ชีวิตจริงยิ่งกว่าละคร ที่วัดก็เป็นชีวิตจริง ที่ต้องมีคุณภาพ

ภาพประกอบไม่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาในข่าวแต่อย่างใด
ภาพประกอบไม่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาในข่าวแต่อย่างใด

เดี่ยวนี้การประกันคุณภาพลงไปที่วัดวาอารมแล้ว
คุณภาพของวัด ขึ้นอยู่กับศรัทธา ถ้ามีจำนวนศรัทธามาก เงินบริจาคมาก
ศรัทธามีความเลื่อมใส ในหลายปัจจัย ทั้งวัตถุ ทำเล และตัวบุคคล
แสดงว่าวัดนั้นมีคุณภาพ เกณฑ์การวัดคุณภาพของวัดอาจมีหลายตัวบ่งชี้
เรื่องหนึ่ง ๆ มีอะไรให้เรามองเยอะ
บางคนมองเหตุ บางคนมองผล บางคนมองถูกผิด บางคนมองพระธรรม
แต่เรื่องนี้ผมสนใจที่กระบวนการ

จากข่าวที่
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1435994010
“จึงขอให้เจ้าคณะอำเภอตรวจสอบว่าในอำเภอที่ปกครอง มีวัดไหนบ้างที่มีคนมาทำบุญที่วัดประจำไม่ถึง 50 คน
ถ้าเป็นวัดของเจ้าคณะตำบล ให้เจ้าคณะอำเภอออกคำสั่งตำหนิโทษเป็นเวลา 3 เดือน
และถ้าพระสังฆาธิการที่ถูกตำหนิโทษยังไม่ดำเนินการตามมติของมหาเถรสมาคม (มส.) อีก
ให้เจ้าคณะผู้ปกครองทำเรื่องเพื่อเสนอขอปลดพระสังฆาธิการรูปนั้น
และให้เจ้าคณะจังหวัดออกคำสั่งปลดออกจากตำแหน่ง
ด้วยเหตุขัดมติ มส.และไม่สนองงานคณะสงฆ์จังหวัดฯ ในโครงการหมู่บ้านรักษาศีล 5”

อ่านดู เห็นว่ามีตัวบ่งชี้เดียว คือ จำนวนคนมาทำบุญ
เขียนเป็นซูโดโค้ดได้ว่า

if (จำนวนคนทำบุญ < 50) {

if (วัดของเจ้าคณะตำบล == true)
if (ไม่เคยได้รับหนังสือตำหนิ == true)
do(“ออกหนังสือตำหนิ”)
else
if (ได้รับหนังสือ >= 3เดือน) do(“ทำเรื่องขอปลดจากตำแหน่ง”)

} else {
do(“ผ่านเกณฑ์ ได้คุณภาพ”)
}

แสดงว่าตำแหน่งของพระสงฆ์ในวัด เป็นสิ่งที่พระสงฆ์ต้องพึงรักษาไว้
ด้วยคิดเป็นระบบ เป็นกระบวนการ เป็นขั้นตอน เป็นกลไก
ตั้งแต่การวางแผนปฏิบัติการ (action plan) และแผนกลยุทธ์ (strategic plan)
แล้วดำเนินการตามแผนเพื่อตอบเป้าหมายของแผน (do)
แล้วมีการตรวจสอบว่าดำเนินการครบถ้วนตามแผนหรือไม่ (check)
หากมีประเด็นต้องแก้ไขก็ดำเนินการปรับปรุง (action)

ต่อไปวัดต่าง ๆ คงต้องมีการจัดการความเสี่ยง (Risk management)
เพื่อป้องกันการถูกตำหนิในอนาคต
แล้วควรมีการจัดการความรู้ (Knowledge management)
เพื่อให้ทุกคนเข้าใจแผน ตรงตามเป้าหมาย ดำเนินการได้ครบถ้วนสมบูรณ์
ตามประเด็นที่ตั้งไว้ เป็นการเคเอ็มเพื่อต่อยอดการพัฒนวัด

ผลเลือกตั้ง 2554 (exit poll)

exit poll 2554
thai pbs : exit poll 2554

3 ก.ค.54 ผลเลือกตั้ง ส.ส. (สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร) จาก exit poll เมื่อ 3 กรกฎาคม 2554 คือ พรรคเพื่อไทย ชนะ พรรคประชาธิปัตย์ (Democrat Party) ซึ่งผลจาก exit poll นี้ .. ผมไม่ประหลาดใจเมื่อทราบผล เพราะองค์ประกอบของความสำเร็จ คือ ส.ส.ที่อยู่ในพื้นที่ และคนส่วนใหญ่ของประเทศมิใช่ชนชั้นกลาง อีกสาเหตุที่นักวิชาการไม่กล่าวถึงมากนัก คือ เลข 1 เป็นเลขสวยที่กาง่าย (สำหรับพ่อหลวงแม่หลวงในชนชท) .. แต่เห็นในทีวีมักพูดถึงตัวผู้นำ นโยบาย และโค้งสุดท้ายเป็นสำคัญ

ผลสำรวจ exit poll ของ สวนดุสิต ศรีปทุม นิด้า และเอแบค  โดย 2 อันดับแรกจากทั้ง 4 โพล เป็นไปในทิศทางเดียวกันโดยมี 7 พรรคในรายการนี้ คือ พรรคเพื่อไทย พรรคประชาธิปัตย์ พรรคภูมิใจไทย พรรครักประเทศไทย พรรคชาติไทยพัฒนา พรรคชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน และพรรครักษ์สันติ
http://www.ptp.or.th
http://www.democrat.or.th
http://election54.thaipbs.or.th
http://www.oknation.net/blog/thaiabc/2011/07/03/entry-3

http://www.suthichaiyoon.com/detail/11232
นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่าตนบอกกับพี่น้องว่าถ้าเลือกเบอร์สิบตนจะเดินหน้าปรองดองอย่างอดทนอดกลั้นอย่างถึงที่สุด แต่ถ้าไม่อยากเลือกเบอร์สิบเพราะกลัวว่าเสื้อแดงจะไม่หยุด ตนก็ต้องบอกว่าถ้าตัดสินใจอย่างนั้นอาจจะแก้ปัญหาเฉพาะหน้าไปแต่พี่น้องจะเป็นตัวประกันของคนที่นิยมความรุนแรงตลอดไป หรือถ้าพี่น้องบอกว่าไม่อยากเลือกเบอร์สิบอยากจะได้พรรคการเมืองที่เข้ามาแก้ปัญหานี้แล้วไปตายเอาดาบหน้า เราก็กำลังนำพาประเทศไปสู่ความเสี่ยงความวุ่นวายอีกครั้ง

ทิศทางใหม่สำหรับผู้บริหารระดับสูง (itinlife 287)

IT GRC
IT GRC

3 เม.ย.54 มีโอกาสฟังบรรยาย และอ่านหนังสือเกี่ยวกับแนวคิด GRC (Governance, Risk and Compliance) ของ อ.ปริญญา หอมเอนก ผู้ทรงคุณวุฒิด้านความปลอดภัยสารสนเทศ พบว่าบุคลากรที่ควรเข้าใจเรื่องความปลอดภัยเป็นอันดับแรกคือผู้บริหาร ซึ่งประเด็นที่ควรให้ความสำคัญมี 3 เสาหลัก คือ การกำกับดูแล การจัดการความเสี่ยง และการปฏิบัติตามกฎระเบียบ โดยเฉพาะการให้ความสำคัญกับกฎหมายด้านความปลอดภัยที่เกี่ยวกับเทคโนโลยีเริ่มมีผลบังคับใช้

แนวคิด GRC ต้องเริ่มจากผู้บริหารระดับสูงสุดเป็นคนแรก และเป็นความรับผิดชอบหลักของคณะกรรมการบริหาร (Board of Director) ที่มีหน้าที่ดำเนินการ 3 องค์ประกอบนี้ให้สัมพันธ์ สอดคล้อง แบ่งปันข้อมูล ทำงานเป็นทีม มีส่วนร่วมจากทุกระดับ และสนับสนุนทรัพยากรอย่างเพียงพอ โดยนิยามได้ดังนี้ 1) Governance หมายถึง การกำกับดูแลนโยบาย วัฒนธรรมองค์กร กระบวนการขั้นตอนการปฏิบัติงานที่ถูกกำหนดออกมาอย่างชัดเจนในการบริหารจัดการ และกำกับดูแลองค์กรโดยผู้บริหารระดับสูง 2) Risk Management หมายถึง การบริหารจัดการความเสี่ยงที่มีเป้าหมายในการลดผลกระทบจากความเสี่ยงที่อาจมีโอกาสเกิดขึ้นได้ในองค์กร 3) Compliance หมายถึง การปฏิบัติตามกฎระเบียบข้อบังคับ และกฎหมาย ตลอดจนการปฏิบัติตามนโยบายด้านสารสนเทศและความปลอดภัยขององค์กรอย่างถูกต้องได้ตามมาตรฐาน

กฎหมายด้านเทคโนโลยีที่เริ่มประกาศใช้แล้วนั้น เป็นความจำเป็นที่ผู้บริหารต้องเข้าใจ และให้ความสำคัญ ดังนั้นแนวคิด GRC จึงมีองค์ประกอบให้องค์กรใช้พิจารณา และปฏิบัติตามกฎหมายได้อย่างถูกต้อง มีตัวอย่างกฎหมายด้านเทคโนโลยี ได้แก่ 1) พระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ.๒๕๔๔ ประกาศ ๒ ธันวาคม ๒๕๔๔ 2) พระราชกฤษฎีกากำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ภาครัฐ พ.ศ.๒๕๔๙ ประกาศ ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๔๙ 3) พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทําความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. ๒๕๕๐ ประกาศ ๑๘ มิถุนายน ๒๕๕๐ 4) หลักเกณฑ์การเก็บรักษาข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ของผู้ให้บริการ พ.ศ. ๒๕๕๐ ประกาศ ๒๑ สิงหาคม ๒๕๕๐ การเป็นคนไทยต้องปฏิบัติตามกฎหมายของประเทศไทย มีข้อพึงระวังคือ ความไม่รู้กฎหมายไม่เป็นข้อแก้ตัวให้พ้นผิด

http://en.wikipedia.org/wiki/Governance,_risk_management,_and_compliance