#Android Studio ตอนที่ 8 การใส่ภาพและคำสั่ง HTML ใน TextView ต่างกันทั้ง Java, Layout และ String

#Android Studio ตอนที่ 8 การใส่ภาพและคำสั่ง HTML ใน TextView
ต่างกันทั้ง Java, Layout และ String

<introduction>
อารัมภบท
การทำให้ตัวอักษรหนา หรือ Bold ใน TextView มีเงื่อนไขต่างกันทั้งใน Java, Layout และ String ในตอนนี้จะเน้นว่าทำอย่างไรให้แสดงผลได้ ไม่อธิบายส่วนของปัญหา เพราะการใส่ Html Tag ใน TextView ไม่เหมือนการเขียนเว็บเพจด้วยภาษา HTML พบว่า มีข้อจำกัดมาก ถามกันเยอะใน stackoverflow.com ไปอ่านใน guide ของ android.com พบว่า Supported HTML elements include:

  • <b> for bold text.
  • <i> for italic text.
  • <u> for underline text.

อันที่จริงยังมี Tag ที่ได้รับการสนับสนุนมากกว่านี้ ถ้าอ่านเพิ่มเติมที่ abhiandroid.com และ grokkingandroid.com หากจะให้สรุปก็คงเห็นพ้องกับ Developer หลายท่านว่าการใช้ Html บน Android Studio มี 2 คลาสที่รองรับคือ TextView กับ WebView ถ้าให้ดีควรเลือกใช้ WebView เพราะ TextView สนับสนุนการใช้ HTML น้อยกว่า โดยเฉพาะการใส่ Image ที่ต้องสร้าง Class ImageGetter มาช่วย

แต่ TextView เป็น Class ที่นิยมใช้งานกัน การพยายามใส่ Image และ HTML ลงไปก็น่าจะมาถูกทาง เพียงแต่ Android Studio มี Class อื่นที่สนับสนุนงานด้าน HTML มากกว่า หากใช้งาน HTML จริงจัง คงต้องไปใช้ WebView แต่ถ้างานเล็ก ๆ จะใช้ TextView ก็น่าจะพอรับมือไหว ตัวอย่างในตอนนี้จึงมุ่งมั่นจะใช้ TextView เพื่อแสดง image และ HTML Tag แล้วลองติดตามดูครับ งานนี้ Activity Template เริ่มต้นผมเลือกใช้ คือ Basic Activity

สรุปกระบวนการได้ .. ขั้นตอน ประกอบด้วย 1) ทำความเข้าใจ Project ที่นำมาพัฒนาต่อ 2) ทดลองใส่ Tag:img ใน strings.xml 3) สร้างคลาส ImageGetter เพื่อให้แสดงภาพ ตาม Tag:img 4) สร้าง layout ใหม่ และ string ที่มี HTML tag หลายตัว 5) ทำให้ปุ่มสั่งเปิด Layout ใหม่ได้ และ Tag:img ทำงานได้ 
</introduction>

กำลังเล่าเรื่อง การใช้โปรแกรม Android Studio สู่เพื่อนนักพัฒนา ผ่าน Blog

<process>
1. ทำความเข้าใจ Project ที่นำมาพัฒนาต่อ
สร้าง New Project แบบ Basic Activity ชื่อ imageintextview
จะมีปุ่มที่เป็น FloatingActionButton ใน activity_main.xml
ตามที่เล่าใน ตอนที่ 7 : ข้อ 6 กับข้อ 7 ต่อไปปุ่มนี้ก็จะเป็นปุ่มเปลี่ยนบทความให้กับ App
ให้มองหา app:srcCompat=”@android:drawable/ic_dialog_email”
เปลี่ยนเป็น app:srcCompat=”@android:drawable/ic_media_play”

ส่วนปุ่มนี้จะไปเปิด layout ตัวใด ให้ขึ้นมาแสดงผล
ยังไม่ได้ปรับใน MainActivity.java รอไปทีละขั้น เพราะยังไม่ถึงเวลาของขั้นนี้
แต่เห็นว่า ตอนนี้มี <include layout=”@layout/content_main” />
อยู่ใน activity_main.xml ซึ่งจะเรียก content_main.xml เมื่อเริ่มต้นอยู่แล้ว

2. ทดลองใส่ Tag:img ใน strings.xml
2.1 เริ่มต้นจากการไปหาภาพตัวอย่างมา 5 ภาพ
แล้วใส่ภาพที่หาได้ เข้าไปใน drawable หามา 5 ภาพ คือ lp01.jpg ถึง lp05.jpg
เรื่องนี้เล่าใน ตอนที่ 6 ข้อ 1 มีแบบผ่าน Windows Explorer และผ่าน Android Studio

2.2 ใส่ข้อมูลใน string.xml ประกอบด้วย ข้อความแบบหนา ข้อความธรรมดา และแท็กภาพ

<string name=”data1″>
<b>hello world!</b> Can you see me? <img src=”lp01″ />
</string>

ใน layout_main.xml ที่ Template เตรียมมาให้ใน Basic Activity นั้น
มองหา android:text=”Hello World!”
เปลี่ยนเป็น android:text=”@string/data1″
ถ้า run ตอนนี้
จะเห็นข้อความ Hello world! เป็นตัวหนา
ส่วนข้อความ Can you see me? เป็นตัวธรรมดา
แต่ภาพ lp01 ไม่เห็นว่ามีภาพนี้ออกมา
อธิบายในเบื้องต้น คือ TextView ไม่สนับสนุนการใส่ Tag:img แแบบนี้
ถ้าให้เห็นต้องทำขั้นต่อไป

 

3. สร้างคลาส ImageGetter เพื่อให้แสดงภาพ ตาม Tag:img
3.1 จะใช้งาน Tag:img ใน TextView ได้ต้องมีคลาส ImageGetter ใน MainActivity.java ก็เริ่มจากไปหาคัดลอกคลาสนี้มา แล้วเปลี่ยน packagename เป็น ของท่าน ของผมใช้ com.thaiall.www.imageintextview ใน code กำหนดขนาดภาพที่ผ่านคลาสนี้ให้กว้าง 48*2 และ 64*2 โดยตัวอย่างนี้มี 2 ส่วนคือ ส่วนของ import และส่วนของคลาส ให้สร้างไว้ภายใน class MainActivity
ปล. พอมี ImageGetter แล้ว ในหัวข้อ 3.4 จะเรียกใช้ผ่าน Html.fromHtml ()

import android.text.Html;
import android.os.Build;
import android.graphics.drawable.Drawable;

private class ImageGetter implements Html.ImageGetter {
public Drawable getDrawable(String source) {
int id;
id = getResources().getIdentifier(source, “drawable”, getPackageName());
if (id == 0) {
// the drawable resource wasn’t found in our package, maybe it is a stock android drawable?
id = getResources().getIdentifier(source, “drawable”, “com.thaiall.www.imageintextview“);
}
if (id == 0) {
// prevent a crash if the resource still can’t be found
return null;
}
else {
Drawable d;
if (Build.VERSION.SDK_INT >= Build.VERSION_CODES.LOLLIPOP) { //>= API 21
d = getResources().getDrawable(id, getApplicationContext().getTheme());
} else {
d = getResources().getDrawable(id);
}
//d.setBounds(0,0,d.getIntrinsicWidth(),d.getIntrinsicHeight());
d.setBounds(0,0,48 * 2,64 * 2);
return d;
} } }

3.2 การทำให้มีข้อมูลปรากฎใน TextView ผ่าน MainActivity.java
เริ่มต้นจากตั้งชื่อให้ TextView ใน content_main.xml
โดยเพิ่มว่า android:id=”@+id/textView”

3.3 เปลี่ยน data1 และเพิ่ม data2
เพื่อแสดงเทคนิคการจัดการ Tag:img ว่า ใส่แบบ data2 แล้วไม่สำเร็จ
ต้องใส่ Tag:img แบบ data1 ใน strings.xml แล้วใช้ java ช่วยจัดการ

<string name=”data1″>data1 : ok imglp01 imglp02 imglp03</string>
<string name=”data2″>data2 : error <img src=’lp01′ /> <img src=”lp02″ /></string>

3.4 หลังเตรียมข้อมูลใน strings.xml ก็มาเตรียม code ที่จะจัดการกับ Tag:img
โดยเพิ่ม code ข้างล่างนี้ใน MainActivity.java เพื่อจัดการ content_main.xml

import android.content.res.Resources;
import android.widget.TextView;
Resources res = getResources();
String mData1 = res.getString(R.string.data1);
String mData2 = res.getString(R.string.data2); // error here
String mData3 = “data 3 in java file : ok <img src=\”lp04\” /> <img src=lp05 />”;
for(int i=1;i<=3;i++) {
mData1 = mData1.replace(“imglp0” + i, “<img src=lp0″ + i + ” />”);
}
String[] mList ={mData1,mData2,mData3};
String mData = android.text.TextUtils.join(“<br/>”, mList);
TextView htmlTextView = (TextView)findViewById(R.id.textView);
if (android.os.Build.VERSION.SDK_INT >= android.os.Build.VERSION_CODES.N) {
htmlTextView.setText(Html.fromHtml(mData, Html.FROM_HTML_MODE_LEGACY, new ImageGetter(), null)); // for 24 api and more
} else {
htmlTextView.setText(Html.fromHtml(mData, new ImageGetter(),null)); // or for older api
}

https://gist.github.com/thaiall/9fcead1b4fb4baea6b0751957e5df56f

4. สร้าง layout ใหม่ และ string ที่มี HTML tag หลายตัว 
4.1 สร้าง layout_main.xml
แล้วลาก TextView มาวาง เหมือนใน ตอนที่ 7 ข้อ 4
แล้วเติม ScrollView คลุม TextView ตาม ตอนที่ 7 ข้อ 5 ด้วย
พบว่า id ของ TextView คือ android:id=”@+id/textView2″

4.2 เตรียม myArticle ใน strings.xml ที่มีข้อมูลครบถ้วน
จากการไปอ่านบทความของ grokkingandroid.com ทำให้รู้ว่าใน string ต้องใช้ Entity reference คือ &lt; ตอนปิด Tag ไม่จำเป็นต้องใช้ &gt; ก็ได้ หากส่งเข้า TextView ผ่านฟังก์ชัน setText() ในโปรแกรม Java อย่างที่ใช้คือ MainActivity.java

<string name=”myArticle”>
&lt;h1&gt;ไอทีในชีวิตประจำวัน #611 เมื่อเพื่อนขอใช้โทรศัพท์เข้าสื่อสังคม&lt;/h1&gt;&lt;br/&gt; อาจมีสักครั้งที่เพื่อนสนิท หัวหน้า กิ๊ก หรือแฟนขอยืมสมาร์ทโฟนของเรา …
</string>

https://gist.github.com/thaiall/b220a4cb2b8137f747648c56a5bd086d

 

5. ทำให้ปุ่มสั่งเปิด Layout ใหม่ได้ และ Tag:img ทำงานได้
การปรับเพิ่ม MainActivity.java สำหรับรองรับการสั่งเปิด layout_main.xml
เริ่มจากการเพิ่มคำสั่งใน Activity เมื่อคลิ๊กปุ่ม
โดยเพิ่มใน Block : onClick ของ fab.setOnClickListener(..)
เพื่อคุม FloatingActionButton
ทำตาม ตอนที่ 7 ข้อ 6 มีคำสั่งเพียงบรรทัดเดียวที่ต้องเพิ่ม

setContentView(R.layout.layout_main);

แล้วตามด้วยชุดคำสั่งที่ต้องเพิ่ม

Resources res = getResources();
// for layout_main.xml
String mArticle = res.getString(R.string.myArticle);
for(int i=1;i<=3;i++) {
mArticle = mArticle.replace(“imglp0” + i, “<img src=lp0″ + i + ” />”);
}
TextView htmlTextView2 = (TextView)findViewById(R.id.textView2);
if (android.os.Build.VERSION.SDK_INT >= android.os.Build.VERSION_CODES.N) {
htmlTextView2.setText(Html.fromHtml(mArticle, Html.FROM_HTML_MODE_LEGACY, new ImageGetter(), null)); // for 24 api and more
} else {
htmlTextView2.setText(Html.fromHtml(mArticle, new ImageGetter(),null)); // or for older api
}

 

 

 

https://gist.github.com/thaiall/1e23a3bcf79ee293b6b4baea14bcfd9a

</process>

<website_guide>
+ http://abhiandroid.com/ui/html
+ http://www.grokkingandroid.com/..html-fromhtml/ (webview better)
+ https://developer.android.com/../string-resource.html (&lt;)
+ https://stackoverflow.com/..strings-xml-in-android (spanned)
https://developer.android.com/studio/projects/templates.html
</website_guide>

หมายเหตุ 
ถ้าสนใจติดตามเนื้อหาในบล็อกนี้ สามารถ subscribe ด้วย email ที่อยู่ข้างขวา หรือ click here

รูปแบบบทความ NCCIT

nccit diagram
nccit diagram

ชื่อบทความ (Anasana New ขนาด 20 จุด)
Title (Time New Roman, size 14 points)
ชื่อผู้แต่งไทย1 (English1)1  และชื่อผู้แต่งไทย2 (English Name2)2
1ชื่อภาควิชาหรือหน่วยงาน ชื่อคณะ ชื่อมหาวิทยาลัย
2ชื่อภาควิชาหรือหน่วยงาน ชื่อคณะ ชื่อมหาวิทยาลัย
name1@anywhare.com, name2@anywhere.com

บทคัดย่อ
บทความนี้เป็นตัวอย่างสำหรับการเตรียมการเขียนบทความที่จะส่งให้คณะกรรมการพิจารณาลงพิมพ์ในเอกสารประกอบการประชุม NCCIT บทความนี้จะกล่าวถึงรูปแบบการเขียนบทความ ขนาดตัวอักษรที่ใช้ แบบตัวอักษรที่ใช้ในส่วนต่างๆ
คำสำคัญ: คำค้น1  คำค้น2  คำค้น3  คำค้น4  คำค้น5

Abstract
This paper presents a guideline for preparing a paper to submit to the NCCIT committee for considering publishing in the NCCIT proceeding. The paper describes the format, the sizes, and font types used in each section.
Keyword: word 1, word 2, word 3, word 4, word 5.

1. บทนำ
บทความที่จะส่งต้องใช้กระดาษขนาด A4 (21 ซ.ม. x 29.7 ซ.ม.) จำนวน 6 แผ่น (ห้ามเกินเด็ดขาด) โดยรวมทั้งเนื้อหาและภาพประกอบต่าง ๆ แล้ว   บทความนี้จะกล่าวถึงคู่มือการเขียนบทความทั้งในส่วนของขนาดตัวอักษร การเว้นระยะ และข้อกำหนดอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องในการเขียนบทความสำหรับลงพิมพ์ใน NCCIT Proceeding

2. รูปแบบบทความ
2.1 ขอบเขตกระดาษ
เนื้อหาในบทความต้องอยู่ภายในขอบเขต กว้าง 6-7/8 นิ้ว (17.5 ซ.ม.) และสูง 8-7/8 นิ้ว (22.54 ซ.ม.)  อย่าให้เนื้อหาใดอยู่นอกขอบเขตนี้  เนื้อหาต้องจัดให้อยู่ในสองคอลัมน์ แต่ละคอลัมน์มีความกว้าง 3-1/4 นิ้ว (8.25 ซ.ม.) และมีระยะห่างระหว่างคอลัมน์ทั้งสอง 5/16 นิ้ว (0.8 ซ.ม.) เนื้อหาต้องจัดแบบหน้าและหลังตรง (Justify)
2.2 บทคัดย่อ
บทความที่เขียนเป็นภาษาไทย ต้องมีบทคัดย่อเป็นทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ  สำหรับบทความภาษาไทยใช้คำว่า “บทคัดย่อ” เป็นหัวข้อเริ่มต้น ใช้ตัวอักษรแบบ AngsanaNew ขนาด 16 จุด ตัวหนาและจัดกลาง  เนื้อหาในบทคัดย่อให้ใช้ตัวอักษรแบบ AngsanaNew ขนาด 14 จุด ให้จัดแบบหน้าหลังตรงและตัวอักษรเอียง สำหรับบทความภาษาอังกฤษ ใช้คำว่า “Abstract” เป็นหัวข้อเริ่มต้น ใช้ตัวอักษรแบบ Times New Roman ขนาด 12 จุด ตัวหนาจัดกลางหน้า   เนื้อหาในบทคัดย่อให้ใช้ตัวอักษรแบบ Times New Roman ขนาด 10 จุด ให้จัดแบบหน้าหลังตรงและตัวอักษรเอียง ระยะระหว่างบรรทัด 1.5 จุด  หลังจบบทคัดย่อ ให้เว้นระยะระหว่างบทคัดย่อกับเนื้อหาหลัก 1 บรรทัด บทคัดย่อควรยาวไม่เกิน 3 นิ้ว
บทคัดย่อ ให้เขียนสรุปย่อเกี่ยวกับงานวิจัยที่ทำ โดยกล่าวถึงปัญหาในงานเก่าหรือความต้องการ และกล่าวถึงสิ่งที่ได้นำเสนอเพื่อแก้ไข วัตถุประสงค์ วิธีการดำเนินการ และผลของการดำเนินการวิจัย อย่ากล่าวถึงสิ่งอื่นที่ไม่ได้นำเสนอในบทความ
2.3 เนื้อหาหลัก
ชื่อเรื่องอยู่หน้าแรก ห่างจากขอบบน 1-3/8 นิ้ว (3.49 ซ.ม.) จัดกลางหน้า ตัวหนา ชื่อเรื่องภาษาไทยให้ใช้รูปแบบตัวอักษร AngsanaNew ขนาด 20 จุด  ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษให้ใช้รูปแบบตัวอักษร Times New Roman ขนาด 14 จุด โดยคำนาม คำสรรพนาม คำคุณสรรพ คำกิริยา และคำขยายกิริยา ในภาษาอังกฤษให้ใช้ตัวอักษรพิมพ์ใหญ่นำตัวเดียว ตัวอักษรที่สองเป็นต้นไปใช้ตัวพิมพ์เล็ก  สำหรับคำเชื่อมต่าง ๆ ให้ใช้ตัวอักษรพิมพ์เล็ก และให้เว้นบรรทัดหลังชื่อบทความสองบรรทัด
2.4 ชื่อผู้แต่ง และสถานที่ติดต่อ
สำหรับภาษาไทย ชื่อผู้แต่งและสถานที่ติดต่อ ใช้ตัวอักษร AngsanaNew ขนาด 14 จุด จัดกลางหน้า และตัวเอียง ดังที่แสดงตัวอย่างข้างบน  ถ้าเป็นภาษาอังกฤษให้ใช้ Time New Roman ขนาด 10 จุด ไม่ต้องใส่คำนำหน้าชื่อผู้แต่ง เช่น ยศ หรือตำแหน่ง โดยชื่อภาษาอังกฤษสามารถย่อชื่อต้นได้ เช่น Phayung Meesad อาจใช้ย่อเป็น P. Meesad
2.5 หน้าที่สองเป็นต้นไป
สำหรับหน้าที่สองเป็นต้นไป เนื้อหาให้เริ่มห่างจากขอบบน 1 นิ้ว (2.54 ซ.ม.)  และห่างจากขอบล่าง 1-5/8 นิ้ว (4.13 ซ.ม.) ของกระดาษ A4
2.6 รูปแบบ และชนิดตัวอักษร
ตัวอักษรภาษาไทยใช้ AngsanaNew ขนาด 14 จุด ส่วนภาษาอังกฤษตัวเลข สมการคณิตศาสตร์ ใช้ Times New Roman  ขนาด 10 จุด อย่าใช้ ตัวอักษรชนิด bit map
2.7 รูปแบบอักษรในเนื้อหาหลัก
การพิมพ์เนื้อหาภาษาไทยใช้ตัวอักษร AngsanaNew ขนาด 14 จุด และภาษาอังกฤษใช้ตัวอักษร Times New Roman ขนาด 10 จุด  ถ้าบรรทัดใดเป็นภาษาไทยล้วน หรือภาษาอังกฤษผสมไทย กำหนดระยะระหว่างบรรทัดเป็น single space ถ้าเป็นภาษาอังกฤษอักษรแบบ Times New Roman ให้ใช้ระยะระหว่างบรรทัดเป็น 1.5
ทุกย่อหน้าให้บรรทัดแรกขึ้นต้นที่ประมาณ 1 pica (ประมาณ 1/6-inch หรือ 0.17 นิ้ว หรือ 0.422 ซ.ม.) ใช้จัดย่อหน้าแบบหน้าตรงและหลังตรงทุกย่อหน้า  ไม่ต้องเว้นบรรทัดระหว่างย่อหน้าในหัวข้อย่อยเดียวกัน
สำหรับภาพและตาราง คำว่า “ภาพที่” และ “ตารางที่” AngsanaNew ขนาด 14 จุด ตัวหนา ส่วนรายละเอียดภาพและตารางให้ใช้ตัวอักษร AngsanaNew ขนาด 12 จุด ตัวธรรมดา ตัวอย่าง เช่น
ภาพที่ 1: นี่คือตัวอย่างภาพ
ตารางที่ 1: นี่คือตัวอย่างตาราง
2.8 หัวข้อลำดับที่ 1
ตัวอย่าง เช่น 1. บทนำ ภาษาอังกฤษและตัวเลขใช้ Times New Roman ขนาด 12 จุด ตัวหนา   ภาษาไทยใช้ AngsanaNew ขนาด 16 จุด ตัวหนา จัดชิดด้านซ้าย เริ่มต้นที่ด้านซ้านสุด ไม่ต้องมีย่อหน้า  เว้นบรรทัดหนึ่งบรรทัดก่อนหัวข้อลำดับที่หนึ่ง 1 บรรทัด และหลังหัวข้อลำดับที่หนึ่ง 1 บรรทัด ใช้จุด (“.”) หลังตัวเลขหัวข้อ (ตัวอย่างจากการเขียนเอกสารนี้)
2.9 หัวข้อลำดับที่ 2
ภาษาอังกฤษและตัวเลขใช้ Times New Roman ขนาด 11 จุด ตัวหนาและจัดแบบชิดซ้าย ส่วนชื่อหัวข้อภาษาไทยใช้ตัวอักษร AngsanaNew ขนาด 14 จุด ตัวหนา เว้นหนึ่งบรรทัดก่อนขึ้นหัวข้อลำดับที่ 2  ไม่ต้องเว้นบรรทัดหลังหัวข้อลำดับที่ 2 ให้ขึ้นเนื้อหาได้เลย (ให้ดูตัวอย่างจากการเขียนเอกสารนี้ประกอบ)

3.  การเขียนเนื้อหาหลัก
เนื้อหาหลักควรประกอบด้วยหัวข้อดังต่อไปนี้ 1. บทนำ   2. วิจารณ์วรรณ หรืองานวิจัยที่เกี่ยวข้อง  3. วิธีการใหม่ที่นำเสนอ/ขั้นตอนวิธีการดำเนินการวิจัย  4. ผลการดำเนินการวิจัย  และ  5. สรุป
3.1 บทนำ
บทนำหรือความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา โดยกล่าวถึงงานวิจัยในปัจจุบันมีสถานะเป็นอย่างไร งานวิจัยหรือสิ่งที่เป็นอยู่ในปัจจุบันมีปัญหาอะไร ให้ระบุปัญหาให้ชัดเจน มีวิธีการอะไรที่ใช้แก้ไขได้บ้างในปัจจุบัน สิ่งที่มีอยู่ในปัจจุบันยังต้องการสิ่งใดที่จะทำให้ดีขึ้น ผู้เขียนจะนำเสนอสิ่งใดเพื่อแก้ไขหรือตอบสนองความต้องการนั้นๆ ระบุวัตถุประสงค์ของงานวิจัยให้ชัดเจน งานที่ทำนี้เป็นสิ่งใหม่ที่การดำเนินการมาก่อน เป็นงานที่ประยุกต์มาจากงานอื่น เป็นงานประดิษฐ์ เป็นการเปรียบเทียบระหว่างสิ่งเก่ากับสิ่งเก่า เป็นการเปรียบเทียบสิ่งเก่ากับสิ่งที่พัฒนาขึ้นใหม่ เป็นการหาผลสัมฤทธิ์ของวิธีการหรือสิ่งที่พัฒนาขึ้นในงานนี้ เป็นต้น
3.2 วรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง
เป็นการกล่าวถึงทฤษฎีและงานวิจัยต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัยนี้ ทฤษฎีที่ใช้ในเป็นพื้นฐานสำหรับทำวิจัยนี้ โดยให้นำเสนอเฉพาะสิ่งที่เกี่ยวข้องจริง ๆ หรือที่ใช้จริง ทฤษฎีที่ไม่เกี่ยวข้องโดยตรงไม่ต้องนำเสนอ ส่วนงานวิจัยของผู้อื่นให้วิจารณ์จุดดีจุดด้อยของงานที่เกี่ยวข้อง และระบุปัญหาของงานเก่าเหล่านั้นว่ายังต้องการพัฒนาหรือทำอะไรต่อ ทั้งนี้เพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจในความแตกต่างระหว่างงานเก่าและงานวิจัยใหม่ที่นำเสนอในครั้งนี้ โดยใช้การอ้างอิงจากเอกสารงานวิจัยต่าง ๆซึ่งควรมีความใหม่ ควรมีจำนวนเอกสารอ้างอิงประมาณ 10-20 เรื่อง
3.3 วิธีการดำเนินการวิจัย
เป็นการนำเสนอนวัตกรรมที่นำเสนอ เทคนิคใหม่ที่นำเสนอ หรือ การประยุกต์ใช้ทฤษฎีเก่า  รวมทั้งการนำเสนอวิธีการดำเนินงานวิจัย โดยแสดงขั้นตอนในการออกแบบ การพัฒนา การทดลอง การทดสอบ การหาประสิทธิภาพ และการหาผลสัมฤทธิ์ของงาน   ถ้าเป็นนวัตกรรมใหม่ ต้องแสดงถึงขั้นตอนการออกแบบ การสร้าง การทดสอบ ถ้ามีการใช้ทฤษฎีของผู้อื่นต้องอ้างอิงไปที่ต้นฉบับด้วย ถ้าเป็นสิ่งที่ต้องการพิสูจน์ต้องมีขบวนการพิสูจน์ทางคณิตศาตร์ หรือการจำลองสถานการณ์ด้วย ในการนำเสนอเทคนิคใหม่ควรมีการศึกษาเปรียบเทียบกับสิ่งเก่าด้วย  ถ้าเป็นงานประเภทประยุกต์ ต้องระบุถึงวิธีและเทคนิคที่ใช้มีอะไรบ้างและอ้างอิงจากที่ใด ระบุขั้นตอนการประยุกต์ การออกแบบระบบ การทดสอบ และอื่นๆ
3.4 ผลการดำเนินงาน
เป็นการอธิบายผลการการดำเนินงาน เช่น หน้าจอระบบที่ได้ ผลการทดสอบในกรณีต่างๆ ผลการหาผลสัมฤทธิ์ ผลการเปรียบเทียบ เป็นต้น
3.5 สรุป
กล่าวถึงสิ่งที่ทำทั้งหมด เริ่มจากมีปัญหาอะไร นำเสนอสิ่งใดในการแก้ปัญหา มีวิธีการทำอย่างไร ได้ผลลัพธ์อย่างไร และควรมีการอภิปรายถึงเหตุผลจากผลการวิจัย ตลอดจนการวิเคราะห์ว่างานวิจัยนี้มีปัญหาอะไรอีกบ้างที่ต้องการแก้ และจะทำวิจัยอะไรต่อในอนาคต

4. เลขหน้า
ไม่ต้องใส่เลขหน้าในบทความ

5. ภาพประกอบต่างๆ
ภาพทุกภาพให้ใช้ภาพสีขาวดำหรือสีเทาที่คมชัด ไม่ใช้ภาพสี ขนาดกว้างไม่เกินหนึ่งคอลัมน์

6. การส่งบทความ
ส่งบทความที่ได้รับการจัดรูปแบบ เขียนตามคำแนะนำ และพิสูจน์อักษรแล้ว (ไม่เกิน 6 หน้า) โดย ปิดชื่อเจ้าของบทความและสถาบัน ไม่ลงเลขหน้า สามารถส่งเอกสารเพื่อพิจารณาลงพิมพ์ เป็นแบบอิเล็กทรอนิกส์ในรูปแบบ pdf ไฟล์ (ควรทดลองพิมพ์ออกทางเครื่องพิมพ์เพื่อตรวจดูคุณภาพให้เรียบร้อย) ก่อนส่งไปที่ https://www.easychair.org/login.cgi?conf=nccit2012

7. การอ้างแหล่งที่มาของเอกสารอ้างอิง
การอ้างอิงในเนื้อหา ให้อ้างเป็นตัวเลขในวงเล็บสี่เหลี่ยมเช่นกัน เช่น [1], [2], [3]  โดยจะถูกแสดงไว้ที่ เอกสารอ้างอิงท้ายบทความ ซึ่งใช้เป็นตัวเลขในวงเล็บสี่เหลี่ยม ตามลำดับการอ้างในเนื้อหา ในรายการเอกสารอ้างอิง เอกสารภาษาอังกฤษใช้ Times New Roman ขนาด 9 จุด ระยะระหว่างบรรทัดเป็น 1.5 และภาษาไทยใช้ AngsanaNew ขนาด 12 จุด ระยะระหว่างบรรทัดเป็น single spacing
ชื่องานวิจัยที่อยู่ใน Journal, Transactions, Magazine, หรือใน proceedings ของงานประชุมวิชาการ ให้เขียนอยู่ในเครื่องหมายคำพูด “ “  ส่วนชื่อ Journal, Transactions, Magazines, หรือ Proceedings ให้ใช้ตัวอักษรแบบเอียง
สำหรับเอกสารอ้างอิงประเภทหนังสือ ชื่อหนังสือ ให้ใช้ตัวอักษรแบบเอียง ตามด้วยสำนักพิมพ์ เมืองที่พิมพ์ และปีที่พิมพ์

เอกสารอ้างอิง
[1]    P. P. Lin, and K. Jules, “An intelligent system for monitoring the microgravity environment quality on-board the International Space Station,” IEEE Trans. on Instrumentation and Measurement, vol. 51, no. 5, pp. 1002-1009, 2002.
[2]     P. K. Simpson, “Fuzzy min-max neural networks-part 1: classification,” IEEE Trans. Neural Networks, vol. 3, no. 5, pp. 776-786, 1992.
[3]    S. Wu and T. W. S. Chow, “Induction machine fault detection using SOM-based RBF neural networks” IEEE Trans. on Industrial Electronics, vol. 51, no. 1, pp. 183-194, 2004.
[4]    P. Meesad, “A One Pass Algorithm for Generating Fuzzy Rules from Data” The 8th National Computer Science and Engineering Conference (NCSEC 2004), Hat Yai , Songkhla, Thailand, Oct 21-22, 2004.
[5]     P. Meesad and G. Yen, “Fuzzy Temporal Representation and Reasoning,” Proceedings of the IEEE International Symposium on Circuits and Systems (ISCAS03), Bangkok, Thailand, May 25-May 28, 2003, Vol. 5, pp.789-792.
[6]    P. Meesad and G. Yen, “Combined Numerical and Linguistic Knowledge Representation for Medical Diagnosis,” IEEE transactions on Systems, Man, and Cybernetics-Part A: systems and humans, Vol.33, No. 2, pp. 206-222, 2003.
[7]     P. Meesad and G. Yen, “Accuracy, Comprehensibility, and Completeness Evaluation of a Fuzzy Expert System,” International Journal of Uncertainty, Fuzziness and Knowledge-Based Systems (IJUFKS), Vol. 11, No. 4, pp. 445-466, 2003.
[8]     พยุง มีสัจ และ สมิช บัตรเจริญ, “การเปรียบเทียบผลพยากรณ์ปริมาณเลขหมายของชุมสายโทรศัพท์ระหว่างการถดถอย พหุคูณกับโครงข่ายประสาทเทียม” วารสารวิชาการพระจอมเกล้าพระนครเหนือ  ปีที่ 15 ฉบับที่ 2 เม.ย.-มิ.ย. 2548 หน้า 54-64.
[9]    พยุง มีสัจ และ สมพิศ โยมา, “ระบบสารสนเทศสำหรับงานการจัดการเรียนการสอนของระบบงานทวิภาคี,” วารสารพัฒนาเทคนิคศึกษา ปีที่ 16 ฉบับที่ 51 กรกฎาคม-กันยายน พ.ศ. 2547 หน้า 69-75.
[10]    Elaine Rich and Kevin Knight, Artificial intelligence, McGraw-Hill: New York, 1991.

http://www.nccit.net/paper_submission.html
http://www.nccit.net/download/Format_for_Thai_NCCIT2013.doc
http://www.scribd.com/doc/129217081/
http://www.thaiall.com/project/nccit07.htm

Google ไดรฟ ใช้เป็นเครื่องมือทำงานร่วมกับผู้อื่นในการพัฒนาเว็บไซต์ได้

wire frame
wire frame

ด้วย Google ไดรฟ์ คุณจะสามารถสร้าง แชร์ และเก็บไฟล์ทั้งหมดไว้ในที่เดียว ไม่ว่าจะเป็นการระดมความคิดจัดทำเนื้อหาเว็บไซต์ แชร์ไฟล์รูปภาพกับนักออกแบบของคุณ หรือสร้างแบบร่างไวร์เฟรมใหม่ (WireFrame = screen blueprint) ล้วนสำเร็จได้ใน “ไดรฟ์” และคุณยังสามารถเข้าถึงข้อมูลของคุณได้จากทุกที่ ผ่านอุปกรณ์สื่อสารอันหลากหลาย ไม่ว่าขณะท่องเว็บ อยู่บ้าน ที่ทำงาน หรือทำธุระนอกสถานที่
+ http://adsense.blogspot.com/
+ http://www.fivetechnology.com/blog/2008/10/01/web-design-process-a-focus-on-wireframes-layout/