10 เหตุผลที่ภาครัฐไม่ควรระงับ facebook.com

Ban Social Media
Ban Social Media
10 เหตุผลที่ภาครัฐไม่ควรระงับ facebook.com

1. ใช้ทำ GSR (Government Social Responsibility) กับประชาชน
2. ใช้สื่อสารกับเพื่อนร่วมกระทรวง ทบวง กรม เพื่อแลกเปลี่ยนข่าวสาร แบบส่วนตัวได้ตลอดเวลา
3. ใช้รับส่งข้อมูลข่าวสารระหว่างผู้บังคับบัญชา กับผู้ใต้บังคับบัญชา แบบส่วนตัวได้ตลอดเวลา
4. ใช้ fb page เพื่อประชาสัมพันธ์กิจกรรมของหน่วยงานแก่ประชาชน
5. ใช้ fb group เพื่อสื่อสารในหน่วยงาน ในกรม หรือในกลุ่มที่ทำ workshop แบบ KM
6. ใช้รับส่งแฟ้ม ฝากแฟ้มข้อมูล หนังสือต่าง ๆ ผ่านบริการ upload file ใน fb group
7. ใช้เป็นแหล่งรับเรื่องร้องเรียน ตอบข้อซักถาม ชี้แจงประเด็นที่สังคมสนใจแก่ประชาชน
8. ใช้ทำอีเลินนิ่ง ทั้งเอกสาร เสียง หรือคลิ๊ปวีดีโอ ให้เกิดความเข้าใจในระบบต่าง ๆ ที่พัฒนาตลอดเวลา
9. ใช้เป็นช่องทางที่แสดงความโปร่งใส่ในการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร กรณีมีการตรวจสอบจาก สตง.
10. ใช้เป็นแหล่งถ่ายทอดสื่อมัลติมีเดีย เผยแพร่คลิ๊ปที่มีเนื้อหาเชิงนโยบายของหัวหน้าสำนักงาน ผู้ว่า หรือรัฐมนตรี
เจตนา คือ ชวนคิดครับ

มหาดไทย ส่งหนังสือถึงผู้ว่าฯ ห้ามข้าราชการเล่นเฟซบุ๊ก

ด้วยศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย ซึ่งมีหน้าที่รับผิดชอบการใช้งานระบบอินเทอร์เน็ตของสำนักงานปลัดกระทรวง มหาดไทย ได้ตรวจสอบการใช้งานของระบบอินเทอร์เน็ตในรอบ 8 เดือน ในปีงบประมาณ 2555 พบว่าโดเมนที่มีจำนวนการเรียกใช้มากที่สุด 10 อันดับแรก ปรากฏว่าเป็นการใช้บริการดาวน์โหลดข้อมูลภาพและเสียง ซึ่งเกือบทั้งหมดเป็นเว็บไซต์ของต่างประเทศและมีการเรียกใช้มากในลักษณะออ นไลน์ เช่น www.facebook.com เป็นต้น ซึ่งการใช้งานดังกล่าวไม่เป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติงานราชการ ทำให้สิ้นเปลืองช่องสัญญาณ (Bandwidth) จำนวนมาก

ดังนั้น เพื่อให้การบริหารจัดการใช้งานระบบอินเทอร์เน็ตของสำนักงานปลัดกระทรวง มหาดไทยเกิดประโยชน์สูงสุด สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทยจึงได้กำหนดมาตรการการใช้งานระบบอินเทอร์เน็ต โดยระงับการเข้าถึง Website ที่ให้บริการดาวน์โหลดข้อมูลภาพและเสียงที่ไม่เป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติงาน บางเว็บไซต์ และงดการใช้งานเว็บออนไลน์ เช่น www.facebook.com ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2555 เป็นต้นไป ในช่วงระหว่างเวลา 08.30-12.00 น. และ 13.00-16.30 น.

จึงเรียนมาเพื่อทราบ และแจ้งผู้ปฏิบัติงานในสังกัดทราบและถือปฏิบัติตามมาตรการดังกล่าวต่อไป

พลังจ่ายภาครัฐกับภาคเอกชน

11 มิ.ย.54 มีโอกาสคุยกับผู้รับเหมาเดินสายระบบเครือข่าย ที่ช่ำชองในการรับงาน เล่าสู่กันฟังว่า การรับงานจากหน่วยงานภาครัฐกับภาคเอกชนแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง เพราะภาครัฐมีงบประมาณใช้จ่ายตามที่ขอ เมื่อใกล้สิ้นปีงบประมาณก็ต้องรีบใช้จ่ายให้หมด อาจเรียกได้ว่าเหลือกินเหลือใช้ เมื่อขึ้นปีใหม่ก็ของบประมาณกันใหม่ เริ่มต้นนับหนึ่งกันทุกปี ส่วนภาคเอกชนจะใช้จ่ายกันแต่ละทีคิดแล้วคิดอีก ต่อรองกันหลายรอบ บางทีตกลงได้งานมาแล้วก็ยังมาแก้รายละเอียด บางกรณีถูกขอเพิ่มงานในภายหลังแต่ไม่เพิ่มงบประมาณ จนบางครั้งต้องขอถอนตัว เพราะประเมินแล้วอาจไม่คุ้ม แต่ทำงานกับภาครัฐไม่ค่อยมีปัญหา ถ้ามีปัญหาก็รื้อทิ้งแล้วทำใหม่ในปีต่อไป

พลังจ่ายของภาครัฐนั้นมีมาก เพราะแหล่งงบประมาณมาจากเงินภาษีของประชาชน บางองค์กรมีการจัดทำกลยุทธ์ทางการเงิน เพื่อกำหนดว่างบประมาณเข้ามาทางใดบ้าง และจะออกไปทางใดบ้าง ทำให้คนสนิทของเจ้านายมักเปลี่ยนเครื่องคอมพิวเตอร์อยู่เสมอ แม้งานที่ทำจะเป็นเพียงการพิมพ์รายงานการประชุมก็ตาม บางทีความเหมาะสม หรือความคุ้มค่าของแต่ละคนอาจไม่เท่ากัน บางโครงการใช้งบประมาณมหาศาล แล้วไม่ประสบความสำเร็จ เพราะไม่ใช่ความต้องการของชุมชนที่แท้จริง หรือวิเคราะห์ความต้องการที่ไม่สมบูรณ์ แต่เกิดจากความต้องการของผู้ให้ เช่น ศูนย์คอมพิวเตอร์ ศูนย์สินค้าชุมชน ห้องสมุดหมู่บ้าน ในหลายพื้นที่ไม่ถูกใช้ประโยชน์เท่าที่ควร เนื่องจากขาดการดูแลบำรุงรักษาโดยคนในพื้นที่ร่วมกับหน่วยงานผู้ให้งบประมาณ

พลังจ่ายของภาคเอกชนส่วนใหญ่ มักไม่สูงนัก งบประมาณคือการลงทุน ที่ต้องประเมินว่าจะได้ผลตอบแทนกลับมาอย่างคุ้มค่าตามแผนกลยุทธ์ และแผนปฏิบัติการ จึงต้องวิเคราะห์ความเป็นไปได้โดยละเอียด ก่อนอนุมัติโครงการ/งบประมาณตามแผนการลงทุน ถ้าตัดสินใจลงทุนแบบไม่ระมัดระวังก็จะเสียงบประมาณอย่างไม่คุ้มค่า และเป็นต้นเหตุสำคัญทำให้บริษัท/ห้างร้านมากมายต้องปิดตัวลง ดังนั้นการวางแผนซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์ไอทีของภาคเอกชน จึงมักให้ความสำคัญกับการใช้ประโยชน์ ความต้องการของผู้ใช้ ความคุ้มค่าในการใช้จ่ายและผลตอบแทนที่จะคืนกลับมาเป็นสำคัญ

เยาวชนเห็นว่าทุจริตยอมรับได้ และไม่แปลก

19 พ.ค.54 จากหนังสือสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ที่ นร 0503/ว(ล)6978 เรื่อง ข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการวิสามัญ และข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการ ร่วมกันพิจารณาร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต นั้น

ทาง สกอ.ได้ส่งหนังสือดังกล่าวให้สถาบันการศึกษา ที่ ศธ 0509.6(1.11)/ว530 โดยมีข้อสังเกตว่า ตามผลการสำรวจ เรื่อง องค์กรต่อต้านการทุจริตนานาชาติ ครั้งที่ 13 เกี่ยวกับการป้องกันและปราบปรามการทุจริตเฉพาะค่านิยมในส่วนของเยาวชนในหลายประเทศ รวมถึงประเทศไทย ปรากฎว่า เยาวชนเห็นว่าการทุจริตคอร์รัปชั่นเป็นเรื่องยอมรับได้และไม่ได้เป็นเรื่องร้ายแรง หรือแปลกใหม่ในสังคม ซึ่งคณะกรรมาธิการเห็นว่าค่านิยมดังกล่าวไม่ถูกต้องและควรที่จะมีการฝึกฝนอบรมและปลูกฝังคุณธรรมค่านิยมที่ดี ด้วยการส่งเสริมให้มีการปลูกฝังคุณธรรม  และจริยธรรม โดยบรรจุไว้ในหลักสูตรการศึกษาทุกระดับของชาติ