ทดสอบ virtualbox + mint13 + debian + teamviewer + winxp + win7 + lan + wi-fi

teamviewer 7
teamviewer 7

เป้าหมาย ต้องการใช้ linux ใน virtualbox บนเครื่องวินโดว์ทั้ง xp และ win7 ทั้งใช้สายและไม่ใช้สาย พบปัญหาแตกต่างกันไป
กรณีทั้ง 3 เครื่องนี้ ก็มีวิธีแก้ไขต่างกันไป ดังนี้

A. เหตุที่เกิด กรณี LAB Winxp
1. ต้องการแชร์ mint13 ใน virtualbox กับเครื่องในห้อง lab เป็น lan บน winxp
2. หลังทำ bridge network ระหว่าง virtualbox + network conection
จะได้ ip เบอร์แรก เป็นการรวม ip ของ virtualbox และ network connection ใน windows
และได้ ip อีกเบอร์ที่อยู่ใน Linux ที่รับจาก DHCP ภายนอกเครื่อง
3. เข้าไปกำหนดใน virtualbox network : mint13 ให้ใช้ bridge ที่สร้างขึ้น
4. หลัง start mint13 ได้สั่ง #apt-get install telnetd พบว่าวันนี้ server ปลายทางไม่ตอบสนอง
5. ทดสอบ telnet  เข้า ip เบอร์ที่สอง ทั้งใน mint13 ใน windows และจากต่างเครื่อง ไม่พบปัญหา

B. เหตุที่เกิด กรณี Desktop Win7
1. ต้องการแชร์ mint13 ใน virtualbox กับเครื่อง Desktop เป็น lan บน win7
2. หลังทำ bridge network ระหว่าง virtualbox + network conection
จะได้ ip เบอร์แรก เป็นการรวม ip ของ virtualbox และ network connection ใน windows
และได้ ip อีกเบอร์ที่อยู่ใน Linux ที่รับจาก DHCP ภายนอกเครื่อง
3. เข้าไปกำหนดใน virtualbox  network : mint13 ให้ใช้ bridge ที่สร้างขึ้น
4. หลัง start mint13 ได้สั่ง #apt-get install telnetd พบว่าวันนี้ server ปลายทางไม่ตอบสนอง
5. ทดสอบ telnet  เข้า ip เบอร์ที่สอง ทั้งใน mint13 ใน windows และจากต่างเครื่อง ไม่พบปัญหา

C.1 เหตุที่เกิด กรณี Wi-fi Winxp
1. ต้องการแชร์ debian ใน virtualbox กับเครื่อง notebook เป็น wi-fi บน winxp
2. หลังทำ bridge network ระหว่าง virtualbox + network conection
จะได้ ip 2 เบอร์ คือ network connection กับ bridge network ที่ต่างกัน
แต่ใน winxp ไม่ได้ กำหนด ip อีกเบอร์ให้อัตโนมัติ แล้วระบบฟ้องว่า ip ชนกัน จึงต้องเข้าไปแก้ไข
ที่แก้ไขได้คือ ip ของ bridge network เมื่อกำหนด ip ใหม่ก็พบว่าระบบไม่ฟ้อง
แต่ใน debian เข้า net ไม่ได้ เพราะ bridge ที่สร้างขึ้นไม่ได้เชื่อมกับเครือข่ายโดยตรง
3. เข้าไปกำหนดใน virtualbox  network : debian ให้ใช้ bridge ที่สร้างขึ้น
4. ทดสอบ telnet เข้า ip ของ virtual network ไม่พบปัญหา แต่เข้าจากต่างเครื่องไม่ได้
C.2 การแก้ไข (เริ่มต้นใหม่)
1. เข้า debian ใน virtualbox แบบผ่าน nat network (ไม่ใช้ bridge)
2. หลัง start debian ได้สั่ง #apt-get install telnetd
3. สั่ง power-off debian เพื่อเชื่อมต่อเครือข่ายให้สำเร็จบน winxp
4. หลังทำ bridge network ระหว่าง virtualbox + network conection
จะได้ ip 2 เบอร์ คือ network connection กับ bridge network ที่ต่างกัน
แต่ wi-fi บน winxp ไม่ได้กำหนด ip อีกเบอร์ให้อัตโนมัติ แล้วระบบฟ้องว่า ip ชนกัน จึงต้องเข้าไปแก้ไข
ที่แก้ไขได้คือ ip ของ bridge network เมื่อกำหนด ip ใหม่ก็พบว่าระบบไม่ฟ้อง
แต่ใน debian เข้า net ไม่ได้ เพราะ bridge ที่สร้างขึ้นไม่ได้เชื่อมกับเครือข่ายโดยตรง
5. ใน windows ของเครื่องสามารถเข้า debian ผ่าน telnet ได้
6. สั่ง run แบบไม่ติดตั้ง teamviewer7 (เลือก install หรือ run ได้)บน windows
7. ถ้าเครื่องใดต้องการเข้า debian ผ่าน telnet ให้บอก id กับ password และติดตั้ง TV7 ในเครื่องนั้น
8. ตรวจหมายเลข ip ด้วย #ifconfig บน debian ดังจอภาพ
โดย 192.168.2.3 คือ ip ของ bridge ที่กำหนดแบบ manual
และ 192.168.2.5 คือ ip ของ windows หรือ host

เล่าเรื่อง catcdma ฟังจากเชียงใหม่ 2009

catcdma
catcdma

24 ก.ย.52

ท่านอธิการมอบให้ผมไปร่วมประชุม CAT@North 2009 “IT CAT @ IT YOU”  09.00น. – 12.00น. ณ ห้องล้านนาบอลรูม โรงแรมแชงกรี-ลา เชียงใหม่ ซึ่งมีหัวข้อที่น่าสนใจเกี่ยวกับ security และบริการ ผมจึงเสนอให้ นายอนุชิต ยอดใจยา และนายธรณินทร์ สุรินทร์ปันยศ ร่วมเดินทางไปด้วย โดยไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมที่ต้องขอเบิก เพราะผู้รับผิดชอบการเดินทาง และอาหารกลางวันคือ บมจ.กสท โทรคมนาคม เมื่อกลับมาผมได้ ค้นข้อมูลเพิ่มเติมจากอินเทอร์เน็ต และเขียนบทความ 1 เรื่อง เกี่ยวกับ CAT CDMA ลงนสพ.ฅนเมืองเหนือ ดังนี้

            ซีดีเอ็มเอ (CDMA = Code Division Multiple Access) คือ รูปแบบของเทคโนโลยีการสื่อสารประเภทหนึ่งที่ใช้ได้ทั้งเสียงและข้อมูลดิจิทอล เป็นบริการมัลติมีเดียไร้สายความเร็วสูง ถูกคิดค้นและพัฒนาโดยบริษัท Qualcomm ระบบนี้จะแปลงคลื่นเสียงไปเป็นข้อมูลดิจิทอล และเข้ารหัสเฉพาะเพื่อใช้งานแต่ละครั้ง จากการนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับบริการของ บมจ.กสท โทรคมนาคม ที่จังหวัดเชียงใหม่ประจำปี 2009 ซึ่งมหาวิทยาลัยโยนกได้รับเชิญไปร่วมงานในฐานะลูกค้า Leased Line ทำให้ทราบว่ามีบริการมากมายที่บริษัทพัฒนาขึ้นเพื่อสนับสนุนการทำงานของลูกค้าอย่างมีประสิทธิผล สำหรับบริการ CATCDMA นั้น เจ้าหน้าที่ได้แนะนำว่าถ้าต้องการใช้บริการควรสอบถามเจ้าหน้าที่เกี่ยวกับพื้นที่ให้บริการ หรือเข้าไปตรวจสอบพื้นที่ตั้งเสาสัญญาณด้วยตัวเองที่ www.catcdma.com
            ความแตกต่างของ CATCDMA กับบริการจากค่ายอื่น มี 3 เรื่องที่ชัดเจน คือ 1)ความเร็วสูงสุดถึง 3.1 Mbps ซึ่งสูงที่สุดในบริการลักษณะใกล้เคียงกัน และ 2)ค่าบริการที่ถูกมากสำหรับโปรโมชั่นแจ่มอินเตอร์ ถ้าโทรในเครือข่ายนาทีละ 10 สตางค์ นอกเครือข่ายนาทีละ 50 สตางค์ หรือโทรไปต่างประเทศนาทีละ 4 บาท และ 3)ไม่จำกัดเรื่องสถานที่ในการเชื่อมต่อเมื่อเชื่อมต่ออุปกรณ์ USB Modem หรือ AIR Card เข้ากับเครื่องคอมพิวเตอร์โน๊ตบุ๊ค หรือเน็ตบุ๊ค  ผู้ใช้จะอยู่ที่บ้าน ร้านอาหาร ที่ทำงาน หรือระหว่างการเดินทางก็เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้โดยไม่ติดขัด เรียกว่าใช้ได้ทุกที่ทุกเวลาด้วยความเร็วสูงตลอดเวลาอย่างแท้จริง
            ความแตกต่างของ Wi-Fi ที่มีในเครื่องคอมพิวเตอร์โน๊ตบุ๊ค กับ CATCDMA คือ จุดกระจายสัญญาณของ Wi-Fi Access Point รุ่นมาตรฐานมีรัศมีประมาณ 100 เมตร และความเร็วประมาณ 54 Mbps ผู้ให้บริการ Wi-Fi อาจเป็นองค์กร สถาบันการศึกษา ร้านอาหาร หรือส่วนราชการ แต่ปัจจุบันมีผู้ให้บริการ CDMA ในประเทศไทย คือ บมจ.กสท โทรคมนาคม เพียงรายเดียว ซึ่งมีรัศมีกระจายสัญญาณของ Cell site CDMA อยู่ที่ประมาณ 10 กิโลเมตร ครั้งต่อไปถ้าท่านจะต้องซื้อโทรศัพท์เครื่องใหม่ น่าจะหันไปมองโทรศัพท์ CDMA ที่มีโปรโมชั่นให้เลือกหลากหลายตามการใช้งานที่เหมาะกับแต่ละบุคคล ถ้าโทรศัพท์ยังไม่ชำรุดก็ยังไม่ต้องรีบเปลี่ยน เพราะเชื่อได้ว่ารออีกสักระยะก็จะมีโปรโมชั่นที่ดีกว่ามาให้เลือก และราคาของ Air Card ก็น่าจะลดลงมาให้คนธรรมดาซื้อหามาใช้ได้