ยุบศูนย์นอกที่ตั้ง เพราะให้คนนอกสอน จึงคุมคุณภาพไม่ได้

เทคนิคการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
เทคนิคการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

http://kroowitda.wordpress.com/2011/06/21/education_techni/

จากข่าวในหนังสือพิมพ์สยามรัฐ เรื่องยุบศูนย์นอกที่ตั้งทั่วประเทศ
มีประเด็นที่น่าสนใจ คือ
ยุบเพราะพบว่ามีการจัดการเรียนการสอนที่ไม่ใช่คนในสถานศึกษา
ซึ่งคุมคุณภาพไม่ได้ และไม่เป็นมาตรฐาน

ใครดื้อ .. โทษวินัย

อาชีวะประกาศยุบศูนย์นอกที่ตั้งร้องโฆษณา
เรียนลัดจบเร็ว-กระทบคุณภาพ/ผอ.ฝ่าฝืนโทษวินัย

27 พฤษภาคม 2556

korea student
korea student

นายชัยพฤกษ์ เสรีรักษ์ เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (กอศ.) เปิดเผยว่าได้ทำหนังสือแจ้งไปยัง ผอ.วิทยาลัย ในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา(สอศ.) ทั่วประเทศ เพื่อให้ยกเลิก และปิดการจัดการอาชีวศึกษาภายนอกสถานศึกษา ตั้งแต่ปีการศึกษา 2556 เป็นต้นไป เนื่องจากมีข้อร้องเรียนในการดำเนินการจัดการเรียนการสอนกลุ่มเทียบโอนความรู้และประสบการณ์ว่า ไม่ได้จัดสอนโดยบุคลากรของสถานศึกษา มีการโฆษณาว่าสามารถเรียนจบได้เร็วและเปิดอย่างแพร่หลายเป็นจำนวนมาก ส่งผลต่อคุณภาพผู้จบการศึกษา และมาตรฐานการจัดการของ สอศ.

ดังนั้น จึงให้สถานศึกษาปิดการจัดการเรียนการสอนกลุ่มเทียบโอนความรู้และประสบการณ์นอกที่ตั้งฯในจังหวัดโดยด่วน และให้รับนักเรียน นักศึกษา กลุ่มที่กำลังศึกษาอยู่นอกสถานที่ตั้งฯ เข้ามาเรียนในสถานศึกษาทั้งหมด ขณะเดียวกัน เมื่อดำเนินการยกเลิกและปิดการจัดการเรียนการสอนกลุ่มดังกล่าวแล้ว ต้องรายงานผลมายังสอศ. หากสถานศึกษาใดไม่ปฏิบัติตาม จะมีโทษทางวินัย
หลังจากนี้จะต้องมาจัดระเบียบกันใหม่โดยการเรียนการสอนกลุ่มเทียบโอนความรู้ฯจะต้องเปิดสอนอยู่ภายในสถานศึกษาเท่านั้นเพื่อควบคุมคุณภาพ และให้อยู่ในมาตรฐานเดียวกัน อย่างไรก็ตาม ขณะนี้อยู่ระหว่างการส่งเจ้าหน้าที่จากส่วนกลาง ลงไปพูดคุยกับวิทยาลัยที่เปิดสอนนอกที่ตั้งฯ ให้ยุติการดำเนินการดังกล่าว โดยสถานศึกษาต่างก็ให้ความร่วมมือ และจะติดตามว่าสถานศึกษามีการปิดศูนย์นอกที่ตั้งจริง หรือยังเปิดรับนักศึกษาใหม่อยู่หรือไม่ และดูแลให้นักศึกษาในศูนย์นอกที่ตั้งฯ ได้เข้ามาเรียนต่อในวิทยาลัยหรือไม่ เพราะเด็กกลุ่มนี้ต้องไม่ได้รับผลกระทบใดอย่างเด็ดขาด นายชัยพฤกษ์ กล่าว
เลขาธิการ กอศ. กล่าวต่อไปว่า นอกจากนี้ยังได้ทำความเข้าใจเรื่องการเรียนการสอนระหว่างกลุ่มเทียบโอนความรู้ฯ และระบบทวิภาคีด้วย เพื่อให้การจัดการศึกษาเป็นไปในทิศทางเดียวกัน เพราะก่อนหน้านี้มีสถานศึกษาบางแห่งอ้างว่าการจัดการเรียนการสอนกลุ่มเทียบโอนฯ เป็นการจัดการศึกษาระบบทวิภาคี ซึ่งไม่ถูกต้อง เพราะการจัดการอาชีวศึกษากลุ่มเทียบโอนฯ จะเทียบโอนได้กี่หน่วยกิตก็ขึ้นอยู่กับประสบการณ์ทำงานของแต่ละบุคคล โดยมีคณะกรรมการเป็นผู้ประเมิน ส่วนระบบทวิภาคี เป็นการเรียนการสอนที่เกิดจากข้อตกลงระหว่างสถาบันอาชีวศึกษากับสถานประกอบการ หรือแหล่งวิทยาการในเรื่องการจัดหลักสูตรการเรียนการสอนที่มีแผนการเรียนการสอน การวัดและประเมินผลโดยผู้เรียนใช้เวลาส่วนหนึ่งในสถานศึกษาและเรียนรู้ฝึกอาชีพในสถานประกอบการ ซึ่งจะใช้เวลาเรียนอย่างน้อยเท่ากับระบบปกติ
ที่มา: หนังสือพิมพ์สยามรัฐ

http://www.moe.go.th/moe/th/news/detail.php?NewsID=32819&Key=hotnews