อูบุนตู 4 บทในหนังสือของ รศ.ดร.กฤษดา ขันกสิกรรม

ranking linux distribution
ranking linux distribution

นั่งอ่านหนังสือ
“ระบบปฏิบัติการ (Operating System)”
ของ รศ.ดร.กฤษดา ขันกสิกรรม
พบบทที่ 10-13 ระบบปฏิบัติการอูบุนตู
โลกเราไม่ได้มี OS ระบบเดียว และรุ่นเดียว

บทที่ 10 ประวัติ
– ประวัติของอูบุนตู
– รุ่นหรือเวอร์ชั่นของอูบุนตู
บทที่ 11 ติดตั้ง
– ติดตั้งในเครื่องใหม่
– ติดตั้งหลายโอเอส แบบแบ่ง Partition
– ติดตั้งเพิ่ม Install inside windows
บทที่ 12 การใช้งานอูบุนตู
– หน้าจอหลัก
– ส่วนประกอบหลัก
– การจัดการเดสก์ทอป
– การใช้งานไฟล์และโฟลเดอร์
– การใช้โปรแกรมพื้นฐาน
บทที่ 13 โปรแกรมประยุกต์
– Openoffice
– Firefox
– Pidgin สำหรับการแชทหลายบัญชี
– การใช้ร่วมกับอุปกรณ์ อาทิ mouse, printer, graphic card
– การใช้ Visual Effects ของอูบุนตู

mark shuttleworth ubuntu
mark shuttleworth ubuntu

อ่านหน้า 238 เรื่อยไป พบว่า
ยูบุนตู (Ubuntu) พัฒนาต่อยอดจาก เดเบียน (Debian)
ซึ่งต่างเป็นลีนุกซ์ (Linux) ที่เป็น Open source
และเป็น GPL (General Public License) คือ สัญญาอนุญาตในการนำไปใช้
โดยสัญญา GPL ฉบับแรกเขียนโดย Richard Stallman
ส่วน Linux Kernal มีผู้ริเริ่มคือ Linus Torvalds (ไลนัส เทอร์วัลต์ส)
ยูบุนตูถูกพัฒนาให้สามารถใช้กับ PC, Notebook หรือ Server
คำว่าอูบุนตูเป็นคำจากภาษาซูลูและโคซาในแอฟริกาใต้
หมายถึง เพื่อมวลมนุษยชาติทุกคน (Humanity to Others)
ซึ่งหัวหน้าทีมพัฒนาอูบุนตู คือ Mark Shuttleworth
และบริษัทคาโนนิคอล ที่เน้นให้อูบุนตูมีแต่ของฟรีสำหรับทุกคน

Ubuntu แยกเป็นหลายรุ่น ดังนี้
1. Kubuntu คือระบบสำหรับใช้งานบน Desktop สำหรับผู้ใช้
2. Xubuntu คือระบบสำหรับฮาร์ดแวร์เก่า ใช้ทรัพยากรน้อย
3. edubuntu คือ ระบบสำหรับนักเรียน นักศึกษา มีแอพเครืองคิดเลขคำนวณสูตรทางเคมี ฟิสิกส์
4. gobuntu คือ ระบบสำหรับกลุ่มเชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ จึงไม่มีไดรเวอร์ แอพพลิเคชั่น

http://www.thaiall.com/os/os11.htm