สถิติสื่อต่อนักศึกษาเมื่อมิถุนายน 2552

สถิติ มิ.ย.2552

9 มิ.ย.53 วันนี้ไปแก้โปรแกรมรับเงินผ่อนค่าลงทะเบียน กับรายงานเพิ่ม-ลดกระบวนวิชา ของฝ่ายการเงิน มีโอกาสได้คุยกับคุณลัดดาวรรณ เรือนทัศนีย์ (คุณน้อย) ฝ่ายทะเบียน ที่ย้ายห้องทำงานชั่วคราวมาที่นั่น ก็เล่าให้ฟังว่าปีที่แล้ว (มิ.ย.52) ได้จัดทำข้อมูลเชิงสถิติมากมายเกี่ยวกับจำนวนนักศึกษาเสนอผู้บริหารทุกสัปดาห์ หนึ่งในตารางข้อมูลคือ ชนิดของสื่อที่ได้รับทราบข้อมูลข่าวสารของมหาวิทยาลัย ซึ่งมีสถิติว่า 3 อันดับแรกที่ให้ข้อมูลข่าวสารถึงกลุ่มเป้าหมายคือ 1) เว็บไซต์มหาวิทยาลัย 2) ป้ายประชาสัมพันธ์ 3) แผ่นพับ มีรายละเอียดอื่นตามภาพ

รายงานผลส่งเสริมร่วมประชุม nccit10

8 มิ.ย.53 รายงานการดำเนินงานโครงการ เรื่อง “โครงการส่งเสริมและสนับสนุนให้อาจารย์เข้าร่วมนำเสนอผลงานวิชาการในระดับชาติและระดับนานาชาติ” ตามรูปแบบที่กำหนดใช้งานภายในคณะฯ ประกอบด้วยหัวข้อสำคัญ 4 หัวข้อ คือ 1) บทสรุปผู้บริหาร 2) สรุปผลการดำเนินงานโครงการ 3) ผลการประเมินตามโครงการ 4) สรุปบทเรียนที่ได้รับจากการดำเนินโครงการ
     ขอสรุปเฉพาะหัวข้อที่ 3 และ 4 ดังนี้ หัวข้อที่ 3) ผลการประเมินตามโครงการ พบว่า โครงการมีตัวบ่งชี้ 2 ตัว คือ มีอาจารย์ผลิตผลงานวิชาการไปนำเสนอในเวทีระดับชาติอย่างน้อย 1 คน และมีอาจารย์ไปร่วมประชุมวิชาการในเวทีระดับชาติอย่างน้อย 3 คน ซึ่งผลการประเมินตามตัวบ่งชี้ของโครงการพบว่าผ่านตามตัวบ่งชี้ทั้ง 2 ตัว สรุปว่าผ่านตัวบ่งชี้ที่ 1 คือ มีชื่ออาจารย์คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีไปนำเสนอผลงานวิชาการในระดับชาติจำนวน 2 คน คือ  อ.บุรินทร์ รุจจนพันธุ์ อ.ศศิวิมล แรงสิงห์ ซึ่งมากกว่าที่ตั้งไว้ 1 คน สรุปว่าผ่านตัวบ่งชี้ที่ 2 คือ มีอาจารย์ไปร่วมประชุมวิชาการในระดับชาติจำนวน 5 คน คือ 1) อ.อติชาต หาญชาญชัย 2) อ.วิเชพ ใจบุญ 3) อ.เกศริน อินเพลา 4) อ.ทนงศักดิ์ เมืองฝั้น และ 5) ผศ.บุรินทร์  รุจจนพันธุ์ ซึ่งมากกว่าที่ตั้งไว้ 3 คน
     หัวข้อที่ 4) สรุปบทเรียนที่ได้รับจากการดำเนินโครงการ พบว่า บทเรียนจากการร่วมประชุมวิชาการ พบว่ามีนวัตกรรมมากมายที่มีการนำเสนอผ่านบทความวิชาการในการประชุมครั้งนี้ เช่น ระบบเครือข่ายประสาทเทียม ตารางจำแนก มาตรฐาน CMMI การพัฒนาฐานข้อมูลกับ Google Map การประเมินซอฟท์แวร์ด้วยทฤษฎีใหม่ เป็นต้น ซึ่งคณะวิชาควรสนับสนุนให้บุคลากรได้เข้าร่วมงานประชุม และกลับมาเขียนบทความจากงานวิจัย เพื่อไปนำเสนอในปีต่อไปเพิ่มขึ้น
+ http://www.thaiall.com/research/nccit10/report_project_nccit10.doc
+ http://www.thaiall.com/research/nccit10/report_seminar_nccit10.doc
+ http://www.thaiall.com/research/nccit10/report_form_science.doc

ส่งรายงานเล่มใหญ่ให้คณะวิชา แล้วส่งบันทึกแจ้งคณะกรรมการ

18 พ.ค.53 เขียนบันทึกเรื่อง แจ้งการจัดทำรายงานสรุปผลโครงการ โอกาสต่อไปจะได้ใช้เป็นแบบอย่าง เพราะการส่งรายงานเล่มใหญ่ให้กรรมการกว่า 20 คนเป็นเรื่องที่ไม่สมเหตุสมผล จึงส่งบันทึกแจ้งแทนว่าไปอ่านที่คณะวิชาแทนได้ หรือดาวน์โหลดด้วยตนเอง ซึ่งมีรายละเอียด 3 ย่อหน้าดังนี้
     1) ตามที่ท่านร่วมเป็นคณะกรรมการพัฒนาระบบอีเลินนิ่งมหาวิทยาลัยโยนก และเป็นส่วนหนึ่งที่ร่วมวางแผน เขียนโครงการ และดำเนินการโครงการที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาบุคลากรในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือในการจัดการเรียนการสอนด้วยอีเลินนิ่ง ซึ่งสำเร็จลุล่วงในการพัฒนาบุคลกรไปแล้วจำนวน 2 โครงการ ได้แก่ โครงการคัดเลือกผู้พัฒนาการเรียนการสอนโดยใช้อีเลินนิ่ง ซึ่งผลของการดำเนินงานทำให้ได้ผู้ที่ใช้อีเลินนิ่งเป็นเครื่องมือในปีการศึกษา 2552 มาเป็นแบบอย่างของบุคลากรจำนวน 4 ท่าน แล้วได้รับความอนุเคราะห์จากผู้ได้รับการคัดเลือกมาเป็นวิทยากรในโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ การพัฒนาสื่อการสอนอีเลินนิ่ง ที่จัดขึ้นวันที่ 29 – 30 เมษายน 2553 และได้ข้อเสนอเป็นแนวทางในการดำเนินงานต่อไป
     2) การดำเนินการทั้ง 2 โครงการได้จัดทำรายงานสรุปผลที่มีข้อมูลการจัดสรรมูลค่าและงบประมาณ จำแนกตามคณะวิชา เพื่อใช้เป็นบทเรียนในการทำงานที่เชื่อมโยงการใช้เทคโนโลยี การใช้เครื่องมือสนับสนุนการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ การเป็นทางเลือกในการวิจัยในชั้นเรียน และเป็นเอกสารหลักฐานการประกันคุณภาพในเกณฑ์ที่เกี่ยวกับการบริการวิชาการของคณะวิชา และในเกณฑ์ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งเอกสารรายงานสรุปผลได้ถูกจัดส่งให้กับคณบดีทุกคณะวิชา รองอธิการบดี และอธิการบดี สำหรับใช้อ้างอิงต่อไป
     3) สำหรับแฟ้มรายงานสรุปผล นอกจากท่านจะศึกษาได้จากรูปเล่มที่จัดส่งให้แต่ละคณะวิชาแล้ว ท่านยังสามารถดาวน์โหลดได้จากระบบอินทราเน็ต หรือระบบสารสนเทศของมหาวิทยาลัย ที่ http://www.yonok.ac.th/mis ภายใต้ลิงค์ที่ชื่อว่า “รายงานสรุปผลโครงการ”

รายงานการทำงานต่อคณบดีฯ 1/2552

เสาร์ที่ 30 พฤษภาคม 2552 1)การอบรม : กลางวันผมเป็นตัวแทนของโครงการวิจัยฯ ที่มหาวิทยาลัยรับทุนในการทำวิจัยเพื่อท้องถิ่น ไปอบรม “การวาดเพื่อการสื่อสาร” ที่จัดโดยศูนย์ประสานงานวิจัยเพื่อท้องถิ่น มีรายละเอียดใน blog ของมหาวิทยาลัย 2)ร่วมงาน cocktail กลางคืนร่วมงานมุทิตาจิตของ รศ.จินตนา สุนทรธรรม ร่วมกับ ร.คณบดี และอ.อติชาต หาญชาญชัย มีประเด็นที่ผมจับได้เกี่ยวกับไอทีในชีวิตประจำวัน จึงเขียนเป็นบทความที่ 194 ลง นสพ.ฅนเมืองเหนือ และนำเสนอในเว็บไซต์ของคณะ 3)ได้แนวคิดเขียนบทความ จากงานมุทิตาจิต ผมจับประเด็นเรื่องการจัดการความรู้ การบริหารความเสี่ยง และระบบ knowledge-based system ได้ แต่ยังไม่ได้ยกร่างบทความ สิ่งที่เห็นคือความเสียดายในองค์ความรู้ที่มหาวิทยาลัยสกัด หรือสั่งสมจากท่านออกมาเป็นรูปธรรม เพื่อใช้ในการเรียนรู้ และต่อยอดไปสู่การพัฒนาคน ยังไม่มากพอที่ผมจะสังเกตุเห็น โดยเฉพาะระบบ knowledge-based system ที่จะเป็นการบริหารจัดการองค์ความรู้ เพื่อนำไปใช้ประกอบการตัดสินใจก็ยังไม่ชัด .. ก็มีแผนจะนำเสนอในกลุ่มประเด็นนี้ครับ