จ่ายเงินให้กับรูปลักษณ์ภายนอก หรือภายใน

price of banana packaging
price of banana packaging
13 ธ.ค.57 ปกติผมจะซื้อกล้วยประมาณหวีละ 15 บาท
ถ้าซื้อหวีละ 20 บาท แสดงว่าภายนอกสวยมาก หรือสุดวิสัยที่หาถูกไม่ได้
แล้ววันนี้ ไปพบแม่ค้าขายหวีละ 20 กับ 10 บาท ไม่มีหวีละ 15 บาท
ก็ทำให้นึกถึงคำพูดของผู้ว่าฯ ที่พูดไว้เรื่อง product design ของญี่ปุ่น
ในงานประชุมวิชาการระดับชาติ ปี 2557 ที่มหาวิทยาลัยเนชั่น
ว่าราคาสมัยนี้ไม่ได้อยู่ที่ตัวสินค้าอย่างเดียว แต่อยู่ที่หีบห่อด้วย
เช่น ญี่ปุ่นตั้งราคา 100 บาท เป็นค่าหีบห่อ 40 บาท ส่วนของไทยเรา 5 บาทเอง
เพราะลูกค้ามักดูที่หีบห่อ แบะหีบห่อก็เป็นปัจจัยที่ทำให้ราคาต่างกัน
อย่างกล้วยคู่นี้ก็มีรสชาติเหมือนกัน เพราะหวีละ 10 บาทเท่ากัน
ดูแล้วก็น่าจะมาจากต้นเดียวกัน
ส่วนกล้วยหวีละ 20 บาท ที่ผมก็ไม่ได้หยิบมา
เพราะดูขนาด 20 กับ 10 บาทแล้ว ผมว่าพอ ๆ กัน
ต่างกันที่ความสวยงามของเปลือกนอกเท่านั้น
สรุปว่าแม่ค้าก็เลือกตั้งราคา จากรูปร่างภายนอก ไม่ได้พิจารณาจากภายใน
ส่วนลูกค้าก็คงเลือกซื้อกล้วยสวย ๆ หวีละ 20 บาท โดยดูจากรูปลักษณ์ภายนอกเช่นกัน
ส่วนวันนี้อารมณ์ดี ทำให้ผมสนภายในมากกว่า จึงเลือกซื้อหวีละ 10 บาท 2 หวี

ธปท.ออกกฎเข้ม คุมแบงก์-ประกันขายพ่วง

99 บาท
99 บาท

เห็นว่า ธปท. จะออกกฎเข้มว่า
เวลาขายสินค้า อย่าขายพ่วง
และให้ชี้แจงให้ละเอียด
แล้วนึกถึงภาพรถ 99 บาท
หรือเครื่องดื่มที่ดื่มแล้วเป็นหมอ บอกงั้นแล้วขายดี
จะให้บอกความจริงเหรอว่า เป็นแค่น้ำหวาน+สารนิดนึง
ผมว่าบางทีให้ข้อมูลมาก ๆ แล้ว
ลูกค้าอาจเปลี่ยนใจได้
.. ยอดขายก็สำคัญนะครับ

http://bit.ly/10DMxhB
รายงานข่าวจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่าเมื่อวันที่ 21 พ.ย.ที่ผ่านมา ธปท.ได้หารือร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์(ก.ล.ต.) รวมทั้งสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) เพื่อออกประกาศกำหนดมาตรการกำกับดูแลการขายผลิตภัณฑ์ด้านหลักทรัพย์ และด้านประกันภัยผ่านธนาคารพาณิชย์ ให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน และให้มีผลบังคับใช้กับธนาคารพาณิชย์ทุกแห่งที่ได้รับอนุญาตขายผลิตภัณฑ์ด้านธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจประกันภัยจากก.ล.ต.และคปภ.ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.ปี2556 เป็นต้นไป

ทั้งนี้ ธปท.ให้เหตุผลว่าได้รับเรื่องร้องเรียนจากผู้บริโภค เกี่ยวกับการขายผลิตภัณฑ์ด้านหลักทรัพย์และด้านประกันภัยของธนาคารพาณิชย์เป็นระยะๆ เช่น กรณีเจ้าหน้าที่ธนาคารพาณิชย์เสนอขายประกันชีวิตพ่วงกับบริการตู้นิรภัย ให้สินเชื่อหรือชักชวนผู้บริโภคซื้อหน่วยลงทุน ตราสารหนี้ หรือทำประกันชีวิตแทนการฝากเงิน โดยไม่ชี้แจงถึงความเสี่ยงหรือให้ข้อมูลผู้บริโภคไม่ชัดเจน ซึ่งธปท.เห็นว่าเรื่องร้องเรียนดังกล่าวอาจมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น

สำหรับสาระสำคัญในประกาศดังกล่าว ได้คำนึงถึงสิทธิขั้นพื้นฐานของผู้บริโภค ได้แก่ สิทธิที่จะได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง สิทธิที่จะเลือกซื้อผลิตภัณฑ์และบริการการเงินได้อย่างอิสระ สิทธิที่จะร้องเรียนเพื่อความเป็นธรรม และสิทธิที่จะได้รับพิจารณาค่าชดเชยหากเกิดความเสียหาย

นอกจากนี้ได้กำหนดหน้าที่ให้ธนาคารพาณิชย์ถือปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไข เพื่อคุ้มครองสิทธิของผู้บริโภค กำหนดแนวทางเสนอขายผลิตภัณฑ์ให้ธนาคารพาณิชย์ ต้องแสดงความต่างให้ผู้บริโภคเห็นชัดระหว่างผลิตภัณฑ์ด้านหลักทรัพย์และด้านประกันภัย ไม่ใช่เงินฝากเหมือนผลิตภัณฑ์ธนาคารพาณิชย์ อาจมีความเสี่ยงได้รับเงินต้นไม่เต็มจำนวนเมื่อไถ่ถอน และไม่คุ้มครองเงินต้น รวมถึงเปิดเผยข้อมูลผลตอบแทน ทรัพย์สินที่จะได้รับนอกจากดอกเบี้ย เช่น อัตราผลตอบแทนรายปี รวมทั้งผลิตภัณฑ์ที่สามารถและไม่สามารถคำนวณอัตราผลตอบแทนได้

กฎระเบียบยังห้ามธนาคารพาณิชย์บังคับขายผลิตภัณฑ์ด้านหลักทรัพย์และด้านประกันภัย ควบคู่กับผลิตภัณฑ์ของธนาคารพาณิชย์ หรือกำหนดเงื่อนไขขายหรือให้บริการผลิตภัณฑ์หลัก เช่น ให้ผู้บริโภคทำประกันภัยกับบริษัทใดบริษัทหนึ่ง เพื่อเป็นเงื่อนไขพิจารณาให้สินเชื่อ หรือให้ผู้บริโภคทำประกันชีวิตก่อนเมื่อขอใช้บริการเช่าตู้นิรภัย โดยธนาคารต้องให้สิทธิผู้บริโภคตัดสินใจเลือกซื้อผลิตภัณฑ์เอง และเปิดโอกาสให้ผู้บริโภคปฏิเสธซื้อผลิตภัณฑ์ได้

ทั้งนี้ ยังห้ามธนาคารพาณิชย์ส่งเสริมการขาย ในลักษณะชิงโชคจับฉลาก เว้นแต่เป็นกรณี ลด แลก แจก แถม การใช้สื่อการตลาดต้องไม่ชวนเชื่อเกินจริง ไม่ทำผู้บริโภคเข้าใจผิด ไม่เป็นเท็จ ซึ่งการเสนอขายผลิตภัณฑ์ทุกช่องทางควรอยู่ในช่วงเวลาเหมาะสม ไม่ทำให้ผู้บริโภครำคาญหรือสูญเสียความเป็นส่วนตัว เป็นต้น

“แบงก์ต้องมีมาตรการ วิธีการทำให้ลูกค้าผู้บริโภคมั่นใจว่า ผู้ขายผลิตภัณฑ์ด้านหลักทรัพย์และด้านประกันภัยมีความรู้เข้าใจในผลิตภัณฑ์ สามารถให้ข้อมูลความเสี่ยงของผลิตภัณฑ์ ผลตอบแทนและการคุ้มครองที่ผู้บริโภคจะได้รับ ตลอดจนผลดำเนินงานของผลิตภัณฑ์ที่ผ่านมา รวมถึงภาษีที่ผู้บริโภคจะต้องจ่ายหรือได้รับการผ่อนผัน และสิทธิตามความเป็นจริง โดยไม่ทำให้ผู้บริโภคเกิดความเข้าใจผิด”

นอกจากนี้ กฎระเบียบยังกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ ต้องแยกเคาน์เตอร์ขายผลิตภัณฑ์ด้านหลักทรัพย์และด้านประกันภัยออกจากเคาน์เตอร์ ที่ให้บริการรับฝากถอนเงินของธนาคารพาณิชย์ โดยมีป้ายบ่งบอกหรือสัญลักษณ์ที่แสดงให้ผู้บริโภคเห็นชัดเจน เว้นแต่การทำธุรกรรมต่อเนื่องกับการขายหรือให้บริการผลิตภัณฑ์ เช่นทำธุรกรรมโอนเงินหรือฝากเงินหลังซื้อหลักทรัพย์ สามารถให้บริการที่เคาน์เตอร์ขายผลิตภัณฑ์ด้านหลักทรัพย์และด้านประกันภัยได้ เพื่อประโยชน์ให้บริการ ณ จุดเดียว

ธปท.ได้กำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ต้องมีกระบวนการหลังการขาย และรับเรื่องร้องเรียน ดูแลและอำนวยความสะดวกให้ผู้บริโภค หากพิสูจน์แล้วว่าธนาคารพาณิชย์ไม่ได้ปฏิบัติตาม โดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อ เป็นเหตุให้ผู้บริโภคได้รับความเสียหาย ธนาคารพาณิชย์ต้องชดเชยตามความเหมาะสม อีกทั้งต้องรักษาข้อมูลของผู้บริโภคไว้เป็นความลับ และห้ามให้ข้อมูลผู้บริโภคแก่หน่วยงานอื่นตลอดจนบริษัทในกลุ่มธุรกิจการเงินที่ได้รับอนุญาตจาก ธปท.เพื่อนำไปใช้เสนอขายบริการอื่น เว้นแต่ได้รับความยินยอมจากผู้บริโภค

http://bit.ly/10DMxhB