ตามหา list ใน facebook

facebook list
facebook list
วันนี้ (20 ม.ค.58) นั่งหาวิธีเข้าจัดการ List อยู่พักใหญ่
สุดท้ายคุณเปรม เฉลยว่า อยู่ใน Friends ของ home นั้นหละ
ที่อยู่ทางด้านซ้ายล่างลงไป
พอเข้าไปดูพบว่าแตกต่างกับ Friends ใน timeline ที่บริหารคนได้
แต่ Friends ใน home ใช้บริหารรายการชื่อ (List)
นี่ถ้ามีแบบสอบถามมาว่า facebook เป็นอย่างไร
ช่องที่ว่า “ใช้คำได้เหมาะสม เข้าใจง่าย” ผมไม่ให้เต็มแน่
เพราะการออกแบบปฏิสัมพันธ์คนกับคอมพิวเตอร์ของ facebook
ทำให้คนเข้าใจคอมพิวเตอร์ผิดไป
ด้วยคำที่เหมือนกัน แต่เป็นคำไม่เหมือนกัน
ที่สนใจเรื่องนี้ เพราะหัวหน้าท่านหนึ่งบอกว่า
อยากโพสต์ให้คนในกลุ่มหนึ่งเห็นเท่านั้น คนอื่นไม่เห็น
แต่ไม่อยากใช้กลุ่ม เพราะกลุ่มดูจะเทอะทะไป
ผมก็แนะนำว่า list คือ คำตอบสุดท้าย
จึงเป็นที่มาของการตามหา list ใน facebook

คำสั่ง ls เพื่อแสดงรายชื่อแฟ้มในห้องเก็บแฟ้ม

ls - list directory contents
ls - list directory contents

คำสั่ง ls ย่อมาจากคำว่า List คือ คำสั่งสำหรับแสดงรายชื่อแฟ้ม ขนาดแฟ้ม และข้อมูลเบื้องต้นของแต่ละแฟ้มที่จัดเก็บในห้องเก็บข้อมูล (Directory หรือ Folder)

ls – list directory contents
List information about the FILEs (the current directory by default).

การแสดงรายชื่อแฟ้ม ทางจอภาพ หรือ console เป็นความสามารถปกติของคำสั่งนี้ แต่ความสามารถหนึ่งที่ผมมักใช้เสมอ คือ การแสดงรายชื่อแฟ้มไปสร้างแฟ้มใหม่ เพื่อใช้ทดสอบเกี่ยวกับการจัดการแฟ้ม โดยสร้างแฟ้มขึ้นมาอย่างรวดเร็ว เช่น คำสั่ง ls > a เพื่อให้ได้แฟ้มชื่อ a อย่างรวดเร็ว ถ้าต้องการเพิ่มขนาดหรือข้อมูลในแฟ้ม ก็จะใช้ ls >>a เพื่อเพิ่มต่อท้ายแฟ้มเดิม ซึ่งเป็นความรู้จากระบบ DOS ที่เคยใช้ประจำ

การแสดงขนาดของแฟ้ม ด้วยคำสั่ง ls -l ซึ่งเป็นขนาดข้อมูลที่อยู่ในแฟ้ม เช่น แฟ้มที่มีตัวอักษร 3 ตัวก็จะใช้ 3 bytes แต่ระบบปฏิบัติการส่วนใหญ่ไม่ได้ใช้พื้นที่ในดิสก์ (disk) เพียง 3 bytes แต่ใช้เท่าขนาดกล่อง (block) ซึ่งอุปกรณ์แต่ละประเภทจะมีขนาดกล่อง (block) ไม่เท่ากัน

การใช้พื้นที่ในดิสก์ สามารถใช้คำสั่ง ls -s ซึ่งแฟ้มจะใช้พื้นที่ในดิสก์เริ่มที่จำนวน 8 sectors แม้แฟ้มเหล่านั้นจะมีขนาดเล็กกว่า แต่เป็นไปตามข้อกำหนดของระบบแฟ้มในแต่ละอุปกรณ์ บางอุปกรณ์ที่มี IO Block = 4096 bytes แต่บางอุปกรณ์อาจเป็น 2048 bytes หรือ 4 sectors สามารถใช้คำสั่ง $blockdev –getbsz /dev/sda หรือ $stat [file-name] ตรวจดูขนาดของ IO Block ได้ ซึ่ง 8 sectors = 8 * 512 bytes = 4096 bytes โดยแฟ้มที่มีขนาดไม่ถึง 4096 จะใช้พื้นที่ในดิสก์เป็น 4096 bytes หรือ 8 sectors ถ้าขนาดของแฟ้มเป็น 4100 bytes จะใช้พื้นที่ในดิสก์เป็น 16 sectors หรือ 8192 bytes หากต้องการทราบว่าระบบแฟ้มในเครื่องแบ่งระบบแฟ้มไว้อย่างไรให้ใช้คำสั่ง $df -a และ $df -i แล้วสามารถใช้คำสั่งแสดงจำนวน block หรือพื้นที่เก็บข้อมูลของแต่ละ device

http://www.thaiall.com/isinthai/linux_ls.php

เช่น $blockdev –getsz /dev/sda
208,782 sectors = 1 disk = 106,896,384 KB = 101.9 MB
71,132,000 sectors = 1 disk = 36,419,584,000 KB = 34,732.4 MB

ต.ย. ตัวเลือก (options)
-a, –all = show hidden and unhidden
-l = use a long listing format
-s, –size = print size of each file, in blocks
-S = sort by file size (not show size)