dental Practitioners)
7. บัญชี (Accountancy Services)

สามารถเคลื่อนย้ายไปทำงานในกลุ่มประเทศอาเซียนได้
โดยให้ศึกษารายละเอียด เช่น ใบอนุญาตการทำงาน ภาษาถิ่น และกฎหมายแรงงานของประเทศนั้น

ทั้งนี้ นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา ยังระบุอีกว่า
นอกจากความต้องการให้บัณฑิตมีงานทำตรงกับสาขาที่เรียนแล้ว
รัฐบาลยังเปิดกองทุนตั้งตัวได้ เพื่อส่งเสริมให้บัณฑิตใหม่ ที่จบการศึกษาไม่เกิน 5 ปี
สามารถเป็นเจ้าของธุรกิจได้ ซึ่งขณะนี้เปิดรับสมัคร  ผ่านศูนย์บ่มเพาะใน 56 แห่งทั่วประเทศ
โดยส่วนใหญ่ตั้งอยู่ในมหาวิทยาลัยต่าง ๆ และไม่มีกำหนดการปิดรับสมัคร
+ http://education.kapook.com/view54072.html

+ http://www.moe.go.th/moe/th/news/detail.php?NewsID=29610&Key=hotnews

+ http://www.thaiall.com/asean/

คาถาชีวิต ของ วิกรม กรมดิษฐ์

คาถาชีวิต ของ วิกรม กรมดิษฐ์
คาถาชีวิต ของ วิกรม กรมดิษฐ์

ได้หนังสือ คาถาชีวิต ของ คุณวิกรม กรมดิษฐ์ (เกิด 2496) มา 1 เล่ม
เป็นฉบับพิมพ์ครั้งแรก ธันวาคม 2555 จำนวน 1 ล้านเล่ม
ซื้อจาก 7-eleven ตรงข้ามตลาดน้ำโท้ง เล่มละ 20 บาท
ในเล่มระบุราคา 100 บาท แต่ขายเพียง 20 บาทครับ
ที่สนใจหนังสือเล่มนี้ เพราะผู้ใหญ่เล่าให้ฟังในวันที่ 28 ธันวาคม 2555
จากตอนหนึ่งในโอวาทที่ผู้ใหญ่ให้ไว้ในงานเลี้ยงส่งท้ายปีเก่า
โดยหัวข้อที่หยิบมาขยายความคือหน้า 27

ยอมจำนนกับอดีต แต่ไม่ยอมแพ้กับอนาคต

เพราะอดีตที่ผ่านมาไม่สามารถที่จะแก้ไขเปลี่ยนแปลงได้
เราต้องกล้ารับผิดชอบ แต่อนาคตเป็นสิ่งที่ยังมาไม่ถึง
เราต้องมีความมุ่งมั่น อดทน อย่ายอมแพ้ง่าย ๆ

http://www.vikrom.net/

ซึ่งหนังสือที่ได้มาผมเข้าไปถาม 7-eleven เป็นร้านที่ 3 จึงได้มา
คาดว่าระแวกร้านของ 2 ร้านแรกมีนักเดินทางผ่านไปมาบ่อย
ทำให้หนังสือหมดเร็วมาก
เพราะพนักงานก็บอกว่าหนังสือขายดีมาก สั่งเพิ่มแล้วก็ยังไม่ได้

หนังสือเล่มนี้ คุณวิกรม กรมดิษฐ์ จัดงานแถลงข่าวเปิดตัวหนังสือเล่มล่าสุด ‘คาถาชีวิต
วันอังคารที่ 18 ธันวาคม 2555 หนังสือว่าด้วยเรื่องราวของความคิด
อันผ่านการเพาะบ่มจากประสบการณ์และวันเวลา
บริเวณหน้าหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร (สี่แยกปทุมวัน)

60 วลี หรือคาถาชีวิต ที่ http://www.thaiall.com/blog/admin/4718/

อาจารย์มหาวิทยาลัย .. ลูกเมียน้อยในกระทรวงศึกษาธิการ

อาจารย์มหาวิทยาลัย กับครูประถม
อาจารย์มหาวิทยาลัย กับครูประถม

มติชนรายวัน 4 ธ.ค.55
โดย สุรศักดิ์ อมรรัตนศักดิ์

http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1354609254&grpid&catid=02&subcatid=0207

เกือบทุกครั้งที่มีการปรับคณะรัฐมนตรี ไม่ว่าจะเป็นยุคใดสมัยใด รัฐมนตรีที่เป็นเป้าหมายจะต้องถูกปรับ คือ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ

นับแต่เปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ.2475 มาจนถึงปัจจุบัน ประเทศไทยมี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ มาแล้ว 52 คน ในขณะที่มีนายกรัฐมนตรี 28 คน

ผู้บริหารประเทศ มักจะพูดเสมอว่า กระทรวงศึกษาธิการเป็นกระทรวงที่มีความสำคัญ แต่ในความเป็นจริงมักไม่ค่อยให้ความสำคัญกับกระทรวงนี้เท่าที่ควร ส่วนใหญ่จะให้ความสำคัญกับ กระทรวงมหาดไทย คมนาคม เกษตรและสหกรณ์ และพาณิชย์ มากกว่า

ในอดีตกระทรวงศึกษาธิการถูกมองว่าเป็นกระทรวงเกรดซี แต่ปัจจุบันปรับขึ้นมาเป็นกระทรวงเกรดบี เหตุที่ปรับก็เพราะกระทรวงนี้มีบุคลากรและงบประมาณมาก เป็นฐานเสียงสำคัญของนักการเมือง

การปรับคณะรัฐมนตรีของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ที่ผ่านมาก็เช่นกัน กระทรวงที่หนีไม่พ้นที่จะต้องถูกปรับก็คือกระทรวงศึกษาธิการอีกเช่นเคย

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการคนปัจจุบันชื่อพงศ์เทพ เทพกาญจนา อดีตเคยเป็นผู้พิพากษามาก่อน ส่วนรัฐมนตรีช่วยว่าการชื่อเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช ซึ่งเคยเป็นเบอร์หนึ่งของกระทรวงมหาดไทย

รัฐมนตรีทั้งสองท่านไม่เคยเป็นครูหรือทำงานด้านการศึกษามาก่อน แต่นั่นไม่ใช่เรื่องสำคัญ เรื่องสำคัญก็คือท่านทั้งสองตั้งใจจะมาอยู่กระทรวงนี้จริงแค่ไหน ท่านมุ่งมั่นที่จะพัฒนาและแก้ปัญหาการศึกษาของชาติจริงจังมากน้อยเพียงใด หรือมาเพื่อเป็นที่พักพิงชั่วคราวเพื่อรอข้ามไปอยู่กระทรวงอื่น

สิ่งหนึ่งที่อยากจะขอฝากรัฐมนตรีว่าการ (คุณพงศ์เทพ) ก็คือขอให้ช่วยดูแลอาจารย์มหาวิทยาลัยบ้าง อย่าให้อาจารย์มหาวิทยาลัยรู้สึกน้อยเนื้อต่ำใจจนลาออกไปขายเต้าฮวยกันหมด

ท่านรัฐมนตรีทราบหรือไม่ว่า ปัจจุบันอาจารย์มหาวิทยาลัยได้เงินเดือนน้อยกว่าครูประถม พูดไปก็แทบไม่มีใครเชื่อ แต่ความจริงเรื่องนี้ได้เกิดขึ้นแล้วในประเทศไทย ครูประถมได้เงินเดือนมากกว่าอาจารย์มหาวิทยาลัย 8% ตั้งแต่วันที่ 31 ธันวาคม 2553 มาถึงวันนี้ก็กว่า 2 ปีแล้ว

คณะกรรมการการอุดมศึกษา (กกอ.) ซึ่งดูแลอาจารย์มหาวิทยาลัยยังสบายดีอยู่หรือ ท่านปล่อยให้เรื่องอย่างนี้เกิดขึ้นมานานกว่า 2 ปีได้อย่างไร ท่านไม่คิดจะดำเนินการแก้ไขอะไรเพื่อพิทักษ์สิทธิของอาจารย์มหาวิทยาลัยบ้างเลยหรือ

อีกเรื่องหนึ่งที่ครูประถม/มัธยมสังกัด สพฐ.ก้าวล้ำอาจารย์มหาวิทยาลัยไปอีกก้าวหนึ่ง ก็คือเมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2555 ครม.มีมติเห็นชอบร่างกฎ กคศ.ว่าด้วยการให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาได้รับเงินเดือนสูงกว่าหรือขั้นต่ำกว่า หรือสูงกว่าขั้นสูงของอันดับ (ฉบับที่) พ.ศ…………ขณะนี้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาได้พิจารณาร่างกฎ กคศ. ฉบับดังกล่าวเสร็จแล้ว รอ ศธ.แจ้งยืนยัน และจะได้นำเรื่องนี้แจ้งให้ ครม.รับทราบเพื่อรอประกาศในราชกิจจานุเบกษา

สาระสำคัญของร่างกฎ กคศ.ดังกล่าวก็คือ ข้าราชการครูที่ได้รับเงินเดือนอันดับ คศ.2 ในขั้นสูงสุด สามารถเลื่อนอันดับเงินเดือนไปที่ คศ.3 ได้เลย จากเดิมการจะเลื่อนอันดับเงินเดือนแต่ละ คศ.ได้จะต้องผ่านการเลื่อนและประเมินวิทยฐานะตามที่กำหนดไว้เท่านั้น

เช่นเดียวกันผู้ที่ได้รับเงินเดือนขั้นสูงสุดของ คศ.3 จะเลื่อนไปรับเงินเดือนในอันดับ คศ.4 และผู้ที่ได้รับเงินเดือนขั้นสูงสุดของ คศ.4 ก็จะได้เลื่อนไปรับเงินเดือนในอันดับ คศ.5 ซึ่งเป็นการเลื่อนโดยอัตโนมัติไม่ต้องทำผลงานใด ๆ ทั้งนี้ ให้มีผลย้อนหลังไปตั้งแต่ 1 เมษายน 2554

สิ่งนี้ต้องขอชื่นชม กคศ. (คณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา) ด้วยความจริงใจ เพราะเป็นการดูแลสิทธิประโยชน์ให้กับครูสังกัด สพฐ. ทำให้ครูมีขวัญกำลังใจในการทำงาน ซึ่งจะเป็นแรงจูงใจให้คนเก่งหันมาเป็นครูมากขึ้น

ข้าราชการพลเรือนก็มี ก.พ. (คณะกรรมการข้าราชการพลเรือน) คอยดูแลและพิทักษ์สิทธิของข้าราชการ เมื่อต้นปี 2555 ที่ผ่านมา ก.พ.ได้ปรับเงินเดือนข้าราชการทั้งระบบไปประมาณ 8% แต่อาจารย์มหาวิทยาลัยก็ไม่ได้รับอานิสงส์นี้แต่อย่างไร เพราะอาจารย์มหาวิทยาลัยไม่ใช่ข้าราชการพลเรือน

อาจารย์มหาวิทยาลัยเป็นข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา ซึ่งสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) โดยมี กกอ.(คณะกรรมการการอุดมศึกษา) เป็นผู้ดูแลสิทธิประโยชน์ของอาจารย์มหาวิทยาลัย

แต่ที่ผ่านมา กกอ. แทบจะไม่เคยทำหน้าที่ในการพิทักษ์สิทธิของอาจารย์มหาวิทยาลัยเลยแม้แต่น้อย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเงินเดือนที่ยังน้อยกว่าครูประถมถึง 8% หรือเรื่องเงินเดือนของครูสังกัด สพฐ.ที่สามารถไหลข้ามแท่งได้

นั่นคือหากอาจารย์มหาวิทยาลัยมีเงินเดือนตัน (ขั้นสูงสุด) อยู่ในแท่งเงินเดือนใดก็ยังไม่สามารถไหลข้ามแท่งได้ เช่น เงินเดือนตันในแท่งผู้ช่วยศาสตราจารย์จะไม่สามารถเลื่อนไหลไปรับเงินเดือนในแท่งรองศาสตราจารย์ได้

ท่านคิดว่าอย่างนี้มันยุติธรรมสำหรับอาจารย์มหาวิทยาลัยหรือ กกอ. เคยคิดจะทำอะไรเพื่ออาจารย์มหาวิทยาลัยบ้างไหม ถ้ายังคิดไม่ออกไม่รู้ว่าจะทำอย่างไร อยากแนะนำให้ไปลอกของ กคศ. และไม่ควรออกมาแก้ตัวว่ากำลังดำเนินการอยู่ เพราะเรื่องเงินเดือนอาจารย์มหาวิทยาลัยน้อยกว่าครูประถม 8% ก็ยังไม่เห็นได้ดำเนินการอะไรเลย

จริง ๆ แล้วสถาบันอุดมศึกษาควรจะเป็นผู้นำในเรื่องนี้เสียด้วยซ้ำ แต่กลับกลายเป็นว่าสถาบันอุดมศึกษาจะต้องคอยวิ่งไล่ตามก้นครูประถมอยู่ร่ำไป

เรื่องน่าเศร้าที่ไม่อยากพูดอีกเรื่องหนึ่งก็คือเรื่องโบนัสสำหรับข้าราชการ จริงๆ แล้วไม่อยากให้เรียกว่าเงินโบนัส แต่อยากให้เรียกว่าเงินสงเคราะห์ผู้ยากไร้มากกว่า

ท่านทราบไหมว่า อาจารย์มหาวิทยาลัยระดับรองศาสตราจารย์ (ซี 9 เดิม) ซึ่งมีตำแหน่งเทียบเท่ารองอธิบดี ได้รับเงินโบนัสปีละประมาณ 3,000- บาท (สามพันบาทถ้วน) เฉลี่ยแล้วปีหนึ่งได้รับโบนัสไม่ถึง 2 วัน ในขณะที่ครูประถมสังกัดเทศบาล หรือ อบต.บางแห่งได้รับโบนัสกันปีละ 2 เดือน ส่วนพนักงานรัฐวิสาหกิจและบริษัทหลายแห่งรับโบนัสกันปีละ 2 เดือน 3 เดือนบ้าง บางแห่งสูงถึง 9 เดือนก็มี แต่อาจารย์มหาวิทยาลัยได้รับโบนัสเพียง 2 วัน แล้วอย่างนี้ยังจะให้เรียกว่าโบนัสอีกหรือ

หรือจะให้อาจารย์มหาวิทยาลัยย้ายไปสังกัด กคศ. เพื่อว่าต่อไปอาจารย์มหาวิทยาลัยจะได้มีชีวิตที่ดีขึ้นและมีความก้าวหน้าทัดเทียมกับครูประถมกันเสียที

มีเรื่องน่าสนใจอื่น ๆ อาทิ

อันดับการศึกษาของไทยในเวทีโลกยังไม่สุดท้ายซะทีเดียว .. 37 จาก 40

English Proficiency Index เมื่อปี 2554 พบว่าประเทศไทยอยู่อันดับที่ 42 จากทั้งหมด 44 ประเทศ และปี 2555 พบว่าประเทศไทยอยู่อันดับที่ 53 จากทั้งหมด 54 ประเทศ

ผลการจัดอันดับในสื่อ (itinlife 367)

อันดับการศึกษาของไทยในเวทีโลกยังไม่สุดท้ายซะทีเดียว .. 37 จาก 40

Education changing in thailand วาระแห่งชาติ เล่มที่ 1 การปฏิรูปการศึกษา : วาระแห่งชาติ จากพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 สู่การปฏิบัติ ยุทธศาสตร์ที่จะพาประเทศพ้นวิกฤต .. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ [974-241-263-4]

พระราชบัญญัติ การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ แก้ไขเพิ่มเติม
http://www.sesa10.go.th/sesa10/data/mar55/2.pdf

http://www.scribd.com/doc/115003666

29 พ.ย.55 ฟินแลนด์และเกาหลีใต้ได้รับการจัดอันดับให้เป็นประเทศที่มีระบบการศึกษาที่ดีที่สุดในโลก เป็นอันดับหนึ่งและสองตามลำดับ ในกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว จากการจัดอันดับโดยบริษัทด้านการศึกษาชื่อดังจากสหรัฐฯ “เพียร์สัน

thailand 37 from 40
thailand 37 from 40

การจัดอันดับ ใช้การรวบรวมข้อมูลจากผลการสอบในระดับนานาชาติและข้อมูล เช่น อัตราการศึกษาในระหว่างปี 2006 และ 2010  เซอร์ไมเคิล บาร์เบอร์ หัวหน้าฝ่ายที่ปรึกษาด้านการศึกษาของเพียร์สัน เปิดเผยว่า ประเทศที่ติดในอันดับที่ดีส่วนใหญ่มักจะให้ความสำคัญกับ ครูผู้สอน รวมถึงการมีวัฒนธรรมด้านการศึกษาที่ดี

ตามหลังฟินแลนด์และเกาหลีใต้ ประเทศที่มีระบบการศึกษาที่ดีที่สุดในอันดับที่ 3-5 นั้น ล้วนมาจากเอเชียทั้งสิ้น ได้แก่ ฮ่องกง (จีน) อันดับ 3, ญี่ปุ่น อันดับ 4 และ สิงคโปร์ ในอันดับ 5 ขณะที่อันดับ 6 ตกเป็นของอังกฤษ ตามมาด้วยเนเธอร์แลนด์ ในอันดับที่ 7 และ นิวซีแลนด์ สวิตเซอร์แลนด์ และแคนาดาในอันดับที่ 8-10 ตามลำดับ ขณะที่ประเทศมหาอำนาจอื่น ๆ อย่างสหรัฐฯ ฝรั่งเศส และเยอรมนี อยู่ในอันดับรองลงไป

โดยในการจัดอันดับที่มีจำนวน 40 ประเทศนั้น อินโดนีเซีย บราซิล และเม็กซิโกมีคะแนนต่ำสุด ในอันดับที่ 40, 39 และ 38 ตามลำดับ ขณะที่ไทยอยู่ในอันดับที่ 37

รายงานระบุว่า ความสำเร็จของประเทศในเอเชีย ซึ่งอาจจะเป็นผลมาจากประเทศดังกล่าวให้ความสำคัญกับการศึกษามากเป็นพิเศษ อีกทั้งผู้ปกครองต่างก็พร้อมจะทุ่มเทให้บุตรหลานของตนได้รับการศึกษาที่ดีและมีคุณภาพ เพื่อความเจริญก้าวหน้าในชีวิต

แต่สิ่งที่สำคัญนอกจากการทุ่มเทให้บุตรหลานได้รับการศึกษาที่ดีนั้น สะท้อนให้เห็นค่านิยมที่ให้คุณค่าต่อการศึกษาในระดับสูง รวมถึงการคาดหวังของผู้ปกครอง ซึ่งยังคงเป็นปัจจัยสำคัญแม้ครอบครัวจะย้ายไปยังประเทศอื่น

ขณะที่อันดับหนึ่งและสองอย่างฟินแลนด์และเกาหลีใต้ ค่อนข้างมีความแตกต่างกันหลายประการ แต่มีปัจจัยร่วมกัน คือ ความเชื่อทางสังคมที่ให้ความสำคัญต่อการศึกษาและจุดประสงค์ด้านศีลธรรมที่แอบแฝงอยู่

รายงานดังกล่าวยัง เน้นเรื่อง คุณภาพของครูผู้สอน และความจำเป็นต่อการจ้างครูที่ดีที่สุด ซึ่งอาจรวมถึงการได้รับความเคารพในทางวิชาชีพและสถานะทางสังคม เช่นเดียวกับรายได้ที่ได้รับ อย่างไรก็ดี การจัดอันดับไม่ได้แสดงจุดเชื่อมโยงที่แน่ชัดระหว่างรายได้สูงและการสอนที่มีคุณภาพ รายงานระบุว่า ระบบการศึกษาที่สูงและต่ำยังมีผลลัพธ์ทางเศรษฐกิจโดยตรง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศที่พึ่งพาแรงงานที่ใช้ทักษะ

ที่มา: ข่าวสดออนไลน์
http://prachatai.com/journal/2012/11/43934
http://thelearningcurve.pearson.com/content/download/bankname/components/filename/FINAL%20LearningCurve_Final.pdf

http://www.breakingnewsenglish.com/1211/121129-education.html

5 บทเรียนสำหรับผู้กำหนดนโยบาย
(Five lessons for education policymakers)

1. การพัฒนาการศึกษาไม่ใช่ฝันลม ๆ แล้ง ๆ แล้วจะสำเร็จ ต้องใช้เงินลงทุน เชื่อมโยง และต่อเนื่อง จึงจะได้ผล
2. ถ้าได้ครูดี ผลคือนักเรียนดี จึงต้องรักษาครู และพัฒนาให้เป็นครูมืออาชีพ ไม่ใช่มุ่งเพิ่มเทคนิค หรือเพิ่มเครื่องมือ
3. มีวัฒนธรรมเชิงลบบางเรื่องที่ต้องเปลี่ยน แล้วสนับสนุนวัฒนธรรมเชิงบวกที่มีผลต่อการศึกษา
4. พ่อแม่ต้องเข้าใจและร่วมกันพัฒนาการศึกษาของเด็ก
5. การศึกษาคือการเติมเต็มทักษะในปัจจุบัน เพื่อนำไปใช้ในอนาคต

http://thelearningcurve.pearson.com/the-report/executive-summary

การสัมมนาเชิงวิชาการผู้ปฏิบัติงานด้าน ICT ของ ศธ.
โดยมีผู้เข้าร่วมกว่า ๒๐๐ คน เมื่อวันที่ ๓ กันยายน ๒๕๕๓ ณ โรงแรมแมนดาริน กรุงเทพฯ

นายชินวรณ์ บุณยเกียรติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ

รมว.ศธ.กล่าวว่า ศธ.มีนโยบายปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง โดยเฉพาะการยกระดับเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษาเป็นนโยบายหลักในการขับเคลื่อนคุณภาพทางการศึกษา และสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ นอกจากนี้ รมว.ศธ.ยังมีนโยบายด้านการศึกษา ๘ ข้อ ซึ่งมีจุดเน้น ๓ ด้าน ดังนี้
1. การปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง ซึ่งการดำเนินงาน ๖ เดือนที่ผ่านมา ศธ.ได้แต่งตั้งคณะกรรมการนโยบายปฏิรูปการศึกษา โดยมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน มีการกำหนดเป้าหมาย ตัวชี้วัด และวางระบบการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สองอย่างชัดเจน และแต่งตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาทศวรรษที่สอง ซึ่งได้นำเป้าหมาย ตัวชี้วัด มาดำเนินการ ขณะนี้มี Road Map แผนปฏิบัติการ และผู้รับผิดชอบการขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาอย่างเป็นรูปธรรมแล้ว
2. ครู ซึ่งเป็นกุญแจสำคัญในการปฏิรูปการศึกษาให้ประสบความสำเร็จ ศธ.ได้วางแผนพัฒนาครูทั้งระบบ โดยเริ่มจากการผลิตครู ซึ่ง กนป.ได้อนุมัติให้ผลิตครูพันธุ์ใหม่ ๓๐,๐๐๐ อัตรา ได้ตั้งเป้าหมายไว้ในอีก ๑๐ ปีข้างหน้า ศธ.จะผลิตครูพันธุ์ใหม่ให้ได้ ๒๐๐,๐๐๐ คน การพัฒนาครูทั้งระบบ ซึ่ง สพฐ.ได้ร่วมมือกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ทำการทดสอบสมรรถนะครู อบรมหลักสูตรของครู และของผู้บริหาร เพื่อนำไปสู่การสร้างครูต้นแบบ Master Teacher และให้แรงจูงใจ ในการศึกษาต่อในระดับปริญญาโท สำหรับการใช้ครูนั้น ศธ. ได้คืนครูให้กับโรงเรียน โดยจ้างพนักงานธุรการและตำแหน่งอื่น เช่น บรรณารักษ์ มาแทนครูเพิ่มขึ้น เพื่อให้ครูได้กลับสู่ห้องเรียน และ ศธ.ยังได้เพิ่มขวัญและกำลังใจครูด้วยการพัฒนาค่าตอบแทนครู ยกมาตรฐานวิชาชีพครู และแก้ไขหนี้สินครูทั้งระบบด้วย
3. ยกระดับการใช้ ICT เพื่อการศึกษาเป็นวาระแห่งชาติตามเป้าหมายการปฏิรูปการศึกษา คือ เพิ่มสัดส่วนของผู้ใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อการเรียนรู้ต่อประชากรอายุ ๖ ปีขึ้นไป ร้อยละ ๕๐ เพิ่มทักษะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศร้อยละ ๓ ต่อปี ซึ่งเป็นเป้าหมายที่สำคัญ โดย ศธ.ได้เสนอขอความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี เรื่องพระราชบัญญัติจัดตั้งสถาบันเทคโนโลยีและสารสนเทศเพื่อการศึกษา และบรรจุการจัดตั้งกองทุนเทคโนโลยีทางการศึกษาไว้ในรายจ่ายงบประมาณประจำปี ๒๕๕๔ เพื่อให้มีผลตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๕๓ ซึ่ง ครม.ได้ให้ความเห็นชอบแล้ว โดยกองทุนมีงบประมาณเริ่มต้น ๕ ล้านบาท และได้มอบหมายให้ปลัดกระทรวงศึกษาธิการจัดตั้งคณะกรรมการกองทุน โดยมี รมว.ศธ.เป็นประธาน

รมว.ศธ.ได้ฝากให้ผู้ปฏิบัติงานด้าน ICT ขับเคลื่อนนโยบาย ๓ เรื่องให้เป็นรูปธรรม ดังนี้
1. ยกระดับพัฒนาโครงข่ายเทคโนโลยีทางการศึกษา Ned Net โดยทุกองค์กรหลักของ ศธ.ต้องให้ความร่วมมือภายใต้โครงข่ายเดียวกัน เพื่อให้เกิดพลังด้านงบประมาณ ด้านการใช้ และด้านบุคลากร ขณะนี้ ศธ.มีข้อมูลอยู่แล้ว หากสามารถรวบรวมได้อย่างเป็นระบบ โครงข่ายก็จะมีความเข้มแข็งเพียงพอต่อการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศ
2. ศูนย์สารสนเทศเพื่อการศึกษาแห่งชาติ (Education Information System) จัดให้มีข้อมูลนักเรียน สถานศึกษาที่เป็นระบบและเป็นปัจจุบัน ขณะนี้ ศธ.มีข้อมูลอยู่แล้ว แต่ยังไม่ครอบคลุมข้อมูลของโรงเรียนเอกชน และต้องการให้มีข้อมูลเกี่ยวกับนโยบายเรียนฟรี ๑๕ ปีอย่างมีคุณภาพที่ชัดเจน เพื่อช่วยเหลือเด็กทุกคนไม่ว่าอยู่ในสถานะใด ให้ได้รับประโยชน์จากโครงการเรียนฟรี เพื่อไม่ให้มีการแอบอ้างว่า ข้อมูลผิดพลาด นักเรียนได้รับประโยชน์ไม่ทั่วถึง รวมทั้งการคำนวณตัวเลขไม่ชัดเจนทำให้การจัดสรรงบประมาณไม่เพียงพอ ฝากให้ช่วยคิดว่าจะทำให้เกิดระบบศูนย์กลางสารสนเทศในระดับชาติได้อย่างไร เพราะข้อมูลสารสนเทศกับโครงข่ายจะต้องมีความสัมพันธ์กัน จึงจะสามารถนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ได้อย่างแท้จริง
3. ยกระดับสถานีวิทยุโทรทัศน์ของ ศธ.ให้เป็นศูนย์กลางแห่งการเรียนรู้อย่างแท้จริง ขณะนี้ ศธ.มีศูนย์เทคโนโลยีทางการศึกษา ETV, มีรายการ Student Channel ออกอากาศทาง NBT, มีรายการ Teacher TV ที่จะขอออกอากาศทาง Thai TV หาก ศธ.สามารถรวบรวมข้อมูลเหล่านี้เป็นฐานข้อมูลอย่างเป็นระบบ ทำให้ทุกคนเห็นความสำคัญของการปฏิรูปการศึกษาว่า ต้องมีการศึกษาอย่างมีคุณภาพตลอดชีวิต สร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ และให้ทุกคนสามารถเข้าถึงการเรียนรู้ได้ จึงจำเป็นจะต้องยกระดับให้มีสถานีวิทยุโทรทัศน์ของ ศธ. ซึ่งถ้าเป็นไปได้ในอนาคตต้องการให้เป็น free TV ต่อไป และขอให้ทุกคนช่วยคิดว่า จะสามารถนำรายการที่มีอยู่มารวมกันได้อย่างไร เพื่อให้เกิดพลังความพร้อมทั้งด้านข้อมูลและเครื่องมือ นำไปสู่การยกระดับสถานีวิทยุโทรทัศน์ของ ศธ.อย่างเป็นรูปธรรมต่อไป

http://www.moe.go.th/websm/2010/sep/287.html
http://www.kroobannok.com/36672

thailand tutor for students
thailand tutor for students

About 10,000 students attend a tutorial at a shopping mall in Bangkok in preparation for entrance exams to study medicine at an university. (Photo by Apichit Jinakul)

Thailand scores badly in education assessment ranking

Thailand’s education system is ranked 37th out of 40 countries assessed in latest global index ranking published by British education and publishing group Pearson Plc.

Finland took first place with a score of 1.26 points, followed by South Korea and Hong-Kong. Following them are two other Asian countries: Japan and Singapore.

Thailand scored badly, with 1.46, and had only three countries below it in the ranking.

The index ranking is based on cognitive skills – test scores in reading, writing, and mathematics – and educational attainment – literacy and graduation rate – accumulated from 40 developed countries.

Sir Michael Barber, Pearson’s chief education adviser, said successful countries gave their educators a high status and have a culture that is supportive of education.

Thai netizens posted messages on various webboards on Wednesday, mostly criticising the Thai education system.

“It’s because of the educators,” said a postor in posttoday.com.

“I feel that education does not account to how successful you are in the real world,” said a comment in pantip.com. “These highly educated people have the knowledge but can’t perform.”

Another netizen suggested that Thailand should improve the social belief in education, spend more money to improve the quality of teachers and school autonomy to climb up the ranking.

“The quality of some private universities is really worrying. The quality of graduates with a bachelor’s degree here is lower than high school graduates in other countries,” one netizen said. “If you pay all the tuition fees here, you’ll definitely graduate.”

http://www.bangkokpost.com/news/local/323571/thailand-almost-lowest-in-global-education-ranking