รับสมัครคนงานที่อาณานิคมใหม่ ไม่ต่ำกว่า 18 ปี

marsone application
marsone application

บริษัทมาร์สวัน รับสมัครคนงานที่อาณานิคมใหม่ อายุไม่ต่ำกว่า 18 ปี

บริษัทเนเธอร์แลนด์ สร้างความฮือฮา ประกาศค้นหาอาสาสมัครเดินทางและไปใช้ชีวิตอยู่บนดาวอังคาร โดยมีข้อแม้ง่ายๆคือจะไม่ได้กลับมายังโลกอีกเลย กระนั้นก็ยังได้รับความสนใจอย่างล้นหลาม โดยล่าสุดมีผู้ยื่นสมัครแล้วราว 10,000 คนจากกว่า 100 ประเทศ

คุณสมบัติหลักของผู้สมัครคือต้องมีสุขภาพแข็งแรง เป็นคนดีและมีความสามารถด้านการอยู่รอด แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 18 ปีและมีความรู้ความเข้าใจภาษาอังกฤษเป็นอย่างดี

บริษัท “มาร์ส วัน” วางโครงการที่จะออกอากาศผ่านรายการเรียลิตีโชว์ ด้วยการนำมนุษย์อวกาศ 4 คนแรกลงสู่ดาวดังคารในปี 2023 จากนั้นก็จะตามด้วยแพร่ภาพพฤติกรรมของมนุษย์กลุ่มแรกที่พยายามตั้งรกรากอยู่บนดาวดวงดังกล่าว

นายบาส ลานสดอร์ป ผู้ก่อตั้งบริษัทมาร์ส วัน แถลงกับผู้สื่อข่าว ณ โรงแรมแห่งหนึ่งในนิวยอร์กว่า ตอนนี้ทางบริษัทได้รับอีเมล์แล้วราว 10,000 ฉบับจากผู้คนตามประเทศต่างๆกว่า 100 ชาติ ที่สนใจเข้าร่วมภารกิจนี้

ในภาพรวมของโครงการ ทางบริษัทต้องการผู้ผ่านคุณสมบัติทั้งหมด 24 คน ก่อนแบ่งเป็น 6 กลุ่ม กลุ่มละ 4 คน โดยชุดแรกจะออกเดินทางในปี 2022 ขณะที่ในส่วนของต้นทุนนั้น เฉพาะภารกิจของชุดแรกก็ต้องใช้งบประมาณราวๆ 6,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

เมื่อถึงดาวอังคาร หน้าที่ของแต่ละคนคือขยายอาณานิคมของตัวเอง รวมถึงทำภารกิจในการสำรวจดาวอังคาร และทดลองทางวิทยาศาสตร์อื่นๆ จากนั้นทุกๆ 2 ปี จะมีการส่งผู้เข้าแข่งขันรายใหม่ไปสมทบ จนกว่าการสร้างอาณานิคมบนดาวอังคารจะเสร็จสมบูรณ์เป็นที่น่าพอใจ ทั้งนี้การเดินทางสู่ดาวอังคารแต่ละเที่ยวจะใช้เวลาประมาณ 7 เดือน

http://www.manager.co.th/Home/ViewNews.aspx?NewsID=9560000049554

เอเอฟพี – บริษัทเนเธอร์แลนด์สร้างความฮือฮา ประกาศค้นหาอาสาสมัครเดินทางและไปใช้ชีวิตอยู่บนดาวอังคาร โดยมีข้อแม้ง่ายๆ คือจะไม่ได้กลับมายังโลกอีกเลย กระนั้นก็ยังได้รับความสนใจอย่างล้นหลาม โดยล่าสุดมีผู้ยื่นสมัครแล้วราว 10,000 คนจากร้อยกว่าประเทศ

คุณสมบัติหลักของผู้สมัคร คือ ต้องมีสุขภาพแข็งแรง เป็นคนดี และมีความสามารถด้านการอยู่รอด แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 18 ปี และมีความรู้ความเข้าใจภาษาอังกฤษเป็นอย่างดี

บริษัท “มาร์ส วัน” วางโครงการที่จะออกอากาศผ่านรายการเรียลิตีโชว์ ด้วยการนำมนุษย์อวกาศ 4 คนแรกลงสู่ดาวดังคารในปี 2023 จากนั้นก็จะตามด้วยแพร่ภาพพฤติกรรมของมนุษย์กลุ่มแรกที่พยายามตั้งรกรากอยู่บนดาวดวงดังกล่าว

นายบาส ลานสดอร์ป ผู้ก่อตั้งบริษัทมาร์ส วัน แถลงกับผู้สื่อข่าว ณ โรงแรมแห่งหนึ่งในนิวยอร์กว่า ตอนนี้ทางบริษัทได้รับอีเมลแล้วราว 10,000 ฉบับจากผู้คนตามประเทศต่างๆ กว่า 100 ชาติที่สนใจเข้าร่วมภารกิจนี้

ในภาพรวมของโครงการ ทางบริษัทฯ ต้องการผู้ผ่านคุณสมบัติทั้งหมด 24 คน ก่อนแบ่งเป็น 6 กลุ่ม กลุ่มละ 4 คน โดยชุดแรกจะออกเดินทางในปี 2022 ขณะที่ในส่วนของต้นทุนนั้น เฉพาะภารกิจของชุดแรกก็ต้องใช้งบประมาณราวๆ 6,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

เมื่อถึงดาวอังคาร หน้าที่ของแต่ละคนคือขยายอาณานิคมของตัวเอง รวมถึงทำภารกิจในการสำรวจดาวอังคาร และทดลองทางวิทยาศาสตร์อื่นๆ จากนั้นทุกๆ 2 ปี จะมีการส่งผู้เข้าแข่งขันรายใหม่ไปสมทบ จนกว่าการสร้างอาณานิคมบนดาวอังคารจะเสร็จสมบูรณ์เป็นที่น่าพอใจ ทั้งนี้การเดินทางสู่ดาวอังคารแต่ละเที่ยวจะใช้เวลาประมาณ 7 เดือน

ฟังดูเหมือนจะเป็นเงินจำนวนมหาศาล และก็แน่นอนว่ามันเป็นจำนวนที่เยอะจริงๆ แต่ลองจินตนาการดูสิ อะไรจะเกิดขึ้นเมื่อมนุษย์คนแรกลงสู่พื้นของดาวอังคาร ทุกคนบนโลกต้องอยากดูมันอย่างแน่นอนลานสดอร์ป กล่าว

แม้โครงการดังกล่าวเรียกเสียงคลางแคลงใจต่างๆ นานา แต่ขณะเดียวกันมันก็ได้รับการสนับสนุนจาก เจอราร์ด ฮุฟท์ นักวิทยาศาสตร์รางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ จากมหาวิทยาลัยอูเทรคชท์

อย่างไรก็ตาม อุปสรรคสำคัญของภาคกิจนี้คือ ผู้เข้าแข่งขันจะไม่สามารถกลับมายังโลกได้อีก แถมยังต้องพักอาศัยอยู่ในยานแคบๆ บนดาวที่แห้งแล้ง และแน่นอนว่าอาหารการกินก็คงจะขาดแคลน

นอร์เบิร์ต คราฟต์ ผู้จัดการด้านการแพทย์ของมาร์ส วัน ระบุว่าคุณสมบัติสำคัญของผู้สมัครก็คือปรับตัวได้ดี ยืดหยุ่นสูง มีความคิดสร้างสรรค์และเข้าใจความรู้สึกของผู้อื่น โดยสามารถทำงานเป็นทีมร่วมกับบุคคลอื่นๆ ที่มาจากประเทศต่างๆได้

มีคำถามต่างๆ นานาว่ามนุษย์อวกาศเหล่านั้นจะอยู่รอดได้อย่างไรท่ามกลางสภาพแวดล้อมอันสาหัสสากรรจ์ ทั้งต้องหายใจหรือดื่มกินในอุณหภูมิที่ติดลบ 55 องศาเซลเซียส ขณะที่อากาศก็มีส่วนประกอบของคาร์บอนไดออกไซด์เป็นส่วนใหญ่ แต่ตัวแทนของบริษัทฯ ยืนยันว่าการติดตามภารกิจของเหล่าผู้เข้าแข่งขันจะอยู่ภายใต้หลักจริยธรรม

อนึ่ง เหล่าหน่วยงานทางอวกาศต่างๆ ที่มีอยู่ทั่วโลกเองก็เพิ่งจะประสบความสำเร็จส่งหุ่นยนต์ไร้คนขับไปอยู่บนดาวอังคารเมื่อไม่นานมานี้ หลังยานสำรวจคิวริออซิตี มูลค่า 2,500 ล้านดอลลาร์สหรัฐของนาซา ลงแตะพื้นดาวดังกล่าวเมื่อเดือนสิงหาคม 2012

http://www.manager.co.th/Around/ViewNews.aspx?NewsID=9560000049552