หา driver ให้กับอุปกรณ์เก่าไม่พบ มีทั้งผิดหวัง และสมหวัง

Wireless USB Adapter
Wireless USB Adapter

มีเครื่อง PC ที่ไม่ได้เชื่อม Internet ผ่านสาย LAN
แต่มี Wireless USB Adapter ตัวเก่าตัวหนึ่ง
เอามาใช้ก็พยายามติดตั้งไปตามปกติ แบบ Off-line
พบว่า Driver ไม่ตรง หรือไม่พบที่ใช้งานได้
เล่าถึงขั้นตอน ดังนี้
1. เอายี่ห้อ และรุ่น
ไปค้นจาก website เจ้าของอุปกรณ์
ก็ไม่มี driver ให้ download เพราะอุปกรณ์เก่ามาก
เลิกดูแลลูกค้าที่ใช้อุปกรณ์เก่า
2. หาจาก google.com หลายตัว
*เริ่มมีหวัง
ลอง download ที่น่าจะใช้
ก็ไม่มีตัวไหนใช้งานได้
* ผิดหวังหลายรอบ เพราะน่าจะได้สักตัว ก็ไม่ใช่สักตัว
3. สงสัยว่าอุปกรณ์จะเสีย * เริ่มสิ้นหวัง
เปลี่ยนไปยังเครื่องที่ online
แล้วใช้ search driver แบบ online
พบว่า install hardware ได้ปกติ และใช้งานได้
* สมหวังครับ ยิ้มแป้นเลย แต่ไม่ใช่เครื่องนี้
4. เอาชื่ออุปกรณ์ที่ install hardware ได้แล้ว
ไปค้นหาจาก website ของ microsoft.com
แล้วพบแฟ้ม .cab หลายแฟ้ม ก็ download ที่น่าจะใช้มา 3 ตัว
* ก็มั่นใจว่าชื่อตรงแล้ว มาเลยหลายตัว กันพลาด
5. ใช้ winrar ทำ extract driver ที่เป็น .cab ทุกแฟ้ม
เป็น folder ที่น่าจะใช่ทุกตัว
ลุ้นไปทีละตัว สุดท้ายก็ install สำเร็จ จากที่ได้มา 1 ตัว

ภาคผนวก ก. เรื่องนี้สอนให้รู้ว่า
* มีผิดหวัง ย่อมมีสมหวัง และมีผิดหวังครั้งใหม่ วน ๆ กันไป
เมื่อมาทำงานสายไอที

ภาคผนวก ข. ที่มา
ผมถอน Fiber optic ออก ประหยัดเดือนละหลายร้อย
ต่อไปใช้ Net ความเร็ว 256 Kbps จาก 3G
ที่แชร์ Hotspot จาก Smartphone ก็พอแล้ว
ทำให้เครื่อง PC ที่เคยต่อสาย Lan เข้า Switch
เกิดต่อ Net ไม่ได้ขึ้นมากระทันหัน
http://www.thaiall.com/mis/mis05.htm

รับส่งแฟ้มหว่าง PC กับ Smartphone ผ่าน wireless usb

ปกติผมจะแนะนำนักศึกษาให้ใช้  Cloud storage
อาทิ 4shared, dropbox, google drive, onedrive
แต่ถึงทีผมแล้วไม่ได้ใช้กับห้อง DCIM ครับ
เพราะถ่ายภาพไว้เยอะ และยังไม่ได้คัดภาพบางกลุ่ม
จะต้องนำมาคัดแยก folder ทำบน PC ง่ายกว่า
จะใช้ cloud ก็กลัวเต็ม
พบเครื่องมือย้ายข้อมูลผ่านแอพบน smartphone
ลองใช้แล้วก็ง่ายดี

หากต้องการ คัดลอกภาพ วีดีโอ หรือแฟ้มออกจากโทรศัพท์
หรือจะส่ง app ที่สกุล .apk เข้าไปประมวลผลบนเครื่อง android
ก็อาจใช้สาย Data link ซึ่งเป็นวิธีที่นิยมกัน
แต่อีกวิธีที่น่าสนใจคือใช้ app : wireless usb (มีมาให้ในเครื่อง)
ซึ่งสามารถหาดาวน์โหลดได้ มีหลาย app ให้เลือก (แนะนำด้านล่าง)
เมื่อเปิดบริการผ่าน wireless และ app นี้แล้ว
ก็ถือว่า smartphone เป็น ftp server
ที่เครื่องในเครือข่ายเดียวกับ access point
จากนั้นในเครื่อง PC ก็ติดตั้ง ftp client เช่น filezilla หรือ wsftp
แล้วระบุ ip พร้อม port หรือ user(anonymous) แล้ว
เพียงเท่านี้ ก็สามารถ upload หรือ download แฟ้ม
จัดการเชื่อมโยงกันระหว่างเครื่อง PC กับโทรศัพท์ได้แล้ว
กรณีของผมใช้ i-mobile รุ่น IQ Big2 ราคา 3990 บาท
ภาพตัวอย่างคือการ download ภาพทั้งหมด
จากโทรศัพท์มาเก็บในเครื่อง จำนวน 2 ร้อยกว่าแฟ้ม
รวมขนาด 1 GB ก็ใช้เวลาไม่นานนัก

wireless usb and filezilla
wireless usb and filezilla


แนะนำ WiFi FTP (WiFi File Transfer)
https://play.google.com/store/apps/details?id=nalic.app.wifishare&hl=th

แนะนำ WiFi File Transfer – FTP
https://play.google.com/store/apps/details?id=com.wifi.filetransfer.sharing.file.data.ftp&hl=th

แนะนำ FTPServer ซึ่งตัวนี้มีตัวเลือกมากมาย เคยใช้แล้วครับ ติดใจเลย
https://play.google.com/store/apps/details?id=lutey.FTPServer&hl=th

เรื่อง FTP Server กับ Client เคยเล่าไว้ที่
http://www.thaiall.com/learn/useftp.htm

มัลติมีเตอร์ อุปกรณ์วัดค่าปริมาณทางไฟฟ้า

มัลติมิเตอร์ (Multimeter)
มัลติมิเตอร์ (Multimeter)

26 มิ.ย.59 มีมัลติมิเตอร์เก่าอยู่ตัวหนึ่ง
วันนี้ต้องการเช็คค่าไฟฟ้าในสาย USB ที่ตัดออกมาแล้วต่อเข้ากับตัวหนีบ
ไว้ใช้งานกับสมาร์ทโฟนที่มีปัญหาเรื่องแบตเตอรี่ คือ ถอดแบตออก แล้วต่อไฟตรงแทน
เพราะสาย USB ก็คือสายสวดทองแดง มีขั้วบวกขั้วลบ เหมือนสายไฟฟ้าตามบ้าน
แต่มีทั้งหมด 4 เส้น เป็นสายไฟฟ้า 2 เส้น และสายข้อมูลอีก 2 เส้น
เส้นที่สำคัญคือ เส้นแดงเป็นเส้นไฟฟ้า หรือขั้วบวก ส่วนเส้นดำเป็น Ground หรือขั้วลบ
สรุปว่าทั้ง 4 เส้นมีดังนี้
1. เส้นแดง Power +5V
2. เส้นขาว Data –
3. เส้นเขียว Data +
4. เส้นดำ Ground

มัลติมิเตอร์ (Multimeter) คือ เครื่องมือวัดค่าปริมาณทางไฟฟ้า
ที่ได้รวมตัววัดหลายแบบเข้าด้วยกัน
1. แอมมิเตอร์ (Ammeter) ที่ใช้สำหรับวัดค่ากระแสไฟฟ้า
2. โวลต์มิเตอร์ (Voltmeter) ที่ใช้สำหรับวัดค่าแรงดันไฟฟ้า
3. โอห์มมิเตอร์ (Ohmmeter) ที่ใช้สำหรับวัดค่าความต้านทาน
มัลติมิเตอร์แบ่งได้ 2 แบบ
1. แบบเข็มชี้ (Analog Multimeter)
2. แบบตัวเลข (Digital Multimeter)

ต่อสายไฟเข้าด้านหลัง K-Touch [5/6]

ต่อสายไฟเข้าด้านหลัง K-Touch
ต่อสายไฟเข้าด้านหลัง K-Touch

ต่อไฟฟ้าเข้าเครื่อง K-Touch
บริษัทปิดไปแล้ว ตัวแทนขายก็ไม่มีของ
พยายามหาแบตรุ่นอื่นใส่แทนก็ไม่ได้
ใคร ๆ ก็หาแบตโทรศัพท์ยี่ห้อนี้
เพราะอาการเหมือนกันเยอะ คือ แบตบวม
คำแนะนำของทุกคนคือ ต้องทิ้ง เพราะอันตราย
แต่ผมเสียดายจึงลองต่อไฟฟ้าดู
ก็ใช้ตัวหนีบเข้าขั้วบวกขั้วลบ
แล้ววางตั้ง เอา Power bank หนุนไว้
ไฟฟ้าใช้ adapter ที่ต่อจากไฟบ้านส่ง 5V เข้าไป

ต่อไฟจาก adapter เข้า k-touch สำเร็จ [6/6]

ทดสอบสาย USB ว่ามีไฟฟ้าไหลผ่าน [2/6]

ทดสอบว่ามีไฟฟ้าไหลผ่านสาย USB
ทดสอบว่ามีไฟฟ้าไหลผ่านสาย USB

ต่อตัวหนีบเข้ากับปลายสายเส้นแดงกับดำ
จะได้ไปหนีบอะไรได้ง่าย
จากที่เคยเห็น อ.เกียรติ จะใช้ Power กับ IoT
แล้ววันนี้ผมก็ต้องการไฟจากช่อง USB
ที่ออกมาจาก Power bank ประมาณ 5V
จึงทดสอบกับหลอด LED ก่อน
พบว่า Power bank มีตัวตัดไฟอัตโนมัติ
เคยทดสอบกับอุปกรณ์อื่นมาแล้ว พบปัญหาเดียวกัน
จึงรู้ว่าจะใช้แหล่งจ่ายไฟฟ้าจาก Power bank
ในกรณีนี้ไม่ได้ หลอด LED สว่างแป๊ปหนึ่ง แล้วก็ดับไป
อันที่จริงตัวหนีบนี้ ผมเห็นที่ร้านซ่อมมือถือ
ทดสอบกับ Smart phone ของ True ที่ไฟฟ้าไม่เข้าบอร์ด
แล้วเค้าก็บอกผมว่า Main board เสีย อย่าซ่อมเลย
จึงมั่นใจว่าไม่ต้องมี Power bank โทรศัพท์ก็ทำงานได้
หากใช้ไฟฟ้าที่มีความแรงผ่านสาย USB ประมาณ 5V
ปล. สายUSBเก่า ตัวหนีบ กับ LED มีหลายอันไม่ค่อยได้ใช้

ทดสอบสาย USB ใช้ไฟฟ้าผ่าน Adapter [3/6]

 

ตัดสาย USB ต้องการไฟฟ้าจากขั้วบวกลบ [1/6]

สาย USB มี 4 ขั้ว
สาย USB มี 4 ขั้ว

คุณเปรม อุ่นเรือน เคยต่อลำโพงให้ผมใช้ที่ห้องทำงาน
โดยใช้ไฟฟ้าจากสาย USB เก่า
เท่าที่ดูคงใช้สายไฟฟ้าที่มีขั้ว + กับ –
วันนี้มีปัญหาเรื่องอุปกรณ์ และอยากได้ไฟฟ้าจากสาย USB
ลองปอกสายไฟดูก็พบว่ามี 4 เส้น
เหมือนสายไฟฟ้าทั่วไป แต่สายนี้มี 4 เส้น
ค้นดูก็พบว่าเส้นแดงเป็นเส้นไฟฟ้า หรือขั้วบวก
ส่วนเส้นดำเป็น Ground หรือขั้วลบ
1. เส้นแดง Power +5V
2. เส้นขาว Data –
3. เส้นเขียว Data +
4. เส้นดำ Ground

ทดสอบสาย USB ว่ามีไฟฟ้าไหลผ่าน [2/6]

 

https://www.facebook.com/photo.php?fbid=10154221913983895&set=a.10153180889298895.1073741856.814248894

สร้าง Live USB : fedora 15

creating live usb : fedora os
creating live usb : fedora os

3 ก.ค.54 การสร้าง live usb ด้วย OS ของ Fedora 15 มีวัตถุประสงค์เพื่อนำ USB Drive มาติดตั้งระบบปฏิบัติการ Linux และทำงานทันทีที่เปิดเครื่อง โดยไม่ต้องติดตั้งลงไปในเครื่อง มีประเด็นที่น่าสนใจดังนี้
1. ใช้พื้นที่ประมาณ 600 MB และข้อมูลใน USB ยังอยู่ครบถ้วน เพราะไม่ได้ทำการ Format USB แต่เพิ่มห้องเก็บข้อมูล 4 ห้อง คือ Boot, EFI, syslinux และ LiveOS ส่วนห้อง Root มีแฟ้มชื่อ GPL
2. เครื่องที่ใช้ทดสอบคือ ASUS ต้องกด F2 เมื่อเปิดเครื่องแล้วเข้า Boot, Hard disk drives เลือกเลื่อน USB ซึ่งเป็น Harddisk ตัวที่ 2 ขึ้นมา มิเช่นนั้น จะเลือก Harddisk ตัวแรกเสมอ ทำให้ไม่เรียก USB ขึ้นมาทำงานตามที่ตั้งใจไว้
3. Download โปรแกรมติดตั้ง Live USB และแฟ้ม Fedora OS มาไว้ในเครื่อง
4. เมื่อ boot ขึ้นมา สามารถแก้ไขได้ แต่ผลการแก้ไขไม่ได้บันทึกไว้ เพราะทำงานใน RAM เมื่อ boot ใหม่ก็จะไม่เห็นผลการแก้ไข เช่น เปลี่ยน background หรือ create user
5. สามารถกำหนดการเชื่อมต่อแบบ wireless หรือ wired แล้วใช้งานได้ปกติ
6. มีตัวเลือกให้สั่งติดตั้งระบบปฏิบัติการลงไปใน Harddisk ได้

http://fedoraproject.org/wiki/How_to_create_and_use_Live_USB
https://fedorahosted.org/liveusb-creator/
https://fedorahosted.org/releases/l/i/liveusb-creator/liveusb-creator-3.11.1-setup.exe
http://fedoraproject.org/get-fedora
http://download.fedoraproject.org/pub/fedora/linux/releases/15/Live/i686/Fedora-15-i686-Live-Desktop.iso

แฟ้ม .vob นำไปใช้อย่างไร

vob file on dvd player in usb port
vob file on dvd player in usb port

27 มี.ค.54 ได้แผ่นหนัง DVD มา 3 แผ่น เพื่อนขอให้คัดลอกไว้ เพราะจะนำไปใช้เกรงว่าจะเป็นรอย จึงคัดลอกแฟ้ม .vob ลงเครื่อง และคัดลอกแฟ้มจากเครื่องเข้าไปใน Flash Drive ส่งให้เพื่อนพกติดตัวไป เพราะถ้าเกิดอะไรกับแผ่น DVD ต้นฉบับ ก็จะได้ควัก Flash Drive มาใช้ในทันที


มีคำถามว่าแฟ้ม .vob ใน Flash Drive จะใช้อย่างไร
.. คำตอบ จากการทดสอบสามารถใช้ได้ 3 กรณี คือ 1) เสียบ Flash Drive เข้า DVD Player ที่มีช่อง USB แล้วเลือกเล่นแฟ้มหนัง 2) ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีโปรแกรม Player สำหรับเปิด DVD File จาก Flash Drive เช่น Total Video Player 3) ใช้ Nero สั่งเขียนแฟ้ม .vob จาก Flash Drive ไปเป็นแผ่น DVD เพื่อนำไปเล่นใน DVD Player ต่อไป

สร้างแผ่น Bootable Windows CD ด้วย Reatogo-X-PE รุ่น 235

4 ก.ค.52  ตั้งใจว่า ถ้าทำแผ่นนี้สำเร็จก็จะแจกให้นักศึกษา เพราะผมซื้อเครื่องรุ่นเดียวกับชุดที่นักศึกษาเข้าใช้กัน 1)ติดตั้งโปรแกรม Reatogo-X-PE รุ่น 235  จากตัวติดตั้ง มีตัวเลือกต้องกำหนดแหล่งปลายทาง ให้กำหนดเป็น c:\ 2)คลิ๊ก autoDriver และ autoDriver.exe + Detect 3)คลิ๊ก checkbox หน้า driver ทั้งหมด แล้วคลิ๊ก Create 4)ปิดโปรแกรม autoDriver จะพบ folder เก็บ 12 Driver 5)คลิ๊ก Plugin + autoHelp-Creator.exe + Plugin Creator 6)กดเลข 1 แล้ว Enter เพื่อไม่ต้องระบุ Path ??? 7)คัดลอกห้อง i386 จากแผ่น CD (XP2006 v7) ที่ไม่ต่ำกว่า XP2 ไปในห้อง c:\reatogo235 8)เปิดโปรแกรม Reatogo-X-PE ซึ่งพบได้บน Desktop 9)กดปุ่ม StartPEbuilder + Agree 10)กำหนด Source ให้เป็น c:\reatogo235 และยกเลิกการ Burn to CD/DVD เพื่อสร้างเฉพาะ .iso 11)Build เพื่อสร้างแฟ้ม .iso แล้วรอประมาณ 5 ถึง 10 นาที จนพบปุ่ม Close 12)สรุปว่าได้แฟ้ม reatogoBuilder.iso สำหรับเขียนลง CD และห้อง ReatogoPE ที่เหมือนกันใน .iso 13)แต่ผมไม่ได้ทดสอบว่า .isoใช้ได้หรือไม่ ซึ่งทดสอบได้กับ Virtual Pc หรือ VMWare 14)พอทดสอบ Boot ด้วย CD ก็พบปัญหาที่แจ้งว่าไม่พบ ATIIDE.sys และทำงานต่อไปไม่ได้ ต้อง restart เครื่อง  15)ถ้าจะให้ดี ต้องติดตั้ง  Virtual Pc หรือ VMWare ให้เรียบร้อยเพื่อทดสอบ มิเช่นนั้นก็จะเสียแผ่น CD ไป  16)ถ้าไม่ลอง iso กับ VMWare ก็อาจลอง ห้อง ReatogoPE กับ USB Flash Drive ก็ได้ น่าจะได้ผลไม่ต่างกัน

     ทั้งหมดนี้เรียนรู้จากการอ่าน บทความของคุณ Augie ซึ่งเป็นผู้สร้าง augeminiPE Thai Support และ augiePE 2k6.05.08  โดยมีโปรแกรมหลายตัวที่คุณ Augie แนะนำให้ใช้เช่น Reatogo 235 , VMWare , Virtual PC ของ Microsoft ,  UltraISO , Recover CD , การนำ Reatogo ลง UFD (USB Flash Drive) , บทความอ้างอิง

ผลทดสอบบูท USB Drive แบบแก้ Bios หรือ Boot menu

usbdrive27 ก.ค.52 จากผลการหารือเรื่องบริการแก้ไขปัญหาคอมพิวเตอร์กับ คุณอนุชิต ยอดใจยา พบว่านักศึกษา และอาจารย์หลายท่านมีปัญหา การใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ ในกรณีต้องการเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์โดยไม่ผ่าน Hard Disk แต่ใช้ USB Drive แทน เพื่อเข้าไปคัดลอกข้อมูล หรือแก้ไขปัญหาเบื้องต้น จึงทดสอบใช้ Fedora Live USB 11 เข้าเครื่องคอมพิวเตอร์แทน Hard Disk ซึ่งผลการทดสอบกับเครื่องในห้องปฏิบัติการ 1 พบว่า กรณีที่ 1 ถ้าไม่เสียบ USB Drive เข้าไป จะแก้ไข Bios ไม่ได้ เพราะมองไม่เห็น USB Drive ที่จะเลื่อนให้ขึ้นมาเป็น Drive แรก กรณีที่ 2 กด F2 หรือ Del เพื่อแก้ไข Bios แล้วกำหนด Harddisk Boot Priority โดย เลื่อนลำดับของ USB Drive ที่เสียบคาอยู่ขึ้นไปก่อน Hard Disk มีผลให้บูทด้วย USB Drive ได้ปกติ แต่ถ้าดึง USB Drive แล้ว Boot ด้วย Hard Disk จะทำให้ลำดับนั้นคืนค่าเป็น Hard Disk จะบูทด้วย USB อีกไม่ได้ หากต้องการบูทด้วย USB Drive อีก ต้องกลับไปกดปุ่ม F2 หรือ Del แล้วเปลี่ยนลำดับของ Harddisk Boot Priority ใหม่ กรณีที่ 3 กด F12 เข้า Boot Menu แล้วเข้าไปใน Hard Disk จะพบชื่อ USB Drive ตามหลัง Hard Disk ถ้าเลื่อน USB Drive ขึ้นมาก่อน ก็จะ Boot USB Drive ได้ แต่การกดปุ่ม F12 จะมีผลครั้งเดียว หากสั่ง Reboot เครื่องก็จะเข้า Hard Disk ตามปกติ ไม่บูทจาก USB Drive เหมือนกับการใช้ F2 หรือ Del
     จากทั้ง 3 กรณี จะใช้กับ MP3 Cube USB ไม่ได้ เพราะเครื่อง Acer ในห้องปฏิบัติการมองไม่เห็นอุปกรณ์ตัวนี้ขณะ Boot ไม่ว่าจะเลือก Boot แบบใด แต่สำหรับ USB Drive ยี่ห้อ  Kingmax และ Kingston และ Apacer ไม่พบปัญหาใด มองเห็นอุปกรณ์นี้เป็น Hard Disk แบบ USB ทั้งหมด แต่คอมพิวเตอร์ของ ECS รุ่น Desknote (กว่า 8 ปี) มองเห็น Mp3 Cube USB เป็น USB-FDD แต่บูทไม่สำเร็จ เพราะ Hardware ไม่อาจรองรับ x86-64 ของ Fedora Core 11 นั่นเอง
    บันทึกเกี่ยวกับ USB Booting ก่อนหน้านี้
    – Fedora Live USB 11 และ OpenOffice 3.1.0
    – การทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์บูทด้วย Live USB