การปรับโค้ดซีชาร์ปกับเอเอสพีดอทเน็ต

เมื่อวานนั่งแก้โค้ดเก่า
ที่เคยทำงานบนวินเซิร์ฟศูนย์แปด
ให้ทำงานบนรุ่นสองศูนย์สิบหก
เพราะเพื่อนเก่ารุ่นน้องเค้าทักถามมา
เค้าใช้เอเอสพีดอทเน็ตกับซีชาร์ป
ทีแรกคิดว่าเป็นเอเอสพีคลาสสิก
พอได้เห็นโค้ดถึงรู้ว่าฟอร์มหลัก
ใช้เอเอสพีดอทเน็ต และ
โค้ดใช้ซีชาร์ปควบคุมการติดต่อ
และเชื่อมฐานเอสคิวแอลเซิร์ฟเวอร์
.
พอดีเช่าโฮสต์
ที่เป็นวินโดว์ไว้ตัวหนึ่ง
เคยทำระบบสมาชิกให้สมาคม
ตอนนั้นใช้แอคเซสรุ่นเก่าเก็บข้อมูล
พอมีกฎเรื่องความเป็นส่วนตัว
ก็ได้หยุดบริการลงไป
เหลือเพียงบล็อกข้อมูล
ที่ใช้ฐานข้อมูลมายเอสคิวแอล
.
เมื่อได้นำโค้ดมารัน
พบว่า นโยบายการเขียนโค้ด
เปลี่ยนไปในเครื่องรุ่นสองศูนย์สิบหก
รูปแบบเดิมใช้ไม่ได้เยอะทีเดียว
ทำให้ต้องแก้โค้ดอยู่พอควร
.
การเปลี่ยนที่สำคัญ เช่น
คำสั่งในเอเอสพีดอทเน็ต
เป็น case sensitive แล้ว
การเขียนและเรียกใช้คลาส
ต้องอยู่ในแฟ้มซีชาร์ปเดียวกัน
จะแบ่งคลาสไปเขียนแยกแฟ้ม
แล้วมีตัวหลักเรียกมารวมกันไม่ได้
และการสั่ง response หรือแสดงผล
ทำไม่ได้ในกรณีที่เป็นเว็บแอป
ในโค้ดนี้ใช้การส่งค่ากลับมาที่ฟอร์ม
ผ่านตัวแปรแบบ cookie
.
ตัวอย่างนี้เน้นทดสอบการเชื่อมต่อ
แบบ ole กับ mysql
และการทำงานแบบ User interface
ของฟอร์มหลัก
หากจะทดสอบโค้ดต้องมี
โฮสต์ ฐานข้อมูล ผู้ใช้และรหัส
ขอให้โชคดีกับการทดสอบเชื่อมต่อครับ
.
เคยเขียนบทเรียนออนไลน์
เรื่องเอเอสพีคลาสสิก
เอเอสพีดอทเน็ต และซีชาร์ป
รวมถึงหนังสือรวมโค้ดเล่มหนึ่ง
ถ้ามีโอกาสก็จะไปปรับโค้ด
ให้เป็นปัจจุบันยิ่งขึ้น

C#
ASP.Net

https://fb.watch/q2Jwj_qIzJ/

บริการพื้นที่สร้างโฮมเพจสำหรับนักเรียน

#บริการพื้นที่สร้างโฮมเพจสำหรับนักเรียน

http://www.thainame.net/home/

ในอดีตนักเรียน นักศึกษา
มีโฮมเพจเป็นของตนเองได้โดยง่าย
มีได้คนละหลายไซต์ในหลายระบบ
เพื่อนำเสนอเนื้อหาที่ตนเองสนใจ
ด้วยการโค้ดดิ้งภาษา Html
เพื่อสร้างสื่อนำเสนอผลงานอย่างเป็นระบบ
เผยแพร่ให้เพื่อน ครู และแลกเปลี่ยนกัน

ปัจจุบันครูสามารถหาโค้ดนำไปวาง
บนเครื่องบริการของโรงเรียน
หรือในห้องคอมพิวเตอร์
เพื่อให้นักเรียนได้ใช้บริการเป็นเวที
แบ่งปันผลงานในรูปโฮมเพจ
ซึ่งช่วยให้คุณครูประเมินผลสัมฤทธิ์
ประเมินเทคนิกการสร้างพื้นที่การเรียนรู้
และแสดงผลงานนักเรียนได้โดยง่าย

Thainame.net

#เล่าสู่กันฟัง 63-032 ฐานข้อมูลต่างรุ่น

ผู้ให้บริการแต่ละราย ให้บริการเครื่องโฮส
ที่มีภาษา และฐานข้อมูลต่างรุ่นกันไป
บางเครื่องมีภาษาให้เลือกเปลี่ยนได้ง่าย
บางเครื่องมีฐานให้เลือกติดตั้ง
แต่เปลี่ยนหลังติดตั้งไปมาไม่ได้

ภาพตัวอย่างพูดถึงรุ่นของ mysql
ระหว่าง 5.5.30 และ 5.6
ที่บางระบบกำหนดฐาน รุ่น 5 ไว้ให้
ปัจจุบันพัฒนาไปถึง Mariadb 10.5 กับ Mysql 8
แต่เครื่องที่ผมมีใช้ 5.0.12 กับ php7
ที่ http://www.thaiall.com/moodle

เครื่องที่ใช้คือแชร์เครื่อง
ไม่ใช่เครื่องที่ติดตั้ง xampp หรือ appserv

มีโปรแกรมเก่า wp ที่ถูกบังคับเปลี่ยน
ให้ใช้ภาษารุ่น 7 ทำงานกับฐานรุ่น 5 ได้
แต่กับ moodle ไม่ได้ออกแบบให้ทำกับ
ฐานรุ่น 5 ต้องแก้ไข code
ทั้ง deprecated และ constructor
แล้วก็ไปเล่าเรื่องการเปลี่ยน script
ที่ http://www.thaiall.com/php/php7.htm

ถ้ามีโอกาสก็จะเล่าเรื่อง glossary
บน moodle
ใน http://www.thaiall.com/e-learning

พูดคุยแลกเปลี่ยนใน github

อ้างอิง
https://en.m.wikipedia.org/wiki/MySQL

https://en.m.wikipedia.org/wiki/MariaDB

https://www.000webhost.com/forum/t/mysql-version-with-pro-and-free-hosting/61652

ใคร ๆ ก็มี พอสมัคร firebase เสร็จ ก็สร้าง project กันเลย

 

ใคร ๆ ก็ใช้ firebase เป็น webserver ของตนเอง
แต่การเริ่มต้นทำได้ด้วยการสร้าง project
เรามาเริ่มต้นสร้าง project กันเถอะ

01 firebase
01 firebase

ขั้นตอน
1. เริ่มต้นสมัคร gmail.com ก็จะได้บัญชี google.com
แล้วเข้า firebase.com จะพบหน้า “ยินดีต้อนรับกลับสู่ Firebase”
เห็นข้อความนี้เพราะเข้าไปหลายรอบแล้ว

02 project
02 project

2. ถ้ายังไม่มี project หรือโครงการ
จะพบปุ่ม “สร้างโครงการใหม่”
ระบุชื่อโครงการ “myproject1”
ระบุประเทศ “ไทย”

 

03 hosting
03 hosting

3. พบหน้า project สามารถเลือกได้
ว่าจะ
เพิ่ม Firebase ไปยังแอป iOS ของคุณ
เพิ่ม Firebase ไปยังแอป Android ของคุณ
เพิ่ม Firebase ไปยังแอปของคุณ
ถ้ายังไม่ถนัดการเขียนแอป ก็ยังไม่ต้องคลิ๊กเข้าไป “เพิ่ม”
จึงแนะนำให้ไปฝึกใช้ Storage กันก่อน
เพราะส่งแฟ้มเข้าไปแล้ว
สามารถแชร์เว็บเพจออกมาได้เลย
แต่เป็น .htm หรือแฟ้มมัลติมีเดียร์ที่ไม่ลิงค์กันนะครับ

04 node.js
04 node.js

4. คลิ๊ก “hosting” เพื่อการสร้างเว็บโฮสติ้งเผยแพร่เรื่องราว
คลิ๊ก “เริ่มต้น”
จะพบคำแนะนำให้ใช้ $ npm install -g firebase-tools
จะทำได้ต้องติดตั้ง Node.js ในเครื่องก่อน
โดยเข้า https://nodejs.org/en
download รุ่น V6.9.1 LTS เมื่อ 19 พ.ย.59
ได้แฟ้ม node-v6.9.1-x86.msi ขนาด 10.9 MB
จากนั้นก็คลิ๊กติดตั้งให้เรียบร้อย เพื่อใช้ Node.js

5. รายละเอียดอีกเยอะ
อ่านเพิ่มเติมที่ http://www.thaiall.com/blog/burin/7733/
ผลการใช้งาน ได้เว็บนางสาวแกรด์ 76 จังหวัด
ที่ https://missgrand2016th.firebaseapp.com

การใช้บริการ hosting บน firebase.com เบื้องต้น

หน้าแรกของ firebase
หน้าแรกของ firebase

เค้าว่า Firebase ดีอย่างนู้น อย่างนั้น อย่างนี้ ต้องลองจะได้เห็นกับตา
ก็อ่านมาแล้วว่าดีอย่างไร แต่สิบปากว่าไม่เท่าตาเห็น สิบตาเห็นไม่เท่าลงมือคลำ
1. เริ่มต้นกับการเข้าเว็บไซต์ firebase.com
2. คลิ๊กปุ่ม See our new website เพราะเค้าบอกว่าเค้าปรับไซต์ใหม่
3. คลิ๊กปุ่ม GET STARTED FOR FREE
4. พบหน้า Sign in ของ account.google.com แสดงว่า firebase เชื่อมกับ google
เหมือนกับเว็บไซต์มากมายที่เชื่อมกับ facebook เช่น chilindo.com เป็นต้น
ถ้าระแวงไม่กล้าใช้อีเมลของ gmail.com ก็แนะนำให้สมัครใหม่เลยครับ
แต่ผมว่าไม่มีอะไรนะครับ เพราะ url ด้านบนก็ชัดเจนว่าเชื่อมต่อกันถูกต้อง
5. เข้าหน้า Welcome to Firebase คลิ๊ก CREATE NEW PROJECT
Project name = “missgrand2016th”
Country/region = “Thailand”
แล้วคลิ๊ก CREATE PROJECT

https://missgrand2016th.firebaseapp.com
https://missgrand2016th.firebaseapp.com

6. คลิ๊ก GET STARTED ในหัวข้อ Hosting เพราะผมสนใจหัวข้อนี้
7. เค้าอธิบายว่า Deploy web and mobile web apps in seconds using a secure global content delivery network
แล้วมีปุ่มให้คลิ๊ก GET STARTD เพื่อยืนยันว่าเราเข้าไม่ผิดที่
เพราะตั้งใจ ปรับใช้ (deploy) ทั้ง web และ mobile web apps จริง ๆ
8. พบหน้า Set up hosting มี 2 ขั้นตอน คือ 1. Install และ 2. Deploy
เว็บแสดงคำว่า “$ npm install -g firebase-tools” ให้ดู
คลิ๊ก Continue
9. แล้วแสดงคำว่า
Sign in to Google: “$ firebase login”
Initiate your project: “$ firebase init”
Deploy your website: “$ firebase deploy”
คลิ๊ก FINISH
10. หน้า DASHBOARD แสดงคำว่า
https://missgrand2016th.firebaseapp.com
คลิ๊ก CONNECT CUSTOM DOMAIN
11. พบหน้า Connect custom domain มี 3 ขั้นตอน คือ 1. Add domain 2. Verify ownership 3. Go live
ไม่ต้องเข้าไปนะครับ ถ้ายังไม่มี domain name ที่จะเข้าไปเชื่อม
12. ไป download โปรแกรม Node.js
จาก https://nodejs.org/en/ แล้วติดตั้ง
ผมได้มารุ่น 4.4.7 สกุล .msi ขนาด 9.60 MB
แล้วอ่านคำแนะนำจาก http://www.artit-k.com/firebase-hosting/
เขียนโดย http://www.artit-k.com/author/Ethan/
13. บน Win8 ทำการ Search หา “Node.js command prompt” แล้วก็ run as administrator
จะพบหน้าต่างที่มี C:\Windows\system32>
14. พิมพ์คำสั่ง C:\Windows\system32>npm install -g firebase-tools ในหน้าต่าง Command prompt
มีรายงานออกมา 1 หน้า เป็นรายการ module ที่ติดตั้งไปทั้งหมด
15. พิมพ์คำสั่ง firebase login แล้วตามด้วย Y + Allow access
แล้ว sign in ผ่านระบบ account.google.com
พบหน้า Firebase CLI ต้องการ ก็ให้คลิ๊ก อนุญาต
จะพบหน้า Firebase login succeeded
มีคำว่า You’re now signed in to the Firebase CLI.
You may immediately close this window and continue using Firebase from the terminal.
ปิด browser แล้วกลับเข้า Command prompt
16. พิมพ์คำสั่ง d: แล้ว cd /firebase ซึ่งเป็นห้องที่สร้างไว้แล้วสำหรับงานนี้
แล้วพิมพ์คำสั่ง firebase init แล้วตามด้วย Y
แล้วกดปุ่ม enter ยืนยันบริการ database กับ hosting ที่เลือกไว้
แล้วกดลูกศรลง เลือก “missgrand2016th” แล้วกด enter
แล้วถาม database.rules.json ก็กด enter
แล้วถาม public directory ก็กด enter
แล้วถาม index.html ก็กด y
17. พบว่าใน d:\firebase มี 3 แฟ้ม
คือ .firebaserc , database.ruels.json และ firebase.json
แล้วใน d:\firebase\public พบ index.html
18. ลองเปิด https://missgrand2016th.firebaseapp.com
ยังพบคำว่า site not found เหมือนก่อนเข้า Node.js
19. พิมพ์คำสั่ง firebase deploy ซึ่งเป็นการอัพโหลดแฟ้มทั้งหมดไปยัง firebaseapp.com
ผลคือ Deploy complete ก็จะพบกับหน้าเว็บ

firebase in command promptfirebase in command prompt
20. หลังปรับปรุงแฟ้ม index.html และเพิ่มภาพเข้าไป 228 แฟ้ม
แล้วสั่ง firebase deploy ใหม่ ก็พบว่า Deploy complete อีกครั้ง
การสั่ง deploy แต่ละครั้งจะ upload แฟ้มทั้งหมดใหม่
เป็นการ deploy ใหม่หมด ไม่ได้ทำเฉพาะแฟ้มที่มีการ update

หน้าแรกของโฮมเพจที่ deploy แล้วหน้าแรกของโฮมเพจที่ deploy แล้ว
21. ถ้าลบ 227 ภาพในห้อง public เหลือแต่ index.html แล้วสั่ง firebase deploy ใหม่
ก็จะ upload และ update เฉพาะแฟ้ม index.html นั้น
ทำให้แฟ้มอื่นใน firebaseapp.com หายไปหมด เพราะถือเป็นการ upload ยกเซต

สถิติการ deployสถิติการ deploy
22. เวลาในการอัพโหลดผ่าน firebase deploy สำหรับ 228 แฟ้ม รวมขนาด 18 MB
ผ่าน ADSL ใช้เวลาประมาณ 2 นาทีครึ่ง นานขณะที่ preparing public directory
23. ต้องการใช้บริการควบคุม firebase ผ่าน browser
ก็พิมพ์คำสั่ง firebase open
24. การแสดงผลภาษาไทย แก้ไขผ่าน meta charset ไม่ได้
ต้องใช้ editor ทำการ save as .html เป็น utf8 แล้วการกำหนด charset จึงจะมีผล