เพลง “รักเดียว” ของ พงษ์สิทธิ์ คำภียร์

ดูหนัง อวสานโมเอะ มีสาระชวนคิดหลายเรื่อง
สงสัยคนแต่งเรื่องไม่เจอผู้ชายจริงจัง
ถ้าเจอ สงสัยจะเป็นรักหวานแหวว คิขุ อาโนเนะ

อวสาน โมเอะ ยอดภาพยนตร์ นางเอกสวย
อวสาน โมเอะ ยอดภาพยนตร์ นางเอกสวย

มีวลีเด็ด หรือท่อนฮุก เพลง “รักเดียว” ของพงษ์สิทธิ์ คำภียร์
ว่า “จริงจังแค่ไหน แค่ไหนเรียกจริงจัง”
เกณฑ์ของฉัน “ผิดเพียงแปดครั้ง ถึงเก้าซะที่ไหน”

เนื้อเพลงจาก https://www.siamzone.com/music/thailyric/10073

บอกให้รู้ไว้ หัวใจรักจริง
ไม่เคยทอดทิ้ง ให้ใครเสียใจ
ตัวผู้พันธุ์นี้ เขาเรียกหลายใจ
จะให้ทำไง โอ๊ย

จริงจังแค่ไหน แค่ไหนเรียกจริงจัง
ผิดเพียงแปดครั้ง ถึงเก้าซะที่ไหน
ร้องเพลงๆ นี้ มากสระไอ
ให้แทนหัวใจ โอ๊ย โอ๊ย
คอยจะคอยจะรอจะคอยโอกาส
ที่เธอตกหลุมมา
คอยจะคอยจะรอเวลา
ที่เธอจะเห็นใจ

บอกให้รู้ไว้ หัวใจรักจริง
ไม่เคยทอดทิ้ง ให้ใครเสียใจ
ตัวผู้พันธุ์นี้ เขาเรียกหลายใจ
จะให้ทำไง

จริงจังแค่ไหน แค่ไหนเรียกจริงจัง
ผิดเพียงแปดครั้ง ถึงเก้าซะที่ไหน
ร้องเพลงๆ นี้ มากสระไอ
ให้แทนหัวใจ

คอยจะคอยจะรอจะคอยโอกาส
ที่เธอตกหลุมมา
คอยจะคอยจะรอเวลา
ที่เธอจะเห็นใจ

เปียโนดั่งสายน้ำ
เบสย้ำความรู้สึก
แซ็กโซโฟนบาดลึก
กลองหน่วงหนักกระหน่ำใจ
กีตาร์โหย ดั่งร้องไห้
โอ้รักใย เหลือเพียงบทเพลง
เพียงกระซิบเบาๆ กล่าวคำรัก
ก็แน่นหนักกว่าภูผามหาศาล
หวานน้ำผึ้ง หอมบุหงาลดามาลย์
ไม่เปรียบปานคำรัก สักเสี้ยวเดียว
รักเดียวใจเดียว จริงใจซื่อสัตย์ สารพัดซื่อตรง

 

คุณพงษ์สิทธิ์ คำภียร์ ร้องเพลงดี ๆ เพื่อชีวิตเยอะมาก
ผมชอบหลายเพลงเลย
อาทิ  ม.ให้อะไร เรียนและงาน จดหมายถึงพ่อ กำลังใจ
กูเป็นนักศึกษา

 

อวสานโมเอะ (TAG)

tag อวสานโมเอะ
tag อวสานโมเอะ

ภาพยนตร์ อวสานโมเอะ
หรือ อวสานของความต้องการ ความลุ่มหลง ความคลั่งไคล้อย่างแรงกล้า
เข้าฉายเมืองไทย 5 พ.ย. 2558
http://movie.mthai.com/movie-profile/movie-fixture/186803.html
มีนักแสดงหลักคนแรก ชื่อ มิตซูโกะ (รับบทโดย เรนะ ทรินเดิล จาก Ju-On: Beginning of the End) นักเรียนมัธยมปลาย ที่กำลังเดินทางไปทัศนศึกษา
มีนักแสดงหลักคนที่สอง ชื่อ เคโกะ (มาริโกะ ชิโนดะ จากสมาชิกวง AKB48) หญิงสาววัย 25 ปีที่กำลังจะเข้าพิธีวิวาห์ โดยที่เธอไม่รู้ด้วยซ้ำว่าเจ้าบ่าวคือใคร
มีนักแสดงหลักคนที่สาม คือ อิซึมิ (เอรินะ มาโนะ จากบท ไรเดอร์สาว Nadeshiko) หญิงสาวนักวิ่งที่รายล้อมด้วยเพื่อน ๆ ที่พร้อมจะสนับสนุนและผลักดันเธอให้เธอได้เข้าเส้นชัยให้เร็วที่สุด
https://www.youtube.com/watch?v=40vmaRpex4Y

หลังดูภาพยนตร์เรื่องนี้แล้ว
ถ้าผมเป็นสาว ๆ คงไม่ค่อยชอบผู้ชายสักเท่าไรแล้วหละ
https://www.youtube.com/watch?v=F9xfAbm5khY

ในภาพยนตร์พบงานวิจัยที่นำไปใช้ประโยชน์ โดยเฉพาะการย้ายข้อมูลในสมอง

ยอดหนัง ที่เข้าทำงานกับข้อมูลในสมอง
ยอดหนัง ที่เข้าทำงานกับข้อมูลในสมอง

มีความเชื่อฝังหัว หรือมีข้อมูลฝังอยู่ในหัวมากมาย
และมีความเชื่อว่าข้อมูลในสมองของมนุษย์สามารถถ่ายโอนได้
มีภาพยนตร์หลายเรื่องที่เชื่อมโยงกับเรื่องเทคโนโลยีสารสนเทศ

เรื่องแรกที่นึกถึง คือ แฝงร่างขวางนรก (Source code) ปี 2011
มีการทำวิจัยเรื่องการย้ายความคิดของคนมาใส่ไว้ในคอมพิวเตอร์
พระเอกเป็นทหาร เครื่องบินตก ร่างตาย แต่สมองไม่ตาย
มีนักวิจัย นำร่างพระเอกมาศึกษา
แม้ร่างจะมีปัญหา แต่เชื่อมสมองไปเข้าเครื่องคอมได้
แล้วก็สื่อสารกันรู้เรื่อง รวมถึงเข้าไปแทนสำนึกของสมองก่อนอื่นได้
ประเด็น คือ ทำสำเนาได้ซ้ำแล้วซ้ำอีก
เรื่องนี้ได้นำความคิดของพระเอก ไปใส่ในสมองของเหยื่อรายหนึ่ง
ที่เสียชีวิตจากเหตุระเบิดรถไฟ โดยหวังว่าจะล่าตัวมือระเบิดได้
การส่งพระเอกเข้าไปในสมองที่เป็นความทรงจำ
กลับกลายเป็นว่าเป็นการย้อนอดีตจริง ๆ และสามารถเปลี่ยนเหตุการณ์ได้จริง


เรื่องที่สอง คือ คอมพ์สมองคนพิฆาตโลก (Transcendence) ปี 2014
พระเอกตอนมีชีวิตอยู่ เป็นนักวิจัย สร้าง AI ที่เสมือนมีความรู้สึกนึกคิด
แต่มีกลุ่มต่อต้านที่ไม่ชอบเทคโนโลยี ทำให้พระเอกต้องตายด้วยกัมมันตภาพรังสี
หลังตาย ได้ย้ายสมองไปเข้าคอมพิวเตอร์
มีการขยายหน่วยความจำ เพิ่มหน่วยประมวลผล และแหล่งพลังงาน
จนพระเอกทำวิจัยต่อได้อย่างรวดเร็ว หลังไปอยู่ในคอมพิวเตอร์
จนงานวิจัยก้าวหน้าไปมาก โดยเฉพาะเทคโนโลยีนาโน
การรักษาสมดุลธรรมชาติ การรักษาพยาบาล และการพัฒนาเนื้อเยื่อ
ทุกคนเข้าใจผิด และกลัวพระเอก จึงร่วมมือกันทำลาย ให้พระเอกหายไปด้วยไวรัส
แม้จริง ๆ แล้วพระเอกพยายามจะรักษาโลก
ที่ป่วยจากการทำลายด้วยมือมนุษย์ก็ตาม


เรื่องที่สาม คือ คนสมองเดือด (Criminal) ปี 2016
มีนักวิจัย ทำโครงการที่คิดว่าจะสามารถคัดลอกสมองคนหนึ่ง
ไปไว้ในสมองส่วนหน้าที่บกพร่องได้ ของอีกคนหนึ่งได้
แล้วก็มีพระเอก 2 คน
คือ พระเอกที่เป็นสายลับ แต่ถูกจับได้และฆ่าตาย เหลือแต่สมอง
กับ พระเอกที่เป็นฆาตกร มีสมองส่วนหน้าผิดปกติ
เนื่องจากเคยถูกพ่อโยนออกจากรถตอนเด็ก
ทำให้สมองส่วนหน้าที่เป็นเรื่องความรู้สึกเสียหาย
นักวิจัยได้คัดลอกสมองพระเอกที่ตาย ไปยังสมองส่วนหน้าที่เสียหาย
หลังคัดลอกแล้ว พระเอกก็มีบุคลิกของพระเอก และผู้ร้ายในคนเดียวกัน
แต่เนื้อเรื่องหลัก คือ ประเทศสหรัฐติดตั้ง Firewall ของประเทศ
แล้วมีนักวิจัยหนุ่มแอบฝังรูหนอน สำหรับสั่งการอุปกรณ์ต่าง ๆ ได้
เขาทรยศ จะเอาผลงาน หรือรูหนอนหรือประตูหลังไปขาย
ผมมองว่าเรื่องนี้มีนักวิจัย 2 คน
คนแรกเป็นนักวิจัยที่ศึกษาเรื่องการคัดลอกสมองของมนุษย์
คนที่สองเป็นนักวิจัยที่รับพัฒนา Firewall ของประเทศ


อันที่จริงนึกถึง ดาย ฮาร์ด 3 แค้นได้ก็ตายยาก (Die hard 3) ปี 2007
ที่การยึดครองระบบต่าง ๆ ของประเทศ ใช้แฮก-เกอร์
ร่วมกับอดีตผู้มีความชำนาญด้านความปลอดภัยของประเทศ
ที่หันมาหักหลังประเทศของเขาเอง เพื่อเงิน
พระเอก คือ Walter Bruce Willis

อีกเรื่องที่นึกถึง คือ ไฟนอล คัท ตัดต่อสมองคน (The Final Cut) ปี 2004
ที่พระเอกมีหน้าที่เป็นสัปเหร่อเทคโนโลยี
สามารถนำข้อมูลจากสมองออกมาเก็บในสื่อเก็บข้อมูล
แล้วนำมาฉายเป็นภาพในอดีต ว่าผู้ล่วงลับเห็นอะไรบ้าง
เรื่องราวคือ มีคนอยากเห็นในสิ่งที่อยู่ในหัว และมีบางคนไม่อยากให้เห็น
พระเอก คือ Robin Williams

กระชากปมปริศนาคดีอำพราง (Changeling)

changeling 20 บาท ที่ lotus
changeling 20 บาท ที่ lotus

เมื่อคืน 5 พ.ค.59 เดินโลตัสเอ็กเพรส เห็นภาพยนตร์เรื่องละ 20 บาท
อุดหนุนกันหน่อย เห็นว่าหาดูแบบออนไลน์ก็ได้
แต่เคยสอนนักศึกษาว่าไม่ควรทำ จึงซื้อมาเป็นเจ้าของแทนดูออนไลน์
เพราะคำนึกถึงจริยธรรมในการรับชมภาพยนตร์
เลือกมาได้หลายเรื่อง มีเรื่องหนึ่งประทับใจ
เกี่ยวกับ การต่อสู่ของผู้หญิง และนึกถึงภาพยนตร์ในอดีตที่เกี่ยวข้อง

รวม 3 เรื่องที่จะเล่าสู่กันฟัง
1. Changeling (2008)
2. Sucker Punch (2011)
3. Erin Brockovich (2000)

นั่งดูหนังเรื่อง กระชากปมปริศนาคดีอำพราง (2008)
มีชื่อฝรั่งฟังไพเราะว่า “Changeling” = เด็กที่ถูกสับเปลี่ยนกับเด็กอื่น
เป็นเรื่องราวของผู้หญิงที่ออกมาเรียกร้องความเป็นธรรมจากตำรวจแอลเอ
จนศาลตัดสินปลดคนในกรมตำรวจออกหลายคน
เพราะใช้อำนาจโดยมิชอบ ทำตัวเป็นอภิสิทธิ์ชน และโกหกสื่อ
เนื้อเรื่องเกี่ยวกับผู้ร้ายขโมยลูกเธอ แต่ตำรวจไปเอาลูกคืนอื่นมายัดเยียด
ปฏิเสธก็ไม่ได้ ถูกหาว่าบ้า โยนเข้าโรงพยาบาลบ้า
https://www.youtube.com/watch?v=MhDAdPw0jTM

แบบในหนังเรื่อง “Sucker Punch (2011)” (หมัด + เครื่องดึงดูด)
ที่นางเอกร่วมกับเพื่อน ๆ พยายามหนีออกจากโรงพยาบาลบ้า

ส่วนอีกเรื่องที่ทำให้นึกถึง
ในความเด็ดเดี่ยวของผู้หญิงที่สู้กับอำนาจที่ยิ่งใหญ่
ก็เหมือนในหนังเรื่อง “Erin Brockovich (2000)”
แสดงโดยจูเรีย โรเบิร์ด จนชนะบริษัทยักใหญ่

Bridge of spies กับ Child 44

#เล่าเรื่องหนัง
เคยดู Bridge of spies เป็นหนังที่กดดัน และเข้มข้นมาก
เนื้อเรื่องสองส่วน คือ การจับสปาย และการแลกตัวประกัน
เกิดขึ้นสมัยสงครามเย็น ที่มีกำแพงเบอร์ลินเกิดขึ้น


แต่เมื่อวานดู Child 44 เป็นหนังที่กดดัน และเข้มข้นมาก
เนื้อเรื่องสองส่วน คือ ถูกยัดข้อหาสปาย และการตามหาผู้ร้าย
เกิดขึ้นสมัยสตาลินเรืองอำนาจ และเชื่อว่าประเทศไม่มีผู้ร้าย
ทำให้นึกถึงวรรณกรรม Animal Farm ของ จอร์จ ออร์เวลล์ (George Orwell)

กำแพงเบอร์ลิน
กำแพงเบอร์ลิน

สมัยสงครามเย็นมีเรื่องราวมากมาย ปรากฎเป็นภาพยนตร์
สงครามเย็น หมายถึง สงครามที่มหาอำนาจทั้งสองทำการต่อสู้กัน โดยใช้เครื่องหมายทุกอย่าง ยกเว้นอาวุธปรมาณู หรือหมายถึงความขัดแย้งระหว่างสหรัฐอเมริกาและรัสเซีย โดยไม่ใช้อาวุธต่อสู้กันโดยตรง แต่ใช้วิธีการโฆษณาชวนเชื่อการแทรกซึมบ่อนทำลาย การประนาม การแข่งขันกันสร้างกำลังอาวุธ และแสวงหาอิทธิพลในประเทศเล็ก
อ้างอิงจาก https://suphannigablog.wordpress.com/%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%A2%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88-4/%E0%B8%AA%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%A2%E0%B9%87%E0%B8%99/

สิ่งเล็กเล็กที่เรียกว่าน่าร็อก

แตกต่างได้ พ่อแม่รับได้มากขึ้นแล้ว
แตกต่างได้ พ่อแม่รับได้มากขึ้นแล้ว

วันนี้เลือกดูหนังเรื่องนี้
เพราะเห็นหน้าตานางเอก เหมือนเคยเห็นที่ไหนสักแห่ง
นั่งดูแล้วก็ไม่ผิดหวัง
เนื้อเรื่องสอนให้เรายอมรับในความแตกต่าง
เพลงก็ดีครับ เห็นร้องตั้ง 3 รอบ
ชื่อเพลง “เกิดมาเพื่อสิ่งนี้
เป็นเพลงประกอบภาพยนตร์ สิ่งเล็กเล็กที่น่าร็อก
[มีประเด็นชวนคิด]
ตอนช่วงท้าย ๆ ก่อนจบ ดูแล้วรู้สึกขาดความสมเหตุสมผล
ที่นางเอกจะขอให้หยุดการประกาศผลการแข่งขันวงดนตรี
แล้วรอให้ทุกคนได้ดู ได้เห็นความสำคัญว่า “ตนเองกำลังบอกรักแฟน”
ในชีวิตจริงไม่น่าเป็นอย่างนี้ .. ดูแล้วก็อย่าไปเชื่อหนังมาก
แล้วมีคำถามเรื่อง การเล่นดนตรีชนะของนักเรียน
เคยมีคนตั้งคำถามว่า โรงเรียนสนับสนุนอะไร ตามสาระการเรียนรู้ไหน
ถ้าไม่เคยสอนอะไร จะถือเป็นผลงานของโรงเรียนได้อย่างไร
ท่านยกตัวอย่างว่า เรียนหมอ แต่มีอาชีพเสริมไปเป็นนักบิน
หรือ เรียนกฎหมาย แต่ไปแข่งชนะร้องเพลง เป็นต้น

เห็นต่างไม่เห็นแปลก ไม่เหมือนแล้วไง
แค่ไม่ต้องไปรบกวนใครก็พอ
ทุกคน ทุกอย่าง ต่างเกิดมาเพื่อเป็น
ในสิ่งที่เป็นได้ดี แค่นี้พอ

เข้าใจตรงกันนะ ว่าเราไม่เหมือนกัน
เธอก็เป็นของเธอ ไอ้ฉันก็เป็นของฉัน

เกิดมาเพื่อสิ่งนี้ ถูกสร้างมาอย่างนี้
ดีกันไปคนละอย่าง
เกิดมาเพื่อสร้างสรรค์ จินตนาการของฉัน
มันเป็นคนละทาง

ขออภัยถ้าเกิดไปรบกวน
ให้ขบวนต้องรวนเป็นบางครั้ง
ไม่เข้าใจ ก็อย่าขวาง
แค่ปล่อยไปให้ฉันเป็น

โลกยัง กว้างใหญ่ ยังคงมีพื้นที่
ให้เรากระจายได้ฝันกัน อย่าได้แคร์
เข้าใจตรงกันนะ ว่าเราไม่เหมือนกัน
เธอก็เป็นของเธอ ไอ้ฉันก็เป็นของฉัน

เกิดมาเพื่อสิ่งนี้ ถูกสร้างมาอย่างนี้
ดีกันไปคนละอย่าง
เกิดมาเพื่อสร้างสรรค์ จินตนาการของฉัน
มันเป็นคนละทาง

ขออภัยถ้าเกิดไปรบกวน
ให้ขบวนต้องรวนเป็นบางครั้ง
ไม่เข้าใจ ก็อย่าขวาง
แค่ปล่อยไปให้ฉันเป็น

อยากทำอะไรก็ทำไป
แต่อยากแจมเมื่อไรก็เข้ามา
ก็เข้ามา ก็เข้ามา ก็เข้ามา

เกิดมาเพื่อสิ่งนี้ ถูกสร้างมาอย่างนี้
ดีกันไปคนละอย่าง
เกิดมาเพื่อสร้างสรรค์ จินตนาการของฉัน
มันเป็นคนละทาง

ขออภัยถ้าเกิดไปรบกวน
ให้ขบวนต้องรวนเป็นบางครั้ง
ไม่เข้าใจ ก็อย่าขวาง
แค่ปล่อยไปให้ฉันเป็น
แค่ปล่อยไปให้ฉันเป็น

ขออภัยถ้าเกิดไปรบกวน
ให้ขบวนต้องรวนเป็นบางครั้ง
ไม่เข้าใจ ก็อย่าขวาง
แค่ปล่อยไปให้ฉันเป็น

คำร้อง/ทำนอง สุทธิพงษ์ วัฒนจัง
เรียบเรียง Rupee, มัชฌา งามสุทธิ, ชลทัศน์ ชาญศิริเจริญกุล

ปิดฉากรัก! ปลื้ม ประกาศเลิก ทับทิม ที่ผ่านมารักกันแบบเพื่อน

ล่าสุด (3 ก.พ.) ปลื้ม สุรบถ หลีกภัย ได้โพสต์ข้อความชี้อแจงลงอินสตาแกรม pleum_official ยืนยันว่า ตนเองและทับทิม “เลิกกันแล้วจริงๆ” หลังใช้ชีวิตคู่ร่วมกันกว่า 3 ปี

“ตามที่เห็นข่าวของผมกับทับทิม และผมได้คุยกับทับทิมแล้ว ผมจึงได้รับหน้าที่เป็นคนชี้แจงข่าวครับ ผมขอชี้แจงว่า “ครับ เราเลิกกันมาสักพักแล้ว” แต่ไม่ใช่เพราะว่าเราทะเลาะกันหรือมีเรื่องไม่พอใจต่อกันครับ เราคุยกันดี และเราเข้าใจกัน เราต่างรู้ว่า “เรารักกันมากแค่ไหน” แต่เราเพิ่งมารู้ว่า “เรามีความรักและความห่วงใยกันแบบเพื่อน” อาจเป็นเพราะเราเริ่มกันมาแบบเพื่อน เราห่วงใยกัน ดูแลกัน ผูกพันกัน เราเข้าใจกัน เราเลยคิดว่ามันเป็นความรักแบบคนรัก แต่หลังจากมาใช้ชีวิตอยู่ด้วยกัน เราจึงเพิ่งเข้าใจว่า “มันไม่ใช่แบบคนรักแต่มันเป็นแบบเพื่อน มันไม่ใช่ในรูปแบบชีวิตคู่” ทับทิมคือเพื่อนที่แสนดีของผม เราดีต่อกันมาตลอด และต่อจากนี้เราก็จะดีต่อกัน กราบขออภัยทุกท่านที่ติดตามนะครับ ขอให้ทุกท่านโปรดเข้าใจและเคารพในการตัดสินใจของเราทั้งสองด้วย ทั้งหมดมันมีเพียงเท่านี้ครับ

ขอบคุณครับ/ค่ะ…ปลื้ม/ทับทิม”

—————————-

ขอขอบคุณข้อมูลจาก www.sanook.com

แบนหนังอาบัติ

คุณสรยุทธ สัมภาษณ์ ผู้พิจารณาห้ามฉายภาพยนตร์เรื่องอาบัติ
https://www.youtube.com/watch?v=9t0NtyeT-BI

คำถาม ทำไมภาพยนตร์เรื่อง อาบัติ ถูกห้ามฉาย
คำตอบ พบข้อความจาก http://movie.kapook.com/view131608.html
ว่า “มีการนำเสนอในแง่มุมของพระสงฆ์ที่ประพฤติผิดศีลในข้อ 3 (ประพฤติผิดในกาม)
พูดส่อชู้สาวต่อสาธารณชน นอกจากนี้ยังมีภาพของภาพสามเณรเสพของมึนเมา
ใช้ความรุนแรง ไม่เคารพพระพุทธรูป
ซึ่งเรื่องดังกล่าวอาจเป็นการทำลายศรัทธาของประชาชนที่มีต่อพระพุทธศาสนาได้
ดังนั้น การนำเสนอภาพยนตร์เรื่องดังกล่าวอาจทำให้เกิดความเสียหายมากกว่าประโยชน์

ผลพิจารณาเหตุหลัก ๆ เชื่อกันว่านำมาซึ่ง
– เป็นความเสื่อมเสียต่อพระพุทธศาสนา เป็นเรื่องที่ไม่ควรนำมาประจานกัน
– รายละเอียดหลายตอนลบหลู่พระสงฆ์
– เณรโอบกอดสีกา สูบบุหรี่ ไม่ศรัทธาศาสนา เป็นเรื่องที่ไม่ควรอย่างยิ่ง

หุ่นยนต์คิดแบบในหนังคงยังไม่มี (itinlife508)

cyborg she
cyborg she

มีภาพยนตร์มากมายที่กล่าวถึงการสร้างปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence) ก้าวต่อไปคือการสร้างหุ่นยนต์มารับใช้มนุษย์ มีองค์ประกอบหลายอย่างที่จำเป็นต่อการสร้างหุ่นยนต์ แต่สิ่งที่เรายังทำกันไม่สำเร็จคือการสร้างปัญญาประดิษฐ์ หรือทำให้หุ่นยนต์คิดเองได้ โดยไม่ต้องรอรับคำสั่ง ส่วนนวัตกรรมการสร้างหุ่นยนต์มีความสำเร็จเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จินตนาการเป็นเรื่องที่หยุดไม่ได้ มีภาพยนตร์มากมายฉายสิ่งที่กำลังจะเกิดขึ้นในแง่มุมที่หลากหลายทั้งด้านประโยชน์ และปัญหา

หุ่นอาร์ทูดีทู หรือซีทรีพีโอในสตาร์วอร์ส (Star war) เป็นหุ่นยนต์ที่นักดูภาพยนตร์คงจดจำกันได้ดีกว่าเรื่องอื่น แต่ความเหมือนมนุษย์ยังไม่เด่นชัด หากหุ่นยนต์สามารถคิดเองได้ หรือรู้จักการเรียนรู้แล้ว มีภาพยนตร์ที่สะท้อนปัญหาให้เห็น คือ เทอมิเนเตอร์ (Terminator) ที่เล่าว่าถ้าหุ่นยนต์คิดเองได้ ก็จะรู้ว่ามนุษย์เป็นภัยต่อหุ่นยนต์เก่า เพราะมนุษย์ชอบของใหม่เสมอ เพื่อความอยู่รอดของหุ่นยนต์ที่จะต้องเก่าในอนาคต จึงต้องกำจัดมนุษย์ซะก่อนที่จะสายเกินไป และเริ่มดำเนินการในทันที ต่อมาผู้สร้างภาพยนตร์ก็เปลี่ยนแนวว่าเราสามารถควบคุมหุ่นยนต์ได้ โดยการเพิ่มคำสั่งห้ามทำร้ายมนุษย์ให้เป็นเงื่อนไขสำคัญ จนมีภาพยนตร์เรื่องไอโรบอต (irobot) หรือออโตเมต้า (Automata) ที่ทำให้ผู้ชมรู้สึกสบายใจได้ว่าหุ่นยนต์จะไม่มีวันทำร้ายมนุษย์ แต่กฎย่อมมีข้อยกเว้น เมื่อเวลาผ่านไปกฎที่เคยใส่เข้าไปในหุ่นยนต์ก็อาจถูกเปลี่ยน พัฒนา หรืออัพเกรด จนหุ่นยนต์อาจเป็นภัยต่อมนุษย์ได้

ผู้สร้างภาพยนตร์ได้เนรมิตเรื่องราวให้หุ่นยนต์มีความเหมือนมนุษย์มากขึ้นไปอีก ด้วยการสร้างหุ่นยนต์ที่คิดว่าตนเองเป็นมนุษย์ คนที่พบเห็นก็ไม่รู้ เช่น เอวา (EVA) หรือสครีมเมอร์ส (Screamers) หรือไบเซนเทนเนียลแมน (Bicentennial Man) แต่ความเหมือนมนุษย์นั้นก็แฝงมาด้วยภัยซ่อนเร้น เช่น เอวาที่ไม่ผ่านเกณฑ์ความปลอดภัย แต่ผู้สร้างดื้อรั้นขอเก็บไว้ สุดท้ายก็แสดงความรุนแรงออกมาจนทำร้ายผู้สร้าง ส่วนสครีมเมอร์สก็วิวัฒนาการจากอุปกรณ์ที่ดำดินไปสังหารศัตรูขึ้นมาเป็นหุ่นยนต์สาวสวยเหมือนมนุษย์ที่มีเลือดเนื้อและชีวิตจิตใจ แต่เรื่องไบเซนเทนเนียลแมนเป็นหนึ่งในไม่กี่เรื่องที่สะท้อนให้เห็นเฉพาะมุมบวกของหุ่นยนต์ที่มีขึ้นมาเพื่อช่วยเหลือมนุษย์ และตัดสินใจปิดเครื่องของตนเองด้วยความเชื่ออย่างมนุษย์ แต่วันนี้เรากำลังพัฒนาปัญญาประดิษฐ์ให้เกิดขึ้นจริง แล้วมาลุ่นกันว่าชีวิตจริงในอนาคตจะเหมือนภาพยนตร์เรื่องใด

ดูหนังเรื่อง eva 2011

eva
eva
เอวา (EVA)
หลายปีก่อนมีภาพยนตร์ที่ล้ำสมัย [28.10.11]
กล่าวถึงยุคที่คนเราสร้างหุ่นยนต์ไว้ใช้งานตามบ้าน
หุ่นที่สร้างขึ้น จะคุณสมบัติเฉพาะของแต่ละตัว
สร้างเสร็จก็จะได้รับการทดสอบ
หากผ่านการทดสอบ ก็จะมาใช้ชีวิตร่วมกับคน

แต่นางเอกของเรื่องสร้างหุ่นเด็กผู้หญิง
ทดสอบแล้วไม่ผ่านเกณฑ์ความปลอดภัย
แต่เธอขอเก็บผลงานไว้ แล้วเลี้ยงดูแบบลูก หุ่นก็ไม่รู้ตัว
อยู่มาวันหนึ่ง หุ่นเด็กผู้หญิงเกิดมีอารมณ์ แล้วพลาดทำร้ายผู้สร้างจนตาย
แล้วนึกถึงพฤติกรรมมนุษย์ในหนังสือพิมพ์นะครับ
สงสัยจะไม่ผ่านเกณฑ์ความปลอดภัยกันเยอะ
ไม่เหมือนในหนังครับ ไม่ผ่านก็ปิดเครื่องไปเลย

เรื่อง eva เล่าว่า เด็กหญิงที่ไม่ผ่านเกณฑ์ความปลอดภัย

อาจทำลายผู้สร้างได้ สุดท้ายผู้สร้างก็ถูกเด็กทำให้เสียชีวิต

นี่ก็เพราะการไม่เคารพกฎเกณฑ์ เพราะใช้หัวใจแทนสมอง

สุดท้ายผู้สร้างอีกคนก็ต้องปิด switch เด็กหญิง

.. นี่ผมสปอยตรง ๆ เลย