เฟสบุ๊คโฮแอ็ค

ภาพนี้คือ “โฮแอ็ค (hoax)”

เป็นการใช้ความห่วงใยต่อข้อมูลภาพในเฟสบุ๊ค (privacy) แล้วชวนชาวเฟสโพสต์ข้อความในเฟสบุ๊คต่อ ๆ กันไป เพื่อแจ้งให้ผู้เกี่ยวข้องทราบว่าเราไม่อนุญาตให้มีการนำภาพของเราไปใช้ที่อื่น

คำถามสำคัญคือ วิธีนี้ใช้ได้ผลจริงหรือ

หรือเป็นเพียงไวรัสแบบ hoax เท่านั้น

หรือไม่ต้องทำ facebook ก็ทำให้อยู่แล้ว

 

hoax
hoax

ทุกขลาภลวงออนไลน์ (itinlife543)

แฟนเพจปลอม
แฟนเพจปลอม

ปัจจุบันข้อมูลข่าวสารในโลกไซเบอร์แพร่กระจายอย่างรวดเร็ว บางคนก็รับข้อมูลข่าวสารโดยไม่มีการกลั่นกรอง รับข่าวทุกแหล่งและปักใจเชื่อทุกเรื่องราว บางคนอยู่ในโลกไซเบอร์แต่ไม่รับข้อมูลข่าวสารเลยก็มี บางคนรับข้อมูลมาแต่ไม่ได้กลั่นกรองเก็บเป็นความรู้ฝังลึก บางคนทำตัวเป็นผู้พิพากษาตัดสินผู้คนว่าผิดถูกด้วยข้อมูลอันน้อยนิด กระแสแจกทองผ่านการส่งเลขใต้ฝาขวดเครื่องดื่มเพื่อชิงโชค ทำให้มีผู้คนไม่น้อยร่วมกิจกรรม แล้วมิจฉาชีพก็อาศัยกระแสนี้สร้างแฟนเพจปลอมในเฟสบุ๊คในชื่อเดียวกันจนมีคนเข้าใจผิดคิดว่าเป็นแฟนเพจของจริงที่จะแจกทอง เข้าไปร่วมกดไลค์ กดแชร์ และกดคอมเมนท์กันอย่างสนุกสนาน

เมื่อ 12 มีนาคม 2559 มีข่าวว่ามิจฉาชีพสร้างบัญชีปลอมในเฟสบุ๊ค แล้วหลอกสาวอายุ 39 ปีว่าเป็นผู้โชคดีที่ได้เงิน 10 ล้านกับรถเบนซ์ 1 คัน แต่แลกกับการส่งบัตรเติมเงินทรูมันนี่ 2000 บาท เป็นการลงทุนที่ต่ำมาก เมื่อเทียบกับลาภก้อนโตที่กำลังจะได้ สาวพิจารณาแล้ว แม้รู้ว่าเสี่ยงแต่ก็ยอมและส่งภาพบัตรเติมเงินของทรูมันนี่พร้อมรหัสไปให้ เมื่อส่งไปและเงินในบัตรถูกโอนออกไปแล้ว พบว่าเฟสบุ๊คของมิจฉาชีพได้ปิดตัวหนีไป จึงรู้ตัวว่าถูกหลอกและเข้าแจ้งความ ปัญหาทำนองนี้ไม่ใช่ครั้งแรก และไม่ใช่ครั้งสุดท้าย เชื่อว่ามีการหลอกลวงแบบนี้เกิดขึ้นตลอดเวลา แต่ที่เราทราบและปรากฏมาเป็นข่าวมีเพียงส่วนน้อย เพราะส่วนหนึ่งไม่แจ้งความ และที่แจ้งความก็อาจไม่มีนักข่าวนำมาเขียนข่าว

ความโลภที่อยากได้มากแต่ลงทุนน้อยเป็นกันได้ทุกคน มิจฉาชีพอาศัยความโลภในใจของมนุษย์ดำเนินการในลักษณะที่เรียกว่า ตกทอง โดยใช้สิ่งมีค่ามากมาล่อหลอก แลกกับค่าใช้จ่ายหรือทรัพย์สินที่มีค่าน้อยกว่า เมื่อเห็นว่าตนเองจะได้ประโยชน์มากกว่าก็ยอมแลก กว่าจะรู้ก็พบว่าถูกหลอกและไม่ได้ลาภก้อนโตดังที่คาดไว้ ที่เป็นเช่นนี้ก็อาจเป็นเพราะไม่ติดตามข่าวสารที่ปรากฏตามสื่อ ไม่ตระหนักข้อมูลจากข่าวตกทองที่ปรากฏให้เห็นบ่อยครั้ง ด้วยวิธีการที่หลากหลายแปลกใหม่ อาทิ หลอกให้ไปกดเงินที่ตู้เอทีเอ็ม หลอกว่าจะโอนเงินหลายสิบล้านขอให้โอนค่าใช้จ่ายไปให้ก่อน หลอกว่าเป็นหนุ่มหล่อการงานดีจะแต่งงานด้วยแต่ต้องใช้เงิน หลอกโอนเงินค่ารับพัสดุที่ส่งมาจากต่างประเทศ หลอกให้ส่งบัตรทรูมันนี่พร้อมรหัสไปให้ จะมีเทคนิคใดที่แปลกใหม่กว่าที่กล่าวไว้ข้างต้น คงต้องติดตามในสื่อกันต่อไป เพราะเชื่อได้ว่าข่าวนี้จะไม่ใช่ข่าวสุดท้าย ยังมีผู้คนอีกมากไม่ได้อ่านข่าวเหล่านี้ หรืออ่านแล้วไม่ได้เก็บมาใส่ใจ แล้วนำมาเป็นข้อมูลเตือนตนเองเมื่อต้องอยู่ในสถานการณ์ที่ต้องตัดสินใจว่าจะลงทุนยอมเสี่ยงแลกลาภก้อนโตหรือไม่

http://hilight.kapook.com/view/134015