ตัวแปรธรรมดา กับ session ใช้เวลาประมวลผลต่างกันหรือไม่

presentation of a student
presentation of a student

18 พ.ย.57 ได้มีการทดสอบจับเวลาในการประมวลผล
ซึ่งเป็นกิจกรรมในชั้นเรียน เกิดจากการให้นักศึกษาเรียนรู้การติดต่อฐานข้อมูลจาก microsoft access 2003 กับ 2007 ซึ่งมีสกุลเป็น .mdb กับ .accdb แล้วก็ยิงคำถามเข้าไปว่าใครตอบเร็วกว่ากัน แล้วน้องขุนตอบว่า การตอบสนองของ 2003 ต้องช้ากว่า 2007 เหมือน nokia กับ iphone6 จึงให้น้องหญิงช่วยทดสอบให้ดู พบว่า 2007 ตอบสนองช้ากว่า 2003 ซึ่งผิดไปจากที่น้องขุนตั้งสมมติฐานไว้ ซึ่งใช้โค้ดที่ผมเขียนเพื่อทดสอบการทำงานของ connection กับ recordset (dlist8) ที่ใช้ ASP Classic เป็นเครื่องมือในการพัฒนา

นักศึกษาที่ร่วมกิจกรรม มีดังนี้
ศัลณ์ษิกา ไชยกุล ทดสอบ ucase กับ left
ธนากร วงศ์ใหญ่ ทดสอบ array กับ session
ณภัทร เทพจันตา ทดสอบ sub กับ function
http://www.thaiall.com/asp/test_time.htm

วัตถุประสงค์
เพื่อ ให้ได้ตระหนักถึงการใช้คำสั่งในการประมวลผล เหมือนกับการวิจัยที่ต้องมีบทที่ 4 มายืนยัน ว่าจะทำอะไร ใช้อะไร ตัดสินใจอะไร ก็ต้องมีผลการทดสอบมายืนยัน เสมือนวรรณกรรมอ้างอิงประกอบการตัดสินใจ จึงให้นักศึกษาเขียนโปรแกรมทดสอบว่า ฟังก์ชัน หรือตัวแปรแบบต่าง ๆ ใช้เวลาประมวลผลต่างกันหรือไม่ จะได้ตระหนักเรื่องการเลือกใช้ตัวแปร ประกาศตัวแปร และพิจารณาอัลกอริทึมที่ใช้ให้ละเอียด

function con1()
dim tstart
tstart = timer
dim x
for i = 1 to 100000
x = x + 1
next
response.write(((timer – tstart) * 1000) & “ms<br/>”)
end function

function con2()
dim tstart
tstart = timer
session(“x”)=0
for i = 1 to 100000
session(“x”) = session(“x”) + 1
next
response.write(((timer – tstart) * 1000) & “ms<br/>”)
end function

ผลการทดสอบเรียกฟังก์ชันทั้งสอง ที่ทำงานต่อเนื่องกัน
บนเครื่องเดียวกันพร้อม ๆ กัน
พบว่าตัวแปรธรรมดาใช้เวลา 32 ms
ส่วนตัวแปรเซสชั่นใช้เวลาไปถึง 500 ms
ถ้าใช้ server เครื่องเก่าก็จะนานกว่านี้
ใช้เครื่องใหม่ก็จะเร็วกว่านี้

การเรียกใช้ฟังก์ชัน
con1 ‘ x ใช้เวลา 32 ms
con2 ‘ session ใช้เวลา 500 ms

งานประชุมวิชาการระดับชาติที่กรุงเทพ (itinlife396)

I was interested in the ontology topic.
I was interested in the ontology topic.

http://www.facebook.com/media/set/?set=a.10150179894897272.317163.350024507271

ในประเทศไทยมีการจัดประชุมทางวิชาการระดับชาติ และนานาชาติมากว่า 10 ปีแล้ว โดยส่วนใหญ่จัดโดยสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษา สำหรับจังหวัดลำปางมีการรวมตัวกันของสถาบันทั้งในและต่างประเทศเพื่อจัดเวทีให้นักวิชาการ และนักศึกษาได้นำผลงานที่ได้จากการค้นคว้าวิจัยมานำเสนอในเวทีที่มีผู้สนใจในเรื่องคล้ายกัน  เป็นเวทีแลกเปลี่ยนและแบ่งปัน แต่เวทีแบบนี้มักเกิดที่กรุงเทพฯ ในวันที่ 9 – 10 พ.ค.2556 ผู้เขียนได้ร่วมงานการประชุมทางวิชาการระดับชาติด้านคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ ณ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ กรุงเทพฯ โดยมี รศ.ดร.พยุง มีสัจ คณบดีคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นประธานจัดงานครั้งนี้

มีบทความเข้ารับการพิจารณาจำนวน 265 ผลงานที่มาจาก 40 สถาบัน ทุกบทความต้องผ่านการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 3 ท่าน หากได้รับการตอบรับอย่างน้อย 2 ใน 3 ท่านก็ถือว่าผ่านและเข้านำเสนอปากเปล่าในเวทีได้ ซึ่งปี 2556 มีบทความผ่านการพิจารณาทั้งสิ้น 161 ผลงาน จะบรรจุในเอกสารรวมเล่มรายงานผลวิจัยงานประชุมวิชาการ Proceedings of NCCIT 2013 บทความเหล่านี้มีเนื้อหาที่เป็นประโยชน์ และสามารถนำไปใช้งานได้จริง เพราะผ่านการวางแผน ทบทวน  ทดสอบ และสรุปผล รวมทั้งมีข้อเสนอแนะสำหรับผู้สนใจที่จะนำไปพัฒนาต่อยอด

การนำเสนอผลงานแบ่งออกเป็นห้อง ซึ่งผู้เข้าร่วมฟังจะมีค่าลงทะเบียน 2000 บาท ส่วนผู้นำเสนอมีค่าลงทะเบียน 4000 บาท แต่ผู้เข้าฟังไม่สามารถฟังทุกเรื่อง เพราะแบ่งห้องนำเสนอเป็นหลายห้องและทุกห้องนำเสนอพร้อมกัน จึงต้องเลือกหัวข้อในแต่ละห้องตามตารางนำเสนอ ซึ่งแบ่งได้ 4 กลุ่ม คือ Data Mining and Machine Learning, Data Network and Communication, Human-Computer Interface and Image Processing และ Information Technology and Computer Education ในปีนี้ผู้เขียนสนใจเรื่อง Ontology และ Semantic keyword ทำให้ได้เทคนิคในการพัฒนาระบบสืบค้นโดยใช้คำค้นที่ผ่านการทำออนโทโลยี ส่วนจะนำไปใช้กับข้อมูลระบบใดก็คงต้องเป็นคำถามใหม่ที่ต้องขบคิดกันต่อไป

http://www.thaiall.com/project/nccit07.htm

https://www.easychair.org/account/signin.cgi?conf=nccit2013