เมเจอร์ซีนีเพล็กซ์ ร่วมมือกับ มหาวิทยาลัยเนชั่น

ลงนามความร่วมมือกับ บริษัท เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ กรุ้ป จำกัด (มหาชน)
ลงนามความร่วมมือกับ บริษัท เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ กรุ้ป จำกัด (มหาชน)

เมื่อวันศุกร์ที่ 24 มิถุนายน 2559 ณ โรงภาพยนตร์เมเจอร์
ได้มีการลงนามบันทึกความร่วมมือ
ระหว่าง มหาวิทยาลัยเนชั่น กับ บริษัท เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ กรุ้ป จำกัด (มหาชน)
เปิดรับนักศึกษาเข้าโครงการสหกิจศึกษา และฝึกงานกับเครือเมเจอร์ ทั่วประเทศ
ซึ่งในเครือเมเจอร์มีแผนขยายสาขาต่อเนื่อง ต้องการทีมงานจำนวนมาก
แล้ว อ.ดรรชกร ศรีไพศาล รองคณบดี คณะบริหารธุรกิจ (ประจำศูนย์เนชั่น-บางนา)
สวมเสื้อสีขาวในภาพ เล่าให้ฟังว่านักศึกษาที่สนใจสมัครเข้าร่วมโครงการได้
โดยเกณฑ์ขั้นต้นคือ มีเกรดเฉลี่ยสะสม 2.5 ขึ้นไป
ชายมีส่วนสูงไม่ต่ำกว่า 165 ซม. หญิงไม่ต่ำกว่า 160 ซม.
หากนักศึกษามีความสนใจเป็นพิเศษ แต่ติดเกณฑ์บางข้อ ก็มาคุยกันได้
เพราะมีคุณสมบัติ หรือความสามารถอื่นที่ใช้ประกอบการพิจารณา ของอาจารย์ที่ปรึกษา
ก่อนส่งไปเข้า โครงการสหกิจศึกษา หรือฝึกงาน
มีหลายสาขาให้เลือกลง อาทิ

สาขา และจำนวนโรงภาพยนตร์
สาขา และจำนวนโรงภาพยนตร์

การทำโครงการสหกิจ หรือฝึกงาน มีตัวแบบปัจจจัยความสำเร็จ
ที่ ดร.วันชาติ นภาศรี ธวัชชัย แสนชมภู สิริรัตน์ เลิศมีมงคลชัย
เคยนำเสนอจากการศึกษาวิจัย มี 12 ปัจจัย

1. การสนับสนุนของผู้บริหารระดับสูง (Top Management Support)
2. การมีความรู้ ความเข้าใจในพันธกิจสหกิจศึกษา (Co-op Mission)
3. การจัดโครงสร้างงาน ระบบ & กลไก (Organization Management)
4. การจัดการความรู้สหกิจศึกษา (Co–op Knowledge Management)
5. การจัดทำแผนกลยุทธ์/คู่มือการปฏิบัติงาน (Co-op Schedule/Strategy Plan)
6. การสร้างการยอมรับ เห็นคุณค่า และประโยชน์ร่วมกัน (Stakeholder Acceptance)
7. การปรึกษาหารือ การให้คำแนะนำ การนิเทศ  (Consultation)
8. การติดต่อสื่อสาร การประสานงาน (Communication)
9. การจัดการทรัพยากร  (Resource Management)
10. เครือข่ายความร่วมมือ (Net Working)
11. การแก้ไขปัญหา และอุปสรรคที่เหนือความคาดหมาย (Troubleshooting)
12. การติดตามประเมินผล และการรับรู้ข้อมูลป้อนกลับ  (Monitoring Evaluation & Feedback)

ตัวแบบปัจจัยความสำเร็จสหกิจศึกษา

 

 

 

 

ซื้อตั๋วหนังผ่านแอพบนสมาร์ทโฟน (itinlife550)

มีอารมณ์ ใช้อารมณ์ เสียเพราะอารมณ์ หลังถูกถ่ายคลิ๊ป

major cineplex
major cineplex

เรื่อง ผู้จัดการโรงหนัง Major Cineplex พระราม 3 ทะเลาะกับลูกค้า

หรือ

เรื่อง กรมศุลฯ ซี7 ตบบ้องหูเจ้าหน้าที่สุวรรณภูมิ

ต่างก็เป็นเรื่องของการใช้อารมณ์ทั้งคู่ ผมว่าปัจจุบันมีการใช้อารมณ์เกิดขึ้นมากมาย แต่ที่มาเป็นข่าวก็มักจะเป็นเรื่องที่มีคนถ่าย clip  แล้ว upload ก็จะมีคนดูมากมายเหมือนไทยมุง แล้วก็แชร์ให้มุงกันต่อ ๆ ไป สรุปว่า มีคนมีอารมณ์ มีคนใช้อารมณ์ และเสียเพราะอารมณ์ แล้วถูกบันทึกไว้ และเผยแพร่สู่สาธารณะ

แล้วนึกไปถึงหญิงเหล็กที่เป็นนักการเมืองอังกฤษ หลังเสียชีวิตก็มีคนกลุ่มหนึ่งชื่นชม แต่กลับถูกกลุ่มผู้ใช้แรงงานออกมาแสดงความยินดีกับการเสียชีวิต เป็นเรื่องที่คาดไม่ถึง และยังไม่เคยเห็นเหตุการณ์แบบนี้ในไทย เพราะคนไทยเคยชินกับคำว่าอโหสิกรรม แต่หญิงเหล็กตั้งใจทำงานโดยเลือกข้างทุนนิยม ดังนั้นกลุ่มผู้ใช้แรงงานจึงเก็บกดความไม่พอใจมาเป็นเวลาหลายทศวรรษ .. เรื่องนี้เป็นบทเรียนสำหรับนักการเมืองไทยนะครับ ในการบริหารความพึงพอใจของนายจ้างกับลูกจ้างให้ไปด้วยกันให้ได้ แต่ปัจจุบันรู้สึกลูกจ้างจะพอใจฝ่ายเดียว นายจ้างหน้างอกันเป็นแถว

เรื่องการควบคุมอารมณ์ไม่ได้ ถือเป็นเรื่องปกติสำหรับปุถุชน อย่างเช่น นายก. ตีลูกตอนที่อารมณ์เสีย แล้วมีใครถ่ายคลิ๊ปตอนทำหน้ายักษ์ ถ้าถูกเผยแพร่ก็จะเป็นเรื่องใหญ่โต ตอนพระทะเลาะกับศรัทธาที่ปากจัดก็อาจถูกจับสึกได้

ตอนลูกน้องใช้อารมณ์วิพากษ์การตัดสินใจของเจ้านายในวงเหล้าเพลิน
แล้วมีเพื่อนในวงถ่ายคลิ๊ปไว้ .. แล้วเจ้านายเห็นก็อาจเป็นเหตุให้ถูกไล่ออก

ที่แน่ ๆ มีข่าวว่าลูกน้องไปโพสต์ด่าเจ้านายในเฟสบุ๊ค แล้วถูกไล่ออกก็มีมาแล้ว หรือครูหนุ่มชมว่านักศึกษาสาวน่ารักและเซ็กซี่ คุณครูโดนไล่ออกก็มีมาแล้ว ล้วนเป็นเหตุจากอารมณ์ทั้งสิ้น จะอารมณ์รัก หรืออารมณ์โกรธ ก็ล้วนแต่มีปัญหาทั้งนั้น

.. อย่าลืมว่า smart phone สมัยนี้ถ่ายคลิ๊ปได้ และ ทุกคนที่เราไว้ใจ
พร้อมจะ upload
เข้าเครือข่ายสังคม .. โปรดระวัง ..

2 rules of Philip Kotler
Rule 1 :
The customer is always right.
Rule 2 :
If the customer is wrong, go back to rule 1.
http://books.google.co.th/books?id=5GigjssNBBwC&printsec=frontcover