การใช้ terminal emulator app บน samsung tab 10.1

การใช้ terminal emulator app บน samsung tab 10.1
การสำรวจเครื่องครั้งนี้ มีการดำเนินการ 2 ส่วน
1. การสำรวจระบบ android linux
2. การจัดการแฟ้ม และสารบบ

http://www.thaiall.com/android
โดยใช้คำสั่งต่าง ๆ เรียงลำดับก่อนหลังดังนี้
[1. การสำรวจระบบ android linux]
1. pwd ดูว่าปัจจุบันอยู่ใน folder อะไร พบว่าอยู่ใน /
2. id ดูชื่อ และรหัสตนเอง พบว่าตนเองชื่อ app_125 มี id คือ 10125
3. df ดูว่าในเรื่องมีพื้นที่เท่าใด
4. env ดูข้อมูลสาพแวดล้อม
5. ps ดูว่ามี process อะไรประมวลผลอยู่
6. netstat ดูว่าเปิด port อะไร และติดต่อไปข้างนอกอยู่หรือเปล่า
7. netcfg ดูว่าเชื่อมต่อออกไปใช้ ip อะไร
8. ls ดูรายชื่อแฟ้ม
9. du ดูขนาดแต่ละ folder ทั้งหมด
10. ping www.facebook.com ดูว่าเชื่อมต่อกับ fb ได้ความเร็วกลับมาเท่าใด
11. date ดูว่ากี่โมง และวันที่เท่าใด
12. mount ดูว่ามีอุปกรณ์อะไรเชื่อมต่อไว้บ้าง เช่น sdcard
13. top ดูว่า process อะไรใช้ทรัพยากรมาก
[2. การจัดการแฟ้ม และสารบบ]
1. cd เพื่อย้ายตำแหน่งไปยัง app_HOME
2. du / > a เพื่อสร้างแฟ้มชื่อ a
3. ls -al เพื่อแสดงรายชื่อ และขนาดของแฟ้ม
4. tail a เพื่อดูส่วนหางของแฟ้ม เพียง 10 บรรทัดทุดท้าย
5. mkdir x เพื่อสร้าง folder ชื่อ x
6. mv a x เพื่อย้ายแฟ้ม a ไปใน x
7. cd x เพื่อเข้าห้อง x
8. cp a b เพื่อคัดลอกแฟ้ม a เป็น b
9. find เพื่อแสดงรายชื่อแฟ้ม หรือ find a หรือ find c
10. find > c เพื่อนำชื่อแฟ้มไปสร้างเป็นแฟ้ม c
11. vi c เพื่อแก้ไขแฟ้ม c
12. cd .. เพื่อออกจากห้อง x
13. rm x/* เพื่อลบทุกแฟ้มในห้อง x
14. rmdir x เพื่อลบห้อง x
15. ls -al เพื่อแสดงรายชื่อ และขนาดของแฟ้ม

คลิ๊ปการใช้งาน ที่ http://www.thaiall.com/blog/burin/5647/

การทดสอบ telnet เข้า virtualbox : mint 13

การทดสอบ telnet เข้า virtualbox : mint 13

linux mint 13
linux mint 13

เตรียม Linux mint 13 ขนาด 1.3 GB ใน .ova
import ลงบน oracle virtual box
หลังเปิดขึ้นเรียบร้อยแล้ว ดำเนินการดังนี้
1. เชื่อม Lan Card เป็น Network bridge
2. config network adapter1 เป็น bridge
3. เข้าระบบด้วย user: nation password: nationuniversity
4. เข้า Konsole
5. $su เป็น super user
6. #apt-get install telnetd สั่งติดตั้ง telnet
7. #ifconfig ดูหมายเลข IP
8. ใช้ telnet เข้า virtualbox

ในเครื่องที่ใช้อยู่ ทีแรก start ไม่ขึ้น เพราะทรัพยากรไม่พอ
แก้ไขโดยลดจอเหลือ 800 * 600
ปิด antivirus และโปรแกรมอื่น ๆ .. ก็ใช้ได้

การทำ Shared Folders ของ Debian กับ VirtualBox

share folders
share folders

29 พ.ย.55 ในกรณีต้องการ share folders จาก host ที่เป็น windows ไปให้เครื่อง guest ที่เป็น Debian ใน Oracle VirtualBox  มีขั้นตอนดังนี้

http://mirror1.ku.ac.th/debian-cd/6.0.5-live/i386/iso-hybrid/

1.1 เข้า Debian ใน VirtualBox
https://www.virtualbox.org/manual/ch04.html
1.2 menubar, Applications, Accessories, Terminal
$su
#apt-get update
#apt-get upgrade
#apt-get install make gcc
#uname -a
#apt-get install linux-headers-2.6.32-5-686
1.3 เตรียมพร้อมกับการ share และการติดตั้ง
#cd /media/cdrom/
แล้ว share folder ผ่าน menubar, Device, Share Folders
1.4 สั่งประมวลผล script จาก cd ที่มาจาก Install guest additions
#sh ./VBoxLinuxAdditions.run
แล้ว restart
จะพบว่ามีการทำ automount ใน /media/..
ตรวจด้วยคำสั่ง #mount
1.5 หากจะเข้าใช้งาน ต้องเปลี่ยน group ของ user เป็น vboxsf
แล้ว restart จึงจะเข้า folder ที่ share มาจากระบบ Windows เพื่อใช้งานได้

การติดตั้ง centos ผ่าน liveDVD .iso บน virtual box

centos 6.3 from ku in oracle virtual box
centos 6.3 from ku in oracle virtual box

28 พ.ย.55 เหตุเกิดจาก ได้ทดสอบ CentOS 6.3 ซึ่งเป็นอีก 1 ระบบปฏิบัติการลีนุกซ์ที่น่าสนใจ เริ่มจาก นายภส.. นักศึกษาของผม เล่าให้ฟังว่าติดปัญหาในการติดตั้งกับเครื่อง notebook และที่ผ่าน oracle virtual box ในห้องแล็ป ทำให้ผมต้องหา CentOS มาติดตั้งก็ได้จาก ku.ac.th เป็น CentOS-6.3-i386-LiveDVD.iso

ผลการดำเนินการ จากการทดสอบบนเครื่องคอมพิวเตอร์จำนวน 3 เครื่องใน 3 วัตถุประสงค์ คือ 1) เริ่มทดสอบกับเครื่องห้องแล็บเดิมที่ลง win xp มี CPU 3.2 GHz ram 1 GB พบว่า boot แบบ liveDVD ผ่าน .iso แล้วเข้าระบบและใช้งานได้ แต่ต้องลดอุปกรณ์บน vm ให้หมดให้เหลือน้อยแบบที่เรียกว่า minimum device ปัญหาที่พบคือ คลิ๊กปุ่ม install to harddisk drive แล้วไม่ทำงาน คาดว่า device ไม่พร้อม จึงเปลี่ยนเครื่องทดสอบ 2) ใช้กับเครื่องที่พร้อมกว่า คือ เครื่องใหม่ที่ลง win 7 มี CPU 3.2 GHz ram 4 GB พบว่า boot และ install บน harddisk ได้ปกติ โดยติดตั้งผ่าน .iso เมื่อถอด .iso ออกก็บูทได้เอง จึง export ไปเป็น .ova เพื่อนำไปใช้ในเครื่องอื่นต่อไป ควรเร็วไม่แตกต่างกับ win 7 เพราะ hw รองรับได้ 3) เครื่องห้องแล็บเดิม แต่เปลี่ยนเครื่อง ใช้วิธีการ import แฟ้ม .ova และลดอุปกรณ์ให้เหลือน้อยที่สุด ในการทดสอบครั้งแรกนั้นจะเหลือ network ไว้ทำงาน แต่พบว่า การ boot ในบางครั้งไม่สำเร็จ จึงต้องถอดอุปกรณ์ออกให้หมด ก็จะสามารถใช้งานแบบค่อยเป็นค่อยไปได้

พอสรุปได้ว่า CentOS ยังต้องการ hardware ที่พร้อมโดยเฉพาะขนาด RAM นอกจากนี้ยังทดสอบสั่ง auto startup ให้เปิด CentOS บน VM ทันทีที่ win เริ่มทำงานด้วยคำสั่ง  “C:\Program Files\ Oracle\ VirtualBox\ VBoxManage.exe” startvm “centos63” แต่ทดสอบกับเครื่องห้องแล็บ พบว่าบางครั้งก็บูทสำเร็จ บางครั้งก็ไม่สำเร็จ จากปัญหาขนาด RAM จึงถอนคำสั่งนี้ออกจาก program/startup

Oracle virtual box is a virtualization software
Oracle virtual box is a virtualization software

http://www.virtualbox.org/
http://mirror1.ku.ac.th/centos/6.3/isos/i386/

ISO = application/x-iso9660-image

OVA = Open Virtualization Appliance

fedora os practice ตอนที่ 1

linux ranking
linux ranking

http://royal.pingdom.com/2011/11/23/ubuntu-linux-losing-popularity-fast-new-unity-interface-to-blame/

มีโอกาสพูดคุยกับนักศึกษาเรื่อง Operating System
หัวข้อ Linux แล้วผมก็ยกตัวอย่างของ Fedora ซึ่งมีรายละเอียดใน
http://fedora.redhat.com/
ซึ่งชื่อ fedora เกิดหลังจากบริษัท redhat ต้องแยกเรื่อง commercial กับ free
โดยกำเนิดของ linux นั้น เริ่มตำนานโดย  ลินุส โตร์วัลดส์ (Linus Torvalds)
ซึ่งเป็นผู้พัฒนา เคอร์เนลเป็นคนแรก (kernel) แล้วสื่อสารผ่าน usenet news
http://en.wikipedia.org/wiki/Linux
จนเกิดกระแสพัฒนาอย่างต่อเนื่อง จนเกิด linux ขึ้นมาอีกมากมาย
ในแบบ  OSDN : Open source development network
งานของ kernel มีหลายอย่างที่สำคัญโดยเฉพาะระบบแฟ้มแบบ
ext2, ext3 แต่ของ windows ใช้ ntfs, fat, fat32
การติดตั้ง (install) มีพัฒนาการเรื่อยมา อาทิ
live cd, flash drive ถ้าเป็นของ fedora จะมี liveusb creator
https://fedorahosted.org/liveusb-creator/
ซึ่งผมได้ติดตั้ง fedora ไว้ในเครื่องแล้ว share ให้นักศึกษาเข้าใช้ โดยมีบทเรียนดังนี้
บันทึก lecture note
1. สร้างผู้ใช้
# useradd pasu
# passwd pasu

2. download putty
แล้ว connect ผ่าน ssh หรือ telnet
host: 172.70.1.83
secure shell
sniffer
$
# su
8 + A + a + 3 + #

3. เนื้อหาเกี่ยวกับคำสั่งบน linux ที่เรียนรู้ด้วยตนเอง
http://www.thaiall.com/isinthai

4. แสดงรายการแฟ้ม
ls, ls -al, man ls
hidden file: have . in front of file name

5. เกี่ยวกับ folder และ home
cd /, pwd, cd
/etc
/home
/sbin
/lib
cd /etc

6. ดูข้อมูลบุคคล และกลุ่ม
cat passwd
cat group
id pasu

7. แสดงประวัติการเข้าใช้งาน ว่าใครใช้อยู่
last
last |grep napat
DoS : Deny of Service

8. ตรวจสอบการทำงานของเครื่องว่าใช้ทรัพยากรอย่างไร
top

9. ตรวจ process ที่กำลังประมวลผล
ps -aux | more
ps -aux | grep sansika

linux distribution ranking
linux distribution ranking

http://agilecat.tumblr.com/post/13209065788/ubuntu-linux-losing-popularity-fast-new-unity

มอบหมาย : ให้นักศึกษาทำ liveusb ของ fedora มาคนละตัว แล้วมาแสดงให้ดูในชั้นเรียนครั้งต่อไป
https://fedorahosted.org/liveusb-creator/
http://www.thaiall.com/blog/burin/3409/

สร้าง Live USB : fedora 15

creating live usb : fedora os
creating live usb : fedora os

3 ก.ค.54 การสร้าง live usb ด้วย OS ของ Fedora 15 มีวัตถุประสงค์เพื่อนำ USB Drive มาติดตั้งระบบปฏิบัติการ Linux และทำงานทันทีที่เปิดเครื่อง โดยไม่ต้องติดตั้งลงไปในเครื่อง มีประเด็นที่น่าสนใจดังนี้
1. ใช้พื้นที่ประมาณ 600 MB และข้อมูลใน USB ยังอยู่ครบถ้วน เพราะไม่ได้ทำการ Format USB แต่เพิ่มห้องเก็บข้อมูล 4 ห้อง คือ Boot, EFI, syslinux และ LiveOS ส่วนห้อง Root มีแฟ้มชื่อ GPL
2. เครื่องที่ใช้ทดสอบคือ ASUS ต้องกด F2 เมื่อเปิดเครื่องแล้วเข้า Boot, Hard disk drives เลือกเลื่อน USB ซึ่งเป็น Harddisk ตัวที่ 2 ขึ้นมา มิเช่นนั้น จะเลือก Harddisk ตัวแรกเสมอ ทำให้ไม่เรียก USB ขึ้นมาทำงานตามที่ตั้งใจไว้
3. Download โปรแกรมติดตั้ง Live USB และแฟ้ม Fedora OS มาไว้ในเครื่อง
4. เมื่อ boot ขึ้นมา สามารถแก้ไขได้ แต่ผลการแก้ไขไม่ได้บันทึกไว้ เพราะทำงานใน RAM เมื่อ boot ใหม่ก็จะไม่เห็นผลการแก้ไข เช่น เปลี่ยน background หรือ create user
5. สามารถกำหนดการเชื่อมต่อแบบ wireless หรือ wired แล้วใช้งานได้ปกติ
6. มีตัวเลือกให้สั่งติดตั้งระบบปฏิบัติการลงไปใน Harddisk ได้

http://fedoraproject.org/wiki/How_to_create_and_use_Live_USB
https://fedorahosted.org/liveusb-creator/
https://fedorahosted.org/releases/l/i/liveusb-creator/liveusb-creator-3.11.1-setup.exe
http://fedoraproject.org/get-fedora
http://download.fedoraproject.org/pub/fedora/linux/releases/15/Live/i686/Fedora-15-i686-Live-Desktop.iso

พบปัญหาเข้าระบบ webbased mail ไม่ได้

httpd log
httpd log

18 ม.ค.54 เมื่อวานเย็น – วันนี้เช้า เกิดปัญหาไม่สามารถ login เข้าระบบ web-based mail ขององค์กร อาการคือ user & password ไม่ถูกยอมรับให้ผ่านเข้าระบบ เมื่อรำลึกถึงเหตุการณ์ในอดีต ก็มีกรณีหนึ่งที่เป็นไปได้ คือ เครื่องบริการเต็ม จึงใช้ ssh เข้าไปใช้ #df ก็พบว่าเต็มจริง จึงเข้าไปลบ log ต่าง ๆ ที่มีขนาดใหญ่ (ไม่แตะต้อง mail box ของแต่ละคน) และปรับแก้ #/etc/aliases แล้ว #newaliases เพื่อ forward อีเมลของสมาชิกเก่า แทนการลบออกจากระบบไปยัง  mail box หนึ่ง เพื่อรอเวลาตรวจสอบ และลบทิ้งบัญชีผู้ใช้ในโอกาสต่อไป เมื่อพื้นที่เหลือเพิ่มขึ้นก็ login เข้าระบบ web-based mail ได้ตามปกติ

ขั้นตอน Reinstall Plawan Central Log

15 ส.ค.53 ไม่ได้ใช้ระบบของ Plawan มาหนึ่งปีเต็ม และลืมรหัสผ่านทั้งของ root และ user สำหรับเข้าจัดการระบบลีนุกซ์ แม้พยายาม recover root account ผ่าน single mode ด้วยการกด e แล้วแก้ในบรรทัด kernel ก็ยังเข้าไม่ได้ เพราะสุดท้ายก็ถามรหัสผ่าน root อยู่เช่นเดิม ตัดสินใจลง plawan ใหม่ทับตัวเดิม
ขั้นตอนการติดตั้ง Plawan 8.04 kernel 2.6.24-19 (Beta2 404 MB) ทับ Plawan ตัวเดิมที่เคยติดตั้งไปแล้ว (หลัก download โปรแกรมจาก plawan.com มาเขียนลงซีดี) มีดังนี้ 1) Boot ด้วย CD แล้วเข้า Start Plawan in Graphic Mode 2) โปรดอดใจรอนานกว่า 10 นาที และพบตัวเลือก ซึ่งมีทั้งหมด 7 Step ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้ Step 1. เลือกภาษา English Step 2. เลือกที่อยู่ Bangkok Step 3. เลือกแป้นพิมพ์  Thailand Step 4. แบ่งพื้นที่ Manual เพราะเคยแบ่งไว้แล้ว  (/dev/sda1:ntfs:42GB /dev/sda5:ntfs:80GB /dev/sda6:ntfs:35GB /dev/sda7:ext3:20GB /dev/sda8:swap:2GB) Step 5. กำหนดชื่อ ผมใส่คำว่า plawan ทุกช่องครับ กันลืม Step 6. Migrate อะไรบ้างจาก sda1 .. ผมไม่เลือกเลย Step 7. Ready to Install หมายความว่า ถ้ากดปุ่ม Install ก็จะเริ่มติดตั้งโปรแกรม แล้วผลการติดตั้งจะทำลายข้อมูลใน sda7 และ sda8  (ซึ่งผมต้องการให้ทำลายของเดิมใน 2 partition นั้น) โดยใช้เวลาอีกประมาณครึ่งชั่วโมง .. แล้วพบกับ installation is complete พร้อมกับ restart .. หลัง restart ไม่พบปัญหาใดกับ OS ตัวอื่นที่เคยลงในเครื่อง
ผลการ reinstall คือ บูทเครื่องแล้วพบ grub ถามเข้า Plawan 8.04 หรือ Windows NT/2000/XP เมื่อเข้า windows ก็จะถามว่าเข้า windows ตัวใด เพราะเครื่องผมลง windows หลายรุ่น แต่ลง linux รุ่นเดียวคือ plawan สำหรับเครื่องนี้ .. เนื่องจากผมใช้ windows มากกว่า linux จึงต้องไปแก้ไขให้เปิดขึ้นมาแล้วเข้า Windows เป็นค่า Default
ดำเนินการมีขั้นตอนดังนี้ Desktop Right Click พบเมนูแล้วเลือก Application, Shells, Bash พบ $ แล้วพิมพ์ cd /boot/grub แล้ว sudo chmod 777 menu.lst แล้ว vi menu.lst แล้วเปลี่ยน default 0 เป็น default 3 แล้ว sudo chmod 644 menu.lst แล้ว exit แล้ว restart
ถ้าเป็นรหัสผ่านของ linuxsis ใช้ user=admin password=123456 แต่ถ้าเป็น plawan ผู้ใช้เป็นผู้กำหนดในขณะติดตั้ง ถ้าลืมก็ต้องหาทางเข้าผ่านประตูหลังให้ได้ แต่พบว่าประตูทั้งหมดถูกปิด ผมจึงต้องเลือกลื้อบ้านทิ้งครับ แล้วสร้างใหม่ทับของเดิมไปเลย .. เล่าสู่กันฟัง

บูทโอเอสจากเมนบอร์ดของ asus f80

notebook asus f80series
notebook asus f80series

16 ส.ค.52 ได้ศึกษาเรื่อง OS on Mainboard ที่อยู่ในเครื่องนักศึกษาที่มหาวิทยาลัยโยนกแจกตามโครงการ IT&Resort จึงเขียนไว้ให้นักศึกษาได้เรียนรู้ 3 ย่อหน้า ดังนี้
      หลายปีก่อนผู้เขียนคิดว่าการสั่งให้เครื่องคอมพิวเตอร์เริ่มทำงานหรือการบูทเครื่อง ไม่ควรมีเพียงทางเลือกเดียวคือการบูทด้วยระบบปฎิบัติการจากฮาร์ดดิสก์ การพัฒนาฮาร์ดแวร์ให้มีหน่วยความจำสูงขึ้น มีหน่วยประมวลผลที่ทำงานเร็วขึ้น และอุปกรณ์ต่อพ่วงทำงานเร็วขึ้น จนสามารถพัฒนาระบบปฏิบัติการให้เริ่มต้นบูทเครื่องจากแผ่นซีดีรอมเป็นทางเลือกที่สองที่ทำงานได้ใกล้เคียงกับการบูทจากฮาร์ดดิสก์ แต่ทางเลือกนี้ไม่เป็นที่นิยมเนื่องจากแผ่นซีดีรอมเสื่อมสภาพจากการใช้งานได้ง่าย ไม่นานนักก็มีการพัฒนาซอฟท์แวร์และแฟรชไดร์จนสามารถบูทเครื่องผ่านสื่อเก็บข้อมูลขนาดเล็กให้ผู้ใช้เลือกเป็นทางเลือกที่สาม
     ปี 2551  เริ่มมีเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ติดตั้งระบบปฏิบัติการลีนุกซ์ไว้ในเมนบอร์ดโดยผู้ผลิตเป็นการบูทเครื่องทางเลือกที่สี่ ทำให้ผู้ใช้สามารถเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์และใช้งานอินเทอร์เน็ตได้ภายในไม่กี่วินาทีเท่านั้น เนื่องจากระบบปฏิบัติการรู้จักอุปกรณ์ทั้งหมด และทำงานขั้นพื้นฐานไม่กี่รายการ เช่น เปิดเว็บไซต์จากอินเทอร์เน็ต ฟังเพลง ดูภาพถ่าย หรือ สนทนากับเพื่อนแบบออนไลน์ เป็นต้น ไม่สามารถจัดเก็บแฟ้มจึงเชื่อได้ว่าปลอดภัยจากไวรัสในระดับหนึ่ง คุณสมบัตินี้ถูกเรียกว่า Express Gate ในโน๊ตบุ๊คยี่ห้อ ASUS ซึ่งใช้ Linux ของ Splashtop.com ส่วนการติดตั้งลีนุกซ์โดยผู้ผลิตเรียกว่า Linux Preload ซึ่งอุปกรณ์ในหลายยี่ห้อให้การยอมรับ Linux จากค่ายนี้ อาทิ Acer, Asus, HP, Lenovo, LG และ Sony
     ประโยชน์จากคุณสมบัตินี้ที่เห็นได้ชัดคือ บูทเครื่องได้เร็วมากและใช้เปิดเว็บไซต์ได้อย่างปลอดภัย เพราะไม่สามารถจัดเก็บแฟ้มลงสื่อ แต่เก็บ Bookmarks สำหรับเว็บไซต์ที่ชื่นชอบไว้เปิดในภายหลังได้ จากการทดสอบใช้งานในเครื่องคอมพิวเตอร์ ASUS พบว่า 1)ระบบแปลชื่อไม่ทำงานอัตโนมัติ ต้องกำหนด DNS แบบ Manual 2)ส่วนการพิมพ์ภาษาไทยต้องปรับตัวเลือกในคุณสมบัติของแป้นพิมพ์ เพื่อแสดงกล่องเครื่องมือสำหรับเลือกภาษาไทย 3)จากการทดสอบดูภาพยนตร์จาก Youtube.com หรือ Video.mthai.com พบว่าทำงานได้ปกติเช่นเดียวกับการใช้งานในฮาร์ดดิสก์ นี่เป็นอีกคุณสมบัติหนึ่งของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ทำให้ผู้ใช้สามารถใช้งานได้สะดวก และมีลิขสิทธิ์ที่ถูกต้อง สำหรับการใช้งานขั้นพื้นฐาน

ติดตั้ง plawan central log เพิ่มอีก 1 OS แทน boot แบบ Live CD

19 ก.ค.52 ติดตั้ง Plawan Central Log Beta2 ที่ download แฟ้ม .iso จาก plawan.com เมื่อ 17 กค.52 แล้วเขียนลง CD โดยมีขั้นตอนหลัง Boot ด้วย CD ของ Plawan เพื่อติดตั้งใน Asus T3400 ดังนี้ 1)Boot ด้วย CD-ROM ใช้เวลากว่า 10 นาทีกว่าจะ boot เสร็จ 2)Prepare disk space ผมเลือก Manual เพราะไม่แน่ใจว่าระบบอัตโนมัติแบ่งนั้นจะกระทบอะไร และผมก็ไม่ได้ใช้ HD ทั้งหมดสำหรับ Linux ตัวนี้ 3)เลือก Free space ใน Device สุดท้ายที่เคยใช้ Partition magic แบ่งไว้ ซึ่งมีทั้งหมด 44 GB แต่มีแผนใช้กับ Plawan เพียง 22 GB 4)แบ่ง Partition เป็น ext3 สำหรับ / หรือ root เพียง 20 GB 5)แบ่ง Partiton เป็น swap area เพียง 2 GB 6)เลือก Migrate Documents and Settings แล้ว checkbox เฉพาะของ sda1 หรือ Windows ตัวหลัก เพื่อนำมาใช้ใน plawan แต่ลูกของ sda1 ผมไม่ได้เลือกเลย ได้แก่ Internet explorer, Wallpaper, User Picture, My Documents, My Music และ My Pictures 7)จากนั้นก็ดำเนินการติดตั้ง ซึ่งทำให้เกิด Partition ทั้ง 2 ข้างต้น และมีการแก้ไข boot ใน sda ซึ่งใช้เวลาติดตั้งโปรแกรม และ download รวมชั่วโมงกว่า 8 ) เมื่อติดตั้งแล้ว ก็สั่ง restart จะพบว่า boot ด้วย grub ก่อน loader ของ windows

23 ก.ค.52  บันทึกผลการทดสอบใช้งาน plawan central log 2 เรื่อง คือ 1)การเข้า root ของ plawan จะเข้าผ่าน login ด้วย user root ไม่ได้ ต้องใช้ user ปกติเข้าไปก่อน เมื่อพบ Desktop ก็ให้ Right Click, Applications, Shells, sudo -i ถ้าใส่รหัสผ่านถูกก็จะพบเครื่องหมาย # เมื่อใช้ pwd ก็จะพบว่าอยู่ใน ห้อง /root (แหล่งอ้างอิง linuxthai.org) 2) ในระบบ Multi OS ผมต้องการ boot Windows ซึ่งอยู่ลำดับที่ 3 แต่ค่า default มี Plawan อยู่ลำดับที่ 0 ต้องเข้าไปใน /boot/grub แล้วเปิดแฟ้ม menu.lst ด้วย vi แล้วแก้ default 0 เป็น default 3 ก็จะเข้า Windows อัตโนมัติในกรณีไม่เลือก OS ตัวใด้