ผลประเมินการอบรมและวิพากษ์ข้อมูลพื้นฐาน

7 มิ.ย.53 เมื่อวันที่ 1 มิ.ย.53 ที่ผ่านมา มีเวทีที่จัดโดยงานประกันคุณภาพ อ.อัศนีย์ ณ น่าน และเป็นเสมือนการอบรมนักวิจัยในการใช้งานระบบฐานข้อมูลการประเมินตนเอง ในส่วนที่เกี่ยวกับข้อมูลพื้นฐาน โดยใช้แบบสอบถามความคิดเห็นและความพึงพอใจในการใช้งานโปรแกรมไปพร้อมกัน พบว่า ผลประเมิน 5 คำถามมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (X=3.96, S.D=0.65)
     โดยแบบสอบถามในครั้งนี้มุ่งสร้างการรับรู้แก่ผู้ร่วมวิพากษ์ โดยใช้คำถามนำที่มุ่งไปสู่การให้ความสำคัญกับหลักฐาน การรับรู้เรื่องข้อมูลพื้นฐาน การมีส่วนร่วมจากบุคลากร การใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีเพื่อการประกันคุณภาพ และการมติสำหรับการจัดอบรมเพิ่มเติม ซึ่งสรุปความคิดเห็น/ความพึงพอใจได้ว่า
     1) บุคลากรเชื่อว่าการใช้ระบบฐานข้อมูล ช่วยรวบรวมหลักฐานจากแต่ละบุคคลสู่คณะ และมหาวิทยาลัย นำมาตรวจสอบการอ้างอิงตามเกณฑ์มาตรฐานได้ง่าย อยู่ในระดับมาก (X=4,S.D=0.55)
     2) บุคลากรเชื่อว่าการใช้ระบบฐานข้อมูล สามารถเป็นแหล่งรวบรวมเปรียบเทียบข้อมูลพื้นฐาน (CDS) จากหน่วยงาน และคณะวิชาให้ตรงกับข้อมูลในตัวบ่งชี้ อยู่ในระดับมาก (X=3.86,S.D=0.53)
     3) บุคลากรเห็นด้วยกับคำกล่าวที่ว่า “หลักฐานส่วนหนึ่งมาจากการดำเนินงานของบุคลากรหรือคณะกรรมการ หากผู้รับผิดชอบส่งข้อมูลเข้าระบบฐานข้อมูล แล้วคณะวิชาหรือมหาวิทยาลัยนำไปใช้อ้างอิงตามตัวบ่งชี้ ก็จะแสดงการมีส่วนร่วมจากบุคลากร” อยู่ในระดับมาก (X=4.14,S.D=0.53)
     4) ระบบฐานข้อมูลการประเมินตนเอง ถูกพัฒนาอย่างต่อเนื่อง และปีนี้เป็นปีที่ 3 แล้วท่านสนับสนุนหรือเห็นด้วยกับการให้ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีเพื่อการประเมินตนเอง อยู่ในระดับมาก (X=3.79,S.D=0.43)
     5) ถ้ามีการจัดอบรมการใช้ระบบฐานข้อมูลการประเมินตนเอง เพื่อนำข้อมูลเข้าตามเกณฑ์ ตัวบ่งชี้ หรือข้อมูลพื้นฐาน บุคลากรเห็นว่าควรมีการจัดอบรมขึ้นอีกครั้ง อยู่ในระดับมาก (X=4,S.D=1.04)
+ http://www.thaiall.com/research/sar52/sar_530601_cds.xls

ผลประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้ DB

ผลประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้ระบบฐานข้อมูล
ผลประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้ระบบฐานข้อมูล

29 ธ.ค.52 พรุ่งนี้ผมจะปิดเล่มรายงานการประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้ระบบฐานข้อมูล จึงเลือกบางส่วนมาเล่าสู่ กันฟัง มีการประเมินทั้งหมด ๑๙ ระบบฐานข้อมูล และรายงานนี้เป็นรายงานผลฉบับสุดท้ายของโครงการประเมิน ๓ อย่างเกี่ยวกับระบบฐานข้อมูลในปีการศึกษา ๒๕๕๒ ประกอบด้วย ๑)ประเมินประสิทธิภาพ ๒)ประเมินความปลอดภัย ๓)ประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้ระบบฐานข้อมูล ซึ่งผลประเมินเป็นไปตามการประกันคุณภาพ และหน่วยงานเข้าของระบบใช้เป็น KPI ของตนได้
     ผลการประเมินความพึงพอใจจำแนกตามประเด็นคำถาม ๖ ประเด็นเรียงจากความพึงพอใจมากไปน้อย พบว่า ๑) ความถูกต้องของข้อมูลหรือสารสนเทศที่ท่านได้รับ มีความพึงพอใจในระดับมาก (X=๓.๕๔) ๒) สารสนเทศมีประโยชน์ และช่วยสนับสนุนการตัดสินใจของท่าน มีความพึงพอใจในระดับมาก (X=๓.๕๒) ๓) ความทันสมัยของข้อมูลหรือสารสนเทศที่ท่านได้รับ มีความพึงพอใจในระดับมาก (X=๓.๔๗) ๔) สารสนเทศถูกนำมาใช้ตามแผนงานของท่าน ในช่วงเวลาที่กำหนดไว้ มีความพึงพอใจในระดับมาก (X=๓.๔๕) ๕) ความง่ายในการได้มาซึ่งข้อมูลหรือสารสนเทศจากระบบ มีความพึงพอใจในระดับมาก (X=๓.๔๒) ๖) มองเห็นความเชื่อมโยงเป็นเครือข่ายของข้อมูลกับระบบต่าง ๆ มีความพึงพอใจในระดับปานกลาง (X=๓.๓๕) โดยภาพรวมของความพึงพอใจต่อทุกระบบอยู่ในระดับมาก (X=๓.๔๖)
     การประเมินครั้งนี้ อ.วิเชพ ใจบุญ รักษาการคณบดีคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี แสดงความห่วงใยว่า รายงานผลการประเมินทั้ง ๓ เรื่องที่ปิดรายงานไปจะไม่มีผลในรอบการประเมินตามแผนพัฒนาคุณภาพ ปีพ.ศ.๒๕๕๓ ทำให้ผมได้ทราบความจริงข้อนี้และเป็นผลให้ต้องวางแผนทำโครงการนี้อีกครั้งในเดือนมิถุนายน ๒๕๕๓ เพื่อให้เข้ารอบเวลาของคณะวิทย์ และรอบเวลาของการประเมินตามเกณฑ์ของสกอ.ปีการศึกษา ๒๕๕๓ ซึ่งทุกคณะวิชาจะได้นำรายงานผลไปใช้ในฐานะที่ร่วมเป็นคณะกรรมการทำงานเชิงบูรณาการ ซึ่ง อ.เกศริน อินเพลา ร่วมเป็นคณะกรรมการพัฒนาระบบฐานข้อมูลชุดนี้ ก็คาดว่าท่านจะได้นำเรียนในที่ประชุมคณะในลำดับต่อไป

ร่างผลประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้ระบบฐานข้อมูล

เกณฑ์ประเมินความพึงพอใจ
เกณฑ์ประเมินความพึงพอใจ

22 ธ.ค.52 จากแบบสอบถามความพึงพอใจของผู้ใช้ระบบฐานข้อมูลรวม 19 ระบบได้แบบสอบถามจำนวน 410 ชุด (ยังส่งมาไม่ครบ) ซึ่งแต่ละระบบมีจำนวนแบบสอบถามไม่เท่ากันต่างกันไปตามกลุ่มผู้ใช้ของแต่ละระบบ โดยผู้ตอบแบบสอบถามเป็นผู้ใช้ที่อาจอยู่ในฐานะเป็น 1) ผู้ให้ข้อมูลเข้าสู่ระบบ 2) ผู้มีส่วนประมวลผล หรือ 3) ผู้รับข้อมูลไปประกอบการตัดสินใจ พบว่าจากคะแนน 5 ระดับ ระบบที่ผู้ใช้มีความพึงพอใจสูงสุด คือ ระบบบริหารจัดการเว็บไซต์มีความพึงพอใจระดับมาก (3.75) รองลงมาคือ ระบบแฟ้มดิจิทอลในระดับมาก (3.70) ส่วนความพึงพอใจต่ำสุด คือ ระบบฐานข้อมูลจัดซื้ออยู่ในระดับปานกลาง (2.63)
รองลงมาคือระบบฐานข้อมูลโทรศัพท์อยู่ในระดับปานกลาง (2.85)
     หน่วยงานระดับคณะมี 6 คณะวิชา แต่มีผู้บริหารที่ร่วมตอบแบบประเมินความพึงพอใจเพียง 3 คณะวิชา สำหรับความพึงพอใจของผู้บริหารคณะวิชาที่มีความพึงพอใจสูงสุดคือ คณะสังคมศาสตร์และ มนุษยศาสตร์อยู่ในระดับมาก (4.00) รองลงมาคือคณะนิติศาสตร์อยู่ในระดับปานกลาง (3.32)
     หน่วยงานระดับคณะมี 6 คณะวิชา ขณะนี้ส่งแบบประเมินแล้ว 5 คณะวิชา จากผู้ใช้แต่ละคณะที่ประกอบด้วย ผู้บริหาร อาจารย์ เจ้าหน้าที่ และนักศึกษา สำหรับความพึงพอใจในภาพรวมของคณะมีความพึงพอใจสูงสุดคือ คณะบริหารธุรกิจอยู่ในระดับมาก (3.66) รองลงมาคือคณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์อยู่ในระดับมาก (3.59)
? ผลการประเมินข้างต้นอาจเปลี่ยนแปลงได้ ถ้าหน่วยงาน และ/หรือคณะวิชาส่งแบบประเมินเพิ่มเติม

ประเมินประสิทธิภาพ ความปลอดภัย และความพึงพอใจของ DB

26 พ.ย.52 วันนี้ไปประชุมคณะกรรมการพัฒนาระบบฐานข้อมูลรวม 15 คน ใช้เวลากว่า 2 ชั่วโมงครึ่ง โดยผมยกร่าง ตารางการเข้าประเมินระบบฐานข้อมูล และแบบประเมินทั้ง 3 ประเภทได้แก่ 1)แบบประเมินประสิทธิภาพ 2)แบบประเมินความปลอดภัย และ 3)แบบประเมินความพึงพอใจ ก็มีเรื่องให้ประหลาดใจว่า กรรมการไม่ติดใจเรื่องของแบบประเมินมากนัก เมื่ออธิบายในประเด็นที่มีข้อสงสัยก็เข้าใจกันทุกคน
     แต่มาติดใจตั้งแต่ 2 ระบบแรก ตามข้อมูลใน ตารางเข้าประเมินระบบฐานข้อมูล เรื่อง การประเมินที่ขึ้นกับชื่อระบบในประเด็นที่สัมพันธ์ กับ ความหมายของคำว่าระบบฐานข้อมูลออนไลน์ ซึ่งอธิบายให้ทุกคนได้คลายข้อสงสัยว่า ระบบฐานข้อมูลแบ่งเป็น 3 ส่วนได้แก่ 1)ผู้ส่งข้อมูลเข้า (Input) 2)การประมวลผลหรือกระบวนการทำงาน (Process) และ 3)ผู้รับข้อมูลไปใช้ประโยชน์ (Output) โดยการประเมินประสิทธิภาพและความปลอดภัยจะจัดทีมที่เข้าใจเข้าไปประเมินทีละระบบ ซึ่งประเมินในส่วนของ การประมวลผลหรือกระบวนการทำงาน (Process)
     แต่การประเมินความพึงพอใจ จะประเมิน Input กับ Output ซึ่งไม่จำเป็นที่ผู้ตอบแบบสอบถาม ต้องสัมผัสกับเครื่องบริการโดยตรง หรือไม่จำเป็นที่ระบบนั้นต้องเป็นออนไลน์ กว่าจะคลายข้อสงสัยได้ก็ใช้เวลามากกว่า 1 ชั่วโมง แต่ผมก็ว่าคุ้ม เพราะถ้าวันนี้ทุกคนเข้าใจ งานก็จะเดิน การประเมินตามแผนการประกันคุณภาพการศึกษา และการพัฒนาองค์กรอย่างต่อเนื่อง ก็จะไม่สะดุด ถือว่าวันนี้คุ้มที่ได้เปิดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับเพื่อนบุคลากร

ประชุมเสร็จผมก็ทำหนังสือแจ้งกำหนดการ
๑. หน่วยงานที่ดูแลระบบฐานข้อมูลเตรียมความพร้อมรับการประเมิน 
     ๓๐ พ.ย.–๔ ธ.ค.๕๒
๒. ทีมประเมินประสิทธิภาพ และความปลอดภัยเข้าประเมินฯ  
     ๒ ธ.ค.–๑๑ ธ.ค.๕๒
๓. เจ้าหน้าที่ IT เก็บข้อมูลการประเมินความพึงพอใจฯ   
     ๓๐ พ.ย.–๑๑ ธ.ค.๕๒
๔. เจ้าหน้าที่ IT สรุปผลและจัดทำรายงานการประเมินส่งให้หน่วยงาน 
     ๓๐ ธ.ค.๕๒
๕. คณะกรรมการฯ ประชุมวิพากษ์ผลประเมินและแบบประเมิน  
     ก.พ.๕๓

     วันนี้ผมยกให้กับ อ.แดน เป็นพระเอกในเวที เพราะท่านช่วยให้ความกระจ่าง ช่วยให้เวทีผ่อนคลายอย่างได้ผล ช่วยให้การโต้เถียงที่รุนแรงลดลง เพราะในเวทีมีหลายท่านกล้าพูด กล้าคิดในมุมของตน กล้าออกนอกกรอบ ด้วยผมก็รู้ว่าทุกคนมีเจตนาดี และแล้วก็กลับเข้าที่เข้าทาง ยังมีอีกหลายท่านก็พยายามช่วยกันกำกับเวที ทั้ง อ.นุ้ย และน้องแบงค์ ก็ขอบคุณด้วยเช่นกันที่ทำให้การประเมินครั้งที่ไม่ล้มไปซะก่อน
http://www.thaiall.com/yonok/52_project_poll_database_v3.doc